ปชน. ยื่นร่างแก้รธน.17ฉบับ ตัดเสียงสว.ร่วมโหวต ให้อำนาจสมาชิกรัฐสภา สอบปปช.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9504982
ปชน. ยื่นร่างแก้รธน. 17 ฉบับ ตัดเสียง สว. ร่วมโหวต เปิดทางพรรคฝ่ายค้าน นั่งปธ.-รองปธ.สภาฯ ให้อำนาจสมาชิกรัฐสภา สอบ ป.ป.ช.
เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาถึงความเคลื่อนไหวต่อการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมนัดประชุมคณะกรรมการประสานงาน วิป 3 ฝ่าย คือ วุฒิสภา สส.รัฐบาล สส.ฝ่ายค้าน ในช่วงต้นเดือนธ.ค. ก่อนที่จะเปิดสมัยประชุมสภาฯ ซึ่งมีวาระพิจารณากำหนดกรอบการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีผู้เสนอต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ ในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภานั้น ล่าสุด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่รายละเอียด การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในสภาฯ ชุดที่ 26 มีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา เข้ามาแล้ว รวม 17 ฉบับ ซึ่งเป็นฉบับที่ สส.พรรคประชาชน (ปชน.) เข้าชื่อเสนอทั้งหมด ได้แก่
1. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยสาระสำคัญ คือ ตัดเงื่อนไขที่ต้องใช้เสียง สว.ร่วมโหวตเป็นจำนวนตามเกณฑ์กำหนด โดยเปลี่ยนใช้เสียง สส.เห็นชอบทั้งหมด และมีเงื่อนไข คือ ต้องได้เสียง สส.เห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ของสภา
2. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ซึ่งตัดประเด็นเงื่อนไขกรณีต้องไม่มีสมาชิกพรรคที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ ออกไป เพื่อให้ผู้นำฝ่ายค้าน ในฐานะพรรคการเมืองหลักในฝ่ายค้านสามารถมีตำแหน่งรองประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ ได้
3. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ว่าด้วยหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) โดยเพิ่มอำนาจให้สอบสวนข้อเท็จจริงได้ จากเดิมที่กำหนดหน้าที่เพียงสอบหาข้อเท็จจริง
4. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 199 ว่าด้วยขอบเขตอำนาจศาลทหาร ที่กำหนดกรอบอำนาจให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้กระทำความผิดเป็นบุคคล เฉพาะในระหว่างการประกาศสงคราม
5. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ว่าด้วยหน้าที่ของบุคคล ซึ่งแก้ไข (5) ที่กำหนดให้มีหน้าที่รับราชการทหาร ตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นรับราชการทหารเมื่อมีภัยสงครามหรือเหตุที่ประเทศเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้ตามที่กฎหมายกำหนด
6. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งตัดข้อห้ามการใช้สิทธิและเสรีภาพ ประเด็นที่จะกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐออกไป
7. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 ว่าด้วยการขยายการใช้สิทธิและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่ไม่ให้กฎหมายใดจำกัดการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม อีกทั้งยังกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพทางวิชาการ และกำหนดบทคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
8. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ว่าด้วยสิทธิการขอประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ที่แก้ไขให้การคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างรวดเร็ว และเหตุที่ไม่ปล่อยตัวชั่วคราว กำหนดบทบัญญัติเป็นกรณีเฉพาะว่า เพราะมีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่าหากปล่อยตัวชั่วคราวจะทำให้เกิดกรณีหลบหนีหรือเหตุอื่น
นอกจากนั้นได้เพิ่มข้อความในวรรคท้ายขึ้นใหม่ โดยกำหนดระยะเวลาคุมขังของผู้เป็นจำเลย ห้ามเกิน 1 ปี ทั้งในศาลชั้นต้น หรือ ชั้นศาลอุทธรณ์ กรณีไม่ถูกพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
9. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ว่าด้วยการเสมอภาคทางเพศ ซึ่งได้แก้ไขในวรรคสองให้บุคคลทุกคน ไม่ว่าเพศ เพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศใดมีสิทธิเท่าเทียมกัน
10. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยสิทธิของประชาชนและชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เพิ่มเติมให้สิทธิของบุคคลดำรงชีพอยู่อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน
นอกจากนั้นแล้วยังได้เพิ่มบทว่าด้วยหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ ต่อเรื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยหรือคุณภาพชีวิต และยังกำหนดเงื่อนไขของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ให้องค์กรอิสระ ประกอบด้วย เอกชน สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ
11. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยการศึกษา ซึ่งกำหนดให้บุคคลได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
12. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยสิทธิในการรับทราบข้อมูล ข่าวสารสาธารณะ ซึ่งเพิ่มบทบัญญัติที่ว่าด้วยการได้รับคุ้มครองจากรัฐ ในกรณีเปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตภาครัฐ พร้อมทั้งกำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารของรัฐ ยกเว้นความลับทางราชการ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน
13. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ว่าด้วยการยื่นตรวจสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้อำนาจสมาชิกรัฐสภาดำเนินการผ่านประธานรัฐสภา ซึ่งได้กำหนดให้ ประธานรัฐสภาหลังได้รับเรื่องต้องส่งให้ประธานศาลฎีกาทันที โดยตัดเงื่อนไขที่ประธานรัฐสภาต้องใช้ดุลยพินิจว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ พรรคประชาชน โดยนาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภามาแล้ว 4 ฉบับ คือ
1. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ คือ รัฐมนตรี สส. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งตัดคุณสมบัติที่ว่าด้วยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงออก และเชื่อมโยงไปยังกระบวนการตรวจสอบ ของ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำผิดจริยธรรมร้ายแรงด้วย
2. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการลบล้างผลพวงรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค.2557 และการป้องกันและต่อต้านรัฐประหาร
3. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติและยกเลิกแผนการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ
และ 4. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกมาตรา 279 และเพิ่มสิทธิให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากคำสั่งการกระทำของ คสช. หรือหัวหน้า คสช. มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายได้
ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ประธานรัฐสภาต้องพิจารณาความถูกต้องของรายละเอียดการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระภายใน 15 วัน ส่วนจะพิจารณาในช่วงเวลาใดของสมัยประชุมนั้น ตามการปฏิบัติปกติจะขึ้นอยู่กับการหารือของวิป 3 ฝ่าย ที่จะสรุปออกมา... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9504982
กมธ.แรงงาน สส. เคาะสิทธิลาคลอด 120 วันโดยได้รับค่าจ้าง ภาคประชาชนยืน 180 วัน
https://prachatai.com/journal/2024/11/111366
ที่ประชุม กมธ.แรงงาน สส. เคาะสิทธิลาคลอด 120 วันโดยได้รับค่าจ้าง แบ่งให้คู่สมรสได้ 15 วัน ด้านเสียงข้างน้อยสงวน 180 วัน ภาคประชาชนชี้ 180 วัน เพื่อให้แม่ได้มีเวลาอยู่กับลูกและให้นมครบ 6 เดือน พร้อมชงรัฐบาลทำนโยบายช่วยนายจ้าง
13 พ.ย. 2567 เพจเฟซบุ๊ก '
เทวฤทธิ์ มณีฉาย' สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่า หลังเข้าร่วมการชี้แจงของคณะกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา (กมธ. แรงงาน สว.) ซึ่งมีวาระพิจารณาการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในประเด็นการลาคลอดของลูกจ้าง
สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม เครือข่ายรณรงค์สิทธิลาคลอด 180 วัน โดยได้รับค่าจ้าง และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าได้ชี้แจงต่อ กมธ.แรงงาน สว. ถึงความเห็นต่อสิทธิลาคลอดของลูกจ้าง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วตนสนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การเกิดของประเทศไทยลดต่ำลงอย่างมาก ประชากรวัยแรงงานจะเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น และกำลังการผลิตไม่เพียงพอ
สุเพ็ญศรี กล่าวต่อว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเสียงข้างมากสนับสนุนสิทธิลาคลอด 120 วัน นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมีข้อสงวนความเห็นให้ลาได้ 180 วัน ซึ่งคาดว่ากฎหมายจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมหน้า ทั้งนี้ เขายืนยันสนับสนุน 180 วัน เนื่องจากความต่าง 60 วัน มีนัยสำคัญต่อความใกล้ชิดกันของแม่ และลูก เด็กได้ดื่มนมแม่ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างไรก็ตาม ในไทยขณะนี้มีนายจ้างหลายบริษัทที่อนุญาตให้ลูกจ้างหญิงลาคลอดได้ 180 วันโดยได้รับค่าจ้าง ส่วนในอนาคตต้องพิจารณาต่อว่าภาครัฐกับภาคเอกชนจะต้องแบ่งกันจ่ายหรือไม่ เป็นสัดส่วนเท่าใด เพราะกฎหมายสิทธิลาคลอดมีความสัมพันธ์กับกำลังการผลิตของประเทศ การเพิ่มจำนวนวันลาคลอดย่อมส่งผลหลายประการ
เหตุผลที่ต้องเป็น 180 วัน เนื่องมาจากแต่เดิมสามารถลาคลอดได้เพียง 90 วัน ซึ่งถือว่ายังน้อย ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ชี้ว่า การที่เด็กได้กินนมแม่ 6 เดือน จะเป็นผลดีต่อเด็กและแม่รวมถึงส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเมื่อลูกจ้างที่ลาคลอดมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรงแล้ว หากกลับไปทำงานก็จะได้ผลผลิตที่ดี
ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำหรับลูกจ้างที่ลาคลอด ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุจะต้องลาได้ไม่น้อยกว่า 98 วัน ในส่วนของนายจ้างจะต้องไม่จำกัดสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง แต่ในไทยกฎหมายไม่ได้ระบุครอบคลุมถึง ทำให้ลูกจ้างหญิงไม่สามารถที่จะลาได้ครบตามกำหนด
สุเพ็ญศรี กล่าวต่อว่า มาตรการที่จำเป็นในการผลักดันสิทธิลาคลอดในขณะนี้คือ มาตรการเรื่องสวัสดิการ และมาตรการทางภาษี โดยรัฐอาจลดภาษีสำหรับนายจ้างที่ให้ความร่วมมือที่ดี ส่วนมาตรการทางสวัสดิการนั้น ขณะนี้ไทยมีแรงงานหญิงนอกระบบและลูกจ้างเหมาบริการภาครัฐ ซึ่งมีปัญหาไม่สามารถลาคลอดโดยได้รับค่าจ้างได้ รัฐบาลจึงควรให้สวัสดิการที่จำเป็นกับลูกจ้างกลุ่มนี้
"
ตอนนี้เรื่องภาระการตั้งครรภ์คลอดบุตรไปตกอยู่กับผู้หญิง อีกทั้งค่าจ้างขั้นต่ำรวมถึงค่าจ้างของแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้สวัสดิการนั้นน้อยมาก การเพิ่มสิทธิวันลาคลอดจะต้องมีอานิสงส์ไปถึงลูกจ้างนอกระบบด้วย ขณะเดียวกันเรามีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น มีแรงงานมาทดแทนได้น้อยลง เพราะฉะนั้นรัฐต้องมีมาตรการทำให้ผู้หญิงหรือครอบครัวมีแรงจูงใจตั้งครรภ์คลอดบุตร"
สุเพ็ญศรี กล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง นอกจากเครือข่ายรณรงค์สิทธิลาคลอด 180 วัน เมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา กมธ.แรงงาน สว. ยังเชิญ
อรุณี ศรีโต นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO) และมี
สุนี ไชยรส คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เข้าร่วมแลกเปลี่ยนถึงเหตุผลความจำเป็นของสิทธิลาคลอด รวมทั้งตัวแบบของประเทศอื่นๆ ที่ให้สิทธิลาคลอดต่างๆ โดยในการประชุมครั้งหน้า กมธ. แรงงาน สว. เตรียมเชิญผู้แทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มาให้ข้อมูลถึงประเด็นนี้
JJNY : ปชน. ยื่นร่างแก้รธน.17ฉบับ│เคาะสิทธิลาคลอด 120 ภาคปชช.ยืน 180│หุ้นไทยปิดเช้าลบ│เวียดนามเล็งฟื้นโครงการนิวเคลียร์
เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาถึงความเคลื่อนไหวต่อการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมนัดประชุมคณะกรรมการประสานงาน วิป 3 ฝ่าย คือ วุฒิสภา สส.รัฐบาล สส.ฝ่ายค้าน ในช่วงต้นเดือนธ.ค. ก่อนที่จะเปิดสมัยประชุมสภาฯ ซึ่งมีวาระพิจารณากำหนดกรอบการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีผู้เสนอต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ ในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภานั้น ล่าสุด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่รายละเอียด การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในสภาฯ ชุดที่ 26 มีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา เข้ามาแล้ว รวม 17 ฉบับ ซึ่งเป็นฉบับที่ สส.พรรคประชาชน (ปชน.) เข้าชื่อเสนอทั้งหมด ได้แก่
1. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยสาระสำคัญ คือ ตัดเงื่อนไขที่ต้องใช้เสียง สว.ร่วมโหวตเป็นจำนวนตามเกณฑ์กำหนด โดยเปลี่ยนใช้เสียง สส.เห็นชอบทั้งหมด และมีเงื่อนไข คือ ต้องได้เสียง สส.เห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ของสภา
2. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ซึ่งตัดประเด็นเงื่อนไขกรณีต้องไม่มีสมาชิกพรรคที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ ออกไป เพื่อให้ผู้นำฝ่ายค้าน ในฐานะพรรคการเมืองหลักในฝ่ายค้านสามารถมีตำแหน่งรองประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ ได้
3. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ว่าด้วยหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) โดยเพิ่มอำนาจให้สอบสวนข้อเท็จจริงได้ จากเดิมที่กำหนดหน้าที่เพียงสอบหาข้อเท็จจริง
4. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 199 ว่าด้วยขอบเขตอำนาจศาลทหาร ที่กำหนดกรอบอำนาจให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้กระทำความผิดเป็นบุคคล เฉพาะในระหว่างการประกาศสงคราม
5. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ว่าด้วยหน้าที่ของบุคคล ซึ่งแก้ไข (5) ที่กำหนดให้มีหน้าที่รับราชการทหาร ตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นรับราชการทหารเมื่อมีภัยสงครามหรือเหตุที่ประเทศเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้ตามที่กฎหมายกำหนด
6. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งตัดข้อห้ามการใช้สิทธิและเสรีภาพ ประเด็นที่จะกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐออกไป
7. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 ว่าด้วยการขยายการใช้สิทธิและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่ไม่ให้กฎหมายใดจำกัดการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม อีกทั้งยังกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพทางวิชาการ และกำหนดบทคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
8. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ว่าด้วยสิทธิการขอประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ที่แก้ไขให้การคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างรวดเร็ว และเหตุที่ไม่ปล่อยตัวชั่วคราว กำหนดบทบัญญัติเป็นกรณีเฉพาะว่า เพราะมีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่าหากปล่อยตัวชั่วคราวจะทำให้เกิดกรณีหลบหนีหรือเหตุอื่น
นอกจากนั้นได้เพิ่มข้อความในวรรคท้ายขึ้นใหม่ โดยกำหนดระยะเวลาคุมขังของผู้เป็นจำเลย ห้ามเกิน 1 ปี ทั้งในศาลชั้นต้น หรือ ชั้นศาลอุทธรณ์ กรณีไม่ถูกพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
9. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ว่าด้วยการเสมอภาคทางเพศ ซึ่งได้แก้ไขในวรรคสองให้บุคคลทุกคน ไม่ว่าเพศ เพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศใดมีสิทธิเท่าเทียมกัน
10. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยสิทธิของประชาชนและชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เพิ่มเติมให้สิทธิของบุคคลดำรงชีพอยู่อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน
นอกจากนั้นแล้วยังได้เพิ่มบทว่าด้วยหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ ต่อเรื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยหรือคุณภาพชีวิต และยังกำหนดเงื่อนไขของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ให้องค์กรอิสระ ประกอบด้วย เอกชน สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ
11. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยการศึกษา ซึ่งกำหนดให้บุคคลได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
12. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยสิทธิในการรับทราบข้อมูล ข่าวสารสาธารณะ ซึ่งเพิ่มบทบัญญัติที่ว่าด้วยการได้รับคุ้มครองจากรัฐ ในกรณีเปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตภาครัฐ พร้อมทั้งกำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารของรัฐ ยกเว้นความลับทางราชการ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน
13. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ว่าด้วยการยื่นตรวจสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้อำนาจสมาชิกรัฐสภาดำเนินการผ่านประธานรัฐสภา ซึ่งได้กำหนดให้ ประธานรัฐสภาหลังได้รับเรื่องต้องส่งให้ประธานศาลฎีกาทันที โดยตัดเงื่อนไขที่ประธานรัฐสภาต้องใช้ดุลยพินิจว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ พรรคประชาชน โดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภามาแล้ว 4 ฉบับ คือ
1. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ คือ รัฐมนตรี สส. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งตัดคุณสมบัติที่ว่าด้วยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงออก และเชื่อมโยงไปยังกระบวนการตรวจสอบ ของ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำผิดจริยธรรมร้ายแรงด้วย
2. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการลบล้างผลพวงรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค.2557 และการป้องกันและต่อต้านรัฐประหาร
3. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติและยกเลิกแผนการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ
และ 4. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกมาตรา 279 และเพิ่มสิทธิให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากคำสั่งการกระทำของ คสช. หรือหัวหน้า คสช. มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายได้
ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ประธานรัฐสภาต้องพิจารณาความถูกต้องของรายละเอียดการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระภายใน 15 วัน ส่วนจะพิจารณาในช่วงเวลาใดของสมัยประชุมนั้น ตามการปฏิบัติปกติจะขึ้นอยู่กับการหารือของวิป 3 ฝ่าย ที่จะสรุปออกมา... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9504982
ที่ประชุม กมธ.แรงงาน สส. เคาะสิทธิลาคลอด 120 วันโดยได้รับค่าจ้าง แบ่งให้คู่สมรสได้ 15 วัน ด้านเสียงข้างน้อยสงวน 180 วัน ภาคประชาชนชี้ 180 วัน เพื่อให้แม่ได้มีเวลาอยู่กับลูกและให้นมครบ 6 เดือน พร้อมชงรัฐบาลทำนโยบายช่วยนายจ้าง
13 พ.ย. 2567 เพจเฟซบุ๊ก 'เทวฤทธิ์ มณีฉาย' สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่า หลังเข้าร่วมการชี้แจงของคณะกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา (กมธ. แรงงาน สว.) ซึ่งมีวาระพิจารณาการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในประเด็นการลาคลอดของลูกจ้าง
สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม เครือข่ายรณรงค์สิทธิลาคลอด 180 วัน โดยได้รับค่าจ้าง และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าได้ชี้แจงต่อ กมธ.แรงงาน สว. ถึงความเห็นต่อสิทธิลาคลอดของลูกจ้าง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วตนสนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การเกิดของประเทศไทยลดต่ำลงอย่างมาก ประชากรวัยแรงงานจะเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น และกำลังการผลิตไม่เพียงพอ
สุเพ็ญศรี กล่าวต่อว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเสียงข้างมากสนับสนุนสิทธิลาคลอด 120 วัน นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมีข้อสงวนความเห็นให้ลาได้ 180 วัน ซึ่งคาดว่ากฎหมายจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมหน้า ทั้งนี้ เขายืนยันสนับสนุน 180 วัน เนื่องจากความต่าง 60 วัน มีนัยสำคัญต่อความใกล้ชิดกันของแม่ และลูก เด็กได้ดื่มนมแม่ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างไรก็ตาม ในไทยขณะนี้มีนายจ้างหลายบริษัทที่อนุญาตให้ลูกจ้างหญิงลาคลอดได้ 180 วันโดยได้รับค่าจ้าง ส่วนในอนาคตต้องพิจารณาต่อว่าภาครัฐกับภาคเอกชนจะต้องแบ่งกันจ่ายหรือไม่ เป็นสัดส่วนเท่าใด เพราะกฎหมายสิทธิลาคลอดมีความสัมพันธ์กับกำลังการผลิตของประเทศ การเพิ่มจำนวนวันลาคลอดย่อมส่งผลหลายประการ
เหตุผลที่ต้องเป็น 180 วัน เนื่องมาจากแต่เดิมสามารถลาคลอดได้เพียง 90 วัน ซึ่งถือว่ายังน้อย ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ชี้ว่า การที่เด็กได้กินนมแม่ 6 เดือน จะเป็นผลดีต่อเด็กและแม่รวมถึงส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเมื่อลูกจ้างที่ลาคลอดมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรงแล้ว หากกลับไปทำงานก็จะได้ผลผลิตที่ดี
ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำหรับลูกจ้างที่ลาคลอด ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุจะต้องลาได้ไม่น้อยกว่า 98 วัน ในส่วนของนายจ้างจะต้องไม่จำกัดสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง แต่ในไทยกฎหมายไม่ได้ระบุครอบคลุมถึง ทำให้ลูกจ้างหญิงไม่สามารถที่จะลาได้ครบตามกำหนด
สุเพ็ญศรี กล่าวต่อว่า มาตรการที่จำเป็นในการผลักดันสิทธิลาคลอดในขณะนี้คือ มาตรการเรื่องสวัสดิการ และมาตรการทางภาษี โดยรัฐอาจลดภาษีสำหรับนายจ้างที่ให้ความร่วมมือที่ดี ส่วนมาตรการทางสวัสดิการนั้น ขณะนี้ไทยมีแรงงานหญิงนอกระบบและลูกจ้างเหมาบริการภาครัฐ ซึ่งมีปัญหาไม่สามารถลาคลอดโดยได้รับค่าจ้างได้ รัฐบาลจึงควรให้สวัสดิการที่จำเป็นกับลูกจ้างกลุ่มนี้
"ตอนนี้เรื่องภาระการตั้งครรภ์คลอดบุตรไปตกอยู่กับผู้หญิง อีกทั้งค่าจ้างขั้นต่ำรวมถึงค่าจ้างของแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้สวัสดิการนั้นน้อยมาก การเพิ่มสิทธิวันลาคลอดจะต้องมีอานิสงส์ไปถึงลูกจ้างนอกระบบด้วย ขณะเดียวกันเรามีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น มีแรงงานมาทดแทนได้น้อยลง เพราะฉะนั้นรัฐต้องมีมาตรการทำให้ผู้หญิงหรือครอบครัวมีแรงจูงใจตั้งครรภ์คลอดบุตร" สุเพ็ญศรี กล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง นอกจากเครือข่ายรณรงค์สิทธิลาคลอด 180 วัน เมื่อ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา กมธ.แรงงาน สว. ยังเชิญ อรุณี ศรีโต นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO) และมี สุนี ไชยรส คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เข้าร่วมแลกเปลี่ยนถึงเหตุผลความจำเป็นของสิทธิลาคลอด รวมทั้งตัวแบบของประเทศอื่นๆ ที่ให้สิทธิลาคลอดต่างๆ โดยในการประชุมครั้งหน้า กมธ. แรงงาน สว. เตรียมเชิญผู้แทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มาให้ข้อมูลถึงประเด็นนี้