บทความทุกตอนคลิกที่นี้......................
บทความก่อนหน้าคลิกที่นี้........................
ตอนที่ 10 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - เส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่
หากจะฝันให้ "หาดใหญ่สงขลา" กลายเป็นหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก เราต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่า จังหวัดของเรา มีอะไรดี ที่พอจะพัฒนาต่อยอด ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว และสิ่งที่ผู้เขียนค้นพบ และคิดว่ามีศักยภาพมากเพียงพอนั่นคือ "ทะเลสาบสงขลา" เนื่องด้วยมีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 1,040 ตร.กม. หรือนัยหนึ่งคือมีพื้นที่ เท่ากับจังหวัดๆใหญ่ๆ จังหวัดหนึ่งเลยทีเดียว และหากลองศึกษา เรื่องราวเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลาอย่างจริงจัง เราจะพบว่า มีศักยภาพมากพอ ที่จะพัฒนาให้เป็นแห่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ไม่แพ้ทะเลอันดามันเลยทีเดียว
จากรูปจะพบว่า การจะเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทะเลสาบสงขลาได้อย่างสะดวกนั้น จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเข้าไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก อนึ่ง ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่ที่สำคัญ ไม่เหมาะที่จะสร้างรถไฟขนาดใหญ่ อย่างพวก BTS หรือ MRT ได้ เนื่องด้วยระบบถนนไม่รองรับ ดังนั้นระบบที่เหมาะที่สุดคือ ระบบโมโนเรลขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีชมพูในกรุงเทพฯ
ในรูปจะเห็นว่า จะมีรถไฟโมโนเรล 3 สายทาง ผู้เขียนขอกำหนดให็เป็น สายสีแดง สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง และความสุดยอดของระบบโมโนเรลคือ เราสามารถเอารถไฟแต่ละสายทาง มาวิ่งในรางเดียวกันได้ โดยอาศัยระบบอาณัติสัญญาน ที่มีความเฉพาะ
.....สายสีแดง เส้นทางสายนี้มีการออกแบบไว้แล้ว เป็นสายทางที่มีการศึกษาแล้วว่า มีผู้โดยสารมากที่สุด
.....สายสีน้ำเงิน เส้นทางสายนี้จะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ด้วยเนื้อที่กว่า 960 ไร่ อีกทั้งเขาคอหงส์ที่มีน้ำตกโตนหญ้าปล้องบริเวณด้านหลังเขา ที่กำลังจะประกาศให้เป็น "เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาคอหงส์" ซึ่งในอนาคต เป็นสิ่งที่เรียกว่า "ป่าในเมือง" ซึ่งมีความสำคัญมากๆ และสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลที่สวนสาธารณะหาดใหญ่ จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบ "กระเช้าลอยฟ้า" เพื่อขึ้นสู่จุดชมวิวเมืองหาดใหญ่ บนยอดเขาคอหงส์ ..... อีกทั้งเส้นทางสายนี้ ควรต่อเขาสู่เมืองสงขลา และไปถึงหาดชลาทัศน์ และควรไปให้ถึงสนามกีฬาติณสูลานนท์ เพื่อรองรับการเดินทางและการท่องเที่ยว รวมถึงการออกกำลังกายของผู้คน
.....สายสีม่วง เส้นทางสายนี้จะสำคัญมาก เรียกได้ว่าเป็นจุดชี้เป็นชี้ตาย หากต้องการทำให้ "หาดใหญ่สงขลา" เป็นหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก เพราะจะเป็นเส้นทางหลัก จากสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เข้าสู่ทะเลสาบสงขลาโดยตรง และต้องมีการสร้างถนนระดับ "ทางหลวง" เพื่อเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา
จากรูป เราก็จะเห็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง A B และ C
จุดเชื่อมต่อ A คือจุดหลังสนามบินหาดใหญ่ เป็นจุดเชื่อมกับมอเตอร์เวย์ ระดับประเทศ ที่เรียกว่า MR-map ซึ่งจะมีการคมนาคมหลากหลายรูปแบบในอนาคต
จุดเชื่อมต่อ B นั้นคือสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 3,415 ไร่ ซึ่งมีขนาดพื้นที่เทียบเท่ากับสนามบินดอนเมือง แต่ทว่าในความเห็นของผู้เขียน หากต้องการทำให้ "หาดใหญ่สงขลา" เป็นหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก ควรจะต้องเวณคืนที่ดินเพิ่มเติม อย่างน้อย สัก 6,000 ไร่
จุดเชื่อมต่อ C นั้นคือ สถานีรถไฟหาดใหญ่ ที่ในอนาคตจะมีรถไฟหลายหลายประเภท เช่น รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าโมโนเรล และรถไฟชานเมือง แบบเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดงในกรุงเทพ มารวมอยู่ที่นี้
