นิพพานธาตุ อมตธาตุ อมตธรรมในพระนิพพาน จิตไม่ได้ดับสูญ

1. จิตเดิมแท้ผุดผ่อง เป็นประภัสสร แต่เศร้าหมองด้วยกิเลส อวิชชาที่จรมา ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า 

  [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
  [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

2.เมื่อจิตถูกกิเลส อวิชชาครอบงำเป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) เมื่อมีสังขารเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ (อาการรู้ของจิตผ่าน อายตนะทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวเชื่อมระหว่างจิตและกาย) เมื่อมีวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

          ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
             ‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท๑- เป็นอย่างไร
             คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
             เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
             เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
             เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
             เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
             เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
             เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
             เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
             เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
             เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
             เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) จึงมี
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

3. เพราะกิเลส อวิชชา ทำให้จิตไปหลงว่า นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ คือ จิต ทำให้เวียน ว่าย ตาย เกิด ในวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมชาติของขันธ์ 5 เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ เกิดขั้น ตั้งอยู่ ดับไปตลอดเวลา เมื่อจิตไปยึดขันธ์ 5 เป็นจิต จิตจึงเกิด ดับ ตลอดเวลาตามอารมณ์ที่มากระทบจิตผ่านขันธ์ 5 โดยมีวิญญาณ เป็นตัวเชื่อมระหว่างจิตและกาย จิตปุถุชน ยังหลงในกายในขันธ์ 5 พระพุทธเจ้า เรียก จิต มโนและวิญญาณ คือ สิ่งเดียวกัน ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า
อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
             [๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑- พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
             ข้อนั้นเพราะเหตุไร
             เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
             ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
           ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก จิตเป็นต้นนั้นได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

4. การเจริญสมาธิและวิปัสสนา เพื่อเป็นเครื่องเผากิเลส อวิชชา ให้หมดไป ทำให้จิต เบื่อหน่ายคลายกำหนัดในขันธ์ 5 หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส (ละสังโยชน์)  เป็นไปไม่ได้เลยผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้วจักละสังโยชน์ ทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

    ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
          ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
             ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ๒-
ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
             ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
             ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
             ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
             ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้วจักละสังโยชน์ได้
             ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
             ภิกษุทั้งหลาย

สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒

5. เมื่อจิตวิมุตติหลุดพ้น เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 
เพราะจิตเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ----->จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย------> เพราะหลุดพ้น จิตจึงตั้งมั่นดำรงอยู่ -------> เพราะจิตดำรงอยู่ ------> จิตยินดีพร้อมไม่สะดุ้ง ------>ย่อมดับรอบ (ปริพพาน) เฉพาะตน
ดับรอบ คือ ปรินิพพาน แปลว่า สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

6.  จิตหลุดพ้นจากกิเลส อวิชชา ด้วย กลายเป็น นิพพานธาตุ อมตธาตุ อมตธรรมในพระนิพพาน จิตไม่ได้ดับสูญ ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย 
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ภิกขุสูตรที่ ๒
ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
[๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า
ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ? พระผู้มีพระภาค
ตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อ
แห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.
ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ
             [๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน? ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน?
             พ. ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 31
ถามคนปรามาสพระพุทธเจ้า ตามภาพนี้เลย

ความคิดเห็นที่ 17
ความคิดเห็นที่ 11-1
โอ มันก็พูดเป็นแต่ว่าคนอื่นเป็นเดียรถีย์ แต่พรรคพวกโอ ชอบมั่วตำรา มันยิ่งกว่าเดียรถีย์

สมาชิกหมายเลข 2748147


ขอโทษที่ต้องยกมาตรงนี้นะครับ
ผมว่าหลายท่านยอมลงให้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนต่างหากเล่าครับ
แม้แต่ผมเองหรือคนอื่นๆ หลายท่าน ก็จะอนุโมทนา สาธุการคุณ ถ้าคุณกล่าวธรรมได้ถูกต้อง

บางเรื่องราวเลี้ยวแทบไม่ทันเหมือนกัน ที่แสดงความเห็นไปแล้ว เพื่อนสมาชิกเข้ามาทักพร้อมกับยกหลักฐานมาประกอบ
มันทำให้เราไม่เสียเวลาในชีวิตเป็นชาติๆ ที่เรียกว่า "เสียชาติเกิด ที่เกิดมาเป็นชาวพุทธ"

แล้วก็จะต้องอนุโมทนาบุญกำกับไปด้วยนะ ที่สมาชิกมีเมตตา กรุณาในการชี้ทางสว่าง ไม่ให้หลงไปอีกหนึ่งชาติ

คุณไม่ลองตั้งหลักดีๆ ศึกษาพระธรรมให้มันถูกต้องดูล่ะครับ
พื้นฐานความฉลาดไม่เป็นรองใครก็ยิ่งดี ศึกษาเองไม่เท่าไร ก็อาจจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้นะ

จะได้รู้ว่า สมาชิกหลายท่านที่นี่ เป็นพวกใคร ?
คุณไปตั้งหลักดีๆ เถอะ.
อมยิ้ม04
ความคิดเห็นที่ 2
เคยยกหลักธรรมจากผู้ทรงพระไตรปิฏก ให้ พวกสัสสตทิฏฐิ 147 และทิดคม ดังนี้

จิตเดิมแท้ผ่องใส สว่างไสวเป็นประภัสสร แต่ยังไม่บริสุทธิ์ยังมีอวิชชา  (โดย จขกท และ อ.ทิด คม )
https://pantip.com/topic/41828594/comment2

คำว่า"ปภัสสร"ๆ  คำนี้เป็นพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยตรง  เพราะในคาถานั้นมีคำว่า "ภิกฺขเว" อยู่ด้วย อย่างอักษรบาลีที่ว่า  "ปภสฺสรมิทํ   ภิกฺขเว  จิตฺตํ ตญฺจ  โขอาคนฺตุเกหิ   อุปกฺกิเลเสหิ  อุปกฺกิลิฏฐํ  "  แปลว่า  " ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร ก็จิตนั้นแล   ถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาทำให้เศร้าหมองแล้ว"  (เอกนิบาต  อังคุตตรบาลี ฉบับฉัฏฐะ เล่มหนึ่ง หน้า ๙ ข้อ ๔๙/๕๐) เพื่อต้องการทราบความหมายของจิตปภัสสร จึงขอยกเอาอรรถกถา มาขยายเสียในที่นี้ทีเดียว       ก็คำที่ว่าถูกโทษประทุษร้ายแล้ว   ท่านหมายถึงโทษทั้งหลายมรอภิชฌาเป็นต้น  ที่จรมาประทุษร้าย  ขยายความต่อไปว่าก็ใจตามปกติ  คือ ภวังคจิต  ภวังคจิตนั้นยังไม่ถูกโทษประทุษร้าย เปรียบเหมือนน้ำใสที่ถูกสีเขียวเป็นต้น  จรมาทำให้เศร้าหมองไป ก็เลยกลายเป็นน้ำสีเขียวเป็นต้น  แล้วจะว่าน้ำใหม่ก็ไม่ใช่ จะว่าน้ำเก่าก็ไม่ใช่  ที่จริง   ก็เป็นน้ำใสเดิมนั่นแหละ ข้อนี้ฉันใด  แม้จิตนั้น ก็ฉันนั้น เมื่อถูกโทษมีอภิชฌา เป็นต้น จรมาประทุษร้าย จะว่าเป็นจิตใหม่ก็ไม่ใช่ เป็นจิตเก่าก็ไม่ใช่  ที่จริงก็คือภวังคจิตนั่นแหละ  ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย  จิตนี้ปภัสสร ก็จิตนั้นแล   ถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา    ทำให้เศร้าหมองแล้ว"

