อนุมัติรถไฟความเร็วสูง” เชื่อม 3 สนามบินวงเงิน 2 แสนล้าน
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “คณะกรรมการ EEC” ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. รถไฟสายนี้เป็นสายอนาคตสำหรับภาคตะวันออกและมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง
– รถไฟความเร็วสูงสายนี้เชื่อมโยง 3 สนามบิน ยกระดับสนามบินอู่ตะเภามาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3
– รถไฟความเร็วสูงเป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนา จากกรุงเทพฯ เชื่อมฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยจะมีสถานีรถไฟ 5 สถานี (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา
– รถไฟความเร็วสูงที่ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ-ระยอง 60 นาที กรุงเทพฯ-จันทบุรี 100 นาที และกรุงเทพฯ-ตราด 120 นาที
– ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดทั้งโครงการประมาณ 700,000 ล้านบาท (นำสนามบินอู่ตะเภามาใช้ประโยชน์ ลดการใช้น้ำมัน ลดเวลาการเดินทาง ลดมลพิษจากการใช้รถยนต์ พัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทาง การจ้างงานและปัจจัยการผลิต และรัฐสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น)
2. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากสนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร
– รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กิโลเมตร
– รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
– รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร
และพัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการผู้โดยสาร สถานีมักกะสันประมาณ 150 ไร่ (ที่จอดรถและเชื่อมโยงกับรถไฟใต้ดิน) และสถานีศรีราชาประมาณ 100 ไร่ (สถานี ที่จอด และอู่ซ่อม)
3. ร่วมทุนกับเอกชน เพื่อลดค่าใช้งบประมาณภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพโดยเอกชน
– หลีกเลี่ยงการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน แต่หันไปใช้เงินของเอกชนมาพัฒนาประเทศ
– เงินกู้ต่างประเทศไม่สมควรนำมาใช้กับโครงการนี้เพราะ เกิดภาระหนี้สาธารณะ ดอกเบี้ยต่ำแต่จะมีข้อกำหนดให้ใช้บริษัทเจ้าของเงิน รัฐบาลต้องรับความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน และหน่วยงานรัฐบาลดำเนินการเอง มีความเสี่ยงที่โครงการ จะสำเร็จล่าช้ากว่ากำหนด
– รูปแบบการลงทุนร่วมกับเอกชน ภาคเอกชนจะเป็นผู้รับความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและความล่าช้าของโครงการ
4. ที่ดินมักกะสัน: แก้ปัญหาเดิม เสริมให้เป็นสถานีหลัก จ่ายค่าเช่าตามราคาตลาด จะเป็นการแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิมคือสถานีไม่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า และต้องจัดที่จอดรถ รวมทั้งปรับการจราจรใหม่ทั้งหมด
5. ที่ดินศรีราชา: พัฒนาสถานีและโรงซ่อม เอกชนจ่ายค่าเช่าที่ดินให้ รฟท.
6. รวมแอร์พอร์ตลิงก์: เพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนเรื้อรังของแอร์พอร์ตลิงก์ โดยให้เอกชนซื้อกิจการ รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ ขาดทุนสะสมประมาณ 1,785 ล้านบาท และเป็นหนี้จากการก่อสร้างประมาณกว่า 33,000 ล้านบาท ผู้ลงทุนจะต้องซื้อกิจการในมูลค่าที่เหมาะสม และการรถไฟจะสามารถนำไปลดหนี้ได้ และผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์จะได้รับประโยชน์ ความสะดวกสบายมากขึ้น จะมีขบวนรถไฟมากขึ้น ลดความแออัดในปัจจุบัน และสถานีมักกะสันจะถูกพัฒนาให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
7. การประมูล: เป็นรูปแบบ net cost: ใครเสนอผลประโยนช์สูงสุดเป็นผู้ชนะการประมูล
– รัฐบาลจะได้ประโยชน์สูงสุด และจ่ายงบประมาณสนับสนุนต่ำสุด
– ประเทศไทยได้ผู้ที่เหมาะสมที่สุด ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเต็มที่
8. อายุโครงการ 50 ปี: เพื่อให้รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยที่สุด เมื่อครบ 50 ปี รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด รวมรถไฟความเร็วสูง สถานี และอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท
9. จะมีการดูแล การใช้วิศวกรไทย การใช้ชิ้นส่วนของประเทศไทยให้มากที่สุด กลุ่มบุคลากรที่ทำงานแอร์พอร์ตลิงก์เดิมจะได้เข้าร่วมในโครงการทันที การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรไทยและเยาวชนให้เข้ามาทำงานในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในอนาคต โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC
10. การกำกับโครงการในอนาคต: มีคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการดำเนินโครงการ และค่าโดยสาร ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐิจพิเศษภาคตะวันออก ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนเอกชนคู่สัญญา และผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย
11. อัตราค่าโดยสาร
– ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากมักกะสันถึงพัทยา ประมาณ 270 บาท
– ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากมักกะสันถึงสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 330 บาท
จะมีการแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
– รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กิโลเมตร
– รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
– รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร
ล่าสุด “BTS-ซีพี-CK” พร้อทร่วมลงประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน บอร์ด EEC อนุมัติกรอบลงทุนแล้วโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 226 กม. 2.06 แสนล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 1.6 แสนล้านบาทและระบบสาธารณูปโภคและพัฒนาที่ดินมักกะสันกับศรีราชา 45,155 ล้านบาท และจะประกาศให้เอกชนไทยและต่างชาติร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี ก่อสร้าง พร้อมพัฒนาพื้นที่ 9 สถานี ที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ และได้สิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ คาดกลางปีนี้จะได้ผู้ชนะมาดำเนินการ
สัมปทาน 50 ปี เป็นงานก่อสร้าง 5 ปี เดินรถ 45 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2566
ส่วนผลตอบแทนที่การถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะได้คือ
• ส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสาร และค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานี
• รายได้พัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาอีก 5 หมื่นล้านบาท
• ค่าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 1.1 หมื่นล้านบาท
แผนการปฎิบัติงาน (Timeline)
1. ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก พฤษภาคม 2561
2. ลงนามในสัญญา สิงหาคม 2561
3. เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ พ.ศ. 2566
ที่มา :
สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.)
EEC - ศึกษาส่วนต่อขยายระยะที่ 2 ระยอง - ตราด (ภาค 2)
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “คณะกรรมการ EEC” ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะมีการแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
– รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กิโลเมตร
– รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
– รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร
ล่าสุด “BTS-ซีพี-CK” พร้อทร่วมลงประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน บอร์ด EEC อนุมัติกรอบลงทุนแล้วโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 226 กม. 2.06 แสนล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 1.6 แสนล้านบาทและระบบสาธารณูปโภคและพัฒนาที่ดินมักกะสันกับศรีราชา 45,155 ล้านบาท และจะประกาศให้เอกชนไทยและต่างชาติร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี ก่อสร้าง พร้อมพัฒนาพื้นที่ 9 สถานี ที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ และได้สิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ คาดกลางปีนี้จะได้ผู้ชนะมาดำเนินการ
สัมปทาน 50 ปี เป็นงานก่อสร้าง 5 ปี เดินรถ 45 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2566
ส่วนผลตอบแทนที่การถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะได้คือ
• ส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสาร และค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานี
• รายได้พัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาอีก 5 หมื่นล้านบาท
• ค่าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 1.1 หมื่นล้านบาท
แผนการปฎิบัติงาน (Timeline)
1. ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก พฤษภาคม 2561
2. ลงนามในสัญญา สิงหาคม 2561
3. เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ พ.ศ. 2566
ที่มา : สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.)