บทความทั้งหมด................
บทความก่อนหน้าคลิกที่นี้....................
ตอนที่ 9 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - "ความจริง 3" ทะเลสาบสงขลา (ซอฟแวร์)
ในตอนนี้จะเป็นเรื่องของ "ซอฟแวร์" ของทะเลสาบ ซึ่งในบทความที่แล้ว เราพบแล้วว่า ทะเลสาบสงขลา มี "ความจริง" มากมาย ที่พร้อมจะนำมาสร้าง "มูลค่า" ดังนั้น หากเราไม่มีระบบ หรือวิธีการจัดการ หรือแนวคิด หรือ ความคิดสร้างสรรค์ เข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ทะเลสาบ เราก็จะไม่สามารถดึงเอาศักยภาพที่แท้จริงของพื้นที่นี้ออกมาได้
อุปมาอุปไมยเหมือนกับ เราไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สเปกเทพ การ์ดจอ GeForce RTX รุ่นล่าสุด ราคาร่วมๆหลักแสน แต่เราดันเอาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ มาใช้งานในโปรแกรม MS-Dos .........เราจะทำแบบนั่น ไปเพื่ออะไร (วะ)
จากกรณีศึกษาในพื้นที่ๆหนึ่ง นั่นคือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูกระดึง เป็นที่ราบสูงแบบภูเขา หมายความว่าไม่สามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์ เพราะเป็นหน้าผาสูงชัน ทางที่จะขึ้นได้คือ การเดินเท้า หรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น แม้จะเป็นแค่ภูเขาธรรมดาๆลูกหนึ่ง ที่บนภูเขาก็ไม่ได้มีอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจจนต้องร้องว้าว!! ...หรืออาจเรียกได้ว่า ก็เหมือนภูเขาทั่วๆไป ที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน แต่ทว่ากลับมีความคิดสร้างสรรค์ หรือ ชาเลนจ์ บางอย่าง ที่ทำให้ ภูเขาลูกนี้ กลับกลายมามีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างน่าเหลือเชื่อ นั่นคือประโยคทองที่ว่า "ครั้งหนึ่งในชีวิตที่พิชิตภูกระดึง" ตามรูปข้างบน เหมือนเราเล่นเกมส์ๆหนึ่งแล้วเราปราบบอสได้ และนี้คือความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้ภูกระดึงมีมูลค่าขึ้นมาอย่างทันที
เราจะเห็นว่า ที่ภูกระดึง มีลักษณะของ ชาเลนจ์ คือ เดินขึ้น และเดินลง หมายความว่า "มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ที่จุดเดียวกัน" และเมื่อเรามาพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ ของทะเลสาบสงขลา เราก็จะพบว่า มีลักษณะเป็น ลูป (loop) คล้ายกับลู่วิ่งในสนามฟุตบอล ที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ในจุดเดียวกันเช่นกัน เหมือนกันกับ ภูกระดึง
