
(Apr 14) พาเหรดหั่นจีดีพีปีนี้ต่ำ 4% ส่งออก'วูบ'เกินคาด : ปี2562 ผ่านมา 1 ไตรมาสดูเหมือนเศรษฐกิจไทยปีนี้จะยากลำบากกว่าที่คาด ๆ กันไว้ เห็นได้จากการปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (GDP) ของหลายสำนักในช่วงนี้
เริ่มจากคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ที่ประชุมรอบล่าสุดไปเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เหลือโต 3.8% จากเดิมคาดไว้ 4% สาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้ โดย ธปท. ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกเหลือโต 3% จากเดิมที่คาด 3.8%
ต่อมาศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็ได้ปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลง โดยคาดโตที่ 3.7% จากเดิม 4% มีกรอบคาดการณ์ ใหม่ที่ 3.2-3.9% ทั้งนี้ ได้มีการปรับลดคาดการณ์การส่งออกจากเดิมคาดโต 4.5% เหลือ 3.2%
เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทยที่ปรับลดเป้า GDP ปีนี้เหลือโต 3.8% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 4.1% เป็นผลมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ชะลอลง คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 4%
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ก็ประกาศกับลด GDP ปีนี้เหลือ 3.6% จากเดิมคาด 3.8% โดย นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด SCB EIC กล่าวว่า การปรับลดประมาณการมาจากมูลค่าการส่งออกที่ชะลอลง โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวอยู่ที่ 2.7% ลดลงจากเดิมที่คาด 3.4% ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และภาวะการเงินโลกที่ตึงตัว
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวจากช่วงปลาย ปี 2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากภาคธุรกิจรอความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ด้านการบริโภคภายในประเทศยังขยายตัวได้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนเลือกตั้ง
"หลังจากนี้หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้โดยเร็ว จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่ง ปีหลัง ทั้งความเชื่อมั่นภาคเอกชนและการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเราเชื่อว่าจะเป็นรัฐบาลผสม และ น่าจะยังคงเดินหน้าระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนรวมถึงองค์กรในต่างประเทศจับตากระบวนการ ส่งผ่านอำนาจการบริหารจากรัฐบาลเก่าไปสู่รัฐบาลชุดใหม่อย่างราบรื่น"นายยรรยงกล่าว
ขณะที่นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย (TMB Analytics) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คาดว่า GDP ปีนี้จะขยายตัวได้ 3.5% ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 3.8% โดยครึ่งปีแรกเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวเพียง 3.3-3.5% ซึ่งการชะลอตัวมีสาเหตุหลักมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยจะส่งผลให้การส่งออกของไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้แค่ราว 1% และตลอดทั้งปีน่าจะขยายตัวได้แค่ 1.5% เท่านั้น ลดลงจากเดิมที่เคยคาดว่าจะโต 4%
ขณะที่การบริโภคจะขยายตