ปชช.หวั่นมาตรการกระตุ้นศก. “รัฐบาลแพทองธาร” ก่อหนี้สาธารณะ
https://siamrath.co.th/n/582618
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “รัฐบาลแพทองธาร กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,227 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2567 สรุปผลได้ ดังนี้
1.ประชาชนคิดอย่างไรกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธาร
อันดับ 1 กังวลเรื่องภาระหนี้สาธารณะ 54.80%
อันดับ 2 มาตรการยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม 49.63%
อันดับ 3 มาตรการบางส่วนดี แต่รายละเอียดยังไม่ชัดเจน 44.95%
2.ประชาชนพึงพอใจมาตรการใดมากที่สุด
อันดับ 1 ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นถ้วนหน้า 55.78%
อันดับ 2 แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 เฟส 2 50.13%
อันดับ 3 ปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน 44.31%
3.ประชาชนเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารหรือไม่
อันดับ 1 เชื่อมั่น 53.87%
อันดับ 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 46.13%
4.ประชาชนคิดว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด
อันดับ 1 ช่วยได้บ้าง 43.44%
อันดับ 2 ช่วยไม่ได้ 31.13%
อันดับ 3 ช่วยได้มาก 25.43%
5.ประชาชนคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นเมื่อใด
อันดับ 1 ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะดีขึ้น 45.31%
อันดับ 2 ครึ่งปีหลัง ปี 2568 23.63%
อันดับ 3 ปี 2569 เป็นต้นไป 17.36%
6.ประชาชนอยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการช่วยเหลือเรื่องใดมากที่สุด
อันดับ 1 ลดค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้า 60.98%
อันดับ 2 เพิ่มมาตรการกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ 54.67%
อันดับ 3 ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนให้เติบโต 52.62%
นางสาว
พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจสะท้อนความเห็นที่แตกต่างกันในสังคมต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะเชื่อมั่นแต่ก็ยังไม่แน่ใจในนโยบายเฉพาะหน้า และมีความกังวลต่อความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ด้านมุมมองต่อสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ เรียกว่า “
ชอบเงินหมื่นแต่ไม่รู้เศรษฐกิจจะฟื้นเมื่อไหร่” ทั้งนี้ต้องการให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเรื่องปากท้องโดยเร่งด่วน
ด้าน ดร.
งามประวัณ เอ้สมนึก อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง อธิบายว่า เมื่อพิจารณาจากผลโพล แม้ว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารในภาพรวม แต่ประชาชนยังมีความกังวลเรื่องปัญหาค่าครองชีพและการควบคุมราคาสินค้าในปัจจุบัน และต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนมากที่สุด การที่รัฐบาลได้ดำเนินการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 ไปแล้วนั้น แต่บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยก็ยังไม่กลับมาคึกคักมากนัก ทำให้ประชาชนคิดว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 อาจจะพอช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างเท่านั้น และยังไม่เห็นแนวโน้มว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น อีกทั้งประชาชนยังมีความกังวลว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่งมีความเห็นชอบ 5 แผนขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และระยะยาว โดยมุ่งหวังให้มีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้ปัญหาหนี้สิน และกระตุ้นการลงทุน ซึ่งจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ตรงจุดตรงประเด็นหรือไม่เพียงใดคงต้องรอดูกันต่อไป
