[ย้อนรอย] แบบนี้เรียกปฏิภาคนิมิตหรือเปล่า เป็นการส่งจิตออกนอกหรือเปล่า?

คำถาม to Deepseek (https://chat.deepseek.com/)

ช่วยวิเคราะห์และสรุปประสบการณ์การปฏิบัติต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่?

แบบนี้เรียกปฏิภาคนิมิตหรือเปล่า เป็นการส่งจิตออกนอกหรือเปล่า?

...

วันที่ 13 ตุลาคม 2564

ช่วงปี 2545-46 ได้มีโอกาสทบทวนคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานของหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงตามลิงค์
http://www.thasungmedia.com/wat/Ebook/book/MeditationManual/
          
         หลังจากที่เคยอ่านและลองปรับใช้กับอานาปานสติแบบสวนโมกข์ที่เคยฝึกมา แต่ก็ทำบ้างหยุดบ้างไม่ค่อย
ต่อเนื่องแต่รอบนี้ตั้งใจว่าจะทบทวนและฝึกให้เป็นเรื่องเป็นราว ก็เลยมาอ่านทบทวนใหม่ 2-3 รอบ กลางคืนช่วง
ก่อนนอน 22-24 น. ก็ฝึกนั่งสมาธิอานาปานสติ+พุทโธ วันละ 1-2 ชั่วโมงบ้างแล้วแต่จะทำได้แค่ไหน ก็เหมือน
มาเริ่มต้นทบทวนเรื่องสมาธิใหม่ นั่งสมาธิเสร็จแล้วพอเอนตัวลงนอนก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้า (พุธ) ลมหายใจ
ออก (โธ) ยาวๆ ไปด้วย เอาสติวิ่งตามลมหายใจระหว่างบริเวณท้องเหนือสะดือกับปลายจมูก โดยมากไม่เกิน 
3-5 นาทีก็จะหลับ ก็ทำแบบนี้อยู่ประมาณ 2-3 เดือนก็รู้สึกว่าสมาธิเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เข้าถึงฌาน 1, 2, 3 บ้าง 
แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ฌาน 2

        มีอยู่คืนหนึ่งก็รู้สึกเหมือนฝันแต่กึ่งรู้สึกตัวว่าตัวเองนอนหงายอยู่แล้วร่างที่นอนหงายก็ถูกลมแรงๆ ดูดขึ้น
ไปสูงประมาณ 3-4 เมตรแล้วก็ดูดลง ดูดขึ้นแล้วก็ดูดลงอยู่อย่างนั้น 4-5 ครั้ง (ช่วงเวลาที่เป็นไม่นานมากน่าจะ
ประมาณ 1 นาที ช่วงดูดขึ้นก็รู้สึกเหมือนมีลมแรงมากมาหอบตัวขึ้นไป) ตอนแรกก็รู้สึกตกใจกลัวอยู่บ้างแต่ก็
สงสัยว่ามันคืออะไร แต่ช่วงแรกไม่ได้เป็นบ่อยจะทิ้งช่วงไปประมาณ 3-4 สัปดาห์ถึงจะเป็นอีก ก็พยายามสังเกต
ว่าคืออะไร แต่ก็ไม่ค่อยได้รายละเอียดมากนักเพราะมันเกิดช่วงเวลาสั้นๆ แค่นาที และกว่าจะรอให้เกิดอีกทีก็
หลายวันกว่าจะได้สังเกตอีก (ช่วงแรกๆ ตอนนอนจะเปิดพัดลมเบาๆ ให้กระทบที่แขนขา จะช่วยให้จิตตื่นขณะหลับ
ได้ง่ายจะรู้สึกว่ามีลมมากระทบผิวเบาๆ แต่ช่วงหลังๆ ถ้าเกิดเป็นประจำแล้วไม่ต้องใช้พัดลมก็ได้)

       สังเกตอยู่แบบนั้นเกือบ 10 ครั้งถึงจะเริ่มรู้ว่ามันเกี่ยวกับลมหายใจเข้าออก (แต่เวลาที่เกิดก็เริ่มถี่ขึ้นจาก
3-4 สัปดาห์ก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ 2 สัปดาห์ 1 สัปดาห์) แต่ที่แปลกก็คือพอเหลือ 1 สัปดาห์แล้วจะไม่ค่อยลดลง
จากนี้และมักจะเกิดในคืนที่เริ่มเข้าวันโกนประมาณ 90-95% คืนวันพระแทบจะไม่เคยเป็นเลย เท่าที่จำได้เป็น
วันพระไม่เกิน 4-5 ครั้งและเป็นวันอื่นบ้าง แล้วก็เป็นแบบนั้นมาจนปัจจุบัน (ถ้าคร่าวๆ ถึงปัจจุบันอย่างน้อยน่า
จะเกิดประมาณ 500-600 ครั้ง ถ้าช่วงไหนหย่อนยานก็มีทิ้งช่วงบ้าง ถ้าช่วงสมาธิดีๆ ก็อาจจะเกิด 2-3 วันติดกัน)
ปกติจะไม่ค่อยจำว่าวันไหนวันพระวันโกนพอเป็นทีถึงจะมาดูปฏิทินเลยรู้ว่าส่วนใหญ่เป็นคืนวันโกน

       พอสังเกตรู้ว่าเกี่ยวกับลมหายใจเข้าออกที่เรากำหนดรู้ตอนนอนก็เลยคิดว่าจะควบคุมมันอย่างไร ก็หาวิธี
ลองผิดลองถูกเองน่าจะประมาณ 20-30 ครั้ง (หลายเดือนเหมือนกัน) ถึงจะเริ่มควบคุมได้ ร่างที่ออกไปจาก
กายเนื้อจะเรียกว่ากายใน (กายลม กายละเอียด กายทิพย์) ก็แล้วกันจะได้เข้าใจง่ายขึ้น ลองกำหนดความ
รู้สึกหลายๆ แบบไปที่กายในก็ไม่ได้ผล (มีเวลาแค่ 1-2 นาทีสำหรับทดลองถ้าไม่ผ่านต้องรอรอบหน้า)
จนในที่สุดก็มาเจอว่าจะควบคุมกายในได้ต้องควบคุมที่ลมหายใจเป็นหลักพร้อมกับนึกน้อมใจกำหนดไปว่า
จะให้กายในเคลื่อนไหวอย่างไรไปในทิศทางไหน ช่วงหลังนี้กายในไม่ได้เด้งออกเด้งเข้าแรงเหมือนช่วงแรกๆ
แล้ว แต่ส่วนใหญ่ออกมาจากกายเนื้อแล้วจะค่อยๆ ลอยห่างออกไปแล้วควบคุมทิศทางอะไรไม่ได้ ออกไปแล้ว
ก็เหมือนไปท่องเที่ยวต่อตามยถากรรมเลย เพราะยังไม่รู้วิธีว่าจะควบคุมอย่างไร

        ทีนี้พอเริ่มรู้แล้วว่าต้องควบคุมการหายใจคู่กับการน้อมใจว่าจะให้กายในไปทางไหน ไปซ้าย ไปขวา ขึ้น
หรือลง ก็กำหนดนึกน้อมใจไปในทิศที่ต้องการให้กายในไป จะให้กายในเคลื่อนไปด้วยความเร็ว (เหมือนเหยียบ
คันเร่งรถ) หรือช้าลง (เหมือนแตะเบรครถ) ก็ใช้วิธีกำหนดลมหายใจให้แรงและสั้นกายในจะเคลื่อนไปได้อย่าง
รวดเร็วถ้าอยู่บนอากาศก็เร็วเหมือนเครื่องบินหรือเหมือนซุปเปอร์แมนเลย มองลงมาข้างล่างก็เหมือนจิตจะสร้าง
นิมิตเป็นภาพป่ามีบ้านเรือนบ้างหรือภาพเมืองบ้างแล้วแต่จิตจะสร้างภาพให้เห็น ถ้าจะเบรคหรือทำให้ช้าลงก็
ผ่อนลมหายใจให้ยาวให้ละเอียดหรือลากลมหายใจให้ช้าๆ ยาวๆ ถ้าผ่อนลมได้พอดีกายในก็จะหยุดได้ทันที
แต่ช่วงหลังบางทีก็นึกลมหายใจได้บ้างไม่ได้บางก็ใช้การนึกน้อมใจอย่างเดียวก็ได้ ถ้าอยู่ในอากาศต้องการจะลง
ที่พื้นก็กำหนดน้อมใจไปทิศเบื้องล่างพร้อมกับควบคุมลมหายใจเพื่อรักษาความเร็ว กายในก็จะพุ่งลงที่พื้นพอ
ใกล้ถึงพื้นก็ผ่อนลมให้ค่อยๆ ลงไปยืนที่พื้น (นึกถึงซุปเปอร์แมนตอนลงสู่พื้นก็ค่อยๆ ลงไปยืนแบบนั้นแหละ)
ถ้าช่วงจะขึ้นก็กำหนดน้อมใจไปในทิศด้านบนแล้วก็พุ่งตัวขึ้นไปเลย แล้วก็ใช้ลมหายใจแทนคันเร่งและเบรค

        อาการที่กายในแยกออกจากกายเนื้อขอใช้คำว่าจิตตื่นก็แล้วกัน (เป็นอาการที่มีสติรู้ตัวแต่กายเนื้อ
ยังหลับอยู่) อาจจะใช้คำถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้นะถ้าใครรู้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ หลังจากที่อาการจิตตื่นถี่ขึ้นทุก
สัปดาห์และพอเริ่มรู้ว่าจะบังคับกายในอย่างไรแล้ว ช่วงนี้พอภาวนาพุทโธแล้วหลับไปประมาณ 15-20 นาที
(ลองจับเวลาก่อนนอนและหลังกายเนื้อตื่นส่วนใหญ่จะกินเวลาประมาณ 20 นาที ช่วงหลังๆ จิตตื่นจะกินเวลา
ประมาณ 3-5 นาที อาจจะได้นานกว่านั้นแล้วแต่การรักษาอารมณ์) จิตจะตื่นทีนี้กายในมันจะยังไม่ลอยออก
ทันที จะเห็นเป็นกายในลักษณะโปร่งๆ เหมือนวิญญาณน่ะแหละซ้อนกายเนื้ออยู่ แต่ซ้อนกันอยู่ในลักษณะ
หลวมๆ ก็เลยเรียกว่ากายใน อารมณ์จะตั้งมั่นเป็นสมาธิระดับหนึ่งรู้สึกสงบกายเบาใจเบาอยากอยู่สภาวะนั้น
นานๆ (เข้าใจว่าน่าจะเป็นระดับอุปจารสมาธินะเพราะจะเหมือนกึ่งฝันกึ่งรู้สึกตัวว่าฝันแล้วก็ยังภาวนาพุทโธ
ได้หรือนับเวลาเป็นวินาที 1-2-3... หรือนึกคิดอะไรได้ปกติ เหมือนจิตมันหลับในภวังคจิตแล้วขึ้นจากภวังค์
มาที่อุปจารสมาธิแต่ยังเป็นกึ่งอุปจารสมาธิกับกึ่งภวังค์ก็เลยยังไม่ตื่น ไม่แน่ใจว่ากายในจะเรียกว่าเป็น
ปฏิภาคนิมิตที่เกิดในอุปจารณาสมาธิหรือเปล่า ที่บังคับให้นิมิตมันเปลี่ยนไปได้ตามต้องการ แต่ถ้านั่งสมาธิ
ปกติปฏิภาคนิมิตจะไม่เกิดรู้แต่ลมหายใจและพุทโธเท่านั้น)  แต่ก็มีแปลกอยู่อย่างคือทุกครั้งที่จิตตื่นถึงจะ
ได้นอนแค่ 20 นาทีพอตื่นมาเหมือนได้นอนเต็มอิ่ม 3-4 ชั่วโมงไม่มีอาการง่วงเพลียเลย

