ผอมไป ใครว่าดี??
แม้ว่าค่านิยมในสังคมบางอย่างจะเริ่มเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ถ้าเป็นเรื่องของรูปร่างแล้วล่ะก็ พี่หมอเชื่อว่า ถ้าเลือกได้หลายๆ คนก็คงอยากที่จะมีรูปร่างฟิตแอนด์เฟิร์ม ดูสุขภาพดี มากกว่าอ้วนลงพุง ใช่มั้ยล่ะครับ ไม่งั้นการออกกำลังกายคงไม่กลายเป็นเทรนด์ฮิตของคนยุคนี้แน่ๆ
เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเรียกว่าอ้วนนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน รวมถึงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ มากกว่าคนผอม
แต่ก็ใช่ว่าคนผอมจะสุขภาพดีกว่าคนอ้วนเสมอไปนะครับ เพราะผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อตรวจร่างกายก็อาจพบว่ามีโรคซ่อนอยู่ได้เช่นกัน ส่วนจะมีโรคอะไรบ้าง มาดูกันครับ 👇🏻
สาเหตุของความผอม
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกายหรือ BMI (คลิกที่
ลิ้งค์เพื่อเช็กค่า BMI ของตัวเอง) เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าหรือเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยทั่วไปสำหรับคนเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.9 แสดงว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม ซึ่งสาเหตุของความผอมมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น
📌 พันธุกรรม บางคนมีค่าดัชนีมวลกายต่ำตามธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพในครอบครัว
📌 เมตาบอลิซึมสูง การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูง ก็สามารถทำให้ผอมได้
📌 ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น นักกีฬา หรือผู้ที่ทำกิจกรรมทางกายภาพในระดับสูง
📌 โรคทางกายภาพหรือโรคเรื้อรัง เช่น มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
📌 ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล รวมถึงโรคอะนอร์เร็กเซีย และบูลิเมีย
โรคที่มักเกิดกับคนผอม
อย่างที่พี่หมอเกริ่นไว้ข้างต้นว่า โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไม่จำเป็นต้องเกิดกับคนอ้วนเท่านั้น คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจมีโรคต่างๆ ซ่อนอยู่ได้ เช่น
☹️
ไขมันในเลือด
ไขมันในร่างกายประกอบด้วย ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง ซึ่งมีที่มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปและจากที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง ทั้งนี้ โรคไขมันในเลือดสูงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต การมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
แม้ว่าไขมันนเลือดสูงจะพบมากในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่คนผอมก็มีปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน เนื่องจากคนผอมบางกลุ่มที่มีพันธุกรรมหรือยีนที่รับประทานอย่างไรก็ไม่อ้วน แต่ร่างกายยังคงกักเก็บไขมันไว้ในกระแสเลือด หรืออาจเป็นกลุ่มคนที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
☹️
โรคความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตปกติ ตัวบนไม่ควรเกิน 120 มม.ปรอท ในขณะที่ตัวล่างไม่ควรเกิน 80 มม.ปรอท ดังนั้น ผู้ที่มีความดันโลหิต 130/80 มม.ปรอท ขึ้นไป จึงถือเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (อ้างอิงจากคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกาในปี 2017) ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงถือเป็นกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ แต่มักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุที่มากขึ้นหรือผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในวัยหลังหมดประจำเดือน ผู้ที่มีความเครียดและวิตกกังวลสูง รวมถึงมาจากพันธุกรรมมากถึง 30-40% โดยพบว่าผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น
การมีค่าความดันโลหิตสูงนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว ดังนั้น ไม่ว่าจะอ้วนหรือผอมก็อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งการรักษานั้น หากปรับเรื่องการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาควบคุมความดันที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
☹️
ไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่ช่วยควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด โดยกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroid) หรือที่เรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ส่งผลให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายหลายอย่าง เช่น ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักตัวลด สำหรับผู้หญิงอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจ รวมถึงภาวะกระดูกบาง เนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้
สำหรับการตรวจวินิจฉัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้น สามารถทำได้โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ ไทรอกซีน (Thyroxine -T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine- T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) รวมถึงการอัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์ด้วยเช่นกัน
☹️
ความหนาแน่นของมวลกระดูก
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยมักมีความเสี่ยงต่อการมีค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density - BMD) มีค่าเป็น ที-สกอร์ (T-score) หากอยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 แสดงว่ามีภาวะกระดูกบาง และหากมีค่าต่ำกว่า -2.5 แสดงว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น ซึ่งสาเหตุของโรคมาจากการสูญเสียมวลกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะและหักง่ายกว่าคนทั่วไป หากหกล้มหรือมีแรงกระแทกเบาๆ จากการไอหรือจาม ก็อาจทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนหรืออายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีน้ำหนักน้อย คือมีค่า BMI น้อยกว่า 20
อยากผอมแบบปลอดโรคต้องทำอย่างไร
ไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหน สิ่งสำคัญก็คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยยึดหลัก 👉🏻 “4อ” ดังนี้
✅ 1. อาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี ควรเลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ในทุกๆ วัน
✅ 2. อิ่มกาย นอกจากการรับประทานอาหารแล้ว การออกกำลังกายก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที และก่อนออกกำลังกายควรได้รับการตรวจสุขภาพหัวใจ เพื่อให้แน่ใจว่าการออกกำลังกายประเภทนั้นๆ เหมาะกับสภาพร่างกายและหัวใจของเรา
✅ 3. อิ่มอารมณ์ ดูแลสุขภาพกายแล้ว ก็ต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพใจด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
✅ 4. อิ่มนอน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรเข้านอนดึกเกินไป หากมีปัญหาเรื่องการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับ แต่ไม่สนิท หรือนอนกรน ควรปรึกษาแพทย์
ไม่ว่าจะอ้วนหรือจะผอม เราทุกคนต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมีสุขภาพที่ดีและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งถ้าอยากจะไปให้ถึงเป้าหมายก็ต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ เพราะสุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวเราเอง 💪💪💪
ผอมไป ใครว่าดี??
แม้ว่าค่านิยมในสังคมบางอย่างจะเริ่มเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ถ้าเป็นเรื่องของรูปร่างแล้วล่ะก็ พี่หมอเชื่อว่า ถ้าเลือกได้หลายๆ คนก็คงอยากที่จะมีรูปร่างฟิตแอนด์เฟิร์ม ดูสุขภาพดี มากกว่าอ้วนลงพุง ใช่มั้ยล่ะครับ ไม่งั้นการออกกำลังกายคงไม่กลายเป็นเทรนด์ฮิตของคนยุคนี้แน่ๆ
เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเรียกว่าอ้วนนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน รวมถึงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ มากกว่าคนผอม
แต่ก็ใช่ว่าคนผอมจะสุขภาพดีกว่าคนอ้วนเสมอไปนะครับ เพราะผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อตรวจร่างกายก็อาจพบว่ามีโรคซ่อนอยู่ได้เช่นกัน ส่วนจะมีโรคอะไรบ้าง มาดูกันครับ 👇🏻
สาเหตุของความผอม
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกายหรือ BMI (คลิกที่ลิ้งค์เพื่อเช็กค่า BMI ของตัวเอง) เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าหรือเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยทั่วไปสำหรับคนเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.9 แสดงว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม ซึ่งสาเหตุของความผอมมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น
📌 พันธุกรรม บางคนมีค่าดัชนีมวลกายต่ำตามธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพในครอบครัว
📌 เมตาบอลิซึมสูง การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูง ก็สามารถทำให้ผอมได้
📌 ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น นักกีฬา หรือผู้ที่ทำกิจกรรมทางกายภาพในระดับสูง
📌 โรคทางกายภาพหรือโรคเรื้อรัง เช่น มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
📌 ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล รวมถึงโรคอะนอร์เร็กเซีย และบูลิเมีย
อย่างที่พี่หมอเกริ่นไว้ข้างต้นว่า โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไม่จำเป็นต้องเกิดกับคนอ้วนเท่านั้น คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจมีโรคต่างๆ ซ่อนอยู่ได้ เช่น
☹️ไขมันในเลือด
ไขมันในร่างกายประกอบด้วย ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง ซึ่งมีที่มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปและจากที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง ทั้งนี้ โรคไขมันในเลือดสูงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต การมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
แม้ว่าไขมันนเลือดสูงจะพบมากในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่คนผอมก็มีปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน เนื่องจากคนผอมบางกลุ่มที่มีพันธุกรรมหรือยีนที่รับประทานอย่างไรก็ไม่อ้วน แต่ร่างกายยังคงกักเก็บไขมันไว้ในกระแสเลือด หรืออาจเป็นกลุ่มคนที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
☹️โรคความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตปกติ ตัวบนไม่ควรเกิน 120 มม.ปรอท ในขณะที่ตัวล่างไม่ควรเกิน 80 มม.ปรอท ดังนั้น ผู้ที่มีความดันโลหิต 130/80 มม.ปรอท ขึ้นไป จึงถือเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (อ้างอิงจากคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกาในปี 2017) ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงถือเป็นกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ แต่มักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุที่มากขึ้นหรือผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในวัยหลังหมดประจำเดือน ผู้ที่มีความเครียดและวิตกกังวลสูง รวมถึงมาจากพันธุกรรมมากถึง 30-40% โดยพบว่าผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น
การมีค่าความดันโลหิตสูงนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว ดังนั้น ไม่ว่าจะอ้วนหรือผอมก็อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งการรักษานั้น หากปรับเรื่องการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาควบคุมความดันที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
☹️ไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่ช่วยควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด โดยกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroid) หรือที่เรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ส่งผลให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายหลายอย่าง เช่น ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักตัวลด สำหรับผู้หญิงอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจ รวมถึงภาวะกระดูกบาง เนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้
สำหรับการตรวจวินิจฉัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้น สามารถทำได้โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ ไทรอกซีน (Thyroxine -T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine- T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) รวมถึงการอัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์ด้วยเช่นกัน
☹️ความหนาแน่นของมวลกระดูก
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยมักมีความเสี่ยงต่อการมีค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density - BMD) มีค่าเป็น ที-สกอร์ (T-score) หากอยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 แสดงว่ามีภาวะกระดูกบาง และหากมีค่าต่ำกว่า -2.5 แสดงว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น ซึ่งสาเหตุของโรคมาจากการสูญเสียมวลกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะและหักง่ายกว่าคนทั่วไป หากหกล้มหรือมีแรงกระแทกเบาๆ จากการไอหรือจาม ก็อาจทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนหรืออายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีน้ำหนักน้อย คือมีค่า BMI น้อยกว่า 20
ไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหน สิ่งสำคัญก็คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยยึดหลัก 👉🏻 “4อ” ดังนี้
✅ 1. อาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี ควรเลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ในทุกๆ วัน
✅ 2. อิ่มกาย นอกจากการรับประทานอาหารแล้ว การออกกำลังกายก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที และก่อนออกกำลังกายควรได้รับการตรวจสุขภาพหัวใจ เพื่อให้แน่ใจว่าการออกกำลังกายประเภทนั้นๆ เหมาะกับสภาพร่างกายและหัวใจของเรา
✅ 3. อิ่มอารมณ์ ดูแลสุขภาพกายแล้ว ก็ต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพใจด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
✅ 4. อิ่มนอน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรเข้านอนดึกเกินไป หากมีปัญหาเรื่องการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับ แต่ไม่สนิท หรือนอนกรน ควรปรึกษาแพทย์
ไม่ว่าจะอ้วนหรือจะผอม เราทุกคนต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมีสุขภาพที่ดีและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งถ้าอยากจะไปให้ถึงเป้าหมายก็ต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ เพราะสุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวเราเอง 💪💪💪