กรมประมงพลิกโฉม “ สาหร่ายผักกาดทะเล ” สู่อาหารเพื่อสุขภาพ ต้านแก่ ชะลอวัย ช่วยขับถ่ายดี ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ
วันที่ 23 ก.ค. 2568 นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคสายรักสุขภาพ กรมประมงได้สนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งการเพาะเลี้ยง “ สาหร่ายผักกาดทะเล ” รวมถึงการเก็บรักษา การแปรรูปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง สามารถขยายผลไปยังกลุ่มเกษตรกรจนประสบความสำเร็จในหลายพื้นที่ ซึ่งในปี 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณผลผลิตสาหร่ายทะเลสูงถึง 1,031.31 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 43,335,000 บาท

“สาหร่ายผักกาดทะเล”มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ สารที่ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้ดี เจริญเติบโตเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้นและตลอดทั้งปีประกอบกับมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีราคาจำหน่ายสูง จึงมีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปอย่างครบวงจร
น.ส.พิชญา ชัยนาค ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กล่าวว่า กรมประมง โดยกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย นำสาหร่ายผักกาดทะเลมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารหลากหลายเมนู ได้แก่ บะหมี่สาหร่ายผักกาดทะเล ที่มีโปรตีนและใยอาหารสูงขึ้น กัมมี่เยลลี่สาหร่ายผักกาดทะเล เพิ่มคุณประโยชน์ให้กับขนมขบเคี้ยว
โดยการเติมสาหร่ายผักกาดทะเลพร้อมเสริมคุณค่าทางอาหารด้วยอินนูลิน วิตามินซี และคอลลาเจน เยลลี่พร้อมดื่ม (Jelly Drink) ผสมสาหร่ายผักกาดทะเล รสมะนาว ผลิตภัณฑ์ที่เสริมใยอาหารและโปรตีนจากสาหร่ายผักกาดทะเล และวิตามินซีถึง 180% และ เจลลีสติป (Jelly Strip) ผสมสาหร่ายผักกาดทะเล รสองุ่น เพิ่มคุณค่าทางอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล คอลลาเจนไตรเปปไทด์ และวิตามินซี
สารสกัดใยอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล ที่มีใยอาหารสูงถึง 8 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค คิดเป็น 32% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai Recommended Daily Intakes หรือ Thai RDI) ซึ่งช่วยให้ระบบขับถ่ายมีการทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ทดแทนการใช้พลาสติกสังเคราะห์และโฟมในอุตสาหกรรมอาหาร
โดยสกัดและฟอกสีสาหร่ายผักกาดทะเลผสมกับเยื่อทางใบปาล์มแล้วนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องกดอัด (Compression Molding) จนได้บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่มีความแข็งแรง ทนต่อการดูดซึมน้ำ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง พร้อมผลักดันให้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่สำหรับผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ใช้เวลาในการเพาะปลูกหมุนเวียนสั้น ย่อยสลายได้ง่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
อนาคตทางกองฯ มีแผนที่จะต่อยอดและขยายผลงานวิจัยดังกล่าวไปยังกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจันทบุรี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายผักกาดทะเลและส่วนที่เหลือจากการคัดแยก สำหรับเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป

-ข้อมูลจาก ข่าวสด
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.khaosod.co.th/economics/news_9860931
“ สาหร่ายผักกาดทะเล ” สู่อาหารเพื่อต้านแก่ จับเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่
วันที่ 23 ก.ค. 2568 นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคสายรักสุขภาพ กรมประมงได้สนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งการเพาะเลี้ยง “ สาหร่ายผักกาดทะเล ” รวมถึงการเก็บรักษา การแปรรูปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง สามารถขยายผลไปยังกลุ่มเกษตรกรจนประสบความสำเร็จในหลายพื้นที่ ซึ่งในปี 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณผลผลิตสาหร่ายทะเลสูงถึง 1,031.31 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 43,335,000 บาท
“สาหร่ายผักกาดทะเล”มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ สารที่ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้ดี เจริญเติบโตเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้นและตลอดทั้งปีประกอบกับมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีราคาจำหน่ายสูง จึงมีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปอย่างครบวงจร
น.ส.พิชญา ชัยนาค ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กล่าวว่า กรมประมง โดยกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย นำสาหร่ายผักกาดทะเลมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารหลากหลายเมนู ได้แก่ บะหมี่สาหร่ายผักกาดทะเล ที่มีโปรตีนและใยอาหารสูงขึ้น กัมมี่เยลลี่สาหร่ายผักกาดทะเล เพิ่มคุณประโยชน์ให้กับขนมขบเคี้ยว
โดยการเติมสาหร่ายผักกาดทะเลพร้อมเสริมคุณค่าทางอาหารด้วยอินนูลิน วิตามินซี และคอลลาเจน เยลลี่พร้อมดื่ม (Jelly Drink) ผสมสาหร่ายผักกาดทะเล รสมะนาว ผลิตภัณฑ์ที่เสริมใยอาหารและโปรตีนจากสาหร่ายผักกาดทะเล และวิตามินซีถึง 180% และ เจลลีสติป (Jelly Strip) ผสมสาหร่ายผักกาดทะเล รสองุ่น เพิ่มคุณค่าทางอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล คอลลาเจนไตรเปปไทด์ และวิตามินซี
สารสกัดใยอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล ที่มีใยอาหารสูงถึง 8 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค คิดเป็น 32% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai Recommended Daily Intakes หรือ Thai RDI) ซึ่งช่วยให้ระบบขับถ่ายมีการทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ทดแทนการใช้พลาสติกสังเคราะห์และโฟมในอุตสาหกรรมอาหาร
โดยสกัดและฟอกสีสาหร่ายผักกาดทะเลผสมกับเยื่อทางใบปาล์มแล้วนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องกดอัด (Compression Molding) จนได้บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่มีความแข็งแรง ทนต่อการดูดซึมน้ำ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง พร้อมผลักดันให้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่สำหรับผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ใช้เวลาในการเพาะปลูกหมุนเวียนสั้น ย่อยสลายได้ง่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
อนาคตทางกองฯ มีแผนที่จะต่อยอดและขยายผลงานวิจัยดังกล่าวไปยังกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจันทบุรี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายผักกาดทะเลและส่วนที่เหลือจากการคัดแยก สำหรับเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป
-ข้อมูลจาก ข่าวสด
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/economics/news_9860931