ปชช.ใช้ทยอยสิทธิ์ เปิดหีบเลือกตั้งนายกฯ อบจ.อุดรฯ
https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/237257
ปชช.ใช้ทยอยสิทธิ์ เปิดหีบเลือกตั้งนายกฯ อบจ.อุดรฯ บางหน่วยบางตา บางหน่วยคึกคัก
การเลือกตั้งนายกอบจ. ใน 3 จังหวัด เช่น อุดรธานี นครศรีธรรมราช และเพชรบุรี แต่สนามที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ คือ อุดรธานี เพราะถือเป็นสนามใหญ่ และมีทั้ง 2 พรรคการเมือง แข่งอย่างดุเดือด บรรยากาศการเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี หลังเปิดหีบเมื่อเวลา 8.00 น. จากการสำรวจหลายหน่วยเลือกตั้ง ในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ก็พบว่า แต่ละหน่วยก็มีประชาชนทยอยออกมาใช้สิทธิ์ต่อเนื่อง
บางหน่วยก็มีผู้มาใช้สิทธิ์บางตา แต่ในบางหน่วย ก็มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์คึกคัก เช่นหน่วยเลือกตั้ง ทั้ง 4 หน่วย ในวัดศรีคุณเมือง ที่มีประชาชนต่อแถวรอใช้สิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมากันเป็นกลุ่มครอบครัว โดยประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ์วันนี้ ก็หวังว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ จะได้ผู้ที่มาทำหน้าที่พัฒนาอุดรธานีให้เจริญกว่าเดิม พร้อมเชิญชวนให้ชาวอุดรธานี ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันเยอะๆ
ขณะที่ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนเทศบาล 3 ปรากฎว่า ผู้สมัคร นายก อบจ. ของ 2 พรรคใหญ่ มีชื่อมาใช้สิทธิ์ในหน่วยเลือกตั้งเดียวกัน โดยนาย
คณิศร ขุริรัง เดินทางมาใช้สิทธิ์พร้อมกับภรรยา และลูกสาว 2 คน ถัดจากนั้นไม่นาน นาย
ศราวุธ เพชรพนมพร ก็เดินทางมาใช้สิทธิ์ พร้อมกับภรรยา ซึ่งผู้สมัครทั้ง 2 คน มีท่าทียิ้มแย้ม เมื่อลงคะแนนเรียบร้อยแล้วก็เดินทางกลับทันที
ด้านนาย
แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ลงพื้นที่หน่วยเลือกตั้ง 20 บริเวณศาลาพิธีทุ่งศรีเมือง เพื่อตรวจความเรียบร้อยในช่วงเปิดหีบเลือกตั้ง พร้อมประเมินผู้ที่จะออกมาใช้สิทธิ์ในวันนี้ โดยก่อนหน้ายอมรับว่า อาจจะไม่ได้คึกคักมากนัก เนื่องจากเป็นการเลือกตั้ง ที่ไม่ได้เป็นไปตามวาระ แต่เมื่อเป็นสนามการเลือกตั้งที่แข่งกันดุเดือดระหว่างพรรคการเมือง ก็อาจจะทำให้มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดหวังไว้ที่ 60 เปอร์เซนต์ ส่วนผลการเลือกตั้ง คาดว่าจะทราบผลอย่างไม่เป็นทางการ ช่วงสามทุ่มคืนนี้ สำหรับจังหวัดอุดรธานี มีทั้งหมด 20 อำเภอ โดยข้อมูลจาก กกต.ประจำจังหวัดอุดรธานี ระบุว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 1,238,128 คน และมีหน่วยเลือกตั้ง 2,243 หน่วย
ด้าน นาย
ราชัณย์ ซุ้นฮั้ว ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาก็เข้าใจว่าการเลือกตั้ง เป็นที่สนใจของประชาชน โดยเฉพาะการเลือกตั้ง นายก อบจ.ของอุดรธานี ทุกภาคส่วนได้รับความร่วมมาร่วมมือจาก ท่านนายอำเภอ ฝ่ายปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้พี่น้องประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมา ใช้สิทธิ์ของตัวเองตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ อุดรธานีมีหน่วยเลือกตั้ง 2,243 หน่วย มีประชาชนสิทธิทั้งจังหวัด 1,238,128 คน ที่จะมาใช้สิทธิกันในวันนี้คาดหมายกันว่าจะมาใช้สิทธิ์กันให้มากที่สุด ตนเองได้ขอความร่วมมือในอำเภอ แจ้งไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น ให้ใช้ทุกช่องทางในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ประชาชนประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. เข้าใจว่าพี่น้องประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์กันตามสมควร จากประสานกับ กกต.ของอุดรธานีเมื่อวานนี้ท่านเลขาฯ กกต.ก็มาให้กำลังใจเตรียมการการเลือกตั้ง ให้มีความเรียบร้อยมากที่สุด ท่านบอกว่าน่าจะไม่เกิน 23.00 น.จะทราบผลอย่างเป็นทางการ
