*-* ถ้า ใจไม่แข็ง เท่า คอบ่าไหล่ นั่นแปลว่า ท่านเป็นออฟฟิศซินโดรม โรคน่ากลัวของคนวัยทำงานนะ !!!

วันนี้ จขกท. ปวดใจ แต่เช้าครับ เมื่อวานพึ่ง ตั้ง กท.ไปเลย 555 (เพราะไม่ได้เจอสาวน้อยคนสวย)
ใจก็แข็ง น้อย กว่า คอบ่าไหล่  หน้าคุณหมอ ลอยมาเลยครับ วันจันทร์ สงสัยไม่รอดครับ
สำหรับชาวออฟฟิตทุกท่าน ระวัง ออฟฟิศซินโดรม กันด้วยนะครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพนะครับ

ออฟฟิศซินโดรม โรคน่ากลัวของคนวัยทำงาน
โรคที่น่ากลัวของคนวัยทำงาน ยิ่งกับคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำงานท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นระยะเวลานาน จนเกิดอาการปวดเมื่อย ไม่ว่าจะเป็นปวดหลัง ปวดคอ ปวดเอว หรือปวดนิ้วมือ ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ต้องเฝ้าระวังและสังเกตให้ดีเพราะอาจเสี่ยงเป็นโรค ออฟฟิศซินโดรม ได้

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ?
ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (myofascial pain syndrome) มาจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ทำให้มีอาการเมื่อยหรือชาได้ โดยเฉพาะบริเวณคอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ

manออฟฟิศซินโดรม-5 เรื่องต้องรู้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

สาวแว่นออฟฟิศซินโดรมโรคยอดฮิตคนทำงานออฟฟิศ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ผู้หญิงกลุ่มที่เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

คนทำงานในออฟฟิศ คนกลุ่มนี้แม้ว่าจะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากมาย จนเหมือนว่าจะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ แต่การนั่ง ยืน หรือค้างอยู่ในท่า ๆ หนึ่งนานเกินไป เช่น การก้มหน้าใช้งานมือถือ นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบถนั้น ๆ เกิดอาการตึงและปวด
ผู้ใช้แรงงานเป็นประจำหรือนักกีฬา เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป การออกแรงมากเกินไป หรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

sad พฤติกรรมเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม
1.ทำกิจกรรมหรือทำงานลักษณะเดิม ๆ ต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น
*พนักงานออฟฟิศ ที่นั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ไม่ค่อยลุกไปไหน
*พนักงานขาย ที่ต้องยืนขายตลอดทั้งวัน (โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูง)
*พนักงานขับรถ ที่ต้องนั่งขับรถอยู่เป็นเวลานาน ๆ
2.ผู้ที่มีอาการปวดจากการทำงานไป 2-3 ชั่วโมง หรือบางคนตื่นเช้ามาไม่ปวด แต่ตอนเย็นจะเริ่มมีอาการปวด เมื่อย หรือชา
3.ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท หรือโต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ
4.มีอาการปวดเรื้อรังพอรักษาหรือยืดกล้ามเนื้อแล้วอาการก็ดีขึ้น แต่สักพักก็กลับมาเป็นอีก มักมีอาการบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก และส่วนหลัง
5.อาการปวดร้าวไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวไปที่ไหล่หรือแขน ปวดร้าวลงขา
6.ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7.ทำงานที่ต้องใช้แรงเป็นประจำ เช่น งานแบกหาม งานลาก ยก หรือเข็นวัสดุสิ่งขอ

Facepalmอาการแบบไหนที่เสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม
*ปวดกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก เมื่อนั่งทำงานท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ ๆ นาน ๆ
*ปวดหลังเรื้อรัง เกิดจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานผิดท่า นั่งหลังค่อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนาน ๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
*ปวดตึงที่ขาหรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
*ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
*มือชา นิ้วล็อก ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิม ๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้ว หรือข้อมือล็อก