       กายในมันซ้อนกายเนื้ออยู่อย่างนั้นไม่ยอมออกจากกายเนื้อ (แต่ใจเราพอรู้ว่าจิตตื่นแล้วกายมันเริ่มแยก
ออกจากกันก็นึกอยากออกไปเที่ยวน่ะแหละ เคยอ่านของหลวงปู่ดุลย์เค้าเรียกส่งจิตออกนอกหรือเปล่าไม่รู้
ถ้าเป็นการส่งจิตออกนอก ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องแล้วกันเนาะ) ก็นึกหาวิธีอยู่ว่าทำยังไงกายใน
มันถึงจะออกได้กำหนดยังไงก็ไม่ยอมออก น่าจะฝึกอยู่หลายสัปดาห์อยู่เหมือนกันถึงรู้ว่าจะกำหนดอย่างไร
ต้องน้อมใจทำความรู้สึกละวางทิ้งกายเนื้อไปเลย เหมือนตอนคนตายแล้ววิญญาณจะออกจากร่าง พอเรา
ไม่สนใจกายเนื้อจะรู้สึกว่ากายเนื้อค่อยๆ ละลายหายไปเหลือแต่กายใน พอกายเนื้อละลายหมดกายในจะ
ลอยขึ้นมาได้เอง หรือบางทีถ้ากายเนื้อไม่ละลายตอนที่กายในลอยออกก็อาจจะรู้สึกกายเนื้อเป็นเหมือน
ท่อนไม้นอนแข็งทื่อไม่มีแก่นสารอะไร กายในจะไม่สนใจกายเนื้อเลยเพราะความรู้สึกนึกคิดมาอยู่ที่กายใน

       พอฝึกกำหนดให้กายในทิ้งกายเนื้อได้แล้ว ทีนี้ก็มีบางครั้งที่กำหนดละกายเนื้อแล้วช่วงที่กายในเริ่ม
จะลอยหรือหลุดออกมาแต่ยังไม่ขาดจากกายเนื้อ บางทีเหมือนมันจะผลุบเข้าผลุบออก ก็เลยลองฝึกกำหนด
ให้กายในผลุบเข้าผลุบออกกายเนื้ออยู่เป็น 10 ครั้งจนพอรู้ แล้วก็ลองกำหนดให้ออกจากกายเนื้อแต่ไม่
ห่างกันมาก ก็สังเกตเห็นว่าถ้ากายในลอยห่างจากกายเนื้อเกิน 30-40 ซม.แล้วจะกำหนดให้กลับเข้า
กายเนื้อยากมากต้องปล่อยให้ลอยออกไปเลย อาจจะเกี่ยวกับกำลังสมาธิที่กำหนดด้วยก็เป็นได้ แต่ช่วง
หลังก็เห็นช่วงที่กายในออกไปเที่ยวแล้วกลับมาเข้ากายเนื้อก็เคยเจอเหมือนกัน บางทีก็เห็นภาพเป็นแบบดู
วิดีโอถอยหลังแบบเร็วๆ กายในมันลอยย้อนกลับเห็นรายละเอียดทุกตรอกซอกซอยและเส้นทางเดิมที่ลอย
ออกไป รู้สึกว่าไปไกลเป็น 1-2 กิโลเลย จนกลับมาสู่กายเนื้อแล้วก็เลยตื่น (ตอนออกไปอาจจะจำไม่ค่อยได้
แต่ตอนลอยกลับจิตมันรู้ว่ากลับทางเดิมเพราะจำได้ทุกช็อตเหมือนดูภาพนิ่งแบบรัวๆ)

        ขอย้อนกลับไปช่วงก่อนที่จะรู้วิธีนึกน้อมใจ (ลักษณะจะกึ่งนึกกึ่งใช้สมาธิกำหนดเบาๆ)ให้
กายในเคลื่อนไปในทิศที่ต้องการ เช่น ซ้าย ขวา หรือไปข้างหน้า (ถ้านึกน้อมใจไปทิศข้างหลังน่าจะทำ
ให้ช้าลงแต่ไม่ค่อยได้ฝึกบ่อยเลยจำไม่ได้แน่) มีอยู่วันหนึ่งขณะหลับแล้วจิตตื่นเห็นตัวเองนั่งสมาธิอยู่
ในห้องโล่งๆ ไม่สว่างมากแต่ก็ไม่มืด นั่งหันหน้าเข้าหาพระพุทธรูปตั้งอยู่ที่พื้นองค์สูงประมาณเท่าตัวเรา
เป็นพระพุทธรูปโทนสีออกเหลืองส้มๆ แต่โปร่งแสงลักษณะสวยงามนั่งสมาธิเหมือนตัวเราเลย ห่างกัน
ประมาณ 1.2-1.5 เมตร ก็มองไปที่องค์พระสักพักก็รู้สึกเหมือนตัวเราจะค่อยๆ หมุนไปมาช้าๆ รอบ
องค์พระ ก็นึกอยู่ว่าจะหมุนทำไมก็เลยลองฝืนความรู้สึกไว้ไม่ให้หมุน ก็รู้สึกว่าหมุนช้าลง แล้วก็ลองนึก
ให้หมุนไปทิศตรงข้าม เออไปตามที่นึกจริงๆ ด้วย ก็ยังไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่าเลยลองกำหนด
ให้หมุนไปหมุนกลับอยู่เป็น 10 ครั้งก็เลยแน่ใจว่าเรากำหนดให้หมุนได้จริง