แต่ทะเลสาบสงขลาจะมี "ชาเลนจ์" ที่มีสเกลใหญ่กว่าภูกระดึงอย่างมาก เนื่องจากขนาดพื้นที่ๆใหญ่กว่ากันอย่างเทียบกันไม่ได้ อีกทั้งเรื่องราวในหลายๆมิติ พื้นที่รอบๆทะเลสาบสงขลานั้น มีทั้งเรื่องราวทางประวัติ ความเป็นมา วิถีชุมชน ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติ พันธ์สัตว์น้ำ พันธุ์สัตว์ปลา ทะเลเขตอนุรักษ์ ฯลฯ เรียกได้ว่า ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของทะเลสาบ ทำให้ทะเลสาบมีมูลค่าอย่างที่ไม่สามารถประเมิณค่าได้ และเราต้องการที่จะสร้าง "ชาเลนจ์" ของทะเลสาบสงขลา ด้วยการรวมรวมเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ และพื้นที่ที่น่าสนใจ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มาผูกโยงเรื่องราว และจัดสรรไว้ให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อให้เป็น "อัตลักษณ์ร่วมกัน" เอามาไว้ในสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า "สถานีเลสาบ"
สถานี "เลสาบ" คืออะไร ขอเริ่มด้วยชื่อก่อน ทำไมถึงตั้งชื่อว่า "เลสาบ" เนื่องจากทะเลสาบ ที่เรารู้จักกันในชื่อ ทะเลสาบสงขลา ความจริงแล้ว เป็นเขตพื้นที่ ของทั้งจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง ดังนั้น หากใช้ชื่อพื้นที่นี้ว่า สถานีทะเลสาบสงขลา เราอาจจะต้องมีปัญหากับชาวพัทลุง แม้ว่าพื้นที่ส่วนล่างของทะเลสาบ บริเวณแหลมโพธิ์ เราสามารถใช้ชื่อทะเลสาบสงขลาได้ แต่ถ้าจะรวมพื้นที่ ทั้งหมด 3 ส่วนคือ ทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อย ทะเลหลวง เข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง ชาเลนจ์ ขนาดใหญ เราจึงควรตั้งชื่อพื้นที่นี้ว่า สถานี "เลสาบ" ซึ่งคำนี้เป็นคำภาษาภาคใต้ ที่ทุกคนสามารใช้ร่วมกันได้ แต่ถึงกระนั้นพื้นที่ทะเลสาบส่วนที่ติดกับ อ.หาดใหญ่ เราชาวหาดใหญ่สงขลาขอสงวนสิทธิ์ ในการเรียกพื้นที่ส่วนนี้ว่าทะเลสาบสงขลา เพราะจะเอาชื่อนี้ไป สร้างมูลค่าต่อในบทต่อไป
มาต่อกันที่ "ชาเลนจ์" ที่เราจะสร้าง จะมีส่วนประกอบที่สำคัญก็คือ สิ่งที่ผู้เขียนขอเรียกมันว่า "สถานีเลสาบ" ที่จะกระจายตัวอยู่รอบๆพื้นที่ๆนี้ เพื่อเป็นหมุดหมาย หรือแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่จะให้รองรับนักท่องเที่ยว และนักอนุรักษ์จากทั่วโลก และเนื่องจาก ทะเลสาบแห่งนี้มีขนาดพื้นที่ ที่ใหญ่มาก และมี "ความจริง" ที่รอการสร้าง "มูลค่า" อยู่เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนประเมินไว้เบื้องต้นว่า อาจจะต้องมี "สถานีเลสาบ" ถึง 2,614 สถานีเลยทีเดียว เพื่อให้ ชาเลนจ์ ที่เราจะสร้างนี้ มีความยากในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเสน่ห์ และความท้าทายอย่างมาก และเราจะสามารถสร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ เพิ่มได้ถึง 2,614 แห่งรอบๆทะเลสาบสงขลา จากนั้น ให้ประกาศคำท้าทายต่อนักท่องเที่ยว และนักอนุรักษ์ เพื่อให้พิชิต "สถานีเลสาบ" ทั้งหมด 2,614 สถานี ซึ่งแต่ละสถานีเลสาบ จะมีเรื่องราว หรือ "ธีม" ที่ไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "เอกลักษณ์" ของแต่ละสถานี ที่แต่ละสถานีจะถูกรวบรวมไว้ให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ภายใต้ชื่อ "สถานีเลสาบ" เรียกว่า "อัตลักษณ์" ร่วมกัน เพื่อให้เกิดพลังร่วมกัน
