วันพระมาเจริญภาวนากันครับ


สมถะภาวนา คือ จิตไปอยู่กับอารมณ์บัญญัติ นิ่งสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนาภาวนา คือ จิตไปเห็นอารมณ์ปรมัติ เห็นรูปนามเกิดดับตามความเป็นจริง

1.สมถะนำวิปัสสนา 
คือ การทำจิตให้จดจ่อในอารมณ์อันเดียวจนแนบแน่นลงไปถึงฌานตั้งแต่1-4จนถึงอรูปฌาน
จิตจะมีความสงบแนบแน่นอยู่กับความว่างซึ่งเป็นการมองออกข้างนอกจากนั้นให้ใส่ใจมาดูจิตก็จะเห็นองค์ธรรมที่ประกอบกับจิต
เช่น ปฐมฌานก็จะมี วิตก(ตรึกในอารมณ์) วิจารณ์(เคล้าเคลียในอารมณ์) ปิติ(ความอิ่มใจ) สุข(สบายใจเย็นใจ) เอกคตา(ความตั้งมั่นของจิต)
ก็จะเข้าสู่วิปัสสนาคือเห็นตามความเป็นจริงว่าอารณ์ต่างๆในฌานเกิดดับเปลี่ยนแปลงได้
2 วิปัสสนานำสมถะ
คือ การใส่ใจระลึกรู้อารมณ์ปรมัติไปตรงๆเลย เห็นอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับเปลี่ยนแปลง ซึ่งแน่นอนว่าการดูไปตรงๆโดยไม่ได้ทำสมถะก่อน
ก็จะมีนิวรณ์เข้าแทรกเป็นระยะๆคือ มีกามฉันทะ มีพยาปาทะ มีฟุ้งซ่านรำคาญใจ ง่วงเหงาหาวนอน ลังเลสงสัย ซึ่งเป็นนามธรรม เราก็อาศัย
นิวรณ์เหล่านี้มาทำวิปัสสนาคือเห็นมันเกิดดับ จิตมีราคะก็รู้ จิตมีโทสะก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ แล้วก็เห็นเขาเกิดขึ้นดับไป
เมื่อเห็นอย่างนี้เนืองๆก็จะได้สมาธิตั้งมั่นขึ้นมาเองแต่จะไม่แนบแน่นเหมือนทำฌานมาก่อน
3 ทำสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
ถ้าทำสมถะก่อนก็ไม่ได้จิตไม่รวม ทำวิปัสสนาไปเลยก็ไม่ได้ดูอะไรไม่ออกจิตฟุ้งซ่านวุ่นวาย ก็ใช้วิธีทำสมถะกับวิปัสสนาคู่กัน
เช่นดูลมหายใจซึ่งเป็นบัญญัติแล้วก็สลับไปดูจิตคืออารมณ์ปรมัติดูควบคู่กันไป หรือจะดูแสงสว่างหรือแผ่เมตตาสวดมนต์ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ
แล้วก็สลับมาระลึกดูจิตซึ่งก็จะเห็นอารมณ์ปรมัติเกิดดับเช่นเห็นจิตฟุ้งซ่านเผลอไปคิดแล้วก็สลับมาทำสมถะคือดูลมหายใจสลับกันไป 

การภาวนาสามารถทำได้ทั้ง3วิธี เป้าหมายสุดท้ายคือวิปัสสนาภาวนานั่นเอง เพื่อให้เห็นแจ้งคือเกิดวิชชา
แต่การภาวนาต้องอาศัยฝึกบ่อยๆถึงจะชำนาญเหมือนเรียนขับรถถ้ารู้ทฤษฎีแต่ไม่ขับบ่อยๆก็ขับไม่คล่องดังนั้นต้องเพียรฝึกให้มากก็จะชำนาญไปเอง
อ้างอิงจากคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์และจากยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=70
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่