เมื่อพูดถึงฌาน มักเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขว้าง เนื่องจากในตำรา(ปิฎก) กล่าวไว้ปะปนกัน ระหว่างฌานในอริยมรรค กับฌานนอกอริยมรรค ในหลายแห่ง จนกระทั่งแยกออกให้ชัดเจนและเข้าใจกันได้นั้น ยากอย่างยิ่ง
เราต้องอาศัยหลักการที่มีมาในพระพุทธพจน์นั่นเอง เป็นตัวเทียบเคียงให้เห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จะได้ไม่สับสน แต่อาจจะไม่ถูกใจ ถูกคอ นักปริยัติที่เกาะตำราและตัวหนังสือเอาไว้อย่างเหนียวแน่น โดยไม่เอาหลักเหตุผลที่มีมาในพระพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวไว้ดีแล้วสำหรับเทียบเคียง อาทิเรื่อง สัมมาสติเป็นไฉน? สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ในมหาสติปัฏฐาน ๔
ต้องเริ่มจากการที่พระพุทธองค์ทรงออกผนวชเป็นภิกษุในครั้งกระนั้น โดยมีท่านพระอาจารย์ปัญจวัคคีย์คอยเป็นพี่เลี้ยงดูแลอยู่ พระองค์ได้ทรงออกหาโมกขธรรมตามสำนักอาจารย์ต่างๆเช่นกัน
ในสมัยนั้นมีฌานในศาสนาพราหมณ์อยู่ก่อน ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขว้าง และเข้าใจผิดๆไปกันเองว่า นั้นคือสภาวะของพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด
เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงออกแสวงหาอยู่นั้น ก็ได้เข้าศึกษากับท่านอาจารย์ทั้งสอง คือท่านอาจารย์อุทกดาบส และท่านอาจารย์อาฬารดาบส ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้น ว่าเป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรมและความชำนาญ ในอรูปฌาน ๗-๘ ซึ่งจัดว่าเป็นฌานชั้นสูงในสมัยนั้น(อรูปพรหม)
ขณะทรงศึกษาอยู่นั้น ด้วยปัญญาบารมีที่พระพุทธองค์ทรงได้สั่งสมมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน หลายอสงขัยกัปป์ พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีทัศนะที่แหลมคม และมีโยนิโสนมสิการที่ละเอียดอย่างยิ่ง ว่าสิ่งที่ทรงศึกษานั้นไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์
ตรงนี้ขอให้ทุกท่านที่อ่านโปรดพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมว่า ขนาดพระมหาบุรุษรัตน์ของพวกเราชาวพุทธ เป็นผู้มีปัญญาอันเลิศได้ ยังต้องสร้าง ยังต้องสั่งสมปัญญาบารมี มาอย่างมากมายยาวนานนับไม่ถ้วน
ถ้ายังจะมีใครที่ชอบอ้างว่ามีปัญญาบารมีมามาก ยิ่งกว่าพระพุทธองค์ โดยเฉพาะการได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว ก็บรรลุธรรมอันยิ่งได้ โดยไม่เคยผ่านการสร้าง สั่งสม สติ สมาธิ ปัญญาบารมีมาแต่เก่าก่อนเลยนั้น ... เป็นไปได้ล่ะหรือ ?... ย่อมไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย
ในครั้งกระนั้น ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ได้เคยปรารภถึงท่านอาจารย์ทั้งสอง ว่าเป็นบุคคลจำพวกแรกที่ควรแก่การสั่งสอนอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้ที่มีบารมีสั่งสมมาแต่เก่าก่อนแล้ว เป็นผู้ที่มีกิเลสเบาบางอย่างยิ่ง เพียงแค่ฟังธรรมจากพระองค์ก็จะบรรลุได้โดยง่าย ทรงอุทานว่า น่าเสียดายที่ท่านอาจารย์ทั้งสองฉิ..หาย(ล่วง) ไปแล้วจากอมตะธรรม...
