“ไมเกรน” ในแม่ตั้งครรภ์และผู้สูงวัย
ถ้าใครยังจำกันได้ พี่หมอเคยเล่าถึงอาการปวด “ไมเกรน” รวมถึงสาเหตุและวิธีการรักษาไปแล้ว ใครที่ยังไม่เคยอ่าน ลองดูใน link นี้ได้นะครับ
https://pantip.com/topic/39420083
แต่ในกระทู้ที่พี่หมอเคยเล่าให้ฟังนั้นจะพูดถึงไมเกรนในคนทั่วๆ ไป ซึ่งในส่วนของภาคต่อที่พี่หมอจะมาเล่าในวันนี้ จะพูดถึงอาการไมเกรนที่สามารถเกิดขึ้นกับ”คุณแม่ตั้งครรภ์” และ “ผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและให้การดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะที่มาของอาการอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ฮอร์โมน โรคประจำตัว และการใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน แถมอาการบางอย่าง อาจจะไม่ใช่เพราะปวดไมเกรน แต่เป็นอาการปวดศีรษะที่ส่งสัญญาณอันตรายมากกว่านั้น
ขอย้อนความนิดหนึ่งว่า ‘ไมเกรน’ คือ อาการปวดศีรษะที่มีความรุนแรงมากกว่าอาการปวดศีรษะทั่วไปหลายเท่า โดยมักจะเกิดที่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ และยังเกิดขึ้นได้บ่อย โดยอาจจะมีหรือไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะปวดข้างเดิมซ้ำๆ รวมถึงอาจมีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง และกลิ่น ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย โดยโรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ และ
ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการปวดศีรษะที่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้สูงอายุเผชิญอยู่ เป็นอาการปวดไมเกรนหรือไม่ วันนี้พี่หมอก็เลยนำวิธีสังเกตแบบง่ายๆ รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษามาฝากกันครับ
“ไมเกรน” ในคุณแม่ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการปวดศีรษะได้ตลอดเวลา ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งปวดแบบธรรมดา หรือปวดไมเกรน แต่ในบางกรณีการปวดศีรษะก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเข้าใจก่อนว่าอาการปวดศีรษะนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุนะครับ
·
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะได้ โดยอาการมักจะทุเลาลงในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ และร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้ว
·
การยืนหรือนั่งที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งครรภ์ของคุณแม่จะเริ่มใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีอิริยาบทที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้ปวดศีรษะได้เช่นกัน ซึ่งอาการปวดศีรษะในช่วงนี้ อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือครรภ์เป็นพิษก็ได้ พี่หมอแนะนำให้สังเกตอาการของตัวเองให้ดีๆ นะครับ หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงนี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
·
ความหิวและขาดสารอาหาร คุณแม่บางคนกลัวน้ำหนักขึ้นมากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ จึงอดอาหาร จนขาดสารอาหารหรือรู้สึกหิวในระหว่างวัน ซึ่งการหิวมากๆ ก็อาจจะทำให้ปวดศีรษะได้
·
การพักผ่อนไม่เพียงพอ พอท้องเริ่มใหญ่ขึ้น คุณแม่ก็อาจจะนอนได้ลำบากขึ้น หรือรู้สึกอึดอัดจนนอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งทำให้ปวดศีรษะได้เช่นกันครับ
·
การงดดื่มชาและกาแฟ เนื่องจากคาเฟอีนมีผลต่อการตั้งครรภ์และลูกในท้อง ทำให้คุณแม่ต้องงดดื่มไปโดยปริยาย บางคนจึงอาจมีอาการปวดศีรษะ แต่ถ้าคุณแม่อดใจไม่ไหวจริงๆ ลองเลือกเครื่องดื่มที่เป็นแบบดีแคฟก็พอช่วยได้นะครับ แต่ถ้างดได้ก็น่าจะดีกว่า
·
ความวิตกกังวลและความเครียด อันนี้แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงกับอาการปวดศีรษะ หลายๆ คนจึงแนะนำว่าให้คุณแม่ทำใจให้สบายๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ โดยอาจจะหากิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือช่วยคลายเครียด
·
การขาดน้ำ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่อยากเข้าห้องน้ำบ่อยๆ จึงแก้ปัญหาด้วยการดื่มน้ำน้อยลง จนเกิดภาวะขาดน้ำ และนำมาสู่อาการปวดศีรษะได้
สัญญาณเตือนให้ไปพบแพทย์
ในช่วงระหว่างปลายไตรมาสที่ 2 จนถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการปวดศีรษะอาจเกิดจากภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อครรภ์และตัวคุณแม่ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง รวมถึงความผิดปกติของตับและไต ดังนั้น หากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่แม้จะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้วก็ยังไม่หาย คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ยิ่งถ้าพบว่ามีอาการ เช่น มีไข้ คอแข็ง ตาพร่ามัวหรือมีปัญหาในการมองเห็น เสียดท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่มเร็วเกินไป มือหรือใบหน้าบวมผิดปกติร่วมด้วย พี่หมอแนะนำว่าไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดดีกว่าครับ
วิธีป้องกันอาการไมเกรนระหว่างตั้งครรภ์
· ดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่จะมากระตุ้นอาการ เช่น ผงชูรส น้ำตาลเทียม ชีส ไวน์ ช็อกโกแล็ต ชา และกาแฟ
· พักผ่อนให้เพียงพอ หากนอนไม่เต็มที่ในช่วงกลางคืน ให้หาเวลางีบในช่วงกลางวันแทน
· เมื่อมีอาการปวดศีรษะ ควรนอนพักในห้องที่เงียบสงบและไม่มีแสงจ้า จากนั้นให้ประคบเย็นด้วยผ้าขนหนูและน้ำแข็งบริเวณศีรษะ
การรักษาไมเกรนในคุณแม่ตั้งครรภ์
เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนคงไม่อยากรับประทานยาใดๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลได้ โดยอาจจะใช้ยาร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองอื่นๆ เช่น การประคบเย็น การนอนหลับพักผ่อน หรือฟังเพลง ที่สำคัญที่สุดคือหลีกเลี่ยงการซื้อยาแก้ปวดศีรษะและยาไมเกรนมารับประทานเอง เพราะยาแก้ปวดทุกชนิดไม่อาจใช้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ยาบางตัวมีผลต่อการบีบตัวของมดลูก และอาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือมดลูกบีบตัวน้อยกว่าปกติ ดังนั้น ก่อนจะใช้ยา ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้นนะครับ
“ไมเกรน” ในผู้สูงอายุ
โดยธรรมชาติ เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนบางอย่างในร่างกายลดลง จะทำให้อาการปวดไมเกรนลดลงตามไปด้วย แต่ไม่ใช่ในผู้สูงอายุทุกคนนะครับ เพราะบางคนก็อาจจะยังมีอาการอยู่ ดังนั้น การรักษาจึงไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดได้เพียงอย่างเดียว เพราะอาการปวดของผู้สูงอายุจะมีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากมีโรคประจำตัวที่อาจจะต้องรับประทานยาบางอย่างเป็นประจำ และยังต้องระวังการปวดศีรษะที่มาจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เช่น การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
สัญญาณเตือนให้ไปพบแพทย์
· เริ่มปวดศีรษะรุนแรงครั้งแรกเมื่ออายุเกิน 50 ปี
· ปวดศีรษะฉับพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
· การปวดศีรษะมีความรุนแรงมากขึ้น และระยะเวลาการปวดเริ่มนานขึ้น
· มีไข้ เวียนศีรษะ อาเจียน แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตาพร่ามัว
· อาการปวดศีรษะไม่ลดน้อยลง แม้จะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้ว
· มีอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง
ถ้าพบว่าผู้สูงอายุที่บ้านมีอาการปวดศีรษะตามที่พี่หมอบอกไปข้างต้น ก็ควรรีบพามาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเลยนะครับ
เนื่องจากอาการเหล่านี้ อาจไม่ใช่การปวดไมเกรน แต่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (อัมพฤกษ์) เนื้องอกในสมอง ซึ่งควรจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ร่วมกับการตรวจด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเจาะเลือด การนำน้ำในไขสันหลังไปตรวจ การทำ CT Scan หรือ MRI
วิธีป้องกันอาการไมเกรนในผู้สูงอายุ
· ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้เน้นไปที่อาหารที่มีกากใยสูง
· ออกกำลังกายเบาๆ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
· ไม่ซื้อยาแก้ปวด หรือยารักษาอาการอื่นๆ มารับประทานเองโดยเด็ดขาด
· ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หรือพบความผิดปกติอื่นๆ ในร่างกาย
ลำพังแค่ปวดศีรษะธรรมดาว่าแย่แล้ว ยิ่งถ้าปวดไมเกรนความรุนแรงก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในกลุ่มพิเศษแบบนี้ ดังนั้น ถ้าเราสามารถสังเกตอาการ และมีวิธีป้องกัน หรือรักษาได้ก่อน ก็จะช่วยให้ความเจ็บปวดเหล่านั้นทุเลาเบาบางลงได้
แต่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์และผู้สูงอายุก็สามารถทำได้นะครับ มีคลิปตัวอย่างมากมาย ที่สามารถหาจากอินเตอร์เน็ตได้เลย รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนท้อง หรือผู้สูงงอายุ ถ้าทำได้ตามนี้ ก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรงได้
แล้วพบกับเรื่องราวน่ารู้จากพี่หมอได้ใหม่ในสัปดาห์หน้านะครับ จะเป็นเรื่องอะไรต้องคอยติดตามกันครับ 😊
“ไมเกรน” ในแม่ตั้งครรภ์และผู้สูงวัย
ถ้าใครยังจำกันได้ พี่หมอเคยเล่าถึงอาการปวด “ไมเกรน” รวมถึงสาเหตุและวิธีการรักษาไปแล้ว ใครที่ยังไม่เคยอ่าน ลองดูใน link นี้ได้นะครับ https://pantip.com/topic/39420083
แต่ในกระทู้ที่พี่หมอเคยเล่าให้ฟังนั้นจะพูดถึงไมเกรนในคนทั่วๆ ไป ซึ่งในส่วนของภาคต่อที่พี่หมอจะมาเล่าในวันนี้ จะพูดถึงอาการไมเกรนที่สามารถเกิดขึ้นกับ”คุณแม่ตั้งครรภ์” และ “ผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและให้การดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะที่มาของอาการอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ฮอร์โมน โรคประจำตัว และการใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน แถมอาการบางอย่าง อาจจะไม่ใช่เพราะปวดไมเกรน แต่เป็นอาการปวดศีรษะที่ส่งสัญญาณอันตรายมากกว่านั้น
ขอย้อนความนิดหนึ่งว่า ‘ไมเกรน’ คือ อาการปวดศีรษะที่มีความรุนแรงมากกว่าอาการปวดศีรษะทั่วไปหลายเท่า โดยมักจะเกิดที่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ และยังเกิดขึ้นได้บ่อย โดยอาจจะมีหรือไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะปวดข้างเดิมซ้ำๆ รวมถึงอาจมีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง และกลิ่น ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย โดยโรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ และผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการปวดศีรษะที่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้สูงอายุเผชิญอยู่ เป็นอาการปวดไมเกรนหรือไม่ วันนี้พี่หมอก็เลยนำวิธีสังเกตแบบง่ายๆ รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษามาฝากกันครับ
“ไมเกรน” ในคุณแม่ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการปวดศีรษะได้ตลอดเวลา ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งปวดแบบธรรมดา หรือปวดไมเกรน แต่ในบางกรณีการปวดศีรษะก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเข้าใจก่อนว่าอาการปวดศีรษะนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุนะครับ
· การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะได้ โดยอาการมักจะทุเลาลงในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ และร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้ว
· การยืนหรือนั่งที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งครรภ์ของคุณแม่จะเริ่มใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีอิริยาบทที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้ปวดศีรษะได้เช่นกัน ซึ่งอาการปวดศีรษะในช่วงนี้ อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือครรภ์เป็นพิษก็ได้ พี่หมอแนะนำให้สังเกตอาการของตัวเองให้ดีๆ นะครับ หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงนี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
· ความหิวและขาดสารอาหาร คุณแม่บางคนกลัวน้ำหนักขึ้นมากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ จึงอดอาหาร จนขาดสารอาหารหรือรู้สึกหิวในระหว่างวัน ซึ่งการหิวมากๆ ก็อาจจะทำให้ปวดศีรษะได้
· การพักผ่อนไม่เพียงพอ พอท้องเริ่มใหญ่ขึ้น คุณแม่ก็อาจจะนอนได้ลำบากขึ้น หรือรู้สึกอึดอัดจนนอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งทำให้ปวดศีรษะได้เช่นกันครับ
· การงดดื่มชาและกาแฟ เนื่องจากคาเฟอีนมีผลต่อการตั้งครรภ์และลูกในท้อง ทำให้คุณแม่ต้องงดดื่มไปโดยปริยาย บางคนจึงอาจมีอาการปวดศีรษะ แต่ถ้าคุณแม่อดใจไม่ไหวจริงๆ ลองเลือกเครื่องดื่มที่เป็นแบบดีแคฟก็พอช่วยได้นะครับ แต่ถ้างดได้ก็น่าจะดีกว่า
· ความวิตกกังวลและความเครียด อันนี้แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงกับอาการปวดศีรษะ หลายๆ คนจึงแนะนำว่าให้คุณแม่ทำใจให้สบายๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ โดยอาจจะหากิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือช่วยคลายเครียด
· การขาดน้ำ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่อยากเข้าห้องน้ำบ่อยๆ จึงแก้ปัญหาด้วยการดื่มน้ำน้อยลง จนเกิดภาวะขาดน้ำ และนำมาสู่อาการปวดศีรษะได้
สัญญาณเตือนให้ไปพบแพทย์
