ตรึงไม่อยู่ ‘สินค้าแห่ขึ้นราคา’ TDRI เตือนมาตรการรัฐทุบภาคการผลิต
https://www.prachachat.net/economy/news-881318
สินค้าพาเหรดขึ้นราคาสวนทางพาณิชย์ขอความร่วมมือ “ตรึง” ล่าสุดทีดีอาร์ไอชี้ตรึงราคาไม่ช่วยหวั่นเอกชนลดกำลังผลิตหลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนแรงกดดันราคาน้ำมันในตลาดโลกดันเงินเฟ้อไทยปี 2565 โตทะลุเป้าแบงก์ชาติ 3.6% สูงสุดในรอบ 11 ปี ด้านกรรมาธิการแนะรัฐปรับมาตรการ เร่งดูแลเพิ่มรายได้ผู้มีรายได้น้อย
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ปัญหาเรื่องราคาสินค้ารุนแรงมากขึ้นในไตรมาส 1 โดยขณะนี้มีผู้ผลิตสินค้าประกาศปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน น้ำมันพืช เนื้อหมู (ตามกราฟิก)
ปัจจัยหลักต้นทุนน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับสูงขึ้นกระทบต้นทุนค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ธัญพืชโลกปรับตัวสูงขึ้น โรคระบาดอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF)
ซึ่งการปรับราคาดังกล่าวสวนทางกับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า 18 กลุ่มเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งแทบจะครอบคลุมทุกกลุ่ม
อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสด อาหารกระป๋อง ข้าวสารถุง ซอสปรุงรส น้ำมันพืชน้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ เหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง
นางสาว
กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยระหว่างการเสวนาหัวข้อ สินค้าราคาแพง…รัฐแทรกแซงตลาด คือทางออก ?
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 7 มีนาคม 2565 ว่า ปัญหารัสเซีย-ยูเครนมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ย 120-130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลต่อต้นทุนราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขยายตัว 5.28% ที่ผ่านมา
โดยคาดว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงได้ในครึ่งปีหลังเฉลี่ย 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะไม่ต่ำไปกว่านี้แน่นอนเป็นผลมาจากสหรัฐ เพิ่มการผลิตน้ำมันเชลออยล์เพื่อลดแรงกดดันราคาน้ำมันที่เกิดจากสงคราม และจากผลราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า
ขณะที่ปัญหาราคาเนื้อสุกรของไทยปรับขึ้นกว่าจะคลี่คลายและเพิ่มผลผลิตหมูต้องใช้เวลาเป็น 1 ปี ประกอบกับต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นจากรัสเซีย-ยูเครนเป็นประเทศที่ผลิตข้าวสาลี 1 ใน 5ของโลกที่ผลิตออกสู่ตลาดโลก
“มาตรการตรึงราคาไม่ได้ช่วยแต่อาจจะเป็นการกดดันไม่ให้เอกชนผลิตสินค้าออกมา และผู้ประกอบการก็อาจจะต้องปรับตัวจัดการต้นทุน นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยเหลือ เพราะหากจะทำรายได้ด้านราคาก็อาจจะทำไม่ได้ในภาวะเช่นนี้
ส่วนการอุดหนุนดีเซลที่รัฐบาลทำเป็นการช่วยเหลือทุกส่วน คนขับรถหรูที่ใช้ดีเซลก็ได้ประโยชน์ไปด้วย รัฐควรจะแก้ไขและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแบบเจาะจง เช่น กลุ่มรถบรรทุกที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน หรือการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย คนละครึ่งทั่วประเทศอาจจะเจาะจงผู้ที่เดือดร้อน การทำร้านธงฟ้า”
อย่างไรก็ตาม จากแรงกดดันปัญหาต่าง ๆ มองว่าในปีนี้ธนาคาiแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพราะความต้องการสินค้าบริการยังไม่สูงขึ้น
นาย
ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประเมินว่าเงินเฟ้อของไทยทั้งปี 2565 จะขยายตัว 3.5-3.6% สูงกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ 3% ถือว่าเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยคาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นางสาว
ศิริกัญญา ตันสกุล ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาค่าครองชีพที่ปรับขึ้นแล้วการจะปรับลดลงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อย
การที่ภาครัฐนั้นมีมาตรการออกมาขอความร่วมมือในการตรึงราคา ยังไม่ใช่มาตรการที่จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง ทั้งยังเข้าถึงน้อยด้วยแต่สิ่งสำคัญการเข้าแทรกแซงราคาต้องดูเป็นจุด อีกทั้งภาครัฐต้องช่วยเพิ่มรายได้ประชาชนในช่วงนี้
น้ำมันพุ่ง 4% แตะ 128 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทองทะลุ 2,000 ต่อออนซ์ หุ้นร่วง คริปโทปรับเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3222948
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษประกาศระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นทันที แม้ว่าจะยังไม่สูงถึงสถิติในวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งแตะ 139.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็ตาม
ราคาน้ำมันเบรนท์ทะเลเหนือ ปรับเพิ่มขึ้น 4.7% มาซื้อขายกันที่ 128.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัส ปรับเพิ่มขึ้น 4.1% มาอยู่ที่ 124.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐพากันร่วงลงทุกตลาดแต่ไม่รุนแรงเท่าต้นสัปดาห์ โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ปรับลดลง 0.6% มาปิดที่ 32,632.64 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 0.7% มาอยู่ที่ 4,170.7 จุด และดัชนีแนส-ลดลง 0.3% ปิดที่ 12,795.55 จุด
ด้านตลาดหลักทรัยพ์ในยุโรปยังผัดผวน ดัชนี EURO STOXX 50 ปิดลดลง 0.2 % ที่ 3,505.29 จุด ดัชนี FTSE 100 ของอังกฤษ ปรับเพิ่ม 0.1% ปิดที่ 6,964.11 จุด ดัชนี DAX ของเยอรมนี ทรงตัวมาปิดที่ 12,831.51 จุด และดัชนี CAC 40 ของฝรั่งเศส ลดลง 0.3% ปิดที่ 5,962.96 จุด
ส่วนราคาทองคำก็พุ่งทะลุ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปเรียบร้อย โดยล่าสุดซื้อขายกันที่ 2,069.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563
สกุลเงินดิจิทัลก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยบิทคอยท์ ซื้อขายกันที่ 39,461.5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 2.19% อย่างไรก็ดีหากดูจากความเปลี่ยนแปลงในช่วง 7 วันยังคงลดลง 10.60% ขณะที่อีเธอเรียมซื้อขายที่ 2,625.96 ดอลลาร์ ปรับเพิ่ม 3.09% แต่ราคาเฉลี่ย 7 วันยังลดลง 10.36%
สหรัฐอเมริกายกระดับไทย: เป็นประเทศเสี่ยงติดโควิดสูงสุด นิวซีแลนด์, ฮ่องกงก็โดนด้วย
https://brandinside.asia/america-cdc-travel-notices-thailand-covid-19-risk-level-4-very-high/
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐอเมริกายกระดับเตือนภัยให้ไทย นิวซีแลนด์ ฮ่องกงเป็นประเทศที่เสี่ยงติดโควิดระดับสูงสุด ทั้งสามแห่งนี้เข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่เสี่ยงติดโควิดระดับ 4 ระดับความเสี่ยงสูงมาก ตอนนี้ประเทศที่อยู่ในระดับ 4 มีทั้งหมดรวม 135 ประเทศ
การแบ่งระดับเตือนภัยของ CDC มีทั้งหมดห้าระดับด้วยกัน เริ่มที่ระดับ Unknow เป็นระดับแรก ส่วนระดับที่ 1 คือความเสี่ยงต่ำ ระดับที่ 2 คือความเสี่ยงกลางๆ ระดับที่ 3 คือความเสี่ยงสูงและระดับที่ 4 คือระดับที่มีความเสี่ยงสูงมาก
ระดับที่ 4 ระดับที่มีความเสี่ยงสูงมาก หมายความว่าอย่างไร?
หมายความว่า ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางมายังประเทศไทย ถ้าต้องการเดินทางมาไทยต้องแน่ใจว่าได้มีการฉีดวัคซีนแล้วเรียบ้อยและมีการรับวัคซีนตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว ทั้งวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนเข็มกระตุ้น หากว่ามีการฉีดวัคซีนตามที่ได้รับคำแนะนำแล้ว ก็จะยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดหรือมีความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19
ควรสวมใส่หน้ากากเสมอทั้งพื้นที่ในอาคารและพื้นที่สาธารณะ ควรทำตามคำแนะนำเมื่ออยู่ในประเทศไทย การยกระดับคำเตือนสูงสุดให้เป็นระดับ 4 นี้หมายความว่า จุดหมายปลายทางเป็นพื้นที่ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ
ผู้ที่เดินทางออกจากสหรัฐอเมริกา จะต้องมั่นใจแล้วว่าปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่สายการบินเรียกร้องทั้งหมด รวมทั้งสวมใส่หน้ากาก ฉีดวัคซีน ตรวจโรคหรือกักกันโรค นอกจากนี้ก็ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของประเทศที่ต้องการจะเดินทางไป หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกปฏิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าสหรัฐอเมริกา
ไม่ควรเดินทาง หากมีอาการป่วยหรืออยู่ในระหว่างรอผลตรวจ หรือมีผลตรวจเป็นบวก
• หากมีอาการป่วย แม้ว่าจะฟื้นตัวจากโควิดได้ภายใน 90 วัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำล่าสุดแล้วก็ตาม
• หากมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ไม่ควรเดินทางจนผ่านไปแล้ว 10 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการหรือหลังจากพบผลตรวจเป็นบวกแม้ไม่มีอาการก็ตาม
• หากกำลังอยู่ในระยะเวลาที่ต้องรอผลตรวจโควิด
• หากได้ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ที่ติดโควิด-19 และได้รับคำแนะนำว่าให้กักตัว ไม่ควรเดินทางจนกว่าจะผ่านไปแล้ว 5 วันหลังจากที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ทางที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางหลังผ่านไปแล้ว 10 วัน
• หากผลตรวจเป็นบวกขณะที่อยู่ปลายทาง ต้องกักตัวและเลื่อนระยะเวลาการเดินทางกลับ จนกว่าจะปลอดภัยจึงหยุดการกักตัวได้
ปัจจุบัน ระดับ 4 หรือระดับสูงสุดนี้มี 135 แห่งด้วยกัน ดังนี้
• Albania
• Andorra
• Antigua and Barbuda
• Argentina
• Armenia
• Aruba
• Australia
• Austria
• Azerbaijan
• Bahamas, The
• Bahrain
• Barbados
• Belarus
• Belgium
• Belize
• Bermuda
• Bhutan
• Bolivia
• Bonaire
• Bosnia and Herzegovina
• Botswana
• Brazil
• British Virgin Islands
• Brunei
• Bulgaria
• Burkina Faso
• Burma (Myanmar)
• Canada
• Cayman Islands
• Central African Republic
• Chad
• Chile
• Colombia
• Costa Rica
• Croatia
• Cuba
• Curaçao
• Cyprus
• Czech Republic
• Democratic Republic of the Congo
• Denmark
• Dominica
• Dominican Republic
• Ecuador
• Egypt
• Estonia
• Faroe Islands
• Finland
• France
• French Guiana
• French Polynesia
• Georgia
• Germany
• Gibraltar
• Greece
• Greenland
• Grenada
• Guadeloupe
• Guernsey
• Guyana
• Haiti
• Hungary
• Hong Kong SAR
• Iceland
• Iran
• Iraq
• Ireland
• Isle of Man
• Israel
• Italy
• Jamaica
• Japan
• Jersey (part of the UK)
• Jordan
• Kosovo
• Kuwait
• Latvia
• Lebanon
• Liechtenstein
• Libya
• Lithuania
• Luxembourg
• Malaysia
• Maldives
• Malta
• Martinique
• Moldova
• Monaco
• Mongolia
• Montenegro
• Netherlands, The
• New Zealand
• North Macedonia
• Norway
• Oman
• Panama
• Papua New Guinea
• Paraguay
• Peru
• Poland
• Portugal
• Qatar
• Réunion
• Romania
• Russia
• Saint Barthelemy
• Saint Kitts and Nevis
• Saint Lucia
• Saint Martin
• Saint Pierre and Miquelon
• Saint Vincent and the Grenadines
• San Marino
• Saudi Arabia
• Serbia
• Seychelles
• Singapore
• Sint Maarten
• Slovakia
• Slovenia
• Somalia
• South Korea
• South Sudan
• Spain
• Suriname
• Sweden
• Switzerland
• Thailand
• Trinidad and Tobago
• Tunisia
• Turkey
• Turks and Caicos Islands (U.K.)
• Ukraine
• United Kingdom
• Uruguay
• Vietnam
เทรนด์การท่องเที่ยวหลังโควิด-19: เที่ยวใกล้ๆ-เน้นสุขอนามัย-สนใจประกันภัยการเดินทาง
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคำเตือนเพิ่มได้ที่นี่ CDC
(1),
(2),
(3)
JJNY : TDRIเตือนมาตรการรัฐทุบการผลิต│น้ำมันพุ่ง4%แตะ128$│สหรัฐอเมริกายกระดับไทยเสี่ยงโควิด│27มี.ค.‘ก้าวไกล’เปิดนโยบายกท.
https://www.prachachat.net/economy/news-881318
สินค้าพาเหรดขึ้นราคาสวนทางพาณิชย์ขอความร่วมมือ “ตรึง” ล่าสุดทีดีอาร์ไอชี้ตรึงราคาไม่ช่วยหวั่นเอกชนลดกำลังผลิตหลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนแรงกดดันราคาน้ำมันในตลาดโลกดันเงินเฟ้อไทยปี 2565 โตทะลุเป้าแบงก์ชาติ 3.6% สูงสุดในรอบ 11 ปี ด้านกรรมาธิการแนะรัฐปรับมาตรการ เร่งดูแลเพิ่มรายได้ผู้มีรายได้น้อย
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ปัญหาเรื่องราคาสินค้ารุนแรงมากขึ้นในไตรมาส 1 โดยขณะนี้มีผู้ผลิตสินค้าประกาศปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน น้ำมันพืช เนื้อหมู (ตามกราฟิก)
ซึ่งการปรับราคาดังกล่าวสวนทางกับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า 18 กลุ่มเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งแทบจะครอบคลุมทุกกลุ่ม
อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสด อาหารกระป๋อง ข้าวสารถุง ซอสปรุงรส น้ำมันพืชน้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ เหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยระหว่างการเสวนาหัวข้อ สินค้าราคาแพง…รัฐแทรกแซงตลาด คือทางออก ?
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 7 มีนาคม 2565 ว่า ปัญหารัสเซีย-ยูเครนมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ย 120-130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลต่อต้นทุนราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขยายตัว 5.28% ที่ผ่านมา
โดยคาดว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงได้ในครึ่งปีหลังเฉลี่ย 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะไม่ต่ำไปกว่านี้แน่นอนเป็นผลมาจากสหรัฐ เพิ่มการผลิตน้ำมันเชลออยล์เพื่อลดแรงกดดันราคาน้ำมันที่เกิดจากสงคราม และจากผลราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า
ขณะที่ปัญหาราคาเนื้อสุกรของไทยปรับขึ้นกว่าจะคลี่คลายและเพิ่มผลผลิตหมูต้องใช้เวลาเป็น 1 ปี ประกอบกับต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นจากรัสเซีย-ยูเครนเป็นประเทศที่ผลิตข้าวสาลี 1 ใน 5ของโลกที่ผลิตออกสู่ตลาดโลก
“มาตรการตรึงราคาไม่ได้ช่วยแต่อาจจะเป็นการกดดันไม่ให้เอกชนผลิตสินค้าออกมา และผู้ประกอบการก็อาจจะต้องปรับตัวจัดการต้นทุน นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยเหลือ เพราะหากจะทำรายได้ด้านราคาก็อาจจะทำไม่ได้ในภาวะเช่นนี้
ส่วนการอุดหนุนดีเซลที่รัฐบาลทำเป็นการช่วยเหลือทุกส่วน คนขับรถหรูที่ใช้ดีเซลก็ได้ประโยชน์ไปด้วย รัฐควรจะแก้ไขและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแบบเจาะจง เช่น กลุ่มรถบรรทุกที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน หรือการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย คนละครึ่งทั่วประเทศอาจจะเจาะจงผู้ที่เดือดร้อน การทำร้านธงฟ้า”
อย่างไรก็ตาม จากแรงกดดันปัญหาต่าง ๆ มองว่าในปีนี้ธนาคาiแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพราะความต้องการสินค้าบริการยังไม่สูงขึ้น
นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประเมินว่าเงินเฟ้อของไทยทั้งปี 2565 จะขยายตัว 3.5-3.6% สูงกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ 3% ถือว่าเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยคาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาค่าครองชีพที่ปรับขึ้นแล้วการจะปรับลดลงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อย
การที่ภาครัฐนั้นมีมาตรการออกมาขอความร่วมมือในการตรึงราคา ยังไม่ใช่มาตรการที่จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง ทั้งยังเข้าถึงน้อยด้วยแต่สิ่งสำคัญการเข้าแทรกแซงราคาต้องดูเป็นจุด อีกทั้งภาครัฐต้องช่วยเพิ่มรายได้ประชาชนในช่วงนี้
น้ำมันพุ่ง 4% แตะ 128 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทองทะลุ 2,000 ต่อออนซ์ หุ้นร่วง คริปโทปรับเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3222948
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษประกาศระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นทันที แม้ว่าจะยังไม่สูงถึงสถิติในวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งแตะ 139.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็ตาม
ราคาน้ำมันเบรนท์ทะเลเหนือ ปรับเพิ่มขึ้น 4.7% มาซื้อขายกันที่ 128.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัส ปรับเพิ่มขึ้น 4.1% มาอยู่ที่ 124.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐพากันร่วงลงทุกตลาดแต่ไม่รุนแรงเท่าต้นสัปดาห์ โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ปรับลดลง 0.6% มาปิดที่ 32,632.64 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 0.7% มาอยู่ที่ 4,170.7 จุด และดัชนีแนส-ลดลง 0.3% ปิดที่ 12,795.55 จุด
ด้านตลาดหลักทรัยพ์ในยุโรปยังผัดผวน ดัชนี EURO STOXX 50 ปิดลดลง 0.2 % ที่ 3,505.29 จุด ดัชนี FTSE 100 ของอังกฤษ ปรับเพิ่ม 0.1% ปิดที่ 6,964.11 จุด ดัชนี DAX ของเยอรมนี ทรงตัวมาปิดที่ 12,831.51 จุด และดัชนี CAC 40 ของฝรั่งเศส ลดลง 0.3% ปิดที่ 5,962.96 จุด
ส่วนราคาทองคำก็พุ่งทะลุ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปเรียบร้อย โดยล่าสุดซื้อขายกันที่ 2,069.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563
สกุลเงินดิจิทัลก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยบิทคอยท์ ซื้อขายกันที่ 39,461.5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 2.19% อย่างไรก็ดีหากดูจากความเปลี่ยนแปลงในช่วง 7 วันยังคงลดลง 10.60% ขณะที่อีเธอเรียมซื้อขายที่ 2,625.96 ดอลลาร์ ปรับเพิ่ม 3.09% แต่ราคาเฉลี่ย 7 วันยังลดลง 10.36%
สหรัฐอเมริกายกระดับไทย: เป็นประเทศเสี่ยงติดโควิดสูงสุด นิวซีแลนด์, ฮ่องกงก็โดนด้วย
https://brandinside.asia/america-cdc-travel-notices-thailand-covid-19-risk-level-4-very-high/
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐอเมริกายกระดับเตือนภัยให้ไทย นิวซีแลนด์ ฮ่องกงเป็นประเทศที่เสี่ยงติดโควิดระดับสูงสุด ทั้งสามแห่งนี้เข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่เสี่ยงติดโควิดระดับ 4 ระดับความเสี่ยงสูงมาก ตอนนี้ประเทศที่อยู่ในระดับ 4 มีทั้งหมดรวม 135 ประเทศ
การแบ่งระดับเตือนภัยของ CDC มีทั้งหมดห้าระดับด้วยกัน เริ่มที่ระดับ Unknow เป็นระดับแรก ส่วนระดับที่ 1 คือความเสี่ยงต่ำ ระดับที่ 2 คือความเสี่ยงกลางๆ ระดับที่ 3 คือความเสี่ยงสูงและระดับที่ 4 คือระดับที่มีความเสี่ยงสูงมาก
ระดับที่ 4 ระดับที่มีความเสี่ยงสูงมาก หมายความว่าอย่างไร?
หมายความว่า ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางมายังประเทศไทย ถ้าต้องการเดินทางมาไทยต้องแน่ใจว่าได้มีการฉีดวัคซีนแล้วเรียบ้อยและมีการรับวัคซีนตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว ทั้งวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนเข็มกระตุ้น หากว่ามีการฉีดวัคซีนตามที่ได้รับคำแนะนำแล้ว ก็จะยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดหรือมีความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19
ควรสวมใส่หน้ากากเสมอทั้งพื้นที่ในอาคารและพื้นที่สาธารณะ ควรทำตามคำแนะนำเมื่ออยู่ในประเทศไทย การยกระดับคำเตือนสูงสุดให้เป็นระดับ 4 นี้หมายความว่า จุดหมายปลายทางเป็นพื้นที่ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ
ผู้ที่เดินทางออกจากสหรัฐอเมริกา จะต้องมั่นใจแล้วว่าปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่สายการบินเรียกร้องทั้งหมด รวมทั้งสวมใส่หน้ากาก ฉีดวัคซีน ตรวจโรคหรือกักกันโรค นอกจากนี้ก็ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของประเทศที่ต้องการจะเดินทางไป หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกปฏิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าสหรัฐอเมริกา
ไม่ควรเดินทาง หากมีอาการป่วยหรืออยู่ในระหว่างรอผลตรวจ หรือมีผลตรวจเป็นบวก
• หากมีอาการป่วย แม้ว่าจะฟื้นตัวจากโควิดได้ภายใน 90 วัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำล่าสุดแล้วก็ตาม
• หากมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ไม่ควรเดินทางจนผ่านไปแล้ว 10 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการหรือหลังจากพบผลตรวจเป็นบวกแม้ไม่มีอาการก็ตาม
• หากกำลังอยู่ในระยะเวลาที่ต้องรอผลตรวจโควิด
• หากได้ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ที่ติดโควิด-19 และได้รับคำแนะนำว่าให้กักตัว ไม่ควรเดินทางจนกว่าจะผ่านไปแล้ว 5 วันหลังจากที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ทางที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางหลังผ่านไปแล้ว 10 วัน
• หากผลตรวจเป็นบวกขณะที่อยู่ปลายทาง ต้องกักตัวและเลื่อนระยะเวลาการเดินทางกลับ จนกว่าจะปลอดภัยจึงหยุดการกักตัวได้
ปัจจุบัน ระดับ 4 หรือระดับสูงสุดนี้มี 135 แห่งด้วยกัน ดังนี้
• Albania
• Andorra
• Antigua and Barbuda
• Argentina
• Armenia
• Aruba
• Australia
• Austria
• Azerbaijan
• Bahamas, The
• Bahrain
• Barbados
• Belarus
• Belgium
• Belize
• Bermuda
• Bhutan
• Bolivia
• Bonaire
• Bosnia and Herzegovina
• Botswana
• Brazil
• British Virgin Islands
• Brunei
• Bulgaria
• Burkina Faso
• Burma (Myanmar)
• Canada
• Cayman Islands
• Central African Republic
• Chad
• Chile
• Colombia
• Costa Rica
• Croatia
• Cuba
• Curaçao
• Cyprus
• Czech Republic
• Democratic Republic of the Congo
• Denmark
• Dominica
• Dominican Republic
• Ecuador
• Egypt
• Estonia
• Faroe Islands
• Finland
• France
• French Guiana
• French Polynesia
• Georgia
• Germany
• Gibraltar
• Greece
• Greenland
• Grenada
• Guadeloupe
• Guernsey
• Guyana
• Haiti
• Hungary
• Hong Kong SAR
• Iceland
• Iran
• Iraq
• Ireland
• Isle of Man
• Israel
• Italy
• Jamaica
• Japan
• Jersey (part of the UK)
• Jordan
• Kosovo
• Kuwait
• Latvia
• Lebanon
• Liechtenstein
• Libya
• Lithuania
• Luxembourg
• Malaysia
• Maldives
• Malta
• Martinique
• Moldova
• Monaco
• Mongolia
• Montenegro
• Netherlands, The
• New Zealand
• North Macedonia
• Norway
• Oman
• Panama
• Papua New Guinea
• Paraguay
• Peru
• Poland
• Portugal
• Qatar
• Réunion
• Romania
• Russia
• Saint Barthelemy
• Saint Kitts and Nevis
• Saint Lucia
• Saint Martin
• Saint Pierre and Miquelon
• Saint Vincent and the Grenadines
• San Marino
• Saudi Arabia
• Serbia
• Seychelles
• Singapore
• Sint Maarten
• Slovakia
• Slovenia
• Somalia
• South Korea
• South Sudan
• Spain
• Suriname
• Sweden
• Switzerland
• Thailand
• Trinidad and Tobago
• Tunisia
• Turkey
• Turks and Caicos Islands (U.K.)
• Ukraine
• United Kingdom
• Uruguay
• Vietnam
เทรนด์การท่องเที่ยวหลังโควิด-19: เที่ยวใกล้ๆ-เน้นสุขอนามัย-สนใจประกันภัยการเดินทาง
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคำเตือนเพิ่มได้ที่นี่ CDC (1), (2), (3)