                 ตามข้อความที่พระอรรถกถาจารย์ได้ขยายไว้นี้  บางทีอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจยังไม่ได้  เพื่อความกระจ่างของข้อความนี้  จึงใคร่ขอยกคำบางคำมาเน้นเสียให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   เช่นคำว่า  "จิตปภัสสร" หรือ คำว่า "จรมา"
                  ก็คำที่ว่า  "จิตปภัสสร หรือ จิตผ่องใส"  ในที่นี้ ท่านหมายถึงจิตที่เป็นภวังค์  ซึ่งจะเกิดได้ทีหลังปฏิสนธิ(จิต) ต้นวิถีหรือท้ายวิถีจิต หรือขณะที่นอนหลับสนิทๆ โดยไม่ได้มีการฝันเลยแม้แต่น้อย นั่นแหละจิตดวงนั้นแหละท่านจัดเป็นจิต "ปภัสสร"  ในพุทธภาษิตนี้ไม่ใช่จิตดวงเดิม หรือจิตที่หมดจดจากกิเลสทั้งปวงทั้งอย่างหยาบ  อย่างกลาง และอย่างละเอียด(อนุสัยกิเลส)   เพราะถ้าเป็นจิตที่หมดจดจากกิเลสทั้งปวงจริงๆแล้ว  มรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น  ที่ผู้ปฏิบัติทำให้เกิดขึ้น ก็กลายเป็นโมฆะไปเปล่าๆ  เพราะในวิภาวินีฏีกาปริเฉทที่ ๗ พระสุมังคลสามีเถราจารย์ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องอนุสัยไว้ว่า  "ตราบใดที่มรรค ๔ มรรคใดยังไม่เกิดขึ้น  อนุสัยกิเลสชนิดละเอียด  ซึ่งเป็นเสมือนรากเหง้าของกิเลสอย่างกลาง และอย่างหยาบ จะขาดเองโดยพลการไม่ได้ "  ดังนั้นจึงเป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้แล้วว่า  คำว่า  "จิตผ่องใส" ในที่นี้ก็หมายถึง  ยังไม่ขุ่นมัวไปด้วยกิเลสอย่างกลางนั่นเอง แต่กิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัย ก็ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์
                         ส่วนคำว่า "จรมา "   นั้น ท่านแปลไปตามศัพท์ของคำว่า " อาคันตุกะ"  เฉยๆเท่านั้น  เพราะกิเลสมิใช่มีที่อยู่ที่เอกเทศส่วนหนึ่งต่างหาก ที่จริงก็อยู่ในจิตของมนุษย์และสัตว์ทุกดวงนั่นเอง  เว้นไว้แต่จิตของพระขีณาสพและโลกุตตรจิตเท่านั้น กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตทุกดวงดังว่านั้น เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกมีอารมณ์ที่ปรารถนาเป็นต้น   มากระทบเข้าก็ทำให้จิตขึ้นวิถี กลายเป็นจิตรัก จิตชัง ที่เราเรียกว่า กิเลสอย่างกลางนั่นเอง  แต่ความรัก และความชังที่เป็นกิเลสอย่างกลางนั้น  มันเกิดขึ้นสัมปยุตกับจิตในบางครั้งเท่านั้น  ท่านจึงเปรียบเหมือนกับแขกที่จรมา  เพียงเท่านี้ ก็พอจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้แล้ว
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กำจัดอวิชาให้หมดสิ้นไปด้วยวิชาจากสมถสมาธิและวิปัสสนา
https://pantip.com/topic/42065681
โดยการดับอวิชาชั่วขณะได้ด้วยสมถสมาธิ ก็จะเห็นจิตเดิมแท้ผ่องใสแต่ยังไม่มีปัญญา
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทิฏฐิเรื่องจิตเดิมแท้ ไม่มีในคำสอนนิกายเถรวาทน่ะครับ

มีมาในคำสอนจาก สัสสตทิฏฐิ ครับ  โดยฉพาะพวกที่หลงนิมิตในสมาธิ หลงว่าตนเองเกิดปัญญา บรรลุธรรมแล้ว ว่าซั่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่