โตไปไม่ค่อยอ้วน ออกกำลังกายเป็นประจำตอนวัยรุ่น ส่งผลดีตอนเป็นผู้ใหญ่ 😍

📚 งานนี้เขาศึกษาเพื่อดูว่าการมีกิจกรรมทางกาย (Physical activity, PA) ในช่วงวัยรุ่น (อายุ 18) ตามคำแนะนำ ส่งผลยังไงกับ มวลไขมันตอนที่เราเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่ (อายุ 22) บ้าง


🏃🏼‍♀️ PA ทีว่านี่ก็ว่าไปตามที่ WHO แนะนำนะครับ คือถ้าออกกำลังกายกลางถึงหนักไม่น้อยกว่า 60 นาทีต่อวัน สำหรับกลุ่มอายุ 5-18 ปี หรือมากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์สำหรับผู้ใหญ่ (ตกวันละ 22 นาที)

📝 เป็นการศึกษาแบบ Prospective cohort นะครับข้อมูลของคนที่นำมาศึกษาก็เป็นข้อมูลตั้งแต่ปี 1993 จากนั้นเขาก็ตามเก็บข้อมูลมาเรื่อยๆ ก็ดูข้อมูลที่มาจาก Accelerometer (ActiGraph) และ DXA เพื่อดู PA และ Body Composition ดูน้ำหนัก BMI และมวลไขมัน ที่เปลี่ยนแปลง ระหว่างอายุ 18 กับ 22 ได้ข้อมูลมา 2,099 คน เป็นผู้หญิง 1,113 คน

🏃‍♂️ เขาก็เอาข้อมูล PA และสิ่งต่างข้างบนมาวิเคราะห์ทางสถิติ แล้วก็พบว่า ในผู้ชายเนี่ยมีหรือไม่มี PA ระดับตาม guideline ก็ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกับมวลไขมันตอนอายุ 22 ไขมันเพิ่มขึ้นหมด 55 

🏃🏼‍♀️ แต่ในผู้หญิงเนี่ย คนที่มี PA ตาม guideline พออายุเยอะขึ้นมวลไขมันมันไม่ค่อยเพิ่ม แต่กลุ่มที่มี PA ไม่ถึง guideline เนี่ย พออายุเยอะขึ้นมวลไขมันมันเพิ่มขึ้นมากกว่า 

🤣 ก็ไม่รู้ว่าทำไมผลที่ว่ามันไม่พบในผู้ชายนะครับ แต่จากข้อมูลนี้ก็อาจจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยในช่วงที่เรายังเป็นวัยรุ่นอยู่ (คนที่เลยวัยไปแล้ว ก็เอาไปแนะนำลูกๆหลานๆได้ ๕๕) ก็พยายามมีกิจกรรมทางกายให้ได้ตามคำแนะนำสุขภาพนะครับ อย่างน้อย 60 นาทีต่อวันในช่วงเด็กและวัยรุ่น แล้วก็ทำได้มากกว่า 22 นาทีต่อวันเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว ก็จะสะสมไขมันส่วนเกินน้อยกว่าคนที่ไม่ค่อย Active

ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-30-ongitudinal-change-in-physical-activity-and-adiposity-in-the-transition-from-adolescence-to-early-adulthood/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่