ฟังไปอ่านไป -- มิลินทปัญหา ปฐมวรรค นามปัญหาที่ 1

กระทู้สนทนา
เสียงอ่านคัมภีร์ มิลินทปัญหา[ฉบับพิสดาร]005 มิลินทปัญหา ปฐมวรรค นามปัญหาที่ 1
https://www.youtube.com/watch?v=eY1T1OJOKx4&list=PL3Y-aKCWptIte5023tw7sdRNvPW1-Q52D&index=6
----
เปิดฟังเสียงแล้วเปิดอ่านตอนนี้ด้วยที่นี่
https://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=5
----
มิลินทปัญหา
 
 
ปฐมวรรค
นามปัญหา ที่ ๑
             อถ โข มิลินฺโท  ราชา  ในกาลครั้งนั้น  สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงทรงปุจฉาซึ่งปัญหายิ่งขึ้น
ไปว่า   ธรรมดาว่าบุคคลอันสนทนากัน  ถ้าไม่รู้จักนามและโคตรแห่งกันและกัน  ถ้อยคำอันบัง
เกิดขึ้นแต่ชนทั้งสองนั้นมิได้ถาวรตั้งมั่น  เหตุดังนี้เราทั้งสองจะต้องรู้จักกันเสียก่อน  กินฺนาโมสิ
พระผู้เป็นเจ้าชื่ออะไร
             พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า  นาคเสโนติ  สมุทาจรนฺติ  เพื่อนพรหมจรรย์ท่านร้อง
เรียกชื่อของอาตมภาพว่านาคเสน ประการหนึ่งโสด  มารดาบิดาท่านให้ชื่อแก่อาตมภาพหลาย
ชื่อ  คือชื่อว่านาคเสน ๑ ชื่อว่าวีรเสน ๑ ชื่อว่าสุรเสน  ๑ ชื่อว่าสีหเสน ๑ ข้อซึ่งมีนามชื่อว่า
นาคะนั้นด้วยอรรถว่า  อาคุ ํ  ปาปกมฺมํ  น  กโรตีติ  นาโค  แปลว่า  บุคคลผู้ใดมิได้กระทำซึ่งกรรม
อันลามก  บุคคลผู้นั้นชื่อว่านาคะ  ซึ่งมีนามชื่อว่าเสนะนั้น  ด้วยอรรถว่าเป็นที่พำนักหมอบกราบลง
แห่งบุคคลอันยอมตนเป็นศิษย์มาศึกษาเล่าเรียน ชื่อว่าวีระนั้นด้วยอรรถว่ามีความเพียรมิได้
ย่อหย่อน  ชื่อว่าสุระนั้นด้วยอรรถว่าองอาจ ปราศจากภัยมิได้ครั่นคร้ามในท่ามกลางบริษัท  ชื่อ
ว่าสีหะนั้นด้วยอรรถว่าเป็นที่ยำเกรงแก่นักปราชญ์ทั้งหลายอื่น ดุจดังว่าพระยาไกรสรราชสีห์
อันเป็นที่เกรงกลัวแก่หมู่มฤคชาติทั้งปวง  และเสนศัพท์นั้น  มีอรรถเหมือนดังวิสัชนาแล้วในนาม
เบื้องต้น  คือนาคเสนนั้น  สา สงฺขาตสมญฺญา  อันว่ากล่าวซึ่งชื่อทั้งปวงดังนี้  เป็นสมมุติโวหาร
อันโลกทั้งปวงหากตั้งไว้  จะมีสัตว์มีบุคคลเป็นที่ตั้งแห่งมานะทิฐิถือมั่นว่า อหํ มมํ  ในชื่อ
ทั้งปวงนั้นโดยปรมัตถ์หามิได้
             อถ โข มิลินฺโท  ราชา  ในกาลนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงร้องประกาศแก่ชาวโยนก
ห้าร้อยและพระภิกษุสงฆ์แปดหมื่นว่า สุณนฺตุ  เม โภนฺโต  ชาวโยนกห้าร้อยและพระภิกษุสงฆ์
แปดหมื่นจงฟังถ้อยคำแห่งพระนาคเสนบอกแก่ข้าพเจ้าว่า เพื่อนพรหมจรรย์ท่านเรียกอาตมภาพ
ว่านาคเสน  จะมีสัตว์มีบุคคลในชื่อนั้นโดยปรมัตถ์หามิได้  สเจ  ภนฺเต  สตฺโต  นตฺถิ  ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้จำเริญ ถ้าสัตว์และบุคคลไม่มีเหมือนดังคำของพระผู้เป็นเจ้าว่าแล้ว  ไฉนเลยทายกที่ได้
ถวายจตุปัจจัยแก่พระนาคเสนจะได้กุศลผลบุญเล่า  ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่าจะฆ่าพระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
เสีย  ถ้าเขาจะฆ่าเสียจะได้บาปกรรมอะไร  โยมเห็นว่าจะเปล่าไปเหมือนชื่ออันบัญญัติเปล่า  อนึ่ง
คฤหัสถ์และบรรพชิตเรียกชื่อกัน  ย่อมสรรเสริญนินทากันว่าผู้นั้นดีผู้นั้นชั่วเล่า  ก็เห็นว่าเปล่าๆ
ทั้งนั้น เหตุเป็นนามบัญญัติเปล่า  ประการหนึ่งเล่า  เหมือนทายกทั้งหลายเขาถวายจตุปัจจัย
แก่พระผู้เป็นเจ้า  ก็ใครเล่ารับจีวรที่ทายกให้ ใครเล่ารับบิณฑบาตที่ทายกให้  ใครเล่ารับสื่อสาร
อาสนะที่ทายกให้  ใครเล่ารู้ไปในพระไตรปิฎก  ใครเล่าเป็นสังฆปริณายก  ใครได้มรรคได้ผล
ถ้าจะว่าโดยฝ่ายอกุศลนั้นเล่า  ชื่อนี้สิเปล่านับเข้าที่ตัวบุคคลนั้นนับไม่ได้  จะรู้ว่าใครกระทำ
ปาณาติบาต ใครกระทำอทินนาทาน จะรู้ว่าใครกระทำกาเมสุมิจฉาจาร จะรู้ว่าใครเจรจามุสา
จะรู้ว่าใครต่อใคร  ฟังได้อยู่แล้วหรือกระไร ยํ วทสิ  พระผู้เป็นเจ้าได้ว่ากะโยมสิน่ะว่า  สมณะและ
สามเณรเรียกอาตมาแต่วันอุปสมบทมาชื่อว่านาคเสนนั้น  โยมเรียกพระผู้เป็นเจ้าว่าพระนาคเสน
น สุยฺยสิ  พระผู้เป็นเจ้าได้ยินหรือไม่
             ถวายพระพร  ได้ยิน
             ถ้าพระผู้เป็นเจ้าได้ยินแล้วชื่อนาคเสนนี้แหละก็จัดเข้าในบุคคลคือตัวพระผู้เป็นเจ้า
พระผู้เป็นเจ้านี้ชื่อนาคเสนหรือ
             ขอถวายพระพร  หามิได้
             เกสา  ผมพระผู้เป็นเจ้าหรือ ชื่อนาคเสน
             ขอถวายพระพร  หามิได้
             โลมา ขนหรือ ชื่อนาคเสน
             ขอถวายพระพร  หามิได้
             นขา เล็บ ๒๐ นั้นหรือ  ชื่อนาคเสน
             ขอถวายพระพร หามิได้
             ทนฺตา ฟันนั้นหรือ ชื่อนาคเสน
             ขอถวายพระพร  หามิได้
             ตโจ หนังกำพร้าหุ้มกายนี้หรือ ชื่อนาคเสน
             ขอถวายพระพร หามิได้
             มํสํ  เนื้อทั้งหลายในกายนั้นหรือชื่อนาคเสน
             ขอถวายพระพร  หามิได้
             สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนครมีสุนทรพจนารถพระราชโองการตรัสถามไป
โดยนัยเนื่องกันว่า  นฺหารู  คือเอ็นใหญ่ ๗๐๐ อฏฺฐิมิญฺชํ  เยื่ออันมีในกระดูก
วกฺกํ  วา คือม้ามก็ดี  หทยํ วา คือหัวใจก็ดี ยกนํ วา คือตับก็ดี กิโลมกํ  วา คือพังผืดก็ดี
ปิหกํ  วา คือไตก็ดี ปปฺผาสํ วา คือปอดก็ดี อนฺตํ ว  ไส้น้อยก็ดี อนฺตคุณํ วา ไส้ใหญ่ก็ดี
อุทริยํ วา อาหารใหม่ก็ดี กรีสํ วา อาหารเก่าก็ดี ปิตฺตํ วา คือดีก็ดี  เสมฺหํ วา คือ
เสมหะก็ดี ปุพฺโพ วา คือหนองก็ดี โลหิตํ วา คือโลหิตก็ดี เสทํ วา คือเหงื่อก็ดี เมทํ วา คือ
มันก็ดี อสฺสุ วา คือน้ำตาก็ดี วสํ สา คือมันเหลวก็ดี เขฬํ วา คือเขฬะก็ดี สิงฺฆานิกํ วา คือ
น้ำมูกก็ดี  ลสิกา  วา คือไขข้อก็ดี  มุตฺตํ  วา คือน้ำมูตรก็ดี มตฺถเก วา คือสมองศีรษะก็ดี มตฺถลุงฺคํ วา
มันในศีรษะก็ดี  เหล่านี้หรือชื่อว่า นาคเสน
             น หิ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงธรรมิกราชาธิราช
ผู้ประเสริฐ ส่วนทั้งปวงนี้จะได้ชื่อว่านาคเสนหามิได้  ขอถวายพระพร
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนคร  จึงมีพระสุนทรพจนารถประภาษซักต่อไปในเบญจ-
ขันธ์ทั้งห้าว่า รูปํ วา รูปขันธ์ของพระผู้เป็นเจ้านั้นก็ดี เวทนาขันธ์ก็ดี สัญญาขันธ์ก็ดี  สังขาร-
ขันธ์ก็ดี  วิญญาณขันธ์ก็ดี  ดังนี้หรือชื่อนาคเสน
             น หิ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ  สิ่งเหล่านี้จะได้ชื่อว่านาคเสน
หามิได้  ขอถวายพระพร
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์นรินทราธิบดี  จึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยธาตุจัดเป็นคู่กันว่า
จักขุธาตุและรูปธาตุนี้ประการ ๑ โสตธาตุและสัททธาตุประการ ๑ ฆานธาตุและคันธธาตุนี้
ประการ ๑ ชิวหาธาตุและรสธาตุประการ ๑ กายธาตุและโผฏฐัพพธาตุประการ ๑ มโนธาตุ
ประการ ๑ จักขุธาตุที่ทรงจักษุให้เห็นรูป  อันทรงตัวเป็นรูปหญิงรูปชายนี้ก็ดี โสตธาตุทรงโสต
ทั้งสองให้ได้ยินเสียงชื่อสัททธาตุ  สัททธาตุนี้จะเป็นเสียงนั้น  คือสารพัดสัททะสำเนียงทั้งปวง
ก็อาศัยธาตุทรงให้เป็นเสียง  เสียงทั้งปวงมากระทบโสตธาตุคือหูทั้งสอง ก็โสตธาตุนี้ทรงหูทั้ง
สองไว้มิให้หนวกหนักจึงได้ยิน  ฆานธาตุจมูกให้ดมกลิ่นมิให้เป็นหวัดและริดสีดวงเป็นต้น  และ
กลิ่นนั้นคือธาตุทรงไว้ซึ่งคันธธาตุ ก็ทรงตัวเอง  ที่เหม็นก็ให้ทรงกลิ่นเหม็น ที่หอมก็ให้ทรง
กลิ่นหอม  แม้ว่ากลิ่นกลายหายไปก็อาศัยธาตุไม่มี  ชิวหาธาตุทรงลิ้นให้รู้รสว่าเค็มคาวหวาน
เป็นต้น  รสธาตุคือเค็มคาวหวานนั้นก็อาศัยธาตุทรงไว้  ถ้าธาตุวิปริตแล้วก็กลับกลายไป  และ
กายธาตุนั้นก็ทรงกายให้รู้เจ็บปวดกระวนกระวาย  และให้รู้เพลิดเพลินสบาย ถ้ากระทบโผฏ-
ฐัพพธาตุ  คือสิ่งกระด้าง  และอ่อน สิ่งที่กระด้างเป็นต้นว่า ศัสตราวุธและก้อนหินศิลามีธาตุทรง
ไว้ให้กระด้าง  และอ่อน สิ่งที่กระด้างเป็นต้นว่า ศัสตราวุธและก้อนหินศิลามีธาตุทรง
ที่ลอออ่อน  เป็นต้นว่าฟูกหมอน  และลอออ่อนเป็นเนื้อทิพย์  มาต้องกายมนุษย์ทั้งหลายเข้า
เมื่อใดก็เพลินในอาศัยเพราะกายธาตุนี้  ถ้าหากกายธาตุมิได้คือไม่มีที่ตั้งที่ทรงแล้ว  กายก็มิได้
ประชุมกันเป็นเนื้อเป็นตัว  และมโนธาตุนั้นทรงไว้ให้เป็นใจเป็นจิต  อยู่ทั้งนี้  อธิบายด้วยธาตุ
เป็นคู่กันและมโนธาตุอันเดียวตามวาระพระบาลีสมมุติเป็นใจความเท่านี้
             เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามด้วยธาตุทั้งปวง
ว่าธาตุทั้งหลายนี้หรือชื่อนาคเสน
             ฝ่ายพระนาคเสนผู้วิเศษ  ก็ถวายพระพรปฏิเสธ  มิได้ถวายพระพรรับพระราชโองการ
             พระเจ้ากรุงมิลินท์นรินทรมหาศาลจึงกลับเอาขันธ์ ๕ ประการ  มีรูปขันธ์เป็นต้น  มี
วิญญาณขันธ์เป็นปริโยสานมาถามอีกเล่า
             ฝ่ายพระนาคเสนผู้เป็นเจ้าก็มิรับ  กลับถวายพระพรปฏิเสธ
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีวจีพจนารถประภาษถามว่า  ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า  ธรรมที่นอกกว่ารูป  นอกกว่าเวทนา  นอกว่าสัญญา  นอกกว่าสังขาร  นอกกว่า
วิญญาณ นี้หรือเป็นนามชื่อว่านาคเสน
             พระนาคเสนผู้วิเศษก็ถวายพระพรว่า  หามิได้
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังจึงตรัสว่า  ภนฺเต  ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
สารพัดสารพันที่โยมจะเอามาถามซอกซอนถามพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าปฏิเสธว่ามิใช่
นามของพระผู้เป็นเจ้า  โยมเก็บเอามาถามด้วยขันธ์และธาตุและอาการ ๓๒ มีในกายตัวของพระ
ผู้เป็นเจ้าสารพัด น ปสฺสามิ  น ทกฺขามิ  โยมไม่พิจารณาเห็นธรรมสิ่งใด  ที่จะนับเข้าในชื่อ
ของพระผู้เป็นเจ้า  พระผู้เป็นเจ้าเจรจาเปล่าๆ อลิกํ  พระผู้เป็นเจ้าเจรจาลอมแลมเหลาะแหละ
ไม่ควรฟัง  มุสาวาทํ  พระผู้เป็นเจ้าเจรจามุสาสับปลับ  เดิมบอกว่าชื่อนาคเสนแล้วกลับไม่รับ  ดูรึ
พระผู้เป็นเจ้านี้สับปลับเจรจามุสา  ดูราโยนกข้าหลวงทั้งปวง ๕๐๐ และพระภิกษุแปดสิบพันที่
ข้าอ้างเป็นอุตรีพยานนี้  ฟังเอาด้วยกัน ณ กาลบัดนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่