ในครั้งที่ทรงศึกษาอรูปฌานกับท่านอาจารย์ทั้งสองนั้น ทรงเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วมาก จนท่านอาจารย์ทั้งสองถึงกับออกปากชมเชย ว่าพระองค์มีภูมิรู้ภูมิธรรมเทียบเท่าอาจารย์ทั้งสอง ไม่ยิ่งหย่อนกว่าท่านอาจารย์เลย ท่านทั้งสองถึงกับออกปากชักชวนให้พระองค์ทรงอยู่ด้วย เพื่อช่วยกันอบรมสั่งสอนเหล่าสานุศิษย์และรับช่วงต่อจากอาจารย์
ด้วยพระปรีชาญาณ พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า อรูปฌานที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ยังเป็นเพียงโลกียฌาน ทำให้กิเลสเบาบางลงได้เท่านั้น จิตยังเกาะเกี่ยวอารมณ์ฌานอันละเอียดที่ภาวนาอยู่ อย่างเหนียวแน่นเป็นสุขอยู่ แต่ปล่อยวางอารมณ์ฌานอันละเอียดไม่เป็น เนื่องจากไม่มีการฝึกฝนอบรมจิตให้ปล่อยวางอารมณ์นั้นแต่ต้น จิตต้องคอยระวังรักษาอารมณ์ฌานอยู่ตลอดเวลา กลัวอารมณ์ฌานนั้นจะจืดจางลงไป ซึ่งยังไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ที่แท้จริง เพราะจิตยังติดสุขในอารมณ์ฌาน(ยังต้องยึดอารมณ์) เหล่านั้นอยู่
ในครั้งก่อนพุทธกาลนั้น ฌานสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน และอรูปฌาน ช่วยทำให้กิเลสเบาบางลงได้จริง จึงมีผู้คนนิยมนับถือปฏิบัติกันมาก แต่ไม่รู้ว่า จิตหลุดพ้นจากทุกข์ไม่ได้ เพราะจิตยังติดสุขในอารมณืฌานอันละเอียดอยู่ อะไรหละที่ทำให้เป็นเช่นนั้น?
หากใช้โยนิโสนมสิการให้รอบคอบ ก็จะเห็นได้ว่า รูปฌานและอรูปฌานนั้น ล้วนเป็นการนำเอาอารมณ์ทั้งที่เป็นรูปและเป็นนาม มาเป็นอารมณ์ในองค์ภาวนา เพื่อให้เข้าถึงฌาน ซึ่งเป็นอารมณ์ภายนอกกายทั้งสิ้น ทำให้ไม่เห็นอาการแห่งพระไตรลักษณ์ปรากฏขึ้นให้เห็นนั่นเอง
จิตจดจำเอาอารมณ์เหล่านั้น จนเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตด้วยความชำนาญ จัดเป็นถิรสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งจิตยึดอารมณ์(สัญญา) อย่างเหนียวแน่น ไม่ทำให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ต่างๆออกไปจากจิต
และต้องคอยระวังรักษาอารมณ์ที่ทำให้เกิดฌานเหล่านั้นไว้อย่างเหนียวแน่นเป็นสุข ไม่ยอมปล่อยวางลง เพราะเกรงว่าอารมณ์เหล่านั้นจะจืดจางไปจากความทรงจำของตน
ฌานสมาบัติ ๘ นั้นมีองค์ฌานคล้ายคลึงกับองค์ฌานในสัมมาสมาธิเป็นอย่างมากทีเดียว จนเป็นที่เข้าใจสับสนกันไปโดยมาก เพราะไม่รู้ว่าฌานทั้งสองแตกต่างกันตรงไหน เป็นสำคัญ
เมื่อทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยการปฏิบัติสัมมาสมาธิ ตามหลักอริยมรรค ๘ ทรงปฏิเสธรูปฌานและอรูปฌานไว้ในปฐมพุทธอุทานว่า
"ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนิ โมเนน พฺราหมฺโณ อถรูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุญฺจติ
เมื่อใดพราหมณ์ผู้เป็นมุนี มารู้จักตนเข้าด้วยปัญญาอันเกิดจาก(จิต)สงบ เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมพ้นจากรูป อรูป สุข และทุกข์ ดังนี้"
อะไรหละที่ทำให้แตกต่างกัน?
ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้น เพราะว่า ฌานสมาบัติ ๘ นั้น จิตยึดอารมณ์ไว้อย่างเหนียวแน่นในการเข้าถึงฌาน ส่วนฌานในสัมมาสมาธินั้น จิตปล่อยวางอารมณ์ออกไปเป็นลำดับชั้น จากฌาน ๑ จนจิตสงบถึงขีดสุดที่ฌาน ๔ เพราะอารมณ์ที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการภาวนา (เพียรเพ่ง) แตกต่างกันนั่นเอง
อารมณ์ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง และนำมาสั่งสอนไว้นั้น ล้วนเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ภายในกาย เป็นไปเพื่อความปล่อยวางอาการของจิตทั้งสิ้น นั่นคือ อารมณ์ในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งพระองค์ได้พิจารณาโดยแยบคายแล้วว่า ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ โดยการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
เพราะองค์ธรรมเหล่านี้ ล้วนทำให้จิตเห็นพระไตรลักษณ์ได้ชัดเจนยิ่งในขณะปฏิบัติภาวนา ทำให้จิตเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ เมื่อจิตเบื่อหน่าย ก็ย่อมคลายกำหนัด เมื่อจิตคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้นจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่น(ปล่อยวาง) ในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้
ทำไมจิตจึงไม่เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นล่ะ?
เพราะอารมณ์ในสติปัฏฐานที่นำมาใช้ผูกจิตไว้ที่ฐานกายนั้น เป็นอารมณ์ที่ปราศจากกาม จิตจะเห็นความเปลี่ยนแปลงขององค์กรรมฐานได้ง่ายและชัดเจนในขณะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
เมื่อจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงจากการปฏิบัติภาวนาว่า กายที่เราอาศัยอยู่นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ พึ่งพาอาศัยไม่ได้ จิตก็จะปล่อยวางอารมณ์กรรมฐานเหล่านั้นลงได้เอง เพราะจิตจะเห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นที่ระลึกรู้ สักแต่ว่าเป็นที่อาศัยเท่านั้น จิตก็จะสงบตั้งมั่นด้วยลำพังตนเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น
ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น พระองค์ทรงให้เริ่มต้นที่
พิจารณากายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ...
ใครหรืออะไรล่ะ? เป็นผู้รู้ระลึกและรู้ชัดว่า
การพิจารณากายสังขาร(ลมหายใจ) อยู่นั้น จิตก็จะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ของกายสังขารที่ปรากฏให้เห็นในขณะปฏิบัติอย่างชัดๆ มียาว มีสั้น มีหยาบ มีละเอียด ถึงขั้นหยุดไปเลยจากความรู้สึกก็มี เป็นการแสดงอาการพระไตรลักษณ์ให้ปรากฏชัดๆต่อหน้าต่อตา เมื่อพิจารณานานไปๆ อาการเวทนาก็จะปรากฏให้เห็นตามมา เป็นปรกติของผู้ที่ปฏิบัติภาวนา ที่จะได้พบเจอทุกท่าน
แล้วใครเป็นผู้รู้ผู้เห็นล่ะ? ถ้าไม่ใช่เรา จิตผู้ปฏิบัติ
เราจะเห็นจิตที่หวั่นไหวเป็นทุกข์ไปกับอาการเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น ว่าเวทนานั้นยังเป็นของเรา เพราะความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางยังไม่เป็น(ต้องฝึก) เมื่อสามารถประคองจิตให้สงบตั้งมั่นในองค์กรรมฐานภาวนาและประคองเอาไว้ได้แล้ว จิตก็จะปล่อยวางอาการเหล่านั้นออกไปเอง เป็นขั้นเป็นตอนของการปฏิบัติธรรมที่ละเอียดขึ้น เวทนาในเวทนานั้นก็กลายเป็นของกาย ที่จิตเพียงแต่เป็นผู้อาศัยอยู่เท่านั้น จิตก็สงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่เป็นทุกข์ไปกับอาการเหล่านั้นด้วยเลย...ฯลฯ
ดังนั้นเมื่อพิจารณากายในกายเป็นภายในได้สำเร็จชัดเจนดีแล้ว จนเข้าถึงนามกาย อันไม่แตกทำลาย ณ ภายใน เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมาแล้ว ที่เหลือ คือ เวทนา จิต ธรรม ก็ต่อเนืองติดตามกันมาให้พิจารณาได้เอง....