ในช่วงระหว่างปลายไตรมาสที่ 2 จนถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการปวดศีรษะอาจเกิดจากภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อครรภ์และตัวคุณแม่ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง รวมถึงความผิดปกติของตับและไต ดังนั้น หากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่แม้จะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้วก็ยังไม่หาย คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ยิ่งถ้าพบว่ามีอาการ เช่น มีไข้ คอแข็ง ตาพร่ามัวหรือมีปัญหาในการมองเห็น เสียดท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่มเร็วเกินไป มือหรือใบหน้าบวมผิดปกติร่วมด้วย พี่หมอแนะนำว่าไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดดีกว่าครับ
วิธีป้องกันอาการไมเกรนระหว่างตั้งครรภ์
· ดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่จะมากระตุ้นอาการ เช่น ผงชูรส น้ำตาลเทียม ชีส ไวน์ ช็อกโกแล็ต ชา และกาแฟ
· พักผ่อนให้เพียงพอ หากนอนไม่เต็มที่ในช่วงกลางคืน ให้หาเวลางีบในช่วงกลางวันแทน
· เมื่อมีอาการปวดศีรษะ ควรนอนพักในห้องที่เงียบสงบและไม่มีแสงจ้า จากนั้นให้ประคบเย็นด้วยผ้าขนหนูและน้ำแข็งบริเวณศีรษะ
การรักษาไมเกรนในคุณแม่ตั้งครรภ์
เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนคงไม่อยากรับประทานยาใดๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลได้ โดยอาจจะใช้ยาร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองอื่นๆ เช่น การประคบเย็น การนอนหลับพักผ่อน หรือฟังเพลง ที่สำคัญที่สุดคือหลีกเลี่ยงการซื้อยาแก้ปวดศีรษะและยาไมเกรนมารับประทานเอง เพราะยาแก้ปวดทุกชนิดไม่อาจใช้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ยาบางตัวมีผลต่อการบีบตัวของมดลูก และอาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือมดลูกบีบตัวน้อยกว่าปกติ ดังนั้น ก่อนจะใช้ยา ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้นนะครับ
“ไมเกรน” ในผู้สูงอายุ
โดยธรรมชาติ เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนบางอย่างในร่างกายลดลง จะทำให้อาการปวดไมเกรนลดลงตามไปด้วย แต่ไม่ใช่ในผู้สูงอายุทุกคนนะครับ เพราะบางคนก็อาจจะยังมีอาการอยู่ ดังนั้น การรักษาจึงไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดได้เพียงอย่างเดียว เพราะอาการปวดของผู้สูงอายุจะมีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากมีโรคประจำตัวที่อาจจะต้องรับประทานยาบางอย่างเป็นประจำ และยังต้องระวังการปวดศีรษะที่มาจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เช่น การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
สัญญาณเตือนให้ไปพบแพทย์
· เริ่มปวดศีรษะรุนแรงครั้งแรกเมื่ออายุเกิน 50 ปี
· ปวดศีรษะฉับพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
· การปวดศีรษะมีความรุนแรงมากขึ้น และระยะเวลาการปวดเริ่มนานขึ้น
· มีไข้ เวียนศีรษะ อาเจียน แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตาพร่ามัว
· อาการปวดศีรษะไม่ลดน้อยลง แม้จะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้ว
· มีอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง
ถ้าพบว่าผู้สูงอายุที่บ้านมีอาการปวดศีรษะตามที่พี่หมอบอกไปข้างต้น ก็ควรรีบพามาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเลยนะครับ
เนื่องจากอาการเหล่านี้ อาจไม่ใช่การปวดไมเกรน แต่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (อัมพฤกษ์) เนื้องอกในสมอง ซึ่งควรจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ร่วมกับการตรวจด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเจาะเลือด การนำน้ำในไขสันหลังไปตรวจ การทำ CT Scan หรือ MRI
วิธีป้องกันอาการไมเกรนในผู้สูงอายุ
· ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้เน้นไปที่อาหารที่มีกากใยสูง
· ออกกำลังกายเบาๆ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
· ไม่ซื้อยาแก้ปวด หรือยารักษาอาการอื่นๆ มารับประทานเองโดยเด็ดขาด
· ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หรือพบความผิดปกติอื่นๆ ในร่างกาย
ลำพังแค่ปวดศีรษะธรรมดาว่าแย่แล้ว ยิ่งถ้าปวดไมเกรนความรุนแรงก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในกลุ่มพิเศษแบบนี้ ดังนั้น ถ้าเราสามารถสังเกตอาการ และมีวิธีป้องกัน หรือรักษาได้ก่อน ก็จะช่วยให้ความเจ็บปวดเหล่านั้นทุเลาเบาบางลงได้
แต่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์และผู้สูงอายุก็สามารถทำได้นะครับ มีคลิปตัวอย่างมากมาย ที่สามารถหาจากอินเตอร์เน็ตได้เลย รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนท้อง หรือผู้สูงงอายุ ถ้าทำได้ตามนี้ ก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรงได้
แล้วพบกับเรื่องราวน่ารู้จากพี่หมอได้ใหม่ในสัปดาห์หน้านะครับ จะเป็นเรื่องอะไรต้องคอยติดตามกันครับ 😊