เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นการเสนอแนวทางหนึ่งในการนำอานาปานสติมาทำวิปัสสนาตามแบบญาณ 16 (โสฬสญาณ)
สมัยก่อนน่าจะประมาณพ.ศ.2534-35 ช่วงนั้นได้ฝึกอานาปานสติตามแบบสวนโมกข์มาบ้างแล้วแต่ก็ยังเป็นฌาณต้นๆ ได้เคย
อ่านหนังสือวิปัสสนาทีปนี (พระพรหมโมลี, วิลาศ ญาณวโร) ตามแบบญาณ 16 ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะเอาอานาปานสติไปใช้ใน
การฝึกตามแบบญาณ 16 ได้อย่างไร เพราะเท่าที่อ่านดูจะเข้าใจว่าถ้าคนที่ฝึกกายคตาสติที่เห็นนิมิตเป็นโครงกระดูกเปลี่ยนแปลงไป
หรือคนที่ฝึกอสุภกรรมฐานแล้วเห็นนิมิตเป็นซากศพเปลี่ยนแปลงไป ถึงจะเห็นตามแบบญาณ 16 ได้ แต่อานาปานสตินี่ยังนึก
ไม่ออกว่าจะเห็นลำดับญาณตามได้แบบไหน ก็ได้แต่อ่านแล้วก็เก็บความสงสัยนั้นไว้ก่อน แต่ช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยว
ความรู้ทางปริยัติอยู่ ก็อ่านพระไตรปิฎก และอ่านจากหนังสือต่างๆ ของท่านพุทธทาส ที่เกี่ยวกับอานาปานสติและการดับทุกข์
และจากหนังสือชุดทีปนีของพระพรหมโมลี 6-7 เล่ม อ่านจากหนังสือปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) และอื่นๆ ประปราย
เดินดูในร้านหนังสือถ้าเห็นชื่อหนังสือธรรมะน่าสนใจก็ซื้อเก็บไว้ก่อนแต่บางทีก็ได้อ่านบ้างไม่ได้อ่านบ้าง แต่ช่วงนั้นก็ทำงาน
ใช้ชีวิตตามแบบโลกๆ ทางธรรมมันก็เลยกระท่อนกระแท่นไม่ปะติดปะต่อนัก
พอมาประมาณปีพ.ศ.2545-46 ได้กลับมาอยู่ที่บ้านต่างจังหวัด ก็ได้มาทบทวนการทำอานาปานสติ+พุทโธ ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม
ตามแบบหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ตั้งใจว่าจะปฏิบัติให้เข้าใจลึกซึ้งจริงจัง ก็ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ+พุทโธ อยู่ประมาณ
2-3 เดือน นั่งสมาธิช่วงกลางคืนประมาณ 22-24 น.และต่อด้วยการนอนสมาธิมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก+พุทโธจนหลับ (ส่วนใหญ่
ก็จะไม่เกิน 3 นาทีหลับ) ช่วงกลางวันเดินไปเดินมาหรือทำอะไรอยู่ก็จะกำหนดสติรู้ลมหายใจไว้ที่ท้องและรู้ลมระหว่างปลายจมูก
และท้องด้วย จะรู้สึกถึงสายลมและตึงๆ หน่วงที่ท้องตลอด จิตเป็นอุปจารฌาณอยู่ (ช่วงนั่งสมาธิกลางคืนส่วนใหญ่จะทรงอยู่ใน
ฌาน 2 นานๆ ทีถึงจะเจอฌาน 3 แบบที่รู้สึกว่าไม่มีลมที่จมูก แต่พอควานหาถึงจะรู้ว่ามีลมหายใจซึมผ่านทางผิวหนัง) ช่วงนั้น
ก็จะนำหนังสือวิปัสสนาทีปนีมาทบทวนทำความเข้าใจอีก 2-3 รอบ ทำให้เข้าใจลำดับสภาวะญาณจากการอ่านทบทวนได้ดี
ระดับหนึ่งแล้ว แต่ตอนนั้นที่เข้าใจจริงๆ ก็รู้สึกแค่อุทยัพพยญาณที่บอกให้ไปนั่งดูฟองน้ำที่ผุดเกิดขึ้นแล้วก็แตกสลายไป ชีวิต
คนเราก็เป็นแบบนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ในช่วงเวลาสั้นๆ เหมือนกับฟองน้ำ