         ลืมเล่าถึงตอนที่กำหนดให้กายในผลุบเข้าผลุบออกจากกายเนื้อ ว่าจะต้องวางอารมณ์
อย่างไร ถ้ากายในยังซ้อนอยู่กับกายเนื้อเราจะน้อมใจให้กายในออกโดยตรงไม่ได้ ช่วงนั้นความ
รู้สึกเราจะรู้ที่กายในและกายเนื้อไปพร้อมๆ กัน อาจจะมองว่ารู้สึกที่กายใน 50% รู้สึกกายเนื้อ 50%
ถ้าจะให้กายในเริ่มผลุบออกจากกายเนื้อก็กำหนดความรู้สึกให้มารู้สึกชัดที่กายในเพิ่มขึ้น สมมติว่า
กำหนดความรู้สึกไว้ที่กายใน 80% กายเนื้อ 20% เหมือนจะละกายเนื้อแต่ยังละไม่เต็มที่ ทำความ
รู้สึกว่าจะทิ้งกายเนื้อไม่เอาแล้วกายนี้และน้อมใจไปในทิศที่จะออกด้วย กายในก็จะเริ่มผลุบออกจาก
กายเนื้อ ถ้าอยากให้ผลุบกลับเข้ากายเนื้อก็ให้กลับไปนึกถึงกายเนื้อก็จะเหมือนถูกดูดกลับเข้ากายเนื้อ
ก็ลองฝึกเข้าๆ ออก ถ้ากายในลอยห่างจากกายเนื้อเกิน 30 ซม.จะเริ่มกำหนดให้กลับเข้ากายเนื้อยาก
เหมือนต้องใช้สมาธิในการกำหนดมากขึ้น

         ทีนี้พูดถึงลักษณะที่กายในออกจากกายเนื้อในท่านอนหรือท่ายืน จะเอาเท้าหรือศรีษะออกก่อน
จะกำหนดย่างไร ตอนแรกส่วนใหญ่จะออกในท่านอน ก็มาสังเกตเห็นว่าทำไมบางทีออกแบบเอียงๆ
เท้าสูงกว่าบ้าง ศรีษะสูงกว่าบ้าง มาเจอว่ามันเกี่ยวกับจุดที่เรากำหนดสติปกติกำหนดไว้ที่ท้อง จุดที่
สติกำหนดสามารถเลื่อนไปมาได้ถ้าจากท้องจะเลื่อนไปกำหนดที่ศีรษะก็น้อมใจให้สติค่อยๆ เคลื่อนไป
ทางศีรษะจะเหมือนเราถ่วงน้ำหนักในตาชั่งไปข้างใดข้างหนึ่งข้างที่หนักก็จะถ่วงไว้ข้างที่เบากว่าจะลอยขึ้น
ถ้าเราเริ่มเลื่อนสติจากท้องไปทางศรีษะ ปลายเท้าจะเบาและเริ่มลอยสูงขึ้น ถ้าอยากออกแบบยืนก็เลื่อน
สติไปกำหนดที่ปลายเท้าจะเหมือนใช้น้ำหนักไปถ่วงไว้ที่เท้า ทางศรีษะที่เบากว่าก็ลอยขึ้นยืนได้

         ท่านอนก็มีส่วนสำคัญกับกายใน ถ้านอนท่ายากขาไปขัดกันอยู่ก็จะกำหนดให้ออกยากหรือออกไม่ได้
เลย ถ้านอนหงายหรือคว่ำจะออกง่ายสุด แต่ถ้าฝึกออกบ่อยๆ จนชินแล้ว จะนอนตะแคงหรือนอนท่าไหนก็ได้
ถ้ารู้ตัวว่าจิตตื่นแล้วกายซ้อนกันอยู่จะใช้มือช่วยยันตัวลุกขึ้นนั่งหรือยืนเหมือนลุกจากที่นอนปกติได้



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่