คำว่า อัตลักษณ์ กับ เอกลักษณ์ 2 คำนี้หากประเทศไทยใช้ให้เป็นจะมีมูลค่าอย่างมหาศาล โดย อัตลักษณ์ จะแปล อย่างง่ายๆว่า "สิ่งที่เหมือนกันร่วมกัน" หมายถึงการจัดการบางสิ่ง บางอย่างให้อยู่ในกลุ่ม หรือหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดพลังมากกว่า แยกเป็นเดียวๆ ...ถ้าในวงการธุรกิจ ก็คือ การขยายสาขาธุรกิจ หรือระบบแฟรนชายส์ ตัวอย่างเช่น ไก่เคเอฟซี สตาร์บัค ปตท. ฯลฯ ที่มักมีหลายสาขา ทั้งใน และนอกประเทศ
ยกตัวอย่างง่ายๆอีก 1 กรณี นั่นคือ หากเรามีหนังสือดีๆ สัก 1 เล่ม และสมมุติว่าเราฉีกออกมา 1 ใบ กล่าวคือ หนังสือที่เราฉีกออกมา 1 ใบ นั้น นั่นคือตัวแทนของ เอกลักษณ์ เพราะแต่ละใบของหนังสือ ย่อมมีเนื้อหาไม่เหมือนกัน แต่ทว่าก็จะไม่เกิดพลังในแนวกลุ่มก้อน ดังนั้น เราจึงควรต้องรวมเย็บเล่มให้กลายเป็น หนังสือ 1 เล่ม เพื่อที่จะให้เกิดเป็นพลัง ในฐานะหนังสือ 1 เล่ม และหนังสือ 1 เล่มก็จะมีพลัง ในฐานะอัตลักษณ์ร่วมกัน ทำให้เกิดเป็นพลัง ทำให้หนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจ ต่อไปคือ
เอกลักษณ์ จะแปลอย่างง่ายๆว่า สิ่งที่ไม่เหมือนใคร หรือมีอย่างจำกัด อย่างเช่น ทองคำที่มีจำนวนน้อย และมีอย่างจำกัด หรือ ล๊อตเตอร์รี่รางวัลที่ 1 ที่มีอยู่เลขเดียว ... เห็นไหมละว่า แค่ คำ 2 คำนี้ มันดูรวยแค่ไหน และ สถานีเลสาบ ที่เราจะสร้าง เป็น ชาเลนจ์ ก็มีคำทั้ง 2 คำนี้ ที่เราจะเอามาสร้าง "มูลค่า" ด้วยวิธีคิดที่แตกต่างให้กับตัวสถานีเลสาบ ในแต่ละสถานี
จริงๆจากคำ 2 คำนี้ หากใช้ให้เป็น ประเทศไทยจะรวยมาก ขอยกตัวอย่างการใช้ 2 คำนี้ ในการเพิ่มมูลค่าให้กับ ปั๊มน้ำมัน ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ดังนี้ ....จากข้อมูลปี 2566 ปตท.มี สาขาปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ 2,256 สาขา ซึ่งลักษณะของปั๊มน้ำมัน ปตท. โดยส่วนใหญ่ ก็จะมีพื้นที่กว้างขวาง ดำเนินกิจการขายน้ำมัน และบริการชาร์จรถไฟฟ้า อีกทั้งยังมีบริการร้านสะดวกซื้อ เช่น เซเว่นอีเลเว่น มีร้านกาแฟอเมซอล บางสาขาก็มีไก่ทอด kfc บางสาขามีศูนย์อาหาร มีที่ซักผ้า มีห้องพัก เรียกได้ว่า ในปัจจุบัน ปั๊มน้ำมัน ปตท.นอกจากจะขายน้ำมันแล้ว ยังมีบริการต่างๆ จนอาจกล่าวได้ว่า เปรียบเสมือนเมืองขนาดย่อมๆ เมืองหนึ่งเลยที่เดียว และทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ก็ถือเป็นระบบสาขา หรือแฟรนไชส์ ที่มีลักษณะคือ "สิ่งที่เหมือนกัน ร่วมกัน" ซึ่งสาขาทั้งหมดของ ปตท. ก็มีเหมือนๆกัน จึงทำให้เกิดเป็นพลัง เพราะมีการจับกลุ่ม ให้เป็นหมวดหมู่เดียวกันทั้ง 2,256 สาขา ซึ่งก็คือ มี อัตลักษณ์ เดียวกันนั่นเอง