นวม ปรับสไตล์ การทำงานป้องกันออฟฟิศซินโดรม
1.ปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
*กำหนดเวลาพักเป็นระยะ ทุก 2-3 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้น
*ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว หรือ บริหารผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
*ปรับเปลี่ยนท่าทาง ไม่ค้างอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป 
*เลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระ 
*ปรับระดับของการนั่งที่ถูกต้องและปรับท่านั่งให้ถูกต้อง คือ นั่งหลังตรง จอคอมพิวเตอร์จะต้องอยู่ในระดับสายตา ไม่ก้มหรือเงย และหัวไหล่ไม่ยกขณะทำงาน
*กรณีถ้าเกิดปวดมาก การรักษาขั้นต่อไปคือ การใช้ยาแก้ปวดเพื่อให้อาการปวดลดลงทำให้สบายมากขึ้น
2.การออกกำลังกายเป็นประจำ
*ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ช่วยให้การหมุนเวียนเลือดมีประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น ป้องกันเอ็นและข้อยึด เกิดความยืดหยุ่น
*ออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การหมุน การก้ม-เงย และเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนแกนกลางลำตัว เช่น *การออกกำลังกายแบบพิลาทิส จะทำให้ลดโอกาสบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากท่านั่งของเรา
*ออกกำลังกายแบบยืดเหยียด ประโยชน์ในการยืดและบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ ลดอาการตึง และเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

moonstarรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัด
​การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการกายภาพบำบัดเป็นการรักษาที่ต้นเหตุช่วยปรับโครงสร้างร่างกายในส่วนที่มีปัญหา ให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ตามความเหมาะสมกับปัญหาและอาการของแต่ละคน
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมมีหลายวิธี เช่น การทำประคบร้อน การทำอัลตราซาวนด์ การทำช็อกเวฟ หรือการดึงคอดึงหลัง ก็จะทำให้อาการปวดหรือออฟฟิศซินโดรมลดลง
อย่างไรก็ตาม อาการออฟฟิศซินโดรมควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล

pompomท่าบริหารลดออฟฟิศซินโดรม
1.ท่าเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ลำคอส่วนหน้า
*เงยศีรษะ 
*เอียงคอไปข้างที่จะยืด 45 องศา ยืดตัวตรง 
*ใช้มือฝั่งตรงข้ามจับศีรษะทางด้านหลังกดลงจนรู้สึกตึง ค้างไว้ 15 วินาที 
***ทำติดต่อกัน 5 ครั้ง ทีละข้าง

2.ท่าเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะบัก
*ถือดัมเบลล์ไว้ระดับหน้าอก 
*ออกแรงบีบสะบักเข้าหากันทั้ง 2 ข้างช้า ๆ 
***ทำ 2-3 วันต่อสัปดาห์ และต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน

3.ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อทรงท่าของคอ เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อคอมัดลึก ด้วยการดึงคอกลับให้ตรงกับลำตัว
*มองหน้าตรงไม่ก้มไม่เงย ค้างไว้อย่างน้อย 5 วินาที
***สามารถทำได้ตลอดเวลา

4.ท่าเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหน้าอก
*วางมือและแขนแนบกำแพงให้ขนานกับพื้น 
*ก้าวมาข้างหน้าเล็กน้อยแล้วบิดตัวออก 
*หันหน้าออกนอกกำแพงจนรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก ค้างไว้ 15 วินาทีติดต่อกัน 5 ครั้ง แล้วเปลี่ยนข้าง

5.ท่าเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ กระดูกสันหลังช่วงอก
*ประสานมือไว้ที่ท้ายทอย 
*แอ่นอกไปทางด้านหน้าจำนวน 10 ครั้ง ทำ 3 เซต

การออกกำลังกายด้วยท่าบริหารต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้
6 ท่าออกกำลังกาย สำหรับชาวออฟฟิศ ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

pompom ท่ายืดออกกำลังกาย ป้องกันออฟฟิศซินโดรม pompom

ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่ไม่ได้เสี่ยงถึงชีวิต แต่สร้างความรำคาญ และสามารถลุกลามไปยังกล้ามเนื้อหรือกระดูกส่วนอื่น ๆ ได้ ยิ่งเป็นแล้วปล่อยไว้ จะยิ่งทรมานส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิต รวมถึงสภาพจิตใจได้

Cr. ข้อมูลจาก
ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ 
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่