สร้างฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ หรือพูดง่ายๆก็คือดึงเอายอดขายรถในอีก 1-2 ปีข้างหน้ามาสร้างภาพตัวเลขเศรษฐกิจให้มันดูดีครับ
ในส่วนของบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วน คนส่วนใหญ่ก็จะจำแค่ภาพตอนแรกว่ารวยกันพุงปลิ้น แต่จริงๆแล้วมันเป็นทุกขลาภที่สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอย่างมหาศาล ขณะที่บริษัทรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแต่น้อยกว่า
ทำไม?
คนส่วนใหญ่มักจะจำได้แค่ว่าบริษัทรถยนต์ขายรถได้เยอะ บริษัทชิ้นส่วนก็ขายได้เยอะ มันไม่ดีตรงไหน เอ้า เราไปดูตัวเลขยอดขายรถในประเทศช่วงนั้นกันครับ

จะเห็นว่ายอดขายรถยนต์ช่วงปี 2553 และ 2554 อยู่ที่ประมาณ 8 แสนคันต่อปี แม้ปี 54 จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแต่ปีนั้นก็คาดกันไว้ว่ายอดขายยังไงก็ไม่เกิน 8.5 แสนคัน ซึ่งเอาจริงๆในเวลานั้นแค่ยอด 794,081 คันในปี 2554 มันก็สูงที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากปี 2553 แล้ว ประเทศไทยไม่เคยขายรถได้มากขนาดนั้นมาก่อน การที่ท่องจำกันมาว่า "ยอดขายรถดิ่งเหวเพราะน้ำท่วม รัฐบาลต้องช่วย" นั้นคือเรื่องโกหก ใช่ น้ำท่วมมันมีผลกระทบต่อการผลิตอและยอดขายของรถยนต์หลายๆยี่ห้อ บางยี่ห้อน้อย บางยี่ห้อมาก (HONDA) แต่ตัวเลขยอดขายระดับสูงที่สุดอันดับที่ 2 ตลอดกาลมันย่อมไม่ใช่สาเหตุของนโยบายบิดเบือนเศรษฐกิจอย่างรถคันแรก
นโยบายรถคันแรก (ที่ประกาศต่อสภาตั้งแต่กลางปี 54 ก่อนน้ำท่วมอีก) มันถูกคิดขึ้นมาเพื่อหลอกตัวเลขเศรษฐกิจให้มันดูสูงขึ้นในระยะเวลาสั้นๆมาตั้งแต่แรกแล้ว จะเห็นว่าหลังจากยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 1.4 ล้านและ 1.3 ล้านคันในปี 2555 และ 2556 ซึ่งเมื่อมียอดขายรถสูงขนาดนั้นก็ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่คล่องตัวผิดปกติ แต่หลังจากนั้นยอดขายมันก็ลดลงมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนยอดปี 2559 มันต่ำกว่าปี 2554 เสียอีก แสดงว่าตัวเลขยอดขายปี 2555, 2556 มันเป็นเพียงการดึงเอายอดในอนาคตมาแปะไว้ในปีนั้นๆเพื่อทำให้เศรษฐกิจมันดูดี จากการเร่งให้คนซื้อรถเร็วขึ้นจนยอดขายในอนาคตที่ควรจะเติบโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติหายไป ไม่ได้คิดเลยว่าหลังจากนั้นอีก 2-3 ปีมันจะเป็นยังไง
แล้วมันไม่ดียังไงกับอุตยานยนต์ไทย?
ยอดขายเพิ่มขึ้นเป้นเรื่องดีแต่รถยนต์มันไม่ได้เสกขึ้นมาจากอากาศธาตุ มันไม่ได้ใช้เวทมนต์สร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่าครับ มันต้องถูกผลิตขึ้นมาจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ ในส่วนของบริษัทที่ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนต้องลงทุนมหาศาลเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ขึ้นกว่า 500,000 units และชิ้นส่วนเป็นล้านๆชิ้นในเวลาน้อยกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นสายการผลิต แรงงานในการผลิต การสั่งจองวัตถุดิบ ทั้งหมดต้องถูกสร้างขึ้นในเวลาจำกัดอย่างเร่งรีบ ภายใต้การตัดสินใจที่ไม่รอบคอบด้วยความจำเป็นที่ต้องทำ และหลังจากนั้นอีก 2 ปีกำลังการผลิต 500,000 units และชิ้นส่วนเป็นล้านชิ้นนั้นก็กลายเป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป บางส่วนต้องทำการรื้อถอน บางส่วนต้องคงไว้กลายเป็น Fixed Cost ที่ไม่จำเป็น แรงงานบางส่วนต้องถูกปลดออกโดยบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวนมาก มันกลายเป็นกำลังการผลิตส่วนเกินที่ส่งผลถึงต้นทุนคงที่ในปัจจุบันและอนาคต ณ เวลานั้น หรือเท่ากับการลงทุนใหม่ที่ยังไม่ทันคืนทุนก็กลายเป็นภาระไปเสียแล้ว แถมในกรณีของบริษัทข้ามชาติทั้งหลายทำให้โรงงานในไทยกลายเป็นตัวป่วนแผนงานของบริษัทในระดับ Global Scale จนไม่มีใครกล้าวางแผนการลงทุนใหญ่ๆในสาขาที่ไทยอีกเลยในช่วงเวลานั้น
ซึ่งเพื่อตอบรับยอดขายของรถคันแรกจะไม่ลงทุน ไม่ผลิตเพิ่มก็ไม่ได้ เพราะถ้าใครเจ้าไหนไม่ทำส่วนแบ่งจาก Demand ชั่วคราวในเวลานั้นก็จะไปตกที่คนที่ยอมลงทุนเพิ่ม
ในส่วนของการขายรถหลังหมดนโยบายรถคันแรก บางรุ่นบางยี่ห้อยังต้องเอารถมาจัดโปรลดราคาแล้วผ่อน 0% ตลอดสัญญาอีกต่างหาก เพราะมันขายไม่ออกเทียบกับกำลังการผลิตมหาศาลที่ต้องแบกรับต้นทุนเอาไว้
คนภายนอกอาจจะคิดว่าบริษัทรถและชิ้นส่วนรวยปลิ้น แต่จริงๆแล้วอุตสาหกรรมทยานยนต์ไทย "เข็ด" กับนโยบายสร้างวิมานในอากาศอย่างรถคันแรกจนไม่มีวันลืม แม้กระทั่งช่วงปี 2561 และ 2562 ที่ยอดขายรถยนต์ในไทยสูงที่สุด (แบบเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่จากการกระตุ้น) ก็ยังทำได้ 1 ล้านคัน ไม่ได้ใกล้เคียง 1.4 ล้านคันที่ถูกกระตุ้นแบบผิดธรรมชาติเลยซักนิด
หลัง COVID รัฐบาลประยุทธ์อยากจะใช้นโยบายยกเว้นภาษีกระตุ้นยอดขายรถเหมือนตอนรถคันแรกเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนภายในประเทศอีก โดยโยนหินถามทางไปที่บริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนทั้งหลายว่าอยากได้มั้ย แต่ตอนนั้นทั้งบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนในไทยต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันโดยพร้อมเพรียงว่า "Nooooooooooooooo" ไม่เอาอีกแล้วจ้า เข็ดจนตาย
คุณคิดว่ารถคันแรกของคุณ กับ ปัญหาเศรษฐกิจไทย คุ้มไหมครับ?
ในส่วนของบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วน คนส่วนใหญ่ก็จะจำแค่ภาพตอนแรกว่ารวยกันพุงปลิ้น แต่จริงๆแล้วมันเป็นทุกขลาภที่สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอย่างมหาศาล ขณะที่บริษัทรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแต่น้อยกว่า
ทำไม?
คนส่วนใหญ่มักจะจำได้แค่ว่าบริษัทรถยนต์ขายรถได้เยอะ บริษัทชิ้นส่วนก็ขายได้เยอะ มันไม่ดีตรงไหน เอ้า เราไปดูตัวเลขยอดขายรถในประเทศช่วงนั้นกันครับ
นโยบายรถคันแรก (ที่ประกาศต่อสภาตั้งแต่กลางปี 54 ก่อนน้ำท่วมอีก) มันถูกคิดขึ้นมาเพื่อหลอกตัวเลขเศรษฐกิจให้มันดูสูงขึ้นในระยะเวลาสั้นๆมาตั้งแต่แรกแล้ว จะเห็นว่าหลังจากยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 1.4 ล้านและ 1.3 ล้านคันในปี 2555 และ 2556 ซึ่งเมื่อมียอดขายรถสูงขนาดนั้นก็ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่คล่องตัวผิดปกติ แต่หลังจากนั้นยอดขายมันก็ลดลงมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนยอดปี 2559 มันต่ำกว่าปี 2554 เสียอีก แสดงว่าตัวเลขยอดขายปี 2555, 2556 มันเป็นเพียงการดึงเอายอดในอนาคตมาแปะไว้ในปีนั้นๆเพื่อทำให้เศรษฐกิจมันดูดี จากการเร่งให้คนซื้อรถเร็วขึ้นจนยอดขายในอนาคตที่ควรจะเติบโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติหายไป ไม่ได้คิดเลยว่าหลังจากนั้นอีก 2-3 ปีมันจะเป็นยังไง
แล้วมันไม่ดียังไงกับอุตยานยนต์ไทย?
ยอดขายเพิ่มขึ้นเป้นเรื่องดีแต่รถยนต์มันไม่ได้เสกขึ้นมาจากอากาศธาตุ มันไม่ได้ใช้เวทมนต์สร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่าครับ มันต้องถูกผลิตขึ้นมาจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ ในส่วนของบริษัทที่ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนต้องลงทุนมหาศาลเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ขึ้นกว่า 500,000 units และชิ้นส่วนเป็นล้านๆชิ้นในเวลาน้อยกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นสายการผลิต แรงงานในการผลิต การสั่งจองวัตถุดิบ ทั้งหมดต้องถูกสร้างขึ้นในเวลาจำกัดอย่างเร่งรีบ ภายใต้การตัดสินใจที่ไม่รอบคอบด้วยความจำเป็นที่ต้องทำ และหลังจากนั้นอีก 2 ปีกำลังการผลิต 500,000 units และชิ้นส่วนเป็นล้านชิ้นนั้นก็กลายเป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป บางส่วนต้องทำการรื้อถอน บางส่วนต้องคงไว้กลายเป็น Fixed Cost ที่ไม่จำเป็น แรงงานบางส่วนต้องถูกปลดออกโดยบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวนมาก มันกลายเป็นกำลังการผลิตส่วนเกินที่ส่งผลถึงต้นทุนคงที่ในปัจจุบันและอนาคต ณ เวลานั้น หรือเท่ากับการลงทุนใหม่ที่ยังไม่ทันคืนทุนก็กลายเป็นภาระไปเสียแล้ว แถมในกรณีของบริษัทข้ามชาติทั้งหลายทำให้โรงงานในไทยกลายเป็นตัวป่วนแผนงานของบริษัทในระดับ Global Scale จนไม่มีใครกล้าวางแผนการลงทุนใหญ่ๆในสาขาที่ไทยอีกเลยในช่วงเวลานั้น
ซึ่งเพื่อตอบรับยอดขายของรถคันแรกจะไม่ลงทุน ไม่ผลิตเพิ่มก็ไม่ได้ เพราะถ้าใครเจ้าไหนไม่ทำส่วนแบ่งจาก Demand ชั่วคราวในเวลานั้นก็จะไปตกที่คนที่ยอมลงทุนเพิ่ม
ในส่วนของการขายรถหลังหมดนโยบายรถคันแรก บางรุ่นบางยี่ห้อยังต้องเอารถมาจัดโปรลดราคาแล้วผ่อน 0% ตลอดสัญญาอีกต่างหาก เพราะมันขายไม่ออกเทียบกับกำลังการผลิตมหาศาลที่ต้องแบกรับต้นทุนเอาไว้
คนภายนอกอาจจะคิดว่าบริษัทรถและชิ้นส่วนรวยปลิ้น แต่จริงๆแล้วอุตสาหกรรมทยานยนต์ไทย "เข็ด" กับนโยบายสร้างวิมานในอากาศอย่างรถคันแรกจนไม่มีวันลืม แม้กระทั่งช่วงปี 2561 และ 2562 ที่ยอดขายรถยนต์ในไทยสูงที่สุด (แบบเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่จากการกระตุ้น) ก็ยังทำได้ 1 ล้านคัน ไม่ได้ใกล้เคียง 1.4 ล้านคันที่ถูกกระตุ้นแบบผิดธรรมชาติเลยซักนิด
หลัง COVID รัฐบาลประยุทธ์อยากจะใช้นโยบายยกเว้นภาษีกระตุ้นยอดขายรถเหมือนตอนรถคันแรกเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนภายในประเทศอีก โดยโยนหินถามทางไปที่บริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนทั้งหลายว่าอยากได้มั้ย แต่ตอนนั้นทั้งบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนในไทยต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันโดยพร้อมเพรียงว่า "Nooooooooooooooo" ไม่เอาอีกแล้วจ้า เข็ดจนตาย