แต่ทว่า สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่า ยังขาดไปนั่นเพราะการตีโจทย์ว่า ปั๊มน้ำมัน ปตท. เป็นแค่ที่ แวะจอดเติมน้ำมัน แวะซื้อของกิน เข้าห้องน้ำ เติมลม พักผ่อน ฯลฯ คงยังไม่ถูกต้องนัก เพราะยังมีอีกสิ่งที่ยังไม่ได้คิดนั่นก็คือ ...ปั๊มปตท. ทุกสาขา สามารถเป็น "แหล่งท่องเที่ยว" ได้ด้วยตัวของมันเอง เพียงแค่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไป โดยการเติมสิ่งที่เรียกว่า "เอกลักษณ์" ให้ปั๊ม ปตท. แต่ละสาขา ในทุกๆสาขา ให้ไม่ซ้ำกัน
ยกตัวอย่างเช่น ที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง จะมีปั๊มปตท.อยู่ปั๊มหนึ่ง ที่ตกแต่งพื้นที่ด้วย ธีม "คาวบอย" ซึ่งเมื่อเราเข้าไปใช้บริการ เราจะได้เห็นบรรยากาศของปั๊มน้ำมันแห่งนี้ เป็นแบบ คาวบอย และมีการเปิดเพลงคันครี คลอไปเบาๆ มีรูปคาวบอย และประวัติต่างๆ ที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับ คาวบอย ซึ่งทำให้ปั๊มน้ำมันแห่งนี้เป็นที่จดจำมากกว่า ปั๊มน้ำมัน ปตท.แห่งอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นการสร้างสิ่งที่เรียกว่า (branding) ให้เป็นที่จดจำ หากถามคนหาดใหญ่สงขลาที่เดินทางบ่อยๆว่า ปั๊มน้ำมัน ปตท.คาวบอย อยู่ที่ไหน ทุกคนที่เป็นนักเดินทางส่วนใหญ่ต่างรู้จักกันว่า คือที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ดังนั้นแล้วรูปแบบ ธีม "คาวบอย" เราจะเรียกว่า การสร้าง "เอกลักษณ์" เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด
...ในความเป็นจริงผู้เขียนอยากให้ผู้บริหาร ปตท. หรือผู้ที่สามารถสื่อสารไปถึงผู้บริหาร ปตท. ...ว่าจริงๆแล้ว อยากให้ทำในรูปแบบนี้มากๆ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มยอดขายให้กับตัวปั๊มน้ำมันเองแล้ว ยังสามารถเพิ่มให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยได้อีกถึง 2,256 แหล่งการท่องเที่ยวอีกด้วย
ส่วนวิธีการทำก็ลงทุนไม่เยอะ แต่มีประสิทธิภาพสูง นั่นคือสร้าง "เอกลักษณ์" โดยผ่านการตั้งชื่อรองของปั๊มน้ำมัน ตามรูปข้างบน (รูปที่เป็นป้าย ปตท.ใหญ่ ที่มีคำว่า cowboy) ในรูปข้างบน เราจะเห็นโลโก้ของปั๊ม น้ำมัน และอักษรภาษาอังกฤษ ptt ซึ่งเป็นตัวแทนของ "อัตลักษณ์" หรือสิ่งที่เหมือนกันร่วมกัน ส่วนข้อความข้างล่าง ที่เขียนว่า "คาวบอย" เป็นชื่อที่สะท้อนถึง "เอกลักษณ์" หรือสิ่งที่ไม่เหมือนใคร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ปั๊มปตท. กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีการตกแต่ง และสร้างบรรยากาศ (ธีม) ของปั๊ม ให้มีรูปแบบของคาวบอย เช่น มีป้ายความรู้พอเป็นสังเขป อาจเปิดเพลงคันทรี่ เพื่อสร้างบรรยากาศ ฯลฯ และปั๊ม ปตท. คาวบอย ที่ยกตัวอย่างมานี้ เกิดขึ้นจริงแล้ว ที่ ปตท.ป่าบอน จ.พัทลุง
ขอต่อบทความในคอมเมนต์ข้างล่าง
ตอนที่ 9 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - "ความจริง 3" ทะเลสาบสงขลา (ซอฟแวร์)
บทความก่อนหน้าคลิกที่นี้....................
ตอนที่ 9 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - "ความจริง 3" ทะเลสาบสงขลา (ซอฟแวร์)
ในตอนนี้จะเป็นเรื่องของ "ซอฟแวร์" ของทะเลสาบ ซึ่งในบทความที่แล้ว เราพบแล้วว่า ทะเลสาบสงขลา มี "ความจริง" มากมาย ที่พร้อมจะนำมาสร้าง "มูลค่า" ดังนั้น หากเราไม่มีระบบ หรือวิธีการจัดการ หรือแนวคิด หรือ ความคิดสร้างสรรค์ เข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ทะเลสาบ เราก็จะไม่สามารถดึงเอาศักยภาพที่แท้จริงของพื้นที่นี้ออกมาได้
อุปมาอุปไมยเหมือนกับ เราไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สเปกเทพ การ์ดจอ GeForce RTX รุ่นล่าสุด ราคาร่วมๆหลักแสน แต่เราดันเอาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ มาใช้งานในโปรแกรม MS-Dos .........เราจะทำแบบนั่น ไปเพื่ออะไร (วะ)
จากกรณีศึกษาในพื้นที่ๆหนึ่ง นั่นคือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูกระดึง เป็นที่ราบสูงแบบภูเขา หมายความว่าไม่สามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์ เพราะเป็นหน้าผาสูงชัน ทางที่จะขึ้นได้คือ การเดินเท้า หรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น แม้จะเป็นแค่ภูเขาธรรมดาๆลูกหนึ่ง ที่บนภูเขาก็ไม่ได้มีอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจจนต้องร้องว้าว!! ...หรืออาจเรียกได้ว่า ก็เหมือนภูเขาทั่วๆไป ที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน แต่ทว่ากลับมีความคิดสร้างสรรค์ หรือ ชาเลนจ์ บางอย่าง ที่ทำให้ ภูเขาลูกนี้ กลับกลายมามีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างน่าเหลือเชื่อ นั่นคือประโยคทองที่ว่า "ครั้งหนึ่งในชีวิตที่พิชิตภูกระดึง" ตามรูปข้างบน เหมือนเราเล่นเกมส์ๆหนึ่งแล้วเราปราบบอสได้ และนี้คือความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้ภูกระดึงมีมูลค่าขึ้นมาอย่างทันที
เราจะเห็นว่า ที่ภูกระดึง มีลักษณะของ ชาเลนจ์ คือ เดินขึ้น และเดินลง หมายความว่า "มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ที่จุดเดียวกัน" และเมื่อเรามาพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ ของทะเลสาบสงขลา เราก็จะพบว่า มีลักษณะเป็น ลูป (loop) คล้ายกับลู่วิ่งในสนามฟุตบอล ที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ในจุดเดียวกันเช่นกัน เหมือนกันกับ ภูกระดึง
แต่ทะเลสาบสงขลาจะมี "ชาเลนจ์" ที่มีสเกลใหญ่กว่าภูกระดึงอย่างมาก เนื่องจากขนาดพื้นที่ๆใหญ่กว่ากันอย่างเทียบกันไม่ได้ อีกทั้งเรื่องราวในหลายๆมิติ พื้นที่รอบๆทะเลสาบสงขลานั้น มีทั้งเรื่องราวทางประวัติ ความเป็นมา วิถีชุมชน ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติ พันธ์สัตว์น้ำ พันธุ์สัตว์ปลา ทะเลเขตอนุรักษ์ ฯลฯ เรียกได้ว่า ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของทะเลสาบ ทำให้ทะเลสาบมีมูลค่าอย่างที่ไม่สามารถประเมิณค่าได้ และเราต้องการที่จะสร้าง "ชาเลนจ์" ของทะเลสาบสงขลา ด้วยการรวมรวมเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ และพื้นที่ที่น่าสนใจ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มาผูกโยงเรื่องราว และจัดสรรไว้ให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อให้เป็น "อัตลักษณ์ร่วมกัน" เอามาไว้ในสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า "สถานีเลสาบ"
สถานี "เลสาบ" คืออะไร ขอเริ่มด้วยชื่อก่อน ทำไมถึงตั้งชื่อว่า "เลสาบ" เนื่องจากทะเลสาบ ที่เรารู้จักกันในชื่อ ทะเลสาบสงขลา ความจริงแล้ว เป็นเขตพื้นที่ ของทั้งจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง ดังนั้น หากใช้ชื่อพื้นที่นี้ว่า สถานีทะเลสาบสงขลา เราอาจจะต้องมีปัญหากับชาวพัทลุง แม้ว่าพื้นที่ส่วนล่างของทะเลสาบ บริเวณแหลมโพธิ์ เราสามารถใช้ชื่อทะเลสาบสงขลาได้ แต่ถ้าจะรวมพื้นที่ ทั้งหมด 3 ส่วนคือ ทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อย ทะเลหลวง เข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง ชาเลนจ์ ขนาดใหญ เราจึงควรตั้งชื่อพื้นที่นี้ว่า สถานี "เลสาบ" ซึ่งคำนี้เป็นคำภาษาภาคใต้ ที่ทุกคนสามารใช้ร่วมกันได้ แต่ถึงกระนั้นพื้นที่ทะเลสาบส่วนที่ติดกับ อ.หาดใหญ่ เราชาวหาดใหญ่สงขลาขอสงวนสิทธิ์ ในการเรียกพื้นที่ส่วนนี้ว่าทะเลสาบสงขลา เพราะจะเอาชื่อนี้ไป สร้างมูลค่าต่อในบทต่อไป
มาต่อกันที่ "ชาเลนจ์" ที่เราจะสร้าง จะมีส่วนประกอบที่สำคัญก็คือ สิ่งที่ผู้เขียนขอเรียกมันว่า "สถานีเลสาบ" ที่จะกระจายตัวอยู่รอบๆพื้นที่ๆนี้ เพื่อเป็นหมุดหมาย หรือแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่จะให้รองรับนักท่องเที่ยว และนักอนุรักษ์จากทั่วโลก และเนื่องจาก ทะเลสาบแห่งนี้มีขนาดพื้นที่ ที่ใหญ่มาก และมี "ความจริง" ที่รอการสร้าง "มูลค่า" อยู่เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนประเมินไว้เบื้องต้นว่า อาจจะต้องมี "สถานีเลสาบ" ถึง 2,614 สถานีเลยทีเดียว เพื่อให้ ชาเลนจ์ ที่เราจะสร้างนี้ มีความยากในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเสน่ห์ และความท้าทายอย่างมาก และเราจะสามารถสร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ เพิ่มได้ถึง 2,614 แห่งรอบๆทะเลสาบสงขลา จากนั้น ให้ประกาศคำท้าทายต่อนักท่องเที่ยว และนักอนุรักษ์ เพื่อให้พิชิต "สถานีเลสาบ" ทั้งหมด 2,614 สถานี ซึ่งแต่ละสถานีเลสาบ จะมีเรื่องราว หรือ "ธีม" ที่ไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "เอกลักษณ์" ของแต่ละสถานี ที่แต่ละสถานีจะถูกรวบรวมไว้ให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ภายใต้ชื่อ "สถานีเลสาบ" เรียกว่า "อัตลักษณ์" ร่วมกัน เพื่อให้เกิดพลังร่วมกัน
คำว่า อัตลักษณ์ กับ เอกลักษณ์ 2 คำนี้หากประเทศไทยใช้ให้เป็นจะมีมูลค่าอย่างมหาศาล โดย อัตลักษณ์ จะแปล อย่างง่ายๆว่า "สิ่งที่เหมือนกันร่วมกัน" หมายถึงการจัดการบางสิ่ง บางอย่างให้อยู่ในกลุ่ม หรือหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดพลังมากกว่า แยกเป็นเดียวๆ ...ถ้าในวงการธุรกิจ ก็คือ การขยายสาขาธุรกิจ หรือระบบแฟรนชายส์ ตัวอย่างเช่น ไก่เคเอฟซี สตาร์บัค ปตท. ฯลฯ ที่มักมีหลายสาขา ทั้งใน และนอกประเทศ
ยกตัวอย่างง่ายๆอีก 1 กรณี นั่นคือ หากเรามีหนังสือดีๆ สัก 1 เล่ม และสมมุติว่าเราฉีกออกมา 1 ใบ กล่าวคือ หนังสือที่เราฉีกออกมา 1 ใบ นั้น นั่นคือตัวแทนของ เอกลักษณ์ เพราะแต่ละใบของหนังสือ ย่อมมีเนื้อหาไม่เหมือนกัน แต่ทว่าก็จะไม่เกิดพลังในแนวกลุ่มก้อน ดังนั้น เราจึงควรต้องรวมเย็บเล่มให้กลายเป็น หนังสือ 1 เล่ม เพื่อที่จะให้เกิดเป็นพลัง ในฐานะหนังสือ 1 เล่ม และหนังสือ 1 เล่มก็จะมีพลัง ในฐานะอัตลักษณ์ร่วมกัน ทำให้เกิดเป็นพลัง ทำให้หนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจ ต่อไปคือ
เอกลักษณ์ จะแปลอย่างง่ายๆว่า สิ่งที่ไม่เหมือนใคร หรือมีอย่างจำกัด อย่างเช่น ทองคำที่มีจำนวนน้อย และมีอย่างจำกัด หรือ ล๊อตเตอร์รี่รางวัลที่ 1 ที่มีอยู่เลขเดียว ... เห็นไหมละว่า แค่ คำ 2 คำนี้ มันดูรวยแค่ไหน และ สถานีเลสาบ ที่เราจะสร้าง เป็น ชาเลนจ์ ก็มีคำทั้ง 2 คำนี้ ที่เราจะเอามาสร้าง "มูลค่า" ด้วยวิธีคิดที่แตกต่างให้กับตัวสถานีเลสาบ ในแต่ละสถานี
จริงๆจากคำ 2 คำนี้ หากใช้ให้เป็น ประเทศไทยจะรวยมาก ขอยกตัวอย่างการใช้ 2 คำนี้ ในการเพิ่มมูลค่าให้กับ ปั๊มน้ำมัน ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ดังนี้ ....จากข้อมูลปี 2566 ปตท.มี สาขาปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ 2,256 สาขา ซึ่งลักษณะของปั๊มน้ำมัน ปตท. โดยส่วนใหญ่ ก็จะมีพื้นที่กว้างขวาง ดำเนินกิจการขายน้ำมัน และบริการชาร์จรถไฟฟ้า อีกทั้งยังมีบริการร้านสะดวกซื้อ เช่น เซเว่นอีเลเว่น มีร้านกาแฟอเมซอล บางสาขาก็มีไก่ทอด kfc บางสาขามีศูนย์อาหาร มีที่ซักผ้า มีห้องพัก เรียกได้ว่า ในปัจจุบัน ปั๊มน้ำมัน ปตท.นอกจากจะขายน้ำมันแล้ว ยังมีบริการต่างๆ จนอาจกล่าวได้ว่า เปรียบเสมือนเมืองขนาดย่อมๆ เมืองหนึ่งเลยที่เดียว และทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ก็ถือเป็นระบบสาขา หรือแฟรนไชส์ ที่มีลักษณะคือ "สิ่งที่เหมือนกัน ร่วมกัน" ซึ่งสาขาทั้งหมดของ ปตท. ก็มีเหมือนๆกัน จึงทำให้เกิดเป็นพลัง เพราะมีการจับกลุ่ม ให้เป็นหมวดหมู่เดียวกันทั้ง 2,256 สาขา ซึ่งก็คือ มี อัตลักษณ์ เดียวกันนั่นเอง
แต่ทว่า สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่า ยังขาดไปนั่นเพราะการตีโจทย์ว่า ปั๊มน้ำมัน ปตท. เป็นแค่ที่ แวะจอดเติมน้ำมัน แวะซื้อของกิน เข้าห้องน้ำ เติมลม พักผ่อน ฯลฯ คงยังไม่ถูกต้องนัก เพราะยังมีอีกสิ่งที่ยังไม่ได้คิดนั่นก็คือ ...ปั๊มปตท. ทุกสาขา สามารถเป็น "แหล่งท่องเที่ยว" ได้ด้วยตัวของมันเอง เพียงแค่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไป โดยการเติมสิ่งที่เรียกว่า "เอกลักษณ์" ให้ปั๊ม ปตท. แต่ละสาขา ในทุกๆสาขา ให้ไม่ซ้ำกัน
ยกตัวอย่างเช่น ที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง จะมีปั๊มปตท.อยู่ปั๊มหนึ่ง ที่ตกแต่งพื้นที่ด้วย ธีม "คาวบอย" ซึ่งเมื่อเราเข้าไปใช้บริการ เราจะได้เห็นบรรยากาศของปั๊มน้ำมันแห่งนี้ เป็นแบบ คาวบอย และมีการเปิดเพลงคันครี คลอไปเบาๆ มีรูปคาวบอย และประวัติต่างๆ ที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับ คาวบอย ซึ่งทำให้ปั๊มน้ำมันแห่งนี้เป็นที่จดจำมากกว่า ปั๊มน้ำมัน ปตท.แห่งอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นการสร้างสิ่งที่เรียกว่า (branding) ให้เป็นที่จดจำ หากถามคนหาดใหญ่สงขลาที่เดินทางบ่อยๆว่า ปั๊มน้ำมัน ปตท.คาวบอย อยู่ที่ไหน ทุกคนที่เป็นนักเดินทางส่วนใหญ่ต่างรู้จักกันว่า คือที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ดังนั้นแล้วรูปแบบ ธีม "คาวบอย" เราจะเรียกว่า การสร้าง "เอกลักษณ์" เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด
...ในความเป็นจริงผู้เขียนอยากให้ผู้บริหาร ปตท. หรือผู้ที่สามารถสื่อสารไปถึงผู้บริหาร ปตท. ...ว่าจริงๆแล้ว อยากให้ทำในรูปแบบนี้มากๆ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มยอดขายให้กับตัวปั๊มน้ำมันเองแล้ว ยังสามารถเพิ่มให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยได้อีกถึง 2,256 แหล่งการท่องเที่ยวอีกด้วย
ส่วนวิธีการทำก็ลงทุนไม่เยอะ แต่มีประสิทธิภาพสูง นั่นคือสร้าง "เอกลักษณ์" โดยผ่านการตั้งชื่อรองของปั๊มน้ำมัน ตามรูปข้างบน (รูปที่เป็นป้าย ปตท.ใหญ่ ที่มีคำว่า cowboy) ในรูปข้างบน เราจะเห็นโลโก้ของปั๊ม น้ำมัน และอักษรภาษาอังกฤษ ptt ซึ่งเป็นตัวแทนของ "อัตลักษณ์" หรือสิ่งที่เหมือนกันร่วมกัน ส่วนข้อความข้างล่าง ที่เขียนว่า "คาวบอย" เป็นชื่อที่สะท้อนถึง "เอกลักษณ์" หรือสิ่งที่ไม่เหมือนใคร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ปั๊มปตท. กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีการตกแต่ง และสร้างบรรยากาศ (ธีม) ของปั๊ม ให้มีรูปแบบของคาวบอย เช่น มีป้ายความรู้พอเป็นสังเขป อาจเปิดเพลงคันทรี่ เพื่อสร้างบรรยากาศ ฯลฯ และปั๊ม ปตท. คาวบอย ที่ยกตัวอย่างมานี้ เกิดขึ้นจริงแล้ว ที่ ปตท.ป่าบอน จ.พัทลุง
ขอต่อบทความในคอมเมนต์ข้างล่าง