เอสเอ็มอีฝาก 5 โจทย์แรงๆ ถึงประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ ขอให้กล้าทำ อย่าแค่อีเว้นท์
https://www.dailynews.co.th/news/4112245/
"แสงชัย" ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ฝาก 5 โจทย์ใหญ่ ถึง "กิตติรัตน์" ประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ ขอให้กล้าทำฟันดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม แก้หนี้แบบทำจริง เห็นผลจริง อย่าทำแค่อีเว้นท์
นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการฝากถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานบอร์ดแบงก์ชาติให้เร่งดำเนินการ หลังจากดำรงตำแหน่ง คือ แก้ข้อสงสัยของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และประชาชนหลายๆคน ซึ่งโจทย์ความเหลื่อมล้ำ เป็นสิ่งที่แก้ไม่ยาก แค่ต้องการ “
ผู้นำที่มีความกล้าหาญและธรรมาภิบาล” ซึ่งหลายคนมองว่า เศรษฐกิจไทยติดกับดักเพราะอะไร ? เอสเอ็มอีไทยและประชาชนทำไมโผล่ไม่พ้นน้ำสักที ? เชื่อว่า ถ้าปัญหาเหล่านี้ได้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะพ้นบ่วงปัญหาที่ติดกับดักมาอย่างยาวนานแน่นอน
1. ดอกเบี้ยที่เป็นธรรม
1.1 การเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับเพิ่มขึ้นดอกเบี้ย เช่น ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% ทางสถาบันการเงินของไทย ก็จะปรับเพิ่มขึ้นทันที 0.25% แต่เมื่อยามเฟดลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สถาบันการเงินของไทย จะปรับลดเพียง 0.1-0.25% เท่านั้น เรื่องนี้ต้องดูว่า ใครได้ประโยชน์ และใครเสียประโยชน์
1.2 ดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลและพิโก้-นาโนไฟแนนซ์ อยู่ในสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูงสวนทางสินเชื่อธุรกิจ เอสเอ็มอีที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าไม่เกิน 15% ต่อปี โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยถูกผลักจากสินเชื่อธุรกิจที่มีดอกเบี้ยต่ำเข้าไปอยู่ในสินเชื่อส่วนบุคคลและพิโก้-นาโนไฟแนนซ์ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 25-33% ต่อปี ด้วยข้อหาเสี่ยงสูง-ดอกเบี้ยต้องสูง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งปล่อยรายย่อยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน แต่คิดดอกเบี้ยผู้กู้เท่ากับผู้ให้บริการทางการเงิน ที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน (นอน แบงก์) ไม่เป็นธรรมกับผู้กู้ และนอน แบงก์ ที่ไม่ได้รับบสย. แต่ธนาคารที่รับบสย. กลับคิดดอกเบี้ยเท่ากันเกิดแต้มต่อที่ไม่เป็นธรรม แต่หากคิดมุมกลับเอสเอ็มอีรายย่อยล้วนเป็นกลุ่มที่ต้องการเข้าถึงโอกาสและการยกระดับขีดความสามารถเพื่อก้าวข้ามกับดักความยากจนที่ต้องมีแต้มต่อทางการเงิน และไม่ใช่บอกออกแบบพิโก้ นาโนไฟแนนซ์มาเพื่อปิดช่องว่างทางการเงินดีกว่าไปใช้นอกระบบ “ยิ่งจน ดอกเบี้ยแพง”
