คมนาคมชื่นชม ซีพีเลือกคนรู้งาน มือประสานสิบทิศ มาคุมไฮสปีด

วันนี้ MGR ลงข่าวสัมภาษณ์คุณธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด อย่างละเอียดยิบ มีข้อมูลเพิ่มเติมจากที่สรุปไว้ครั้งก่อนหลายเรื่อง...

ประสบการณ์การทำงานร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์

ดูเหมือนว่า จริง ๆ แล้วกลุ่มซีพีก็ไม่ใช่หน้าใหม่ซะทีเดียวในวงการรถไฟ เนื่องจากคุณธิติฏฐ์เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด หรือ W&W ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทวิศวกรรมครบวงจร ดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม

หนึ่งในลูกค้าของ W&W ก็คือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link) หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ : ARL โดย W&W ทำหน้าที่ด้านการซ่อมบำรุงรักษาระบบ จึงค่อนข้างเข้าใจโครงสร้างของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รู้ว่าอะไรควรปรับปรุง หรือแก้ไขอะไร อย่างไร นอกจากนั้นก็ยังดูแลบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอีกด้วย

คมนาคมชื่นชม ซีพีเลือกคนรู้งาน มือประสานสิบทิศ มาคุมไฮสปีด
 
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม บอกว่า การที่ซีพีเลือกคุณธิติฏฐ์ มาดูแลนั้น
 
- หน่วยงานต่างๆ ก็รู้สึกยินดี
- เนื่องจากคุณธิติฏฐ์มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารและยังเป็นวิศวกรด้านไฟฟ้า ทำให้เข้าใจโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
 
- อีกทั้งมีลักษณะค่อนข้าง Compromise สูง รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ทำให้การเจรจาหารือเป็นไปด้วยความราบรื่น ในการประสานงานกับภาครัฐที่มีทั้งหมด 21 หน่ายงาน และ 2 รัฐวิสาหกิจได้เป็นอย่างดี
 
- ในอนาคตเชื่อว่า W&W ซึ่งเป็นบริษัทของทรู จะมีการขยายขอบเขตของงานจากที่บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของรถไฟ ก็น่าจะเข้าสู่การ Maintenance ระบบราง ทั้งในเรื่อง Alignment ของ Track เรื่องของ Elongation ให้อยู่ในสภาพดีเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารได้ง่าย
 
- ที่น่าสนใจที่สุด คุณธิติฏฐ์ยังเป็นมือประสานกับผู้บริหารทางจีนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การจะเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปยังเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อทะลุเข้าลาวและจีนจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบก่อนเข้าบริหาร  ARL 

- ในส่วนของ ARL อยู่ระหว่างการให้ที่ปรึกษาเข้าไปตรวจสอบทางเทคนิคของอุปกรณ์ต่างๆ ระบบ และขบวนรถ (Due Diligence) เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบปรับปรุงระบบ
- ตัวอย่างเช่น รถที่ใช้วิ่งในขณะนี้ซึ่งเป็นของบริษัทซีเมนส์ ปกติมีอายุใช้งาน 30 ปี แต่เมื่อใช้มาแล้ว 9 ปี ก็ต้องเข้าไปดูว่าสภาพเป็นอย่างไร รวมไปถึงระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling System) ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบเช่นกัน

- ด้านการวางแผนการเดินรถก็ให้ FS : บริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (Ferrovie Dellio Stato Intaliane) เข้าไปพูดคุยกับ ARL เพื่อเตรียมแผนการดำเนินงาน บุคลากร แผนปฏิบัติการ บำรุงรักษาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ช่วงต้นเดือนมีนาคม

- จะมีการฟื้นฟูระบบเช็กอินที่ทาง ARL ยกเลิกไป เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่จะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอู่ตะเภาได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงผู้โดยสารที่มาจากต่างประเทศ จะได้สามารถเช็กอินกระเป๋าที่มักกะสันได้เช่นกัน รวมไปถึงการปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี ARL ให้มีความสะดวกมากขึ้น

“เมื่อบริษัทเข้าไปแล้วจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประชาชนผู้ใช้บริการ ARL ต้องรู้สึกดีขึ้นชัดเจน เพราะ ARL ถือเป็นจุดเรียนรู้ปัญหาทั้งหมด และความต้องการของผู้โดยสาร คือเราต้องรู้ว่า Pain Point เขาเป็นอย่างไร ก็ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เห็นโดยเร็ว” 
ธิติฏฐ์ กล่าว


ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ

- ระบบอาณัติสัญญาณ จะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ซึ่งของเดิมที่ ARL ใช้ เป็นระบบ Lzb (Linienzugbeeinflussung) ของ Siemens คาดว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ Etcs 2 มาตรฐานยุโรป แต่ยังไม่มีการสรุปว่าจะเป็นของกลุ่มทางฝรั่งเศส จีน หรือญี่ปุ่น

- เหตุผลในการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ เนื่องจากระบบ Lzb ที่ใช้อยู่ปัจจุบันไม่สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ เพราะลักษณะการใช้งานของ ARL ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันถูกใช้เป็นลักษณะของ Commuter Rail มากกว่า และมีสถานีจอดมากเกินไป จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนให้เป็นระบบเดียวกันตลอดเส้นทาง
- และเพื่อรองรับการเชื่อมต่อไปยังรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนได้ด้วย)

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีคนรู้งานมาบริหารโครงการ นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดี แต่ที่สำคัญ ก่อนที่จะไปสู่ความสำเร็จ จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหามากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งมอบที่ดิน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่