บะจ่างจะมีออกมาขายมากในช่วงประมาณเดือน พ.ค. ของทุกปีจะเร็วหรือช้ากว่า
นี้นิดหน่อยที่เป็นแบบนี้เพราะเทศกาลนี้จะนับตามปฏิทินจันทรคติของจีนคือเดือน 5 วันที่ 5
จีนมีชื่อเรียกเทศกาลนี้เฉพาะว่า 端午节* ตวนอู่เจี๋ย
เทศกาลตวนอู่เจี๋ยว ถือเป็นเทศกาลสำคัญมากของชาวจีน และผมก็ได้หยุดงาน


ในเทศกาลนี้ก็จะมีกิจกรรมที่สำคัญซึ่งก็คือการแข่งเรือมังกรก็จะคล้ายกับการแข่งพายเรื่อหางยาวของไทยนะครับ
เรื่องเทศกาลจบแค่นี้ก่อนเรามาเข้าเรื่องบะจ่างกันดีกว่า
บะจ่าง ถ้าเรียกแบบจี้น.. จีน ก็จะเรียกว่า “ 粽子 ” อ่านแบบจีนกลางว่า “จ้งจึ”
粽子 จ้งจึ แปลว่า อาหารที่มีการเอาใบของพืชมาห่อให้มีหลาย ๆมุมแล้วทำให้สุก
ที่ไทยเรียกว่าบะจ่าง ก็ออกเสียงตามแบบตามจีนแต้จิ๋ว ซึ่งถ้าออกเสียงแบบจีนกลางเรียกว่า โล่วจ้ง
เพราะว่าในไทยจะใส่เนื่อสัตว์ลงไปในตัวอาหาร
" 肉粽 " โล่วจ้ง/บะจ่าง (จีนกลาง/แต้จิ๋ว)
肉 โล่ว/บะ แปลว่าเนื้อแบบว่าเนื้อหนังมังสาอ่ะนะครับ เมื่อรวมกับ
粽 จ้ง/จ่าง แล้วก็จะแปลว่าอาหารที่ใช้ใบไม้ห่อข้าวเหนียวแล้วทำให้สุด
โดยที่ใส่เนื้อเข้าไปเป็นไส้นั่นเองนะครับ
ในแบบของไทยเนี่ยจะเอาข้าวเหนียวดิบผ้ดจนหอมใส่เครื่องอย่างอลัง
ห่อด้วยใบจ่างมัดในรูปแบบเฉพาะ
แล้วเอาไปต้มหรือนึ่ง
เปิดออกมากลิ่นหอมของใบจ่างกับเครื่องที่คละเคล้ากันพวยพุ้งออกมาคิดแล้วก็น้ำลายไหล...
" 粽子 " จ้งจึ ที่จีนเนี่ยจะแตกต่างกับที่ไทยอยู่บ้าง
ตามผมลองค้นดูความแตกต่างก็น่าจะแบ่งได้ประมาณ 3 ข้อนี้นะครับ
1ใบไม้ที่ใช้ห่อ
2ไส้ในที่นอกเหนือจากข้าวเหนียว
3วิธีการห่อ
1)ใบไม้ที่ใช้ห่อบะจ่าง มีด้วยกันหลายชนิดนะครับ หลัก ก็จะมี " 芦苇叶 " หลูเหว่ยเย่ พืชตระกูลกก、
" 箬叶 " ลั่วเย่ พืชต้นเตี้ยในสกุลไผ่ อันนี้แหละที่ใช้กันแพร่หลาย นอกเหนือจากนี้ก็ยังมี
" 桂竹叶 " กุ้ยจู๋เย่ พืชในตระกูลไผ่、" 芭蕉叶 " ปาเจียวเย่ ใบกล้วย、" 荷叶" เหอเย่ ใบบัว、" 竹笋壳 "จู๋สุ่นเขอ เปลือกหน่อไม้
ใบพืชทีนิยมใช้หรือฮอต ฮิต และใช้ห่อบะจ่างในไทยด้วยก็คือใบ " 箬叶 "ลั่วเย่
มันก็คือใบจ่างที่เราใช้กันทั่วไปขอย้ำนิดนะครับว่ามันไม่ใช่ใบไผ่แต่จัดอยู่ในสกุล
เดียวกันแต่ใบจ้างเนี่ยจะมีกลิ่นหอมแบบเฉพาะตัวไอ้ต้นจ่างเนี่ยมันเป็น
ไม้พุ่มที่ไม่สูงมากเรามาดูรูปต้นของมันกันครับ
ส่วนใบจ่างอีกแบบที่นิยมต่อมาก็คือ ใบ " 芦苇叶 " หลูเหว่ยเย่ เป็นพืชในตระกูลกก
จะมีความเรียวเล็กกว่าใบจ่าง นิยมใช้ทางตอนเหนือของประเทศจีน
และเนื่องจากใบมีขนาดเล็กทำให้ห่อออกมาจ้งจึก็จะมีขนาดเล็กไปด้วย
และนี่ก็คือรูปของมันครับ
ส่วนใบไม้ชนิดอื่น ๆที่ใช้ก็จะมี ใบกล้วย ใบกล้วยแคระ ใบบัว เปลือกหน่อไม้และใบไผ่
แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักจะใช้เมื่อในท้องถิ่นนั้น ๆหาใบจ่างได้
2)วนมาเรื่องของไส้กันบ้าง โดยปรกติเนี่ยที่จีนขนมโดยส่วนมากถ้าก็มักจะมีไส้ทั้งหวานและไส้เค็ม
ไส้หวานยกตัวอย่างเช่น ไส้พุทราจีน, ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ลูกบัว, เกาลัค, ผลไม้แห้ง
ไส้เค็มก็อย่างเช่น เนื้อตากแห้ง, ไข่เค็ม, แฮม, หมูสามชั้น, หมูแดง
บะจ่างของไทยมีความแปลกตรงที่ว่ารสเค็มและหวานอยู่ด้วยกันซึ่งถือว่าเป็นบะจ่างในแบบของแต้จิ๋ว
คือจะมีเนื้อสัตว์ แล้วก็จะมีเผือกกวนซึ่งจะถือว่าเป็นไส้หวานห่อรวมกัน
3) มาถึงข้อสุดท้ายกันแล้วยาวเนอะ 555 นั่นก็คือวิธีการห่อครับ
วิธีการมัด/ห่อบะจ่างก็มีหลายวิธีนะครับตามท้องถิ่นนั้นๆ
อธิบายด้วยตัวหนังสือค่อนข้างลำบาก
เรามาดูจากภาพกันเลยดีกว่าครับ
ข้าวตัมมัดบ้านเราก็จัดเป็นจ้งจึประเภทหนึ่งนะครับ อิอิ
จบซะทีครับ กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของผมผิดพลาดประการใดขออภัยนะครับ
ติชมกันได้นะครับ....
เทศกาลบะจ่าง !! บะจ่าง จีน กับ ไทย ต่างกันตรงไหนหนอ ??
นี้นิดหน่อยที่เป็นแบบนี้เพราะเทศกาลนี้จะนับตามปฏิทินจันทรคติของจีนคือเดือน 5 วันที่ 5
จีนมีชื่อเรียกเทศกาลนี้เฉพาะว่า 端午节* ตวนอู่เจี๋ย
粽子 จ้งจึ แปลว่า อาหารที่มีการเอาใบของพืชมาห่อให้มีหลาย ๆมุมแล้วทำให้สุก
ที่ไทยเรียกว่าบะจ่าง ก็ออกเสียงตามแบบตามจีนแต้จิ๋ว ซึ่งถ้าออกเสียงแบบจีนกลางเรียกว่า โล่วจ้ง
เพราะว่าในไทยจะใส่เนื่อสัตว์ลงไปในตัวอาหาร
肉 โล่ว/บะ แปลว่าเนื้อแบบว่าเนื้อหนังมังสาอ่ะนะครับ เมื่อรวมกับ
粽 จ้ง/จ่าง แล้วก็จะแปลว่าอาหารที่ใช้ใบไม้ห่อข้าวเหนียวแล้วทำให้สุด
โดยที่ใส่เนื้อเข้าไปเป็นไส้นั่นเองนะครับ
ในแบบของไทยเนี่ยจะเอาข้าวเหนียวดิบผ้ดจนหอมใส่เครื่องอย่างอลัง
ห่อด้วยใบจ่างมัดในรูปแบบเฉพาะ
แล้วเอาไปต้มหรือนึ่ง
เปิดออกมากลิ่นหอมของใบจ่างกับเครื่องที่คละเคล้ากันพวยพุ้งออกมาคิดแล้วก็น้ำลายไหล...
ตามผมลองค้นดูความแตกต่างก็น่าจะแบ่งได้ประมาณ 3 ข้อนี้นะครับ
1ใบไม้ที่ใช้ห่อ
2ไส้ในที่นอกเหนือจากข้าวเหนียว
3วิธีการห่อ
1)ใบไม้ที่ใช้ห่อบะจ่าง มีด้วยกันหลายชนิดนะครับ หลัก ก็จะมี " 芦苇叶 " หลูเหว่ยเย่ พืชตระกูลกก、
" 箬叶 " ลั่วเย่ พืชต้นเตี้ยในสกุลไผ่ อันนี้แหละที่ใช้กันแพร่หลาย นอกเหนือจากนี้ก็ยังมี
" 桂竹叶 " กุ้ยจู๋เย่ พืชในตระกูลไผ่、" 芭蕉叶 " ปาเจียวเย่ ใบกล้วย、" 荷叶" เหอเย่ ใบบัว、" 竹笋壳 "จู๋สุ่นเขอ เปลือกหน่อไม้
ใบพืชทีนิยมใช้หรือฮอต ฮิต และใช้ห่อบะจ่างในไทยด้วยก็คือใบ " 箬叶 "ลั่วเย่
มันก็คือใบจ่างที่เราใช้กันทั่วไปขอย้ำนิดนะครับว่ามันไม่ใช่ใบไผ่แต่จัดอยู่ในสกุล
เดียวกันแต่ใบจ้างเนี่ยจะมีกลิ่นหอมแบบเฉพาะตัวไอ้ต้นจ่างเนี่ยมันเป็น
ไม้พุ่มที่ไม่สูงมากเรามาดูรูปต้นของมันกันครับ
ส่วนใบจ่างอีกแบบที่นิยมต่อมาก็คือ ใบ " 芦苇叶 " หลูเหว่ยเย่ เป็นพืชในตระกูลกก
จะมีความเรียวเล็กกว่าใบจ่าง นิยมใช้ทางตอนเหนือของประเทศจีน
และเนื่องจากใบมีขนาดเล็กทำให้ห่อออกมาจ้งจึก็จะมีขนาดเล็กไปด้วย
และนี่ก็คือรูปของมันครับ
ส่วนใบไม้ชนิดอื่น ๆที่ใช้ก็จะมี ใบกล้วย ใบกล้วยแคระ ใบบัว เปลือกหน่อไม้และใบไผ่
แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักจะใช้เมื่อในท้องถิ่นนั้น ๆหาใบจ่างได้
2)วนมาเรื่องของไส้กันบ้าง โดยปรกติเนี่ยที่จีนขนมโดยส่วนมากถ้าก็มักจะมีไส้ทั้งหวานและไส้เค็ม
ไส้หวานยกตัวอย่างเช่น ไส้พุทราจีน, ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ลูกบัว, เกาลัค, ผลไม้แห้ง
ไส้เค็มก็อย่างเช่น เนื้อตากแห้ง, ไข่เค็ม, แฮม, หมูสามชั้น, หมูแดง
บะจ่างของไทยมีความแปลกตรงที่ว่ารสเค็มและหวานอยู่ด้วยกันซึ่งถือว่าเป็นบะจ่างในแบบของแต้จิ๋ว
คือจะมีเนื้อสัตว์ แล้วก็จะมีเผือกกวนซึ่งจะถือว่าเป็นไส้หวานห่อรวมกัน
3) มาถึงข้อสุดท้ายกันแล้วยาวเนอะ 555 นั่นก็คือวิธีการห่อครับ
วิธีการมัด/ห่อบะจ่างก็มีหลายวิธีนะครับตามท้องถิ่นนั้นๆ
อธิบายด้วยตัวหนังสือค่อนข้างลำบาก
เรามาดูจากภาพกันเลยดีกว่าครับ
ข้าวตัมมัดบ้านเราก็จัดเป็นจ้งจึประเภทหนึ่งนะครับ อิอิ
จบซะทีครับ กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของผมผิดพลาดประการใดขออภัยนะครับ
ติชมกันได้นะครับ....