1.3 ดอกเบี้ยการพักชำระหนี้ การคำนวณดอกเบี้ยส่วนเพิ่มต้องคำนวณตามข้อเท็จจริง คือ คำนวณบนฐานค่างวดที่ถึงกำหนดชำระหนี้แล้วเท่านั้น ซึ่งค่างวดมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจะคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันการเงินจะคำนวณคิดดดอกเบี้ยบนฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด (Loan Outstanding) เพราะการผ่อนค่างวดสถาบันการเงินได้จัดตารางการผ่อนชำระโดยดอกเบี้ยที่อยู่ในค่างวดและสัญญาเป็นดอกเบี้ยที่คำนวณจากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมดแล้ว ให้ทบทวนแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 244/1 ให้รวมกรณีพักชำระหนี้เข้าไปด้วย เพื่อป้องกันการเอาเปรียบในอนาคต
2. กลไกการแก้หนี้ทั้งระบบ ขาดเจ้าภาพและกลไกที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน มีลักษณะการดำเนินการแบบอีเว้นท์ ควรมีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเอสเอ็มอีและหนี้ครัวเรือนที่แก้ไขยกระดับคุณภาพหนี้ครัวเรือนแต่ละกลุ่ม ไกล่เกลี่ย แผนฟื้นฟูและยกระดับขีดความสามารถเอสเอ็มอีเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำซ้อน เปิดโอกาสให้คืนเอสเอ็มอีที่แข็งแรงกลับสู่เศรษฐกิจไทย
3. มาตรการลดส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) ลงครึ่งหนึ่ง หรือ เหลือ 0.23% จากปัจจุบันที่ 0.46% เพื่อให้สถาบันการเงินธนาคารนำมาช่วยลดหนี้ให้ประชาชนและเอสเอ็มอี ซึ่งมีประเด็นจากในอดีตช่วงโควิด-19 ที่เคยลดแต่ไม่มีผลลัพธ์ที่ชัดเจน อยากให้ทางธปท. และกระทรวงการคลัง กำหนดตัวชี้วัด (เคพีไอ) ให้ชัดเจนว่าจะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชนได้เท่าไร เป้าหมายตรงไหนก่อน ไม่ใช่ว่าลดโดยไม่มีมาตรการไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ช่วยกลุ่มใด จำนวนเท่าไรแล้วค่อยมานำมาแลกกับมาตรการส่วนลดเอฟไอดีเอฟ ตามผลงาน ไม่เช่นนั้นมาตรการการลดเงิน เข้ากองทุนเอฟไอดีเอฟ มีแต่ละสถาบันการเงินได้ประโยชน์ แต่เอสเอ็มอีไม่ได้ประโยชน์เหมือนเดิม
JJNY : ปชช.หวั่น“แพทองธาร”ก่อหนี้สธ.│เปิดหีบเลือกตั้งนายกฯ อบจ.อุดรฯ│เอสเอ็มอีฝาก 5 โจทย์แรงๆ│พายุเบิร์ตทำจราจรปั่นป่วน
https://siamrath.co.th/n/582618
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “รัฐบาลแพทองธาร กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,227 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2567 สรุปผลได้ ดังนี้
1.ประชาชนคิดอย่างไรกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธาร
อันดับ 1 กังวลเรื่องภาระหนี้สาธารณะ 54.80%
อันดับ 2 มาตรการยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม 49.63%
อันดับ 3 มาตรการบางส่วนดี แต่รายละเอียดยังไม่ชัดเจน 44.95%
2.ประชาชนพึงพอใจมาตรการใดมากที่สุด
อันดับ 1 ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นถ้วนหน้า 55.78%
อันดับ 2 แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 เฟส 2 50.13%
อันดับ 3 ปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน 44.31%
3.ประชาชนเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารหรือไม่
อันดับ 1 เชื่อมั่น 53.87%
อันดับ 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 46.13%
4.ประชาชนคิดว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด
อันดับ 1 ช่วยได้บ้าง 43.44%
อันดับ 2 ช่วยไม่ได้ 31.13%
อันดับ 3 ช่วยได้มาก 25.43%
5.ประชาชนคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นเมื่อใด
อันดับ 1 ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะดีขึ้น 45.31%
อันดับ 2 ครึ่งปีหลัง ปี 2568 23.63%
อันดับ 3 ปี 2569 เป็นต้นไป 17.36%
6.ประชาชนอยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการช่วยเหลือเรื่องใดมากที่สุด
อันดับ 1 ลดค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้า 60.98%