หลังจากช่วงนั้นไม่นานนัก ก็ได้ประสบกับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ใจสาหัสจากสัตว์เลี้ยงตายกระหัน แบบที่เราช่วยเหลืออะไรไม่ได้เลย
ทุกข์ของจริงการพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักปรากฏอยู่ตรงหน้า และทุกข์ใจนี้ก็ไม่ได้คลายลงเลยตั้งแต่ 5-6 โมงเย็นจนถึง 3 ทุ่ม
ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าได้เคยทบทวนสมาธิและญาณ 16 จนพอจะเข้าใจหลักการและลำดับสภาวะต่างๆ บ้างแล้ว ก็เลยหยิบหนังสือมา
ทบทวนลำดับญาณคร่าวๆ อีกทีแล้วนั่งสมาธิแบบอานาปานสติตั้งแต่ 3 ทุ่ม แต่เที่ยวนี้ไม่ได้ใช้พุทโธ แต่เอาทุกข์แรงๆ ที่ปรากฎแก่ใจ
นั้นแหละมากำหนดรู้พร้อมกับมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก พิจารณาทุกข์ให้เห็นตามหลักไตรลักษณ์ ว่าความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้
ได้ป่วย ความตาย ความโศกเศร้ารำพัน ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ขันธ์ 5 ต่างๆ มันไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้
ถ้ายังต้องเกิดเป็นมนุษย์มันก็ทุกข์ไปอีกแบบ เกิดเป็นเทวดา พรหม มันก็ทุกข์ไปอีกแบบ
ก็พิจารณาวนไปวนมาแบบนั้น ช่วงแรกก็กำหนดตามยากเพราะจิตมันยังดิ้นรนไม่ยอมสงบ ตอนนั้นแค่ขณิกสมาธิก็ยังรู้สึกว่ายาก พิจารณา
ไปเรื่อยจนเริ่ม เห็นทุกข์โทษของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศกรำพัน ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก จนจิตเริ่มยอมรับสภาพ
และเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องมาเวียนเกิดเวียนตาย เพื่อเจอะเจอกับสภาพแบบนี้อีก ต้องการพ้นไปจากสภาพแบบนี้ จากช่วงแรกๆ
ที่กำหนดตัวทุกข์ในขณิกสมาธิอยู่หลายชั่วโมง ไม่เคยรู้สึกว่าถึงอุปจารฌานเลย นั่งพิจารณาไตรลักษณ์วนไปวนมาอยู่แบบนั้นตั้งแต่ประมาณ
3 ทุ่มถึงตี 4 ก็ประมาณ 6-7 ชั่วโมง
พอถึงจุดที่พิจารณาไปจนเห็นทุกข์โทษเวรภัยของการมาเวียนเกิดนั้นอย่างชัดเจน เหมือนเห็นไฟที่ลุกไหม้อยู่บนศรีษะ จนเกิดความรู้สึก
อย่างแรงกล้าที่ต้องการจะหลุดพ้นไปจากสภาวะนี้ และพยายามหาหนทางที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ที่เป็นอยู่นี้ เปรียบเสมือนเขียดที่พยายาม
ดิ้นรนเอาชีวิตรอดจากปากงู หรือปลาที่พยายามดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากข่ายดัก จิตก็ค่อยๆ หยุดการดิ้นรนและค่อยๆ รวมลงๆ ทีละน้อย
ตอนนั้นก็รู้สึกว่าจะค่อยๆ รวมลงเป็นฌาน 1 จนในที่สุดก็เห็นเป็นสายฟ้าสีออกโทนส้มๆ แลบแปลบปลาบขึ้นในจิต ท่ามกลางความมืดมิด
ก็เห็นบริเวณรอบๆ สว่างขึ้นชั่วขณะ แล้วทุกอย่างก็สงบลงเหลือแต่ความเงียบงัน รู้สึกว่าจิตจะสงบเป็นช่วงฌาน 1 ปลายๆ แต่ยังไม่ถึงฌาน 2
(สายฟ้าที่เห็นนั้นจะเหมือนมองดูฟ้าแลบในคืนเดือนมืดก่อนที่ฝนจะตกแต่ไม่มีเสียง คล้ายรูปด้านล่างแต่แสงจะออกโทนสีส้มหน่อยๆ ไม่ใช่
