มาม้า: นัน วันพฤหัสฯว่างมั้ย มาม้าจะสอนทำเต่าซาให้
แม่นัน: เต่าซา เต่าซาแบบไหนเหรอมามี้ หนูก็ทำเป็นอยู่แล้วนี่นา"
มาม้า: "เต่าซาที่ใส่อิ่วมั้วด้วยไง จะทำมั้ย อยากทำเป็นไม่ใช่เหรอ"
พอได้ยินคำว่า "อิ่วมั้ว" (งาดำ) เท่านั้นล่ะ แม่นันหูผึ่งทันที "เอา เอา เดี๋ยวหนูไปแต่เช้าเลย หนูขอไปทำเองตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลยนะ
(เป็นความชอบส่วนบุคคลห้ามลอกเลียนแบบเพราะเป็นคนโบฯสุดๆ)
มาม้า: ไม่ไม่ต้องเช้ามาก เดี๋ยวมาม้าจะเตรียมต้มถั่วเขียวไว้ให้ก่อน เพราะต้องต้มไฟอ่อนถึงสองชั่วโมง
เดี๋ยวมาถึงมาม้าจะบอกให้เองว่าทำไมต้องต้มนานขนาดนั้น
ถ้าใครเคยทาน "เหล็กเต่ากอไส้งาดำ" ฝีมือมาม้า รับรองต้องถวิลหาอีกแน่นอนค่ะ (มีถามหลังไมค์มาหลายคนค่ะ ปีนี้ทำอีกมั้ยคะ
ทำเหล็กเต่ากออีกมั้ยคะ) มาม้าไม่ทำมาเป็นปีที่สองแล้วค่ะ เพราะขั้นตอนนเยอะจนบรรพบุรุษล้า เสียดายแต่ต้องตัดใจเพื่อสุขภาพค่ะ
อย่างที่แม่นันเคยบอก บรรพบุรุษจะไม่ยอมปรับเปลี่ยนอะไรง่ายๆ โดยเฉพาะสูตรขนมที่มีความอร่อยอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม
ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ และขั้นตอนการทำที่ขอทำเองล้วนๆ แม้จะเหนื่อยและจุกจิกแค่ไหนก็ตาม "มันเหนื่อยจริงนัน แต่มันอร่อย
ไม่มีใครเค้าทำแล้วดั้งเดิมแบบนี้" "มาม้ารักนันและเห็นนันชอบทำ มาม้าก็อยากจะถ่ายทอดให้"
"เป็นไง อยากทำนักไม่ใช่เหรอ มันไม่ใช่งานเบาๆเลยเห็นมั้ย"
เห็นกับตา..ทำกับมือ นี่แค่เฉพาะไส้เท่านั้นนะคะ ความดั้งเดิมนี่ขลังขนาด..ยอมเหนื่อยเพื่อให้ได้ความอร่อยคืนมา มีจริงค่ะ

แม่นันตาโตเมื่อเห็นหม้อถั่วเขียวที่ถูกต้มจนเม็ดพองอิ่มน้ำเต็มที่ หนึ่งหม้อเต็มๆ
"มาม้า..อย่าบอกนะว่าต้องมาคัดเปลือกออกเพื่อนำเอาเนื้อในมาทำไส้เต่าซาน่ะ"

"ใช่แล้ว มาเลย มาม้าจะสอนวิธีกรองเอาเนื้อในให้" "ต้องอย่างนี้นะ ตักคั่วเขียวใส่กระชอน ทั้งที่ยังร้อนๆอยุ่นี่ล่ะ ใส่น้ำลงไปหน่อย
แล้วค่อยๆใช้ฝ่ามือเรากดๆบี้อย่างเบามือนะ ในขณะเดียวกันอีกมือหนึ่งถือกระชอนให้ก้นกระชอนจมน้ำนิดนึง
ตัวเนื้อ (แป้ง) จะได้ถูกร่อนผ่านกระชอน ค่อยๆทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนรู้สึกได้ว่าส่วนที่เหลือบนกระชอนเป็นส่วนเปลือกล้วนๆ
สัมผัสดูเปลือกเค้าจะหยาบๆ รู้สึกมั้ย นั่นล่ะ แล้วเราก็บีบให้แห้ง ทิ้งส่วนเปลือกไป แล้วก็ทำแบบเดิมจนหมด”