ดั่งที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปูแหวน ท่านกล่าวไว้ว่า
"สติปัฏฐานสี่ สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน"
เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต
🌷 ดูจิตด้วยฌานในสัมมาสมาธิ ไม่ติดในฌานสมาบัติ ๘
เราต้องอาศัยหลักการที่มีมาในพระพุทธพจน์นั่นเอง เป็นตัวเทียบเคียงให้เห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จะได้ไม่สับสน แต่อาจจะไม่ถูกใจ ถูกคอ นักปริยัติที่เกาะตำราและตัวหนังสือเอาไว้อย่างเหนียวแน่น โดยไม่เอาหลักเหตุผลที่มีมาในพระพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวไว้ดีแล้วสำหรับเทียบเคียง อาทิเรื่อง สัมมาสติเป็นไฉน? สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ในมหาสติปัฏฐาน ๔
ต้องเริ่มจากการที่พระพุทธองค์ทรงออกผนวชเป็นภิกษุในครั้งกระนั้น โดยมีท่านพระอาจารย์ปัญจวัคคีย์คอยเป็นพี่เลี้ยงดูแลอยู่ พระองค์ได้ทรงออกหาโมกขธรรมตามสำนักอาจารย์ต่างๆเช่นกัน
ในสมัยนั้นมีฌานในศาสนาพราหมณ์อยู่ก่อน ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขว้าง และเข้าใจผิดๆไปกันเองว่า นั้นคือสภาวะของพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด
เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงออกแสวงหาอยู่นั้น ก็ได้เข้าศึกษากับท่านอาจารย์ทั้งสอง คือท่านอาจารย์อุทกดาบส และท่านอาจารย์อาฬารดาบส ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้น ว่าเป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรมและความชำนาญ ในอรูปฌาน ๗-๘ ซึ่งจัดว่าเป็นฌานชั้นสูงในสมัยนั้น(อรูปพรหม)
ขณะทรงศึกษาอยู่นั้น ด้วยปัญญาบารมีที่พระพุทธองค์ทรงได้สั่งสมมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน หลายอสงขัยกัปป์ พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีทัศนะที่แหลมคม และมีโยนิโสนมสิการที่ละเอียดอย่างยิ่ง ว่าสิ่งที่ทรงศึกษานั้นไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์
ตรงนี้ขอให้ทุกท่านที่อ่านโปรดพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมว่า ขนาดพระมหาบุรุษรัตน์ของพวกเราชาวพุทธ เป็นผู้มีปัญญาอันเลิศได้ ยังต้องสร้าง ยังต้องสั่งสมปัญญาบารมี มาอย่างมากมายยาวนานนับไม่ถ้วน
ถ้ายังจะมีใครที่ชอบอ้างว่ามีปัญญาบารมีมามาก ยิ่งกว่าพระพุทธองค์ โดยเฉพาะการได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว ก็บรรลุธรรมอันยิ่งได้ โดยไม่เคยผ่านการสร้าง สั่งสม สติ สมาธิ ปัญญาบารมีมาแต่เก่าก่อนเลยนั้น ... เป็นไปได้ล่ะหรือ ?... ย่อมไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย
ในครั้งกระนั้น ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ได้เคยปรารภถึงท่านอาจารย์ทั้งสอง ว่าเป็นบุคคลจำพวกแรกที่ควรแก่การสั่งสอนอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้ที่มีบารมีสั่งสมมาแต่เก่าก่อนแล้ว เป็นผู้ที่มีกิเลสเบาบางอย่างยิ่ง เพียงแค่ฟังธรรมจากพระองค์ก็จะบรรลุได้โดยง่าย ทรงอุทานว่า น่าเสียดายที่ท่านอาจารย์ทั้งสองฉิ..หาย(ล่วง) ไปแล้วจากอมตะธรรม...