สีขาว สายฟ้านี้จะขับไล่ความมืดทำให้บริเวณโดยรอบสว่างขึ้นมาชั่วขณะแล้วก็ดับมืดลงตามสายฟ้าเหลือแต่ความสงบเงียบงัน เป็นการเห็น
ในจิตไม่ได้เห็นด้วยตา) พอเห็นสายฟ้าแลบนี้ก็เลยเกิดปีติหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้เพราะรู้สึกชุ่มชื่นใจขึ้นมาหน่อย แต่ความทุกข์ที่เคยรู้สึกนั้น
คลายลงไปประมาณครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 50-60% ได้
พอจิตสงบลงก็เลยนั่งพิจารณาดูสภาวะที่ผ่านมาอยู่พักหนึ่ง รู้สึกว่าความทุกข์ลดลงแต่ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว ก็เลยนั่งกำหนดทุกข์ที่เหลือต่อ
พิจารณาไตรลักษณ์วนไปวนมาตามสเต็ปเดิมที่ทำตั้งแต่ 3 ทุ่ม แต่ว่าช่วงนี้ทุกข์มันก็ลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว ก็เลยกำหนดง่ายขึ้นกว่า
ช่วงแรกมาก พอพิจารณาไปๆ สักพักน่าจะอีกประมาณ 15-20 นาที จิตก็เริ่มสงบรวมเป็นสมาธิประมาณฌาน 1 อีกครั้ง แล้วก็เกิดสายฟ้าแลบ
แปลบปลาบขึ้นในจิตเหมือนครั้งแรกอีก ฟ้าแลบได้ขับไล่ความมืดมิดบริเวณรอบๆ ไปชั่วขณะแล้วทุกอย่างก็สงบลง คราวนี้รู้สึกว่าทุกข์ที่เหลือ
อยู่แทบจะหมดไปเลย จะรู้สึกว่ายังเหลือค้างอยู่บ้างไม่เกิน 5% เหมือนเป็นแค่เศษซากของความทุกข์ที่เหลือตกค้างไว้ ซึ่งไม่ค่อยจะมีผลและ
ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปแล้ว แค่ต้องใช้เวลาสักระยะจึงจะจางหายไป
ตอนนี้ก็รู้สึกสงบเย็นผ่อนคลาย โล่ง จากที่เคยกำหนดจนเหงื่อโทรมกายในช่วงแรกๆ รู้สึกว่าจิตเป็นอิสระจากความยึดถือได้ระดับหนึ่ง และรู้สึกว่า
พอผ่านความทุกข์ระดับนี้ได้แล้ว ถ้าเจอคล้ายๆ แบบนี้อีกก็คงจะไม่ทุกข์ไปมากกว่านี้แล้ว แต่อันที่เห็นฟ้าแลบในจิต 2 ครั้งนั้นก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร
แต่รู้ว่ามันทำให้จิตคลายจากความยึดถือในขณะนั้นไปได้จนเหลือน้อยมาก อาจจะดับทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ การทำวิปัสสนา
ตามรูปแบบที่เคยทำจริงจังก็เป็นแบบนี้ เอาทุกข์ที่แรงๆ มากำหนดให้เห็นไตรลักษณ์ จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายต้องการที่จะหาทางหลุดพ้นไปจาก
การเวียนเกิดเวียนตายแบบจริงจัง จุดที่สำคัญคืออารมณ์ที่ปรากฏช่วงที่มีความรู้สึกอย่างแรงกล้าจริงๆ ที่จะหาทางออกหรือหนทางหลุดพ้นไปจากทุกข์
และการเวียนเกิดเวียนตายนี้ จนถึงที่สุดเมื่อหาทางออกไม่เจอแล้วจิตจึงจะหยุดดิ้นรนและปล่อยวาง แล้วจิตจึงจะค่อยๆ รวมลง ลำดับญาณอาจจะไม่ได้
เห็นละเอียดทุกลำดับตามหนังสือ หรืออาจจะตามเห็นไม่ทันจึงเห็นได้เพียงบางส่วน แต่หลังๆ นี่พอไปพิจารณาเทียบเคียงกับโพชฌงค์ 7 ดูก็ว่าลักษณะ
องค์ธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมันใกล้เคียงมาก เพียงแต่สมัยนั้นยังไม่เข้าใจเรื่องโพชฌงค์ 7 มากนัก และไม่ได้นึกถึงด้วยซ้ำ แต่สภาวธรรมมันเป็นไปเอง
ถ้าใครปฏิบัติมาแนวทางนี้ ถ้ามีเหตุให้ต้องใช้งานจริงก็ลองพิจารณาดู อาจจะนำไปปรับใช้ได้บ้าง

การใช้งานอานาปานสติกับการทำวิปัสสนาตามแบบญาณ 16 (โสฬสญาณ)
สมัยก่อนน่าจะประมาณพ.ศ.2534-35 ช่วงนั้นได้ฝึกอานาปานสติตามแบบสวนโมกข์มาบ้างแล้วแต่ก็ยังเป็นฌาณต้นๆ ได้เคย
อ่านหนังสือวิปัสสนาทีปนี (พระพรหมโมลี, วิลาศ ญาณวโร) ตามแบบญาณ 16 ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะเอาอานาปานสติไปใช้ใน
การฝึกตามแบบญาณ 16 ได้อย่างไร เพราะเท่าที่อ่านดูจะเข้าใจว่าถ้าคนที่ฝึกกายคตาสติที่เห็นนิมิตเป็นโครงกระดูกเปลี่ยนแปลงไป
หรือคนที่ฝึกอสุภกรรมฐานแล้วเห็นนิมิตเป็นซากศพเปลี่ยนแปลงไป ถึงจะเห็นตามแบบญาณ 16 ได้ แต่อานาปานสตินี่ยังนึก
ไม่ออกว่าจะเห็นลำดับญาณตามได้แบบไหน ก็ได้แต่อ่านแล้วก็เก็บความสงสัยนั้นไว้ก่อน แต่ช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยว
ความรู้ทางปริยัติอยู่ ก็อ่านพระไตรปิฎก และอ่านจากหนังสือต่างๆ ของท่านพุทธทาส ที่เกี่ยวกับอานาปานสติและการดับทุกข์
และจากหนังสือชุดทีปนีของพระพรหมโมลี 6-7 เล่ม อ่านจากหนังสือปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) และอื่นๆ ประปราย
เดินดูในร้านหนังสือถ้าเห็นชื่อหนังสือธรรมะน่าสนใจก็ซื้อเก็บไว้ก่อนแต่บางทีก็ได้อ่านบ้างไม่ได้อ่านบ้าง แต่ช่วงนั้นก็ทำงาน
ใช้ชีวิตตามแบบโลกๆ ทางธรรมมันก็เลยกระท่อนกระแท่นไม่ปะติดปะต่อนัก
พอมาประมาณปีพ.ศ.2545-46 ได้กลับมาอยู่ที่บ้านต่างจังหวัด ก็ได้มาทบทวนการทำอานาปานสติ+พุทโธ ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม
ตามแบบหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ตั้งใจว่าจะปฏิบัติให้เข้าใจลึกซึ้งจริงจัง ก็ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ+พุทโธ อยู่ประมาณ
2-3 เดือน นั่งสมาธิช่วงกลางคืนประมาณ 22-24 น.และต่อด้วยการนอนสมาธิมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก+พุทโธจนหลับ (ส่วนใหญ่
ก็จะไม่เกิน 3 นาทีหลับ) ช่วงกลางวันเดินไปเดินมาหรือทำอะไรอยู่ก็จะกำหนดสติรู้ลมหายใจไว้ที่ท้องและรู้ลมระหว่างปลายจมูก
และท้องด้วย จะรู้สึกถึงสายลมและตึงๆ หน่วงที่ท้องตลอด จิตเป็นอุปจารฌาณอยู่ (ช่วงนั่งสมาธิกลางคืนส่วนใหญ่จะทรงอยู่ใน
ฌาน 2 นานๆ ทีถึงจะเจอฌาน 3 แบบที่รู้สึกว่าไม่มีลมที่จมูก แต่พอควานหาถึงจะรู้ว่ามีลมหายใจซึมผ่านทางผิวหนัง) ช่วงนั้น
ก็จะนำหนังสือวิปัสสนาทีปนีมาทบทวนทำความเข้าใจอีก 2-3 รอบ ทำให้เข้าใจลำดับสภาวะญาณจากการอ่านทบทวนได้ดี
ระดับหนึ่งแล้ว แต่ตอนนั้นที่เข้าใจจริงๆ ก็รู้สึกแค่อุทยัพพยญาณที่บอกให้ไปนั่งดูฟองน้ำที่ผุดเกิดขึ้นแล้วก็แตกสลายไป ชีวิต
คนเราก็เป็นแบบนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ในช่วงเวลาสั้นๆ เหมือนกับฟองน้ำ
หลังจากช่วงนั้นไม่นานนัก ก็ได้ประสบกับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ใจสาหัสจากสัตว์เลี้ยงตายกระหัน แบบที่เราช่วยเหลืออะไรไม่ได้เลย
ทุกข์ของจริงการพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักปรากฏอยู่ตรงหน้า และทุกข์ใจนี้ก็ไม่ได้คลายลงเลยตั้งแต่ 5-6 โมงเย็นจนถึง 3 ทุ่ม
ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าได้เคยทบทวนสมาธิและญาณ 16 จนพอจะเข้าใจหลักการและลำดับสภาวะต่างๆ บ้างแล้ว ก็เลยหยิบหนังสือมา
ทบทวนลำดับญาณคร่าวๆ อีกทีแล้วนั่งสมาธิแบบอานาปานสติตั้งแต่ 3 ทุ่ม แต่เที่ยวนี้ไม่ได้ใช้พุทโธ แต่เอาทุกข์แรงๆ ที่ปรากฎแก่ใจ
นั้นแหละมากำหนดรู้พร้อมกับมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก พิจารณาทุกข์ให้เห็นตามหลักไตรลักษณ์ ว่าความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้
ได้ป่วย ความตาย ความโศกเศร้ารำพัน ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ขันธ์ 5 ต่างๆ มันไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้
ถ้ายังต้องเกิดเป็นมนุษย์มันก็ทุกข์ไปอีกแบบ เกิดเป็นเทวดา พรหม มันก็ทุกข์ไปอีกแบบ
ก็พิจารณาวนไปวนมาแบบนั้น ช่วงแรกก็กำหนดตามยากเพราะจิตมันยังดิ้นรนไม่ยอมสงบ ตอนนั้นแค่ขณิกสมาธิก็ยังรู้สึกว่ายาก พิจารณา
ไปเรื่อยจนเริ่ม เห็นทุกข์โทษของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศกรำพัน ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก จนจิตเริ่มยอมรับสภาพ
และเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องมาเวียนเกิดเวียนตาย เพื่อเจอะเจอกับสภาพแบบนี้อีก ต้องการพ้นไปจากสภาพแบบนี้ จากช่วงแรกๆ
ที่กำหนดตัวทุกข์ในขณิกสมาธิอยู่หลายชั่วโมง ไม่เคยรู้สึกว่าถึงอุปจารฌานเลย นั่งพิจารณาไตรลักษณ์วนไปวนมาอยู่แบบนั้นตั้งแต่ประมาณ
3 ทุ่มถึงตี 4 ก็ประมาณ 6-7 ชั่วโมง
พอถึงจุดที่พิจารณาไปจนเห็นทุกข์โทษเวรภัยของการมาเวียนเกิดนั้นอย่างชัดเจน เหมือนเห็นไฟที่ลุกไหม้อยู่บนศรีษะ จนเกิดความรู้สึก
อย่างแรงกล้าที่ต้องการจะหลุดพ้นไปจากสภาวะนี้ และพยายามหาหนทางที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ที่เป็นอยู่นี้ เปรียบเสมือนเขียดที่พยายาม
ดิ้นรนเอาชีวิตรอดจากปากงู หรือปลาที่พยายามดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากข่ายดัก จิตก็ค่อยๆ หยุดการดิ้นรนและค่อยๆ รวมลงๆ ทีละน้อย
ตอนนั้นก็รู้สึกว่าจะค่อยๆ รวมลงเป็นฌาน 1 จนในที่สุดก็เห็นเป็นสายฟ้าสีออกโทนส้มๆ แลบแปลบปลาบขึ้นในจิต ท่ามกลางความมืดมิด
ก็เห็นบริเวณรอบๆ สว่างขึ้นชั่วขณะ แล้วทุกอย่างก็สงบลงเหลือแต่ความเงียบงัน รู้สึกว่าจิตจะสงบเป็นช่วงฌาน 1 ปลายๆ แต่ยังไม่ถึงฌาน 2
(สายฟ้าที่เห็นนั้นจะเหมือนมองดูฟ้าแลบในคืนเดือนมืดก่อนที่ฝนจะตกแต่ไม่มีเสียง คล้ายรูปด้านล่างแต่แสงจะออกโทนสีส้มหน่อยๆ ไม่ใช่
สีขาว สายฟ้านี้จะขับไล่ความมืดทำให้บริเวณโดยรอบสว่างขึ้นมาชั่วขณะแล้วก็ดับมืดลงตามสายฟ้าเหลือแต่ความสงบเงียบงัน เป็นการเห็น
ในจิตไม่ได้เห็นด้วยตา) พอเห็นสายฟ้าแลบนี้ก็เลยเกิดปีติหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้เพราะรู้สึกชุ่มชื่นใจขึ้นมาหน่อย แต่ความทุกข์ที่เคยรู้สึกนั้น
คลายลงไปประมาณครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 50-60% ได้
พอจิตสงบลงก็เลยนั่งพิจารณาดูสภาวะที่ผ่านมาอยู่พักหนึ่ง รู้สึกว่าความทุกข์ลดลงแต่ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว ก็เลยนั่งกำหนดทุกข์ที่เหลือต่อ
พิจารณาไตรลักษณ์วนไปวนมาตามสเต็ปเดิมที่ทำตั้งแต่ 3 ทุ่ม แต่ว่าช่วงนี้ทุกข์มันก็ลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว ก็เลยกำหนดง่ายขึ้นกว่า
ช่วงแรกมาก พอพิจารณาไปๆ สักพักน่าจะอีกประมาณ 15-20 นาที จิตก็เริ่มสงบรวมเป็นสมาธิประมาณฌาน 1 อีกครั้ง แล้วก็เกิดสายฟ้าแลบ
แปลบปลาบขึ้นในจิตเหมือนครั้งแรกอีก ฟ้าแลบได้ขับไล่ความมืดมิดบริเวณรอบๆ ไปชั่วขณะแล้วทุกอย่างก็สงบลง คราวนี้รู้สึกว่าทุกข์ที่เหลือ
อยู่แทบจะหมดไปเลย จะรู้สึกว่ายังเหลือค้างอยู่บ้างไม่เกิน 5% เหมือนเป็นแค่เศษซากของความทุกข์ที่เหลือตกค้างไว้ ซึ่งไม่ค่อยจะมีผลและ
ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปแล้ว แค่ต้องใช้เวลาสักระยะจึงจะจางหายไป
ตอนนี้ก็รู้สึกสงบเย็นผ่อนคลาย โล่ง จากที่เคยกำหนดจนเหงื่อโทรมกายในช่วงแรกๆ รู้สึกว่าจิตเป็นอิสระจากความยึดถือได้ระดับหนึ่ง และรู้สึกว่า
พอผ่านความทุกข์ระดับนี้ได้แล้ว ถ้าเจอคล้ายๆ แบบนี้อีกก็คงจะไม่ทุกข์ไปมากกว่านี้แล้ว แต่อันที่เห็นฟ้าแลบในจิต 2 ครั้งนั้นก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร
แต่รู้ว่ามันทำให้จิตคลายจากความยึดถือในขณะนั้นไปได้จนเหลือน้อยมาก อาจจะดับทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ การทำวิปัสสนา
ตามรูปแบบที่เคยทำจริงจังก็เป็นแบบนี้ เอาทุกข์ที่แรงๆ มากำหนดให้เห็นไตรลักษณ์ จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายต้องการที่จะหาทางหลุดพ้นไปจาก
การเวียนเกิดเวียนตายแบบจริงจัง จุดที่สำคัญคืออารมณ์ที่ปรากฏช่วงที่มีความรู้สึกอย่างแรงกล้าจริงๆ ที่จะหาทางออกหรือหนทางหลุดพ้นไปจากทุกข์
และการเวียนเกิดเวียนตายนี้ จนถึงที่สุดเมื่อหาทางออกไม่เจอแล้วจิตจึงจะหยุดดิ้นรนและปล่อยวาง แล้วจิตจึงจะค่อยๆ รวมลง ลำดับญาณอาจจะไม่ได้
เห็นละเอียดทุกลำดับตามหนังสือ หรืออาจจะตามเห็นไม่ทันจึงเห็นได้เพียงบางส่วน แต่หลังๆ นี่พอไปพิจารณาเทียบเคียงกับโพชฌงค์ 7 ดูก็ว่าลักษณะ
องค์ธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมันใกล้เคียงมาก เพียงแต่สมัยนั้นยังไม่เข้าใจเรื่องโพชฌงค์ 7 มากนัก และไม่ได้นึกถึงด้วยซ้ำ แต่สภาวธรรมมันเป็นไปเอง
ถ้าใครปฏิบัติมาแนวทางนี้ ถ้ามีเหตุให้ต้องใช้งานจริงก็ลองพิจารณาดู อาจจะนำไปปรับใช้ได้บ้าง