อันดับ 2 เพิ่มมาตรการกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ 54.67%
อันดับ 3 ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนให้เติบโต 52.62%
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจสะท้อนความเห็นที่แตกต่างกันในสังคมต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะเชื่อมั่นแต่ก็ยังไม่แน่ใจในนโยบายเฉพาะหน้า และมีความกังวลต่อความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ด้านมุมมองต่อสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ เรียกว่า “ชอบเงินหมื่นแต่ไม่รู้เศรษฐกิจจะฟื้นเมื่อไหร่” ทั้งนี้ต้องการให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเรื่องปากท้องโดยเร่งด่วน
ด้าน ดร.งามประวัณ เอ้สมนึก อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง อธิบายว่า เมื่อพิจารณาจากผลโพล แม้ว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารในภาพรวม แต่ประชาชนยังมีความกังวลเรื่องปัญหาค่าครองชีพและการควบคุมราคาสินค้าในปัจจุบัน และต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนมากที่สุด การที่รัฐบาลได้ดำเนินการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 ไปแล้วนั้น แต่บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยก็ยังไม่กลับมาคึกคักมากนัก ทำให้ประชาชนคิดว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 อาจจะพอช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างเท่านั้น และยังไม่เห็นแนวโน้มว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น อีกทั้งประชาชนยังมีความกังวลว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่งมีความเห็นชอบ 5 แผนขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และระยะยาว โดยมุ่งหวังให้มีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้ปัญหาหนี้สิน และกระตุ้นการลงทุน ซึ่งจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ตรงจุดตรงประเด็นหรือไม่เพียงใดคงต้องรอดูกันต่อไป
ปชช.ใช้ทยอยสิทธิ์ เปิดหีบเลือกตั้งนายกฯ อบจ.อุดรฯ
https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/237257
ปชช.ใช้ทยอยสิทธิ์ เปิดหีบเลือกตั้งนายกฯ อบจ.อุดรฯ บางหน่วยบางตา บางหน่วยคึกคัก
การเลือกตั้งนายกอบจ. ใน 3 จังหวัด เช่น อุดรธานี นครศรีธรรมราช และเพชรบุรี แต่สนามที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ คือ อุดรธานี เพราะถือเป็นสนามใหญ่ และมีทั้ง 2 พรรคการเมือง แข่งอย่างดุเดือด บรรยากาศการเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี หลังเปิดหีบเมื่อเวลา 8.00 น. จากการสำรวจหลายหน่วยเลือกตั้ง ในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ก็พบว่า แต่ละหน่วยก็มีประชาชนทยอยออกมาใช้สิทธิ์ต่อเนื่อง
บางหน่วยก็มีผู้มาใช้สิทธิ์บางตา แต่ในบางหน่วย ก็มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์คึกคัก เช่นหน่วยเลือกตั้ง ทั้ง 4 หน่วย ในวัดศรีคุณเมือง ที่มีประชาชนต่อแถวรอใช้สิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมากันเป็นกลุ่มครอบครัว โดยประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ์วันนี้ ก็หวังว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ จะได้ผู้ที่มาทำหน้าที่พัฒนาอุดรธานีให้เจริญกว่าเดิม พร้อมเชิญชวนให้ชาวอุดรธานี ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันเยอะๆ
ขณะที่ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนเทศบาล 3 ปรากฎว่า ผู้สมัคร นายก อบจ. ของ 2 พรรคใหญ่ มีชื่อมาใช้สิทธิ์ในหน่วยเลือกตั้งเดียวกัน โดยนายคณิศร ขุริรัง เดินทางมาใช้สิทธิ์พร้อมกับภรรยา และลูกสาว 2 คน ถัดจากนั้นไม่นาน นายศราวุธ เพชรพนมพร ก็เดินทางมาใช้สิทธิ์ พร้อมกับภรรยา ซึ่งผู้สมัครทั้ง 2 คน มีท่าทียิ้มแย้ม เมื่อลงคะแนนเรียบร้อยแล้วก็เดินทางกลับทันที
ด้านนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ลงพื้นที่หน่วยเลือกตั้ง 20 บริเวณศาลาพิธีทุ่งศรีเมือง เพื่อตรวจความเรียบร้อยในช่วงเปิดหีบเลือกตั้ง พร้อมประเมินผู้ที่จะออกมาใช้สิทธิ์ในวันนี้ โดยก่อนหน้ายอมรับว่า อาจจะไม่ได้คึกคักมากนัก เนื่องจากเป็นการเลือกตั้ง ที่ไม่ได้เป็นไปตามวาระ แต่เมื่อเป็นสนามการเลือกตั้งที่แข่งกันดุเดือดระหว่างพรรคการเมือง ก็อาจจะทำให้มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดหวังไว้ที่ 60 เปอร์เซนต์ ส่วนผลการเลือกตั้ง คาดว่าจะทราบผลอย่างไม่เป็นทางการ ช่วงสามทุ่มคืนนี้ สำหรับจังหวัดอุดรธานี มีทั้งหมด 20 อำเภอ โดยข้อมูลจาก กกต.ประจำจังหวัดอุดรธานี ระบุว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 1,238,128 คน และมีหน่วยเลือกตั้ง 2,243 หน่วย
ด้าน นายราชัณย์ ซุ้นฮั้ว ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาก็เข้าใจว่าการเลือกตั้ง เป็นที่สนใจของประชาชน โดยเฉพาะการเลือกตั้ง นายก อบจ.ของอุดรธานี ทุกภาคส่วนได้รับความร่วมมาร่วมมือจาก ท่านนายอำเภอ ฝ่ายปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้พี่น้องประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมา ใช้สิทธิ์ของตัวเองตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ อุดรธานีมีหน่วยเลือกตั้ง 2,243 หน่วย มีประชาชนสิทธิทั้งจังหวัด 1,238,128 คน ที่จะมาใช้สิทธิกันในวันนี้คาดหมายกันว่าจะมาใช้สิทธิ์กันให้มากที่สุด ตนเองได้ขอความร่วมมือในอำเภอ แจ้งไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น ให้ใช้ทุกช่องทางในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ประชาชนประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. เข้าใจว่าพี่น้องประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์กันตามสมควร จากประสานกับ กกต.ของอุดรธานีเมื่อวานนี้ท่านเลขาฯ กกต.ก็มาให้กำลังใจเตรียมการการเลือกตั้ง ให้มีความเรียบร้อยมากที่สุด ท่านบอกว่าน่าจะไม่เกิน 23.00 น.จะทราบผลอย่างเป็นทางการ
เอสเอ็มอีฝาก 5 โจทย์แรงๆ ถึงประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ ขอให้กล้าทำ อย่าแค่อีเว้นท์
https://www.dailynews.co.th/news/4112245/
"แสงชัย" ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ฝาก 5 โจทย์ใหญ่ ถึง "กิตติรัตน์" ประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ ขอให้กล้าทำฟันดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม แก้หนี้แบบทำจริง เห็นผลจริง อย่าทำแค่อีเว้นท์
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการฝากถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานบอร์ดแบงก์ชาติให้เร่งดำเนินการ หลังจากดำรงตำแหน่ง คือ แก้ข้อสงสัยของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และประชาชนหลายๆคน ซึ่งโจทย์ความเหลื่อมล้ำ เป็นสิ่งที่แก้ไม่ยาก แค่ต้องการ “ผู้นำที่มีความกล้าหาญและธรรมาภิบาล” ซึ่งหลายคนมองว่า เศรษฐกิจไทยติดกับดักเพราะอะไร ? เอสเอ็มอีไทยและประชาชนทำไมโผล่ไม่พ้นน้ำสักที ? เชื่อว่า ถ้าปัญหาเหล่านี้ได้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะพ้นบ่วงปัญหาที่ติดกับดักมาอย่างยาวนานแน่นอน
1. ดอกเบี้ยที่เป็นธรรม