จากรูป เราจะเห็นสัญลักษณ์ สี่เหลี่ยมคางหมู ผู้เขียนขอให้เป็นพื้นที่ศูนย์ควบคุมการเดินรถ และซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าโมโรเรลทั้ง 3 สี ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอเพราะเป็นที่ดินราชพัสดุภายใต้การดูแลของกองทัพอากาศขนาดใหญ่
หมายเหตุ :
1. แม้ว่า ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล จะมีความสามารถให้รถไฟหลากหลายสายทาง ให้มาใช้รางเดียวกันได้ แต่ทว่า ในอนาคต เมื่อเมืองมีการเจริญเติบโต คาดว่า รางแค่ 2 ทางคงไม่เพียงพอที่จะรองรับ รถไฟฟ้าโมโนเรลทั้ง 3 สีได้ ดังนั้นผู้เขียน ขอเสนอว่า ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อ A ไปจนถึง สามแยกคอหงส์ ให้เพิ่มรางโมโรเรลเป็น 4 ราง ถ้าได้ก็จะดีมาก
2.รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำงินที่จะวิ่งไปถึงหาดชลาทัศน์นั้น จะไม่ทับซ้อนกับรถไฟชานเมือง เส้นสงขลาเก่า เพราะเป็นผู้โดยสานคนละกลุ่ม
3.รถไฟฟ้า โมโนเรลสายสีน้ำงิน จะต้องมี สถานีบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ด้วย โดยเฉพาะตรงบริเวณสนามเด็กเล่นของสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ เนื่องจากบริเวณสนามเด็กเล่น ตามแผนจะเป็นที่ก่อสร้างสถานีกระเช้าไฟฟ้า "สถานีที่ 1" และตัวสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับระบบกระเช้าลอยฟ้าเพื่อขึ้นเขาคอหงส์ได้ทันที เพราะกระเช้าลอยฟ้าก็ถือเป็นการโดยสารรูปแบบหนึ่งที่จะต้องเชื่อมโยงกัน
....ขออธิบายเกี่ยวกับโครงการกระเช้าลอยฟ้าของเทศบาลนครหาดใหญ่ก่อน ตามแผนการก่อสร้าง แล้ว จะมีการก่อสร้าง 3 เฟส ปัจจุบันที่เห็นอยู่คือเป็นการดึงเอาเฟสที่ 2 มาก่อสร้างก่อน ส่วนเฟสที่ 1 บริเวณสนามเด็กเล่น และเฟสที่ 3 บนจุดสูงสุดของเขาคอหงส์ ตรงเสาโทรคมนาคม จะเป็นจุดชมวิวเมือง ยังไม่ได้ก่อสร้าง หากอยากจะดูแบบก่อสร้างให้ติดต่อเทศบาลนครหาดใหญ่
ตอนต่อไปคลิกที่นี้.....................
ตอนที่ 10 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - เส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล
บทความก่อนหน้าคลิกที่นี้........................
ตอนที่ 10 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - เส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่
หากจะฝันให้ "หาดใหญ่สงขลา" กลายเป็นหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก เราต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่า จังหวัดของเรา มีอะไรดี ที่พอจะพัฒนาต่อยอด ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว และสิ่งที่ผู้เขียนค้นพบ และคิดว่ามีศักยภาพมากเพียงพอนั่นคือ "ทะเลสาบสงขลา" เนื่องด้วยมีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 1,040 ตร.กม. หรือนัยหนึ่งคือมีพื้นที่ เท่ากับจังหวัดๆใหญ่ๆ จังหวัดหนึ่งเลยทีเดียว และหากลองศึกษา เรื่องราวเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลาอย่างจริงจัง เราจะพบว่า มีศักยภาพมากพอ ที่จะพัฒนาให้เป็นแห่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ไม่แพ้ทะเลอันดามันเลยทีเดียว
จากรูปจะพบว่า การจะเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทะเลสาบสงขลาได้อย่างสะดวกนั้น จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเข้าไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก อนึ่ง ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่ที่สำคัญ ไม่เหมาะที่จะสร้างรถไฟขนาดใหญ่ อย่างพวก BTS หรือ MRT ได้ เนื่องด้วยระบบถนนไม่รองรับ ดังนั้นระบบที่เหมาะที่สุดคือ ระบบโมโนเรลขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีชมพูในกรุงเทพฯ
ในรูปจะเห็นว่า จะมีรถไฟโมโนเรล 3 สายทาง ผู้เขียนขอกำหนดให็เป็น สายสีแดง สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง และความสุดยอดของระบบโมโนเรลคือ เราสามารถเอารถไฟแต่ละสายทาง มาวิ่งในรางเดียวกันได้ โดยอาศัยระบบอาณัติสัญญาน ที่มีความเฉพาะ
.....สายสีแดง เส้นทางสายนี้มีการออกแบบไว้แล้ว เป็นสายทางที่มีการศึกษาแล้วว่า มีผู้โดยสารมากที่สุด
