ฐานเศรษฐกิจ
09 มี.ค. 2568 |
มนพร เผย ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมียนมา หนุน ท่าเรือระนอง นำเข้า -ส่งออกทะลุ 200% เพิ่มพื้นที่รับตู้สินค้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์
สุขภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค ดันขยายตัวเศรษฐกิจไทย ชูเป็นศูนย์กลางการค้าทะเลฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันท่าเรือระนอง มียอดการนำเข้า – ส่งออกสินค้าพุ่งสูงขึ้น 200%
เป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบและปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมืองเมียวดี ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาตั้งแต่
เดือนมกราคม 2567 ทำให้การนำเข้า – ส่งออกไปประเทศเมียนมาและสินค้าผ่านแดนที่ปกติต้องผ่านด่านแม่สอด จังหวัดตาก และด่านแม่สาย
จังหวัดเชียงราย ย้ายมาใช้บริการผ่านด่านจังหวัดระนองเพิ่มมากขึ้น
นางมนพร กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมได้เห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน
สอดคล้องกับนโยบาย “คมนาคมเพื่อโอกาสประเทศไทย” ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและพัฒนาการบริการให้เป็น
ไปตามมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงได้กำชับให้ท่าเรือระนอง ภายใต้การกำกับดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)
เตรียมความพร้อมท่าเทียบเรือ พื้นที่ลานวางตู้สินค้า รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการขนส่งสินค้า
เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากประเทศเมียนมาที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจและเสริมสร้าง
โอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาว ท่าเรือระนอง
พร้อมรองรับการเป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของท่าเรือระนอง
ในการพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านการขนส่งโลจิสติกส์ของภาคใต้ให้มีศักยภาพและเติบโตมากยิ่งขึ้นต่อไป
นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นมา ท่าเรือระนองมีสินค้านำเข้า –
ส่งออกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค และกระดาษม้วน
ส่งผลให้การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) มีเรือเทียบท่าทั้งสิ้น 281 เที่ยว เพิ่มขึ้น 69%
ตู้สินค้าผ่านท่า 2,796 ตู้ เพิ่มขึ้น 111% สินค้าผ่านท่า 324,933 ตัน เพิ่มขึ้น 251% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2568 (ตุลาคม – ธันวาคม 2567) มีเรือเทียบท่า 61 เที่ยว เพิ่มขึ้น 91% ตู้สินค้าผ่านท่า 2,002 ตู้
เพิ่มขึ้น 458% สินค้าผ่านท่า 21,294 ตัน เพิ่มขึ้น 26%
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า จากการเติบโตของท่าเรือระนอง สะท้อนถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าส่งออกของไทย
เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค และกระดาษม้วน ขณะที่การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สะท้อนถึงความต้องการวัตถุดิบใน
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเรือและตู้สินค้าชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของท่าเรือระนองในการเป็น
ศูนย์กลางการค้าทางทะเลฝั่งอันดามันที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายของ กทท. ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของระบบโลจิสติกส์ไทย
ในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ กทท. พร้อมพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือทั้ง 5 แห่ง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
โดยปัจจุบันท่าเรือระนองมีท่าเทียบเรือทั้งหมด 2 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ รองรับเรือสินค้าขนาด 500 ตันกรอส
และท่าเทียบเรือตู้สินค้า รองรับเรือได้ไม่เกิน 12,000 เดทเวทตัน และมีพื้นที่ฝากเก็บสินค้า ประกอบด้วย โรงพักสินค้าขนาด 1,500 ตารางเมตร
ลานวางสินค้าทั่วไปขนาด 7,200 ตารางเมตร ลานวางตู้สินค้าขนาด 11,000 ตารางเมตร สามารถวางตู้สินค้าได้ประมาณ 800 ทีอียู
🙏ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :
https://www.thansettakij.com/economy/trade-agriculture/621560
อานิสงส์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมียนมา หนุน "ท่าเรือระนอง" นำเข้า-ส่งออกทะลุ 200%
09 มี.ค. 2568 |
มนพร เผย ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมียนมา หนุน ท่าเรือระนอง นำเข้า -ส่งออกทะลุ 200% เพิ่มพื้นที่รับตู้สินค้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์
สุขภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค ดันขยายตัวเศรษฐกิจไทย ชูเป็นศูนย์กลางการค้าทะเลฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันท่าเรือระนอง มียอดการนำเข้า – ส่งออกสินค้าพุ่งสูงขึ้น 200%
เป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบและปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมืองเมียวดี ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาตั้งแต่
เดือนมกราคม 2567 ทำให้การนำเข้า – ส่งออกไปประเทศเมียนมาและสินค้าผ่านแดนที่ปกติต้องผ่านด่านแม่สอด จังหวัดตาก และด่านแม่สาย
จังหวัดเชียงราย ย้ายมาใช้บริการผ่านด่านจังหวัดระนองเพิ่มมากขึ้น
นางมนพร กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมได้เห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน
สอดคล้องกับนโยบาย “คมนาคมเพื่อโอกาสประเทศไทย” ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและพัฒนาการบริการให้เป็น
ไปตามมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงได้กำชับให้ท่าเรือระนอง ภายใต้การกำกับดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)
เตรียมความพร้อมท่าเทียบเรือ พื้นที่ลานวางตู้สินค้า รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการขนส่งสินค้า
เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากประเทศเมียนมาที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจและเสริมสร้าง
โอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาว ท่าเรือระนอง
พร้อมรองรับการเป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของท่าเรือระนอง
ในการพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านการขนส่งโลจิสติกส์ของภาคใต้ให้มีศักยภาพและเติบโตมากยิ่งขึ้นต่อไป
นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นมา ท่าเรือระนองมีสินค้านำเข้า –
ส่งออกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค และกระดาษม้วน
ส่งผลให้การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) มีเรือเทียบท่าทั้งสิ้น 281 เที่ยว เพิ่มขึ้น 69%
ตู้สินค้าผ่านท่า 2,796 ตู้ เพิ่มขึ้น 111% สินค้าผ่านท่า 324,933 ตัน เพิ่มขึ้น 251% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2568 (ตุลาคม – ธันวาคม 2567) มีเรือเทียบท่า 61 เที่ยว เพิ่มขึ้น 91% ตู้สินค้าผ่านท่า 2,002 ตู้
เพิ่มขึ้น 458% สินค้าผ่านท่า 21,294 ตัน เพิ่มขึ้น 26%
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า จากการเติบโตของท่าเรือระนอง สะท้อนถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าส่งออกของไทย
เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค และกระดาษม้วน ขณะที่การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สะท้อนถึงความต้องการวัตถุดิบใน
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเรือและตู้สินค้าชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของท่าเรือระนองในการเป็น
ศูนย์กลางการค้าทางทะเลฝั่งอันดามันที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายของ กทท. ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของระบบโลจิสติกส์ไทย
ในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ กทท. พร้อมพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือทั้ง 5 แห่ง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
โดยปัจจุบันท่าเรือระนองมีท่าเทียบเรือทั้งหมด 2 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ รองรับเรือสินค้าขนาด 500 ตันกรอส
และท่าเทียบเรือตู้สินค้า รองรับเรือได้ไม่เกิน 12,000 เดทเวทตัน และมีพื้นที่ฝากเก็บสินค้า ประกอบด้วย โรงพักสินค้าขนาด 1,500 ตารางเมตร
ลานวางสินค้าทั่วไปขนาด 7,200 ตารางเมตร ลานวางตู้สินค้าขนาด 11,000 ตารางเมตร สามารถวางตู้สินค้าได้ประมาณ 800 ทีอียู
🙏ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : https://www.thansettakij.com/economy/trade-agriculture/621560