หลังจากที่การลงนามสัญญาการร่วมทุนระหว่างภาครัฐ (การรถไฟแห่งประเทศไทย) และเอกชน (กลุ่มกิจการร่วมค้าเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งจำกัดและพันธมิตร) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา
ล่าสุดวันนี้ (29 ตุลาคม 2562) คาดว่าทางนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในพื้นที่ 5 จังหวัด เพื่อเริ่มตอกเสาเข็มโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ได้แก่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้• พื้นที่จ.กรุงเทพฯ ในท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
• พื้นที่จ.สมุทรปราการ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี
• พื้นที่จ.ฉะเชิงเทรา ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
• พื้นที่จ.ชลบุรี ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองข้างคอก ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง ตำบลนาจอมเทียน ตำบลบางเสร่ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ
• พื้นที่จ.ระยอง ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) โดยจะมีส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสนามบินสุวรรณภูมิ ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมทางเข้า-ออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ) ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
ผลตอบแทนโครงการฯ ที่ประเทศ และประชาชนจะได้รับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนได้รับ
• ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา
• การจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี
• การจ้างงานระหว่างก่อสร้าง 16,000 อัตรา
• ใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ (เหล็ก 1 ล้านตัน ปูน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร)
• การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย
• ผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ตลอดอายุโครงการ 652,152 ล้านบาท
• ผลตอบแทนทางการเงิน 127,985 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดของเอกชนร้อยละ 6.06 ใน 1-50 ปี และคิดลดด้วยอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 ระหว่างปีที่ 51-100)
• มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจ (รัศมี 2 กม.ตามเส้นทางรถไฟ) 214,621 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)
ภาษีเข้ารัฐเพิ่ม 30,905 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)
• มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกประมาณ 150,000 ล้านบาท
• ลดการใช้น้ำมัน เวลา อุบัติเหตุ และสิ่งแวดล้อม 128,641 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
** ที่สำคัญ ** : พอครบกำหนดสัญญา (50 + 49 ปี) ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของประเทศเมื่อสิ้นสุดสัญญา ไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์, การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (มักกะสัน, ศรีราชา) และอื่นๆ
แต่ต้องไม่ลืมว่า ... ประเทศไทย (การรถไฟฯ) สามารถนำทรัพย์สิน องค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอด และบุคคลากรทั้งหมด นำไปต่อยอดให้รายใหม่มาเช่า หรือ บริหารจัดการเองก็ได้
ทำให้การรถไฟฯ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรของตนเองได้ในอนาคต เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูง จะมีมูลค่าในตัวของตัวเอง อยู่ที่ว่าองค์กรที่ชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" จะสามารถนำมูลค่าเหล่านี้มาจัดการ และต่อยอดอย่างไรมากกว่า
EEC - การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เตรียมประกาศพ.ร.ฎ. เวนคืน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
** ที่สำคัญ ** : พอครบกำหนดสัญญา (50 + 49 ปี) ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของประเทศเมื่อสิ้นสุดสัญญา ไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์, การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (มักกะสัน, ศรีราชา) และอื่นๆ
แต่ต้องไม่ลืมว่า ... ประเทศไทย (การรถไฟฯ) สามารถนำทรัพย์สิน องค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอด และบุคคลากรทั้งหมด นำไปต่อยอดให้รายใหม่มาเช่า หรือ บริหารจัดการเองก็ได้
ทำให้การรถไฟฯ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรของตนเองได้ในอนาคต เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูง จะมีมูลค่าในตัวของตัวเอง อยู่ที่ว่าองค์กรที่ชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" จะสามารถนำมูลค่าเหล่านี้มาจัดการ และต่อยอดอย่างไรมากกว่า