ในครั้งที่ทรงศึกษาอรูปฌานกับท่านอาจารย์ทั้งสองนั้น ทรงเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วมาก จนท่านอาจารย์ทั้งสองถึงกับออกปากชมเชย ว่าพระองค์มีภูมิรู้ภูมิธรรมเทียบเท่าอาจารย์ทั้งสอง ไม่ยิ่งหย่อนกว่าท่านอาจารย์เลย ท่านทั้งสองถึงกับออกปากชักชวนให้พระองค์ทรงอยู่ด้วย เพื่อช่วยกันอบรมสั่งสอนเหล่าสานุศิษย์และรับช่วงต่อจากอาจารย์
ด้วยพระปรีชาญาณ พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า อรูปฌานที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ยังเป็นเพียงโลกียฌาน ทำให้กิเลสเบาบางลงได้เท่านั้น จิตยังเกาะเกี่ยวอารมณ์ฌานอันละเอียดที่ภาวนาอยู่ อย่างเหนียวแน่นเป็นสุขอยู่ แต่ปล่อยวางอารมณ์ฌานอันละเอียดไม่เป็น เนื่องจากไม่มีการฝึกฝนอบรมจิตให้ปล่อยวางอารมณ์นั้นแต่ต้น จิตต้องคอยระวังรักษาอารมณ์ฌานอยู่ตลอดเวลา กลัวอารมณ์ฌานนั้นจะจืดจางลงไป ซึ่งยังไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ที่แท้จริง เพราะจิตยังติดสุขในอารมณ์ฌาน(ยังต้องยึดอารมณ์) เหล่านั้นอยู่
ในครั้งก่อนพุทธกาลนั้น ฌานสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน และอรูปฌาน ช่วยทำให้กิเลสเบาบางลงได้จริง จึงมีผู้คนนิยมนับถือปฏิบัติกันมาก แต่ไม่รู้ว่า จิตหลุดพ้นจากทุกข์ไม่ได้ เพราะจิตยังติดสุขในอารมณืฌานอันละเอียดอยู่ อะไรหละที่ทำให้เป็นเช่นนั้น?
หากใช้โยนิโสนมสิการให้รอบคอบ ก็จะเห็นได้ว่า รูปฌานและอรูปฌานนั้น ล้วนเป็นการนำเอาอารมณ์ทั้งที่เป็นรูปและเป็นนาม มาเป็นอารมณ์ในองค์ภาวนา เพื่อให้เข้าถึงฌาน ซึ่งเป็นอารมณ์ภายนอกกายทั้งสิ้น ทำให้ไม่เห็นอาการแห่งพระไตรลักษณ์ปรากฏขึ้นให้เห็นนั่นเอง
จิตจดจำเอาอารมณ์เหล่านั้น จนเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตด้วยความชำนาญ จัดเป็นถิรสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งจิตยึดอารมณ์(สัญญา) อย่างเหนียวแน่น ไม่ทำให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ต่างๆออกไปจากจิต
และต้องคอยระวังรักษาอารมณ์ที่ทำให้เกิดฌานเหล่านั้นไว้อย่างเหนียวแน่นเป็นสุข ไม่ยอมปล่อยวางลง เพราะเกรงว่าอารมณ์เหล่านั้นจะจืดจางไปจากความทรงจำของตน
ฌานสมาบัติ ๘ นั้นมีองค์ฌานคล้ายคลึงกับองค์ฌานในสัมมาสมาธิเป็นอย่างมากทีเดียว จนเป็นที่เข้าใจสับสนกันไปโดยมาก เพราะไม่รู้ว่าฌานทั้งสองแตกต่างกันตรงไหน เป็นสำคัญ
เมื่อทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยการปฏิบัติสัมมาสมาธิ ตามหลักอริยมรรค ๘ ทรงปฏิเสธรูปฌานและอรูปฌานไว้ในปฐมพุทธอุทานว่า
"ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนิ โมเนน พฺราหมฺโณ อถรูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุญฺจติ
เมื่อใดพราหมณ์ผู้เป็นมุนี มารู้จักตนเข้าด้วยปัญญาอันเกิดจาก(จิต)สงบ เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมพ้นจากรูป อรูป สุข และทุกข์ ดังนี้"
อะไรหละที่ทำให้แตกต่างกัน?
ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้น เพราะว่า ฌานสมาบัติ ๘ นั้น จิตยึดอารมณ์ไว้อย่างเหนียวแน่นในการเข้าถึงฌาน ส่วนฌานในสัมมาสมาธินั้น จิตปล่อยวางอารมณ์ออกไปเป็นลำดับชั้น จากฌาน ๑ จนจิตสงบถึงขีดสุดที่ฌาน ๔ เพราะอารมณ์ที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการภาวนา (เพียรเพ่ง) แตกต่างกันนั่นเอง
อารมณ์ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง และนำมาสั่งสอนไว้นั้น ล้วนเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ภายในกาย เป็นไปเพื่อความปล่อยวางอาการของจิตทั้งสิ้น นั่นคือ อารมณ์ในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งพระองค์ได้พิจารณาโดยแยบคายแล้วว่า ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ โดยการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
เพราะองค์ธรรมเหล่านี้ ล้วนทำให้จิตเห็นพระไตรลักษณ์ได้ชัดเจนยิ่งในขณะปฏิบัติภาวนา ทำให้จิตเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ เมื่อจิตเบื่อหน่าย ก็ย่อมคลายกำหนัด เมื่อจิตคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้นจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่น(ปล่อยวาง) ในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้
ทำไมจิตจึงไม่เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นล่ะ?
เพราะอารมณ์ในสติปัฏฐานที่นำมาใช้ผูกจิตไว้ที่ฐานกายนั้น เป็นอารมณ์ที่ปราศจากกาม จิตจะเห็นความเปลี่ยนแปลงขององค์กรรมฐานได้ง่ายและชัดเจนในขณะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
เมื่อจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงจากการปฏิบัติภาวนาว่า กายที่เราอาศัยอยู่นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ พึ่งพาอาศัยไม่ได้ จิตก็จะปล่อยวางอารมณ์กรรมฐานเหล่านั้นลงได้เอง เพราะจิตจะเห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นที่ระลึกรู้ สักแต่ว่าเป็นที่อาศัยเท่านั้น จิตก็จะสงบตั้งมั่นด้วยลำพังตนเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น
ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น พระองค์ทรงให้เริ่มต้นที่
พิจารณากายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ...
ใครหรืออะไรล่ะ? เป็นผู้รู้ระลึกและรู้ชัดว่า
การพิจารณากายสังขาร(ลมหายใจ) อยู่นั้น จิตก็จะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ของกายสังขารที่ปรากฏให้เห็นในขณะปฏิบัติอย่างชัดๆ มียาว มีสั้น มีหยาบ มีละเอียด ถึงขั้นหยุดไปเลยจากความรู้สึกก็มี เป็นการแสดงอาการพระไตรลักษณ์ให้ปรากฏชัดๆต่อหน้าต่อตา เมื่อพิจารณานานไปๆ อาการเวทนาก็จะปรากฏให้เห็นตามมา เป็นปรกติของผู้ที่ปฏิบัติภาวนา ที่จะได้พบเจอทุกท่าน
แล้วใครเป็นผู้รู้ผู้เห็นล่ะ? ถ้าไม่ใช่เรา จิตผู้ปฏิบัติ
เราจะเห็นจิตที่หวั่นไหวเป็นทุกข์ไปกับอาการเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น ว่าเวทนานั้นยังเป็นของเรา เพราะความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางยังไม่เป็น(ต้องฝึก) เมื่อสามารถประคองจิตให้สงบตั้งมั่นในองค์กรรมฐานภาวนาและประคองเอาไว้ได้แล้ว จิตก็จะปล่อยวางอาการเหล่านั้นออกไปเอง เป็นขั้นเป็นตอนของการปฏิบัติธรรมที่ละเอียดขึ้น เวทนาในเวทนานั้นก็กลายเป็นของกาย ที่จิตเพียงแต่เป็นผู้อาศัยอยู่เท่านั้น จิตก็สงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่เป็นทุกข์ไปกับอาการเหล่านั้นด้วยเลย...ฯลฯ
ดังนั้นเมื่อพิจารณากายในกายเป็นภายในได้สำเร็จชัดเจนดีแล้ว จนเข้าถึงนามกาย อันไม่แตกทำลาย ณ ภายใน เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมาแล้ว ที่เหลือ คือ เวทนา จิต ธรรม ก็ต่อเนืองติดตามกันมาให้พิจารณาได้เอง....
ดั่งที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปูแหวน ท่านกล่าวไว้ว่า
"สติปัฏฐานสี่ สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน"
เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต