ฌานในสติปัฏฐาน4

พระสูตรดังกล่าวมาล้วนแต่กล่าวถึงอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นเท่านั้น
แต่อานาปานสติภาวนาในอานาปานสตินั้นสมบูรณ์ที่สุด
เพราะแสดงหลักฐานทั้งในด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ที่สุด
เกี่ยวกับอานาปานสติเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นๆ จนถึงขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา
อานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนั้นคือ


สติที่กายในกาย เกิดฌานที่1
วิตก วิจารณ์  กายในกายคือลมหายใจ ดูลมหายใจเข้าออก จนเกิดฌานที่1
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
๑. เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกยาว
๒. เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น
๓. กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า-ออก
๔. ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก

สติที่เวทนาในเวทนา เกิดฌานที่2
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
๕. กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก
๖. กำหนดรู้สุข หายใจเข้า-ออก
๗. กำหนดรู้สังขาร หายใจเข้า-ออก
๘. ทำจิตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก

สติที่จิตในจิตเกิดฌานที่3
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
๙. กำหนดรู้จิต หายใจเข้า-ออก
๑๐. ทำจิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-ออก
๑๑. ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-ออก
๑๒. ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-ออก

สติที่ธรรมในธรรมเกิดฌานที่4
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
๑๓. ตามเห็นอนิจจัง - ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-ออก
๑๔. ตามเห็นวิราคะ - ความจางคลาย (คลายติด) หายใจเข้า-ออก
๑๕. ตามเห็นนิโรธ - ความดับโดยไม่มีเหลือ (ดับสนิท) หายใจเข้า-ออก
๑๖. ตามเป็นปฏินิสสัคคะ - ความสละคืน (ปล่อยวาง) หายใจเข้า-ออก

ปฏิบัติไม่ถึงฌานที่4  จะไม่เห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยง คลายความคิดไม่ได้ ดับสนิทไม่ได้ จะปล่อยวางไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่