“ทำไมมาม้าไม่ซื้อถั่วทองมานึ่งแล้วทำเหมือนไส้หวานที่เราใส่ในโซวเกี้ยว มาทำแบบนี้ทำไมให้เหนื่อย”
“ก็มาม้าบอกแล้วไม่ใช่เหรอว่ามันไม่เหมือนกัน ทำเต่าซาอิ่วมั้วต้องทำแบบนี้ถึงจะหอมอร่อย”
“ไป.ไปนั่งกรองให้หมด เดี๋ยวเสร็จแล้วต้องมากรองอีกสองรอบจนกว่าจะให้แน่ใจว่าไม่มีเปลือกหลงเหลืออยู่” มาม้าแกล้งเอ็ดไปยิ้มไป
แล้วแม่นันก็ถูกเนรเทศไปทำต่อหน้าบ้านอย่างว่าง่าย ติดใจตรงที่ “ต้องกรองต่ออีกสองรอบ” โอย..จิเป็นลม

ใช่ค่ะ สองรอบผ่านไป..กรองเสร็จเทใส่ถุงผ้า ผูกปากถุงจนแน่นดี พักสะเด็ดน้ำต่อ “นัน..หยิบหม้อใส่น้ำมาสักครึ่งนึง
มาม้าจะมาทับถุงแป้งให้น้ำออกไปให้หมด (เนื้อถั่วเขียวที่กรองแล้วเค้าใช้ศัพท์ว่าแป้ง)

“นัน..มาช่วยมาม้าคั่วงาต่อ เสร็จแล้วเดี๋ยวเราต้องมาใช้เครื่องบดๆจนละเอียดมีน้ำมันงาอออกมาเลย เครื่องบดมาม้าไม่ค่อยดีแล้ว
บอกให้เอามาด้วยอยากลืมทำไม ยืนบดไป ค่อยๆตักบดไปหลายๆรอบจนกว่าจะละเอียด เอาเท่าที่เครื่องจะทำให้เราได้ละกัน
ไม่งั้นต้องตำมือ ไม่เอาดีกว่า” แล้วเราสองคนก็ผลัดกันคั่วผลัดกันบดจนได้ที่
“เฮ้ย..ตี๋ใหญ่มา (ลูกชายคนโตมาม้า) ตี๋ใหญ่มาพอดี” “ตี๋.เอางาดำไปตำให้หน่อยจิ” แม่นันวานน้องทันที
“ไม่เอา ไม่เอ๊า” ตี๋ใหญ่บอกพร้อมส่ายหัว “ทำเต่าซาเหรอ โอ๊ย.จุกจิกจะตาย บดเครื่องเหอะพี่นัน ขี้เกียจตำ..เหนื่อย”
เข้าใจน้องเลยค่ะ เพราะเค้าเห็นเค้าผ่านขั้นตอนนี้มาตั้งแต่เด็กๆ พอเจออีกก็ร้องยี้แล้วค่ะ

เสร็จจากบดงาดำก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ถ้าดูไม่เป็น จับกลิ่นงาไม่ได้ ใส่น้ำมัน น้ำตาลไม่ได้สัดส่วนก็ไม่อร่อยค่ะ
“นัน..เอาถุงแป้งมา เทลงกระทะเลย ใช้ตะหลิวค่อยๆยีไปเรื่อยๆ เดี๋ยวได้ที่แล้วมาม้าจะใส่งาดำลงไปผสม”
“ โอย..มาม้ายืนนานไม่ได้ว่ะ นันมาคนต่อมา ใช้ไฟอ่อนนะ” มาม้าปีนี้กำลังขาอ่อนไปเยอะค่ะ ขาโก่งไปเยอะเลย ยืนนานไม่ค่อยได้
แต่ใจในการทำขนมทำอาหารนี่เกินร้อยจริงๆ พอๆกันกับคุณแม่สามี และอาตั่วแจ้เลยค่ะ ขายังอยู่กับที่แต่ใจไปถึงไหนแล้วไม่รู้

แม่นันค่อยๆกวนจนถั่วที่ปนกับงา ค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม เข้มขึ้น เข้มขึ้น ส่วนมาม้าก็คอยเติมน้ำมันทีละน้อย
“นันดูนะ พอมาม้าเติมน้ำมันลงไปปุ๊บ น้ำมันจะซึมเข้าไปทำให้ไอน้ำตีออกมา แล้วเดี๋ยวกลิ่นงาจะลอยขึ้นมาเลย หอมมาก”
“ค่อยๆกวนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมาม้าจะใส่น้ำตาลลงไป”

แล้วเต่าซางาดำกระทะนี้ก็ค่อยๆส่งกลิ่นหอมลอยขึ้นมา
เฉพาะขั้นตอนนี้ต้องผลัดกันจับหูกระทะผลัดกันถือตะหลิวอยู่นานสองนานค่ะ กว่าจะเข้าเนื้อ
“โอ๊ย..อร่อยมากเลยมามี้” แม่นันกวนไปใช้นิ้วแตะเนื้อขึ้นมาชิมไป
“ที่มาม้าบอกจะแบ่งให้น่ะ เอาเยอะๆหน่อยนะ” ๕๕ ครั้งนี้พูดจริง ไม่มีเกรงใจแล้ว
ปิดเตาปุ๊บ มาม้าไปนอนยืดขาบนเตียงไม้โบราณ ส่วนแม่นันก็นอนแผ่บนพื้นหินขัดนี่ล่ะค่ะ ..... โอย..สัมผัสความดั้งเดิมมันเป็นเยี่ยงนี้นี่เอง...
"นี่.นี่..เห็นรูปตัวเองมั้ย มาม้าส่งไลน์ไปให้ เปิดดูสิ"

นั่นไง..แอบเก็บรูปไว้เป็นหลักฐาน เห็นมาม้าอายุปูนนี้ แต่เรื่องการใช้เทคโนโลยี่สาวๆอายนะคะ
โอวเต่าซา
แม่นัน: เต่าซา เต่าซาแบบไหนเหรอมามี้ หนูก็ทำเป็นอยู่แล้วนี่นา"
มาม้า: "เต่าซาที่ใส่อิ่วมั้วด้วยไง จะทำมั้ย อยากทำเป็นไม่ใช่เหรอ"
แม่นันตาโตเมื่อเห็นหม้อถั่วเขียวที่ถูกต้มจนเม็ดพองอิ่มน้ำเต็มที่ หนึ่งหม้อเต็มๆ
"ใช่แล้ว มาเลย มาม้าจะสอนวิธีกรองเอาเนื้อในให้" "ต้องอย่างนี้นะ ตักคั่วเขียวใส่กระชอน ทั้งที่ยังร้อนๆอยุ่นี่ล่ะ ใส่น้ำลงไปหน่อย
“ทำไมมาม้าไม่ซื้อถั่วทองมานึ่งแล้วทำเหมือนไส้หวานที่เราใส่ในโซวเกี้ยว มาทำแบบนี้ทำไมให้เหนื่อย”
ใช่ค่ะ สองรอบผ่านไป..กรองเสร็จเทใส่ถุงผ้า ผูกปากถุงจนแน่นดี พักสะเด็ดน้ำต่อ “นัน..หยิบหม้อใส่น้ำมาสักครึ่งนึง
“นัน..มาช่วยมาม้าคั่วงาต่อ เสร็จแล้วเดี๋ยวเราต้องมาใช้เครื่องบดๆจนละเอียดมีน้ำมันงาอออกมาเลย เครื่องบดมาม้าไม่ค่อยดีแล้ว
“ไม่เอา ไม่เอ๊า” ตี๋ใหญ่บอกพร้อมส่ายหัว “ทำเต่าซาเหรอ โอ๊ย.จุกจิกจะตาย บดเครื่องเหอะพี่นัน ขี้เกียจตำ..เหนื่อย”
เข้าใจน้องเลยค่ะ เพราะเค้าเห็นเค้าผ่านขั้นตอนนี้มาตั้งแต่เด็กๆ พอเจออีกก็ร้องยี้แล้วค่ะ
เสร็จจากบดงาดำก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ถ้าดูไม่เป็น จับกลิ่นงาไม่ได้ ใส่น้ำมัน น้ำตาลไม่ได้สัดส่วนก็ไม่อร่อยค่ะ
“นัน..เอาถุงแป้งมา เทลงกระทะเลย ใช้ตะหลิวค่อยๆยีไปเรื่อยๆ เดี๋ยวได้ที่แล้วมาม้าจะใส่งาดำลงไปผสม”
แม่นันค่อยๆกวนจนถั่วที่ปนกับงา ค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม เข้มขึ้น เข้มขึ้น ส่วนมาม้าก็คอยเติมน้ำมันทีละน้อย
แล้วเต่าซางาดำกระทะนี้ก็ค่อยๆส่งกลิ่นหอมลอยขึ้นมา
“ที่มาม้าบอกจะแบ่งให้น่ะ เอาเยอะๆหน่อยนะ” ๕๕ ครั้งนี้พูดจริง ไม่มีเกรงใจแล้ว
นั่นไง..แอบเก็บรูปไว้เป็นหลักฐาน เห็นมาม้าอายุปูนนี้ แต่เรื่องการใช้เทคโนโลยี่สาวๆอายนะคะ