หลายคนตั้งคำถามว่า จิต คือ เรา หรือไม่??

หลายคนตั้งคำถามว่า จิต คือ เรา หรือไม่??

พระอาจารย์สุชาติ สอนเหมือนพระพุทธเจ้าเป๊ะ ว่าจิต คือ เรา
พระอรหันต์ไม่สอนธรรมคลาดเคลื่อนจากพระพุทธเจ้า

ใจ (จิต) ไม่ดับ
ร่างกายจะดับก็ดับไป แต่ใจยังเป็นอกาลิโกอยู่ เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เป็นธาตุรู้ ผู้รู้ แต่ขาดปัญญาไม่สามารถแยกแยะตนเองออกจากสิ่งที่คลุกเคล้าอยู่ด้วย (ขันธ์ 5) เมื่อไปคลุกเคล้าอยู่กับสิ่งที่มีการเกิดดับ (ขันธ์ 5) ก็เลยคิดว่าตนเองเกิดดับไปด้วย
ทุกข์เพราะใจหลง ใจไม่ยอมรับความจริง

เรา แท้จริง คือ ธาตุรู้ หรือ ผู้รู้ ใช้เรียกมันว่า จิตใจบ้าง เป็นดวงวิญญาณบ้าง กายทิพย์บ้าง คือ ธาตุรู้ทั้งนั้น

ธรรม = อสังขาร + สังขาร
อสังขาร = ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุและธาตุรู้ (จิตหรือใจ)
ธาตุ 4 นี้รวมกันแยกกันตามเหตุปัจจัย แต่ไม่เสื่อมจากความเป็นธาตุ จึงไม่เป็นอนิจจังแต่เป็นอนัตตา
สังขาร = สิ่งที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุ 4 และอากาศธาตุ
สังขารถ้ามี “ธาตุรู้” (จิตหรือใจ) ไปครอบครอง ก็คือ คน สัตว์
สังขารนี้ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ทำให้เกิดทุกข์ในธาตุรู้ (ทุกขัง) และแตกสลายกลับกลายเป็นธาตุ 4 (อนัตตา)
เมื่อ ธรรม = อสังขาร + สังขาร ธรรมะทั้งปวงจึงเป็นอนัตตา

ธาตุรู้ ที่มีอวิชขาครอบงำ ก็มี “ความอยาก” (ตัณหา) ให้สังขารนี้เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา

ธาตุรู้ ที่ไม่มีอวิชชา คือ มีปัญญา ก็ไม่อยากให้สังขารเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา เพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ อยากแล้วก็จะทุกข์

พอหยุดความอยากต่างๆ ที่อยู่ในใจหมดไป ธาตุรู้จะเป็นธาตุที่สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมา ธาตุรู้นี้เราจะเรียกว่า นิพพานธาตุ เป็นธาตุที่จะไม่มีร่างกายใหม่อีกต่อไป จะไม่ประกอบกับธาตุ 4 คือ ร่างกายอันใหม่เพราะมีร่างกายทีไร มันก็มีการแก่ การเจ็บ การตาย

ธาตุรู้ของพระพุทธเจ้า ธาตุรู้ของพระอรหันตสาวก ท่านอยู่ตามลำพัง ท่านไม่ต้องมีร่างกาย ไม่ต้องมีรูป เสียง กลิ่น รส ไม่ต้องมีลาภ ยศ สรรเสริญ มาให้ความสุขกับธาตุรู้ เพราะธาตุรู้ที่สะอาดบริสุทธิ์นี้เต็มเปี่ยมไปด้วยบรมสุขนั่นเอง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง ความสุขอันสูงสุด คือ ความสุขของพระนิพพาน

ที่มา หนังสือ ธาตุรู้
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับสละ และสลัดคืนในวิญญาณในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

“ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในวิญญาณได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้”

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส

อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตุว่าธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหาความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต คือ นิพพาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่