สภาวะธรรม เป็นเช่นใด
ซึ่งอธิบายเปรียบเทียบกับต้นไม้
๑. สภาวะปรากฏ คือ ให้เรามองดูที่ต้นไม้ นี่แหละเป็นสภาวะปรากฏ
๒. สภาวะมายา คือ เดี๋ยวต้นไม้ก็จะเหี่ยวเฉา เดี๋ยวก็จะเต่งตึง เดี๋ยวใบก็จะสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น มายาก็จะผสมให้เราเห็นใบไม้ว่าเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นรูปแบบอย่างนี้ อย่างโน้น เป็นมายา คือ ปรากฏเป็นรูปใบไม้ขึ้นมาแล้ว
๓. สภาวะจริง คือ เป็นสิ่งมีจริงแต่สมมติ เพราะไม่สามารถอยู่คงทนได้ ต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เช่น เราเห็นว่าเป็นใบไม้จริงใช่มั้ย แต่จริงแท้มั้ย ก็ไม่จริงแท้ เพราะเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเข้าสู่ความเป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้นไม้ต้นนี้ไม่สามารถอยู่ยั่งยืนได้ จึงเป็นสภาวะที่สมมติว่าเป็นต้นไม้เท่านั้น เพราะอยู่อีกไม่นานต้นไม้นี้ก็จะตาย เสื่อมสลาย ย่อยสลายหายไป นี่แหละเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเหตุปัจจัยเปลี่ยน ต้นไม้นี้ก็หายไปแล้ว นี่แหละจริงแต่ไม่แท้
๔. สภาวะจริงแท้ คือ เป็นอนัตตา ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งของแท้จะอยู่ยั่งยืนไม่ได้ นี่แหละเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะที่จริงแท้ต้องเป็นสภาวะแห่งพระไตรลักษณ์ ซึ่งสรรพสิ่งไม่สามารถหนีพ้นพระไตรลักษณ์ได้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
สภาวะธรรม เป็นเช่นใด
ซึ่งอธิบายเปรียบเทียบกับต้นไม้
๑. สภาวะปรากฏ คือ ให้เรามองดูที่ต้นไม้ นี่แหละเป็นสภาวะปรากฏ
๒. สภาวะมายา คือ เดี๋ยวต้นไม้ก็จะเหี่ยวเฉา เดี๋ยวก็จะเต่งตึง เดี๋ยวใบก็จะสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น มายาก็จะผสมให้เราเห็นใบไม้ว่าเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นรูปแบบอย่างนี้ อย่างโน้น เป็นมายา คือ ปรากฏเป็นรูปใบไม้ขึ้นมาแล้ว
๓. สภาวะจริง คือ เป็นสิ่งมีจริงแต่สมมติ เพราะไม่สามารถอยู่คงทนได้ ต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เช่น เราเห็นว่าเป็นใบไม้จริงใช่มั้ย แต่จริงแท้มั้ย ก็ไม่จริงแท้ เพราะเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเข้าสู่ความเป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้นไม้ต้นนี้ไม่สามารถอยู่ยั่งยืนได้ จึงเป็นสภาวะที่สมมติว่าเป็นต้นไม้เท่านั้น เพราะอยู่อีกไม่นานต้นไม้นี้ก็จะตาย เสื่อมสลาย ย่อยสลายหายไป นี่แหละเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเหตุปัจจัยเปลี่ยน ต้นไม้นี้ก็หายไปแล้ว นี่แหละจริงแต่ไม่แท้
๔. สภาวะจริงแท้ คือ เป็นอนัตตา ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งของแท้จะอยู่ยั่งยืนไม่ได้ นี่แหละเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะที่จริงแท้ต้องเป็นสภาวะแห่งพระไตรลักษณ์ ซึ่งสรรพสิ่งไม่สามารถหนีพ้นพระไตรลักษณ์ได้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต