เกริ่นก่อนว่าเหตุใดการสร้างเครื่องบินรบเองถึงถูกพูดถึงกันบ่อยๆ
การสร้างเครื่องบินรบได้เองโดยอาศัยชิ้นส่วนจากหลายๆประเทศ เช่นเกาหลีใต้สร้าง FA-50 KF-21 เป็นการพึ่งพาตัวเองและเป็นผลดีในระยะยาว
ราคาเครื่องบินรบมีแต่จะแพงไปเรื่อยๆซึ่งระยะยาวก็คงจะซื้อไม่ค่อยไหว ถึงจะซื้อไหวแต่ก็คงจะหมดเงินเยอะ
หลายๆประเทศเลยพยายามผลิตเองเพื่อลดงบประมาณในระยะยาว
และแม้จะได้รุ่นที่ไม่ดีเท่าของประเทศมหาอำนาจ แต่ปริมาณจำนวนมากของรุ่นรองๆก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกองทัพได้อีกทาง
-การจะสร้างเครื่องบินรบ มีเงินเยอะ มีองค์ความรู้ มีเทคโนโลยี มีคนเก่งๆ ไม่ใช่คำตอบ
ตัวอย่างที่มีให้เห็นคืออินเดีย สร้างจรวดไปอวกาศ ไปดวงจันทร์ มีนิวเคลียร์ แต่พอจะสร้างเครื่องบินรบหมดงบไปมหาศาล คิดเป็นเงินไทยก็หลายแสนล้านบาท กลับได้แค่ Tejas ที่ไม่สามารถแข่งขันกับเครื่องบินรบเจน4อีกหลายๆรุ่นได้จนต้องไปซื้อราฟาลจากฝรั่งเศษมาใช้
เพราะอะไรอินเดียถึงไม่สามารถสร้างเครื่องบินรบประสิทธิภาพสูงออกมาได้ ทั้งๆที่มีศักภาพเพียบพร้อมทุกอย่าง ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องเพราะอินเดียพยายามจะสร้างเครื่องบินรบในแบบฉบับของตัวเองมากเกินไป
ดูจากรูปทรงของ Tejas ได้เลยครับว่าเขาพยายามฝืนทำในแบบฉบับของตัวเองมากแค่ไหน
เทคโนโลยีได้มาจากหลายเจ้าอยู่นะ ฝรั่งเศษ สวีเดน สหรัฐ รัสเซีย แต่อินเดียพยายามเอาหลายๆอย่างมารวมกัน คงผสมกันเยอะเกินไปเลยได้เครื่องบินรูปทรงประหลาดๆเช่น Tejas ที่มีรูปทรงคล้ายๆกับ Saab 37 Viggen เป็นเครื่องบินรบปีกแบบเดลต้า
แต่ Tejas ไม่มี Canard(ปีกเล็กๆบริเวณหัวเครื่องบินเอาไว้ทรงตัว) อินเดียฝืนต้นตำรับสุดๆ
เครื่องยนต์เจ็ทอินเดียไม่ผลิตเองแต่ซื้อจากสหรัฐ อันนี้ยังพอเข้าใจนะว่าต้นทุนมันสูงเลยซื้อแทนผลิตเอง
แต่การออกแบบตัวเครื่องบินของอินเดียนี่แหละที่ทำให้มันไม่รุ่ง ดูจากรูปทรงระบบ maneuvability ไม่น่าจะดีเท่าไรคงจะบินยากสุดๆ
เครื่องบินรบที่สหรัฐและรัสเซียหรือยุโรปออกแบบมานั้นคือเครื่องต้นแบบที่ดีที่สุด ฝืนไปจากนี้แล้วอาจจะเหมือน Tejas ของอินเดีย
จีนเป็นตัวอย่างที่ดี ผสมผสานรูปทรงจากหลายๆเจ้าได้อย่างลงตัว ไม่ฝืนทำในแบบฉบับของตัวเองมากเกินไป จีนผลิตเครื่องบินรบได้หลายรุ่นส่งขายก็เยอะ รูปร่างหน้าตาของตัวเครื่องบินจีนก็คุ้นตาทั้งนั้น จีนไม่ฝืนแต่อาศัยตามน้ำเลยประสบความสำเร็จ
ญี่ปุ่น F-2 ก็ใช้ F-16 เป็นต้นแบบโดยมีสหรัฐให้การสนับสนุน
เกาหลีใต้ FA-50 KF-21 ก็ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐและยุโรปแทบทั้งหมด
เทคโนโลยีเดิมที่เขาคิดค้นไว้มันดีของมันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องคิดเองทั้งหมด
บางคนคิดว่าผลิตเครื่องบินรบเองต้องใช้งบวิจัยตั้งแต่การผสมโลหะ หรือผลิตเครื่องยนต์เจ็ท จริงๆมันไม่ต้องขนาดนั้น
เทคโนโลยีพวกนี้เขาถ่ายทอดให้กันได้ถ้าถูกใจและมีเงินซื้อ และชิ้นส่วนต่างๆก็สามารถซื้อสำเร็จรูปได้เช่นเรดาร์หรือเครื่องยนต์เจ็ท
หากได้รับการสนับสนุนและได้ร่วมมือกันกับเจ้าของเทคโนโลยีเดิม ย่อมสามารถผลิตเครื่องบินรบที่ดีออกมาได้
แต่ถ้าหากจะคิดเองทำเองทั้งหมดเริ่มต้นจาก0ใช้องค์ความรู้เท่าที่มีค่อยๆพัฒนาไป อีกร้อยปีก็ทำไม่ได้ครับ
เกาหลีใต้ไม่ได้ผลิตเองทุกอย่างยังใช้เวลาเป็นสิบปี ถ้าเกาหลีใต้ผลิตเครื่องยนต์เจ็ทเองชาตินี้เราคงไม่ได้เห็น KF-21 บินบนฟ้า
ถึงแม้ไม่ต้องคิดเองทั้งหมด ไม่ต้องสร้างเองทั้งหมด ก็ยังต้องใช้เงินเยอะอยู่ดีนะ
เกาหลีใต้หมดเงินไปเกือบๆ7พันล้านเหรียญ บวกงบจากอินโดนีเซีย1.2พันล้านเหรียญ ใช้เวลาวิจัยและผลิตอยู่11ปีถึงได้เครื่องต้นแบบมาบินเมื่อปีที่แล้ว
เทคโนโลยีของ KF-21 ได้มาจาก F-22 ย่อขนาดลง และปรับบางอย่างให้เหมาะสม โดยมีต้นแบบถึง10รุ่นกว่าจะผลิตเครื่องต้นแบบที่บินได้ออกมา
เทคโนโลยีมีทั้งซื้อมา มีทั้งเขาให้ฟรีๆ มีทั้งได้มาจากดีลซื้ออาวุธ ตอนที่เกาหลีใต้ซื้อ F-35 จากสหรัฐก็มีดีลเทคโนโลยีบางอย่างมาด้วย
ชิ้นส่วนบางอย่างไม่สามารถผลิตเองได้ เช่นเครื่องยนต์ แบบนี้ก็ซื้อมาเลย
ชิ้นส่วนบางอย่างผลิตเองได้ก็ผลิตเองตามเทคโนโลยีที่ได้รับมา
แม้กระนั้นเกาหลีใต้ก็ยังต้องใช้เวลาถึง11ปีกับเงินอีกเกือบ7พันล้านเหรียญยูเอสถึงได้เครื่องมาบินทดสอบ
คาดว่า KF-21 รุ่นแรกจะพร้อมประจำการในปี2026หรืออีก3ปีข้างหน้า ตอนนี้ทดสอบการใช้อาวุธอยู่
มาดูที่ไทยกันบ้าง หากจะสร้างเครื่องบินรบเจน4 เอาแบบไหนดี สมมุติเอาแบบ F-16 หรือกริปเปนละกัน แบบ1เครื่องยนต์
คุยกับสหรัฐกับสวีเดน ขอแค่เงินถึงเขาพร้อมช่วยอยู่แล้ว แต่ที่แน่ๆเลยคือเงินต้องถึงและคาดว่าจะมีดีลอื่นๆรวมอยู่ด้วย
อาจทำแบบเกาหลีใต้ ซื้อ F-15 F-16 กริปเปนพร้อมดีลเทคโนโลยี
สมมุตินะ หมด3แสนล้านบาทกับเวลาอีก15ปีได้แค่เครื่องต้นแบบ สมมุติว่ารุ่น TF-39 ละกัน
Tก็ไทย Fก็มาจากเครื่องตระกูลเอฟ 39ก็มาจากยาส39
TF-39 ประสิทธิภาพก็เอาประมาณ F-16 หรือกริปเปนนี่ล่ะ เพียงแต่เราผลิตเองได้ ผลิตสำเร็จแล้วจะปั๊มมากี่เครื่องก็ว่ากันไปตามงบ
งบวิจัยและผลิตเครื่องต้นแบบพร้อมใช้ ใช้เงิน3แสนล้านบาท ค่าผลิตอีกลำละ2000ล้านบาท
ฝูงบินแรกรวมอาวุธและอะไหล่เข้าไปก็น่าจะใช้เงินทั้งหมดราวๆ350.000ล้านบาท โดยใช้เวลาทั้งหมด15ปี
จุดคุ้มทุนคือผลิตใช้100ลำและผลิตขายได้100ลำขึ้นไป
เครื่องสเปคขายก็ตัดออฟชั่นออกราคาจะได้ถูกๆไม่ใช่จัดเต็มมาแบบกริปเปนแล้วแพงจนขายไม่ออก
ทำเป็นไลท์ไฟเตอร์หรือบินฝึกขายเอาทุนแบบเกาหลีใต้นั่นแหละ มีออฟชั่นเสริมอัปเกรดได้ตามงบอะไรก็ว่าไป
ปัญหาคือจะเอาเงิน350.000ล้านบาทมาจากไหน หรือต่อให้มีเงิน350.000ล้านบาทก็จะมีคนบอกว่าเอาไปพัฒนาประเทศด้านอื่นดีกว่า
คนบอกเอาเงินไปต่อเงินหรือจะเอาเงินมาถมกองทัพ เช่นเงิน350.000ล้านบาททำแลนด์บริดจ์อันดามันข้ามมาอ่าวไทยได้เลยอะไรแบบนี้เป็นต้น
ยังไม่รวมเรื่องกฏหมายที่ต้องแก้อีก เฉพาะแก้กฏหมายก็ไม่รู้จะผ่านไหม
บางคนก็ว่าภัยคุกคามต่ำ ถ้าเขาจะรบกันใหญ่โตจริงๆสู้ไม่ไหวก็หาพวกไม่ก็เข้าร่วม
แต่เอาจริงๆเงินจะซื้อเครื่องบินรบของเราก็ยังไม่ค่อยจะมีเลย เรื่องผลิตเองคงไม่ต้องคิด
เครื่องบินรบไทยแบบเครื่องยนต์เจ็ทอาจจะเหมือนคลองไทยที่คุยกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาจนถึงทุกวันนี้
เงินไม่มีอะไรก็เป็นไปไม่ได้
เมื่อไรไทยจะรวย
ตั้งเป็นกระทู้คำถามนะครับคนจะได้คุยกันได้ทุกคน
ผมไม่ตอบความเห็นนะ แสดงความเห็นกันได้ตามสะดวก
หากไทยจะสร้างเครื่องบินรบใช้เองคงเป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม
การสร้างเครื่องบินรบได้เองโดยอาศัยชิ้นส่วนจากหลายๆประเทศ เช่นเกาหลีใต้สร้าง FA-50 KF-21 เป็นการพึ่งพาตัวเองและเป็นผลดีในระยะยาว
ราคาเครื่องบินรบมีแต่จะแพงไปเรื่อยๆซึ่งระยะยาวก็คงจะซื้อไม่ค่อยไหว ถึงจะซื้อไหวแต่ก็คงจะหมดเงินเยอะ
หลายๆประเทศเลยพยายามผลิตเองเพื่อลดงบประมาณในระยะยาว
และแม้จะได้รุ่นที่ไม่ดีเท่าของประเทศมหาอำนาจ แต่ปริมาณจำนวนมากของรุ่นรองๆก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกองทัพได้อีกทาง
-การจะสร้างเครื่องบินรบ มีเงินเยอะ มีองค์ความรู้ มีเทคโนโลยี มีคนเก่งๆ ไม่ใช่คำตอบ
ตัวอย่างที่มีให้เห็นคืออินเดีย สร้างจรวดไปอวกาศ ไปดวงจันทร์ มีนิวเคลียร์ แต่พอจะสร้างเครื่องบินรบหมดงบไปมหาศาล คิดเป็นเงินไทยก็หลายแสนล้านบาท กลับได้แค่ Tejas ที่ไม่สามารถแข่งขันกับเครื่องบินรบเจน4อีกหลายๆรุ่นได้จนต้องไปซื้อราฟาลจากฝรั่งเศษมาใช้
เพราะอะไรอินเดียถึงไม่สามารถสร้างเครื่องบินรบประสิทธิภาพสูงออกมาได้ ทั้งๆที่มีศักภาพเพียบพร้อมทุกอย่าง ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องเพราะอินเดียพยายามจะสร้างเครื่องบินรบในแบบฉบับของตัวเองมากเกินไป
