ใจสั่น แน่นหน้าอก จุกแน่นจนหายใจไม่ออก จากภาวะโรคหัวใจ เป็นอาการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก
และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดหรือเป็นบ่อยแค่ไหน หลายครั้งที่เมื่อเดินทางไปพบแพทย์
มักไม่แสดงอาการ ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยว่าสาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ สัญญาณเตือน...โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด มีอยู่หลายชนิด
ที่พบบ่อย หลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวายเฉียบพลัน ส่วนมากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นฉุกเฉิน
จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาให้ทันท่วงที ก่อนเกิดอันตรายต่อชีวิต
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจมาจากหลายปัจจัย ในเรื่องของกรรมพันธุ์ เพศ อายุที่มากขึ้น หรือการใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวัง
ทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เครียดสะสม การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
ทั้งนี้ สามารถแบ่งชนิดของโรคหัวใจได้ 6 ประเภท คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาการแสดงและแนวทางในการรักษาโรคหัวใจแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันค่ะ
8 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหัวใจ”
1.เหนื่อยง่าย
2.หายใจลำบากเวลาออกกําลังกายหรือเดินเร็วๆ
3.เจ็บหน้าอกหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก
4.ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยและอึดอัด
5.มีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมานั่งกลางดึก
6.เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
7.ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
8.ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
โรคหัวใจ บางชนิดนั้นอาจไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ แต่สามารถที่ระมัดระวังใส่ใจดูแลสุขภาพในทุกวันให้เหมาะสม
เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ด้วยการใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่ถูกหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่
ควบคุมปริมาณการกินโซเดียม ไม่ควรเกิน 2 กรัม/วัน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
ควบคุมการกินอาหารประเภทไขมัน ไขมันอิ่มตัว ในปริมาณที่น้อย ไขมันไม่อิ่มตัว ให้เพียงพอ เลี่ยงไขมันสูงคอเลสเตอรอล
การพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมค่ะ

สัญญาณเตือน...โรคหัวใจ
และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดหรือเป็นบ่อยแค่ไหน หลายครั้งที่เมื่อเดินทางไปพบแพทย์
มักไม่แสดงอาการ ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยว่าสาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน
โรคหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด มีอยู่หลายชนิด
ที่พบบ่อย หลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวายเฉียบพลัน ส่วนมากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นฉุกเฉิน
จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาให้ทันท่วงที ก่อนเกิดอันตรายต่อชีวิต
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจมาจากหลายปัจจัย ในเรื่องของกรรมพันธุ์ เพศ อายุที่มากขึ้น หรือการใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวัง
ทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เครียดสะสม การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
ทั้งนี้ สามารถแบ่งชนิดของโรคหัวใจได้ 6 ประเภท คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาการแสดงและแนวทางในการรักษาโรคหัวใจแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันค่ะ
8 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหัวใจ”
1.เหนื่อยง่าย
2.หายใจลำบากเวลาออกกําลังกายหรือเดินเร็วๆ
3.เจ็บหน้าอกหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก
4.ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยและอึดอัด
5.มีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมานั่งกลางดึก
6.เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
7.ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
8.ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
โรคหัวใจ บางชนิดนั้นอาจไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ แต่สามารถที่ระมัดระวังใส่ใจดูแลสุขภาพในทุกวันให้เหมาะสม
เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ด้วยการใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่ถูกหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่
ควบคุมปริมาณการกินโซเดียม ไม่ควรเกิน 2 กรัม/วัน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
ควบคุมการกินอาหารประเภทไขมัน ไขมันอิ่มตัว ในปริมาณที่น้อย ไขมันไม่อิ่มตัว ให้เพียงพอ เลี่ยงไขมันสูงคอเลสเตอรอล
การพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมค่ะ