.....สายสีน้ำเงิน เส้นทางสายนี้จะผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ด้วยเนื้อที่กว่า 960 ไร่ อีกทั้งเขาคอหงส์ที่มีน้ำตกโตนหญ้าปล้องบริเวณด้านหลังเขา ที่กำลังจะประกาศให้เป็น "เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาคอหงส์" ซึ่งในอนาคต เป็นสิ่งที่เรียกว่า "ป่าในเมือง" ซึ่งมีความสำคัญมากๆ และสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลที่สวนสาธารณะหาดใหญ่ จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบ "กระเช้าลอยฟ้า" เพื่อขึ้นสู่จุดชมวิวเมืองหาดใหญ่ บนยอดเขาคอหงส์ ..... อีกทั้งเส้นทางสายนี้ ควรต่อเขาสู่เมืองสงขลา และไปถึงหาดชลาทัศน์ และควรไปให้ถึงสนามกีฬาติณสูลานนท์ เพื่อรองรับการเดินทางและการท่องเที่ยว รวมถึงการออกกำลังกายของผู้คน
.....สายสีม่วง เส้นทางสายนี้จะสำคัญมาก เรียกได้ว่าเป็นจุดชี้เป็นชี้ตาย หากต้องการทำให้ "หาดใหญ่สงขลา" เป็นหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก เพราะจะเป็นเส้นทางหลัก จากสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เข้าสู่ทะเลสาบสงขลาโดยตรง และต้องมีการสร้างถนนระดับ "ทางหลวง" เพื่อเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา
จากรูป เราก็จะเห็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง A B และ C
จุดเชื่อมต่อ A คือจุดหลังสนามบินหาดใหญ่ เป็นจุดเชื่อมกับมอเตอร์เวย์ ระดับประเทศ ที่เรียกว่า MR-map ซึ่งจะมีการคมนาคมหลากหลายรูปแบบในอนาคต
จุดเชื่อมต่อ B นั้นคือสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 3,415 ไร่ ซึ่งมีขนาดพื้นที่เทียบเท่ากับสนามบินดอนเมือง แต่ทว่าในความเห็นของผู้เขียน หากต้องการทำให้ "หาดใหญ่สงขลา" เป็นหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก ควรจะต้องเวณคืนที่ดินเพิ่มเติม อย่างน้อย สัก 6,000 ไร่
จุดเชื่อมต่อ C นั้นคือ สถานีรถไฟหาดใหญ่ ที่ในอนาคตจะมีรถไฟหลายหลายประเภท เช่น รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าโมโนเรล และรถไฟชานเมือง แบบเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดงในกรุงเทพ มารวมอยู่ที่นี้
จากรูป เราจะเห็นสัญลักษณ์ สี่เหลี่ยมคางหมู ผู้เขียนขอให้เป็นพื้นที่ศูนย์ควบคุมการเดินรถ และซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าโมโรเรลทั้ง 3 สี ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอเพราะเป็นที่ดินราชพัสดุภายใต้การดูแลของกองทัพอากาศขนาดใหญ่
หมายเหตุ :
1. แม้ว่า ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล จะมีความสามารถให้รถไฟหลากหลายสายทาง ให้มาใช้รางเดียวกันได้ แต่ทว่า ในอนาคต เมื่อเมืองมีการเจริญเติบโต คาดว่า รางแค่ 2 ทางคงไม่เพียงพอที่จะรองรับ รถไฟฟ้าโมโนเรลทั้ง 3 สีได้ ดังนั้นผู้เขียน ขอเสนอว่า ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อ A ไปจนถึง สามแยกคอหงส์ ให้เพิ่มรางโมโรเรลเป็น 4 ราง ถ้าได้ก็จะดีมาก
2.รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำงินที่จะวิ่งไปถึงหาดชลาทัศน์นั้น จะไม่ทับซ้อนกับรถไฟชานเมือง เส้นสงขลาเก่า เพราะเป็นผู้โดยสานคนละกลุ่ม
3.รถไฟฟ้า โมโนเรลสายสีน้ำงิน จะต้องมี สถานีบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ด้วย โดยเฉพาะตรงบริเวณสนามเด็กเล่นของสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ เนื่องจากบริเวณสนามเด็กเล่น ตามแผนจะเป็นที่ก่อสร้างสถานีกระเช้าไฟฟ้า "สถานีที่ 1" และตัวสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับระบบกระเช้าลอยฟ้าเพื่อขึ้นเขาคอหงส์ได้ทันที เพราะกระเช้าลอยฟ้าก็ถือเป็นการโดยสารรูปแบบหนึ่งที่จะต้องเชื่อมโยงกัน
....ขออธิบายเกี่ยวกับโครงการกระเช้าลอยฟ้าของเทศบาลนครหาดใหญ่ก่อน ตามแผนการก่อสร้าง แล้ว จะมีการก่อสร้าง 3 เฟส ปัจจุบันที่เห็นอยู่คือเป็นการดึงเอาเฟสที่ 2 มาก่อสร้างก่อน ส่วนเฟสที่ 1 บริเวณสนามเด็กเล่น และเฟสที่ 3 บนจุดสูงสุดของเขาคอหงส์ ตรงเสาโทรคมนาคม จะเป็นจุดชมวิวเมือง ยังไม่ได้ก่อสร้าง หากอยากจะดูแบบก่อสร้างให้ติดต่อเทศบาลนครหาดใหญ่
ตอนต่อไปคลิกที่นี้.....................