1.1 การเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับเพิ่มขึ้นดอกเบี้ย เช่น ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% ทางสถาบันการเงินของไทย ก็จะปรับเพิ่มขึ้นทันที 0.25% แต่เมื่อยามเฟดลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สถาบันการเงินของไทย จะปรับลดเพียง 0.1-0.25% เท่านั้น เรื่องนี้ต้องดูว่า ใครได้ประโยชน์ และใครเสียประโยชน์
1.2 ดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลและพิโก้-นาโนไฟแนนซ์ อยู่ในสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูงสวนทางสินเชื่อธุรกิจ เอสเอ็มอีที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าไม่เกิน 15% ต่อปี โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยถูกผลักจากสินเชื่อธุรกิจที่มีดอกเบี้ยต่ำเข้าไปอยู่ในสินเชื่อส่วนบุคคลและพิโก้-นาโนไฟแนนซ์ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 25-33% ต่อปี ด้วยข้อหาเสี่ยงสูง-ดอกเบี้ยต้องสูง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งปล่อยรายย่อยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน แต่คิดดอกเบี้ยผู้กู้เท่ากับผู้ให้บริการทางการเงิน ที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน (นอน แบงก์) ไม่เป็นธรรมกับผู้กู้ และนอน แบงก์ ที่ไม่ได้รับบสย. แต่ธนาคารที่รับบสย. กลับคิดดอกเบี้ยเท่ากันเกิดแต้มต่อที่ไม่เป็นธรรม แต่หากคิดมุมกลับเอสเอ็มอีรายย่อยล้วนเป็นกลุ่มที่ต้องการเข้าถึงโอกาสและการยกระดับขีดความสามารถเพื่อก้าวข้ามกับดักความยากจนที่ต้องมีแต้มต่อทางการเงิน และไม่ใช่บอกออกแบบพิโก้ นาโนไฟแนนซ์มาเพื่อปิดช่องว่างทางการเงินดีกว่าไปใช้นอกระบบ “ยิ่งจน ดอกเบี้ยแพง”
1.3 ดอกเบี้ยการพักชำระหนี้ การคำนวณดอกเบี้ยส่วนเพิ่มต้องคำนวณตามข้อเท็จจริง คือ คำนวณบนฐานค่างวดที่ถึงกำหนดชำระหนี้แล้วเท่านั้น ซึ่งค่างวดมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจะคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันการเงินจะคำนวณคิดดดอกเบี้ยบนฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด (Loan Outstanding) เพราะการผ่อนค่างวดสถาบันการเงินได้จัดตารางการผ่อนชำระโดยดอกเบี้ยที่อยู่ในค่างวดและสัญญาเป็นดอกเบี้ยที่คำนวณจากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมดแล้ว ให้ทบทวนแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 244/1 ให้รวมกรณีพักชำระหนี้เข้าไปด้วย เพื่อป้องกันการเอาเปรียบในอนาคต
2. กลไกการแก้หนี้ทั้งระบบ ขาดเจ้าภาพและกลไกที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน มีลักษณะการดำเนินการแบบอีเว้นท์ ควรมีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเอสเอ็มอีและหนี้ครัวเรือนที่แก้ไขยกระดับคุณภาพหนี้ครัวเรือนแต่ละกลุ่ม ไกล่เกลี่ย แผนฟื้นฟูและยกระดับขีดความสามารถเอสเอ็มอีเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำซ้อน เปิดโอกาสให้คืนเอสเอ็มอีที่แข็งแรงกลับสู่เศรษฐกิจไทย
3. มาตรการลดส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) ลงครึ่งหนึ่ง หรือ เหลือ 0.23% จากปัจจุบันที่ 0.46% เพื่อให้สถาบันการเงินธนาคารนำมาช่วยลดหนี้ให้ประชาชนและเอสเอ็มอี ซึ่งมีประเด็นจากในอดีตช่วงโควิด-19 ที่เคยลดแต่ไม่มีผลลัพธ์ที่ชัดเจน อยากให้ทางธปท. และกระทรวงการคลัง กำหนดตัวชี้วัด (เคพีไอ) ให้ชัดเจนว่าจะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชนได้เท่าไร เป้าหมายตรงไหนก่อน ไม่ใช่ว่าลดโดยไม่มีมาตรการไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ช่วยกลุ่มใด จำนวนเท่าไรแล้วค่อยมานำมาแลกกับมาตรการส่วนลดเอฟไอดีเอฟ ตามผลงาน ไม่เช่นนั้นมาตรการการลดเงิน เข้ากองทุนเอฟไอดีเอฟ มีแต่ละสถาบันการเงินได้ประโยชน์ แต่เอสเอ็มอีไม่ได้ประโยชน์เหมือนเดิม