ดูจากรูปทรงของ Tejas ได้เลยครับว่าเขาพยายามฝืนทำในแบบฉบับของตัวเองมากแค่ไหน
เทคโนโลยีได้มาจากหลายเจ้าอยู่นะ ฝรั่งเศษ สวีเดน สหรัฐ รัสเซีย แต่อินเดียพยายามเอาหลายๆอย่างมารวมกัน คงผสมกันเยอะเกินไปเลยได้เครื่องบินรูปทรงประหลาดๆเช่น Tejas ที่มีรูปทรงคล้ายๆกับ Saab 37 Viggen เป็นเครื่องบินรบปีกแบบเดลต้า
แต่ Tejas ไม่มี Canard(ปีกเล็กๆบริเวณหัวเครื่องบินเอาไว้ทรงตัว) อินเดียฝืนต้นตำรับสุดๆ
เครื่องยนต์เจ็ทอินเดียไม่ผลิตเองแต่ซื้อจากสหรัฐ อันนี้ยังพอเข้าใจนะว่าต้นทุนมันสูงเลยซื้อแทนผลิตเอง
แต่การออกแบบตัวเครื่องบินของอินเดียนี่แหละที่ทำให้มันไม่รุ่ง ดูจากรูปทรงระบบ maneuvability ไม่น่าจะดีเท่าไรคงจะบินยากสุดๆ
เครื่องบินรบที่สหรัฐและรัสเซียหรือยุโรปออกแบบมานั้นคือเครื่องต้นแบบที่ดีที่สุด ฝืนไปจากนี้แล้วอาจจะเหมือน Tejas ของอินเดีย
จีนเป็นตัวอย่างที่ดี ผสมผสานรูปทรงจากหลายๆเจ้าได้อย่างลงตัว ไม่ฝืนทำในแบบฉบับของตัวเองมากเกินไป จีนผลิตเครื่องบินรบได้หลายรุ่นส่งขายก็เยอะ รูปร่างหน้าตาของตัวเครื่องบินจีนก็คุ้นตาทั้งนั้น จีนไม่ฝืนแต่อาศัยตามน้ำเลยประสบความสำเร็จ
ญี่ปุ่น F-2 ก็ใช้ F-16 เป็นต้นแบบโดยมีสหรัฐให้การสนับสนุน
เกาหลีใต้ FA-50 KF-21 ก็ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐและยุโรปแทบทั้งหมด
เทคโนโลยีเดิมที่เขาคิดค้นไว้มันดีของมันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องคิดเองทั้งหมด
บางคนคิดว่าผลิตเครื่องบินรบเองต้องใช้งบวิจัยตั้งแต่การผสมโลหะ หรือผลิตเครื่องยนต์เจ็ท จริงๆมันไม่ต้องขนาดนั้น
เทคโนโลยีพวกนี้เขาถ่ายทอดให้กันได้ถ้าถูกใจและมีเงินซื้อ และชิ้นส่วนต่างๆก็สามารถซื้อสำเร็จรูปได้เช่นเรดาร์หรือเครื่องยนต์เจ็ท
หากได้รับการสนับสนุนและได้ร่วมมือกันกับเจ้าของเทคโนโลยีเดิม ย่อมสามารถผลิตเครื่องบินรบที่ดีออกมาได้
แต่ถ้าหากจะคิดเองทำเองทั้งหมดเริ่มต้นจาก0ใช้องค์ความรู้เท่าที่มีค่อยๆพัฒนาไป อีกร้อยปีก็ทำไม่ได้ครับ
เกาหลีใต้ไม่ได้ผลิตเองทุกอย่างยังใช้เวลาเป็นสิบปี ถ้าเกาหลีใต้ผลิตเครื่องยนต์เจ็ทเองชาตินี้เราคงไม่ได้เห็น KF-21 บินบนฟ้า
ถึงแม้ไม่ต้องคิดเองทั้งหมด ไม่ต้องสร้างเองทั้งหมด ก็ยังต้องใช้เงินเยอะอยู่ดีนะ
เกาหลีใต้หมดเงินไปเกือบๆ7พันล้านเหรียญ บวกงบจากอินโดนีเซีย1.2พันล้านเหรียญ ใช้เวลาวิจัยและผลิตอยู่11ปีถึงได้เครื่องต้นแบบมาบินเมื่อปีที่แล้ว
เทคโนโลยีของ KF-21 ได้มาจาก F-22 ย่อขนาดลง และปรับบางอย่างให้เหมาะสม โดยมีต้นแบบถึง10รุ่นกว่าจะผลิตเครื่องต้นแบบที่บินได้ออกมา
เทคโนโลยีมีทั้งซื้อมา มีทั้งเขาให้ฟรีๆ มีทั้งได้มาจากดีลซื้ออาวุธ ตอนที่เกาหลีใต้ซื้อ F-35 จากสหรัฐก็มีดีลเทคโนโลยีบางอย่างมาด้วย
ชิ้นส่วนบางอย่างไม่สามารถผลิตเองได้ เช่นเครื่องยนต์ แบบนี้ก็ซื้อมาเลย
ชิ้นส่วนบางอย่างผลิตเองได้ก็ผลิตเองตามเทคโนโลยีที่ได้รับมา
แม้กระนั้นเกาหลีใต้ก็ยังต้องใช้เวลาถึง11ปีกับเงินอีกเกือบ7พันล้านเหรียญยูเอสถึงได้เครื่องมาบินทดสอบ
คาดว่า KF-21 รุ่นแรกจะพร้อมประจำการในปี2026หรืออีก3ปีข้างหน้า ตอนนี้ทดสอบการใช้อาวุธอยู่
มาดูที่ไทยกันบ้าง หากจะสร้างเครื่องบินรบเจน4 เอาแบบไหนดี สมมุติเอาแบบ F-16 หรือกริปเปนละกัน แบบ1เครื่องยนต์
คุยกับสหรัฐกับสวีเดน ขอแค่เงินถึงเขาพร้อมช่วยอยู่แล้ว แต่ที่แน่ๆเลยคือเงินต้องถึงและคาดว่าจะมีดีลอื่นๆรวมอยู่ด้วย
อาจทำแบบเกาหลีใต้ ซื้อ F-15 F-16 กริปเปนพร้อมดีลเทคโนโลยี
สมมุตินะ หมด3แสนล้านบาทกับเวลาอีก15ปีได้แค่เครื่องต้นแบบ สมมุติว่ารุ่น TF-39 ละกัน
Tก็ไทย Fก็มาจากเครื่องตระกูลเอฟ 39ก็มาจากยาส39
TF-39 ประสิทธิภาพก็เอาประมาณ F-16 หรือกริปเปนนี่ล่ะ เพียงแต่เราผลิตเองได้ ผลิตสำเร็จแล้วจะปั๊มมากี่เครื่องก็ว่ากันไปตามงบ
งบวิจัยและผลิตเครื่องต้นแบบพร้อมใช้ ใช้เงิน3แสนล้านบาท ค่าผลิตอีกลำละ2000ล้านบาท
ฝูงบินแรกรวมอาวุธและอะไหล่เข้าไปก็น่าจะใช้เงินทั้งหมดราวๆ350.000ล้านบาท โดยใช้เวลาทั้งหมด15ปี
จุดคุ้มทุนคือผลิตใช้100ลำและผลิตขายได้100ลำขึ้นไป
เครื่องสเปคขายก็ตัดออฟชั่นออกราคาจะได้ถูกๆไม่ใช่จัดเต็มมาแบบกริปเปนแล้วแพงจนขายไม่ออก
ทำเป็นไลท์ไฟเตอร์หรือบินฝึกขายเอาทุนแบบเกาหลีใต้นั่นแหละ มีออฟชั่นเสริมอัปเกรดได้ตามงบอะไรก็ว่าไป
ปัญหาคือจะเอาเงิน350.000ล้านบาทมาจากไหน หรือต่อให้มีเงิน350.000ล้านบาทก็จะมีคนบอกว่าเอาไปพัฒนาประเทศด้านอื่นดีกว่า
คนบอกเอาเงินไปต่อเงินหรือจะเอาเงินมาถมกองทัพ เช่นเงิน350.000ล้านบาททำแลนด์บริดจ์อันดามันข้ามมาอ่าวไทยได้เลยอะไรแบบนี้เป็นต้น
ยังไม่รวมเรื่องกฏหมายที่ต้องแก้อีก เฉพาะแก้กฏหมายก็ไม่รู้จะผ่านไหม
บางคนก็ว่าภัยคุกคามต่ำ ถ้าเขาจะรบกันใหญ่โตจริงๆสู้ไม่ไหวก็หาพวกไม่ก็เข้าร่วม
แต่เอาจริงๆเงินจะซื้อเครื่องบินรบของเราก็ยังไม่ค่อยจะมีเลย เรื่องผลิตเองคงไม่ต้องคิด
เครื่องบินรบไทยแบบเครื่องยนต์เจ็ทอาจจะเหมือนคลองไทยที่คุยกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาจนถึงทุกวันนี้
เงินไม่มีอะไรก็เป็นไปไม่ได้
เมื่อไรไทยจะรวย
ตั้งเป็นกระทู้คำถามนะครับคนจะได้คุยกันได้ทุกคน
ผมไม่ตอบความเห็นนะ แสดงความเห็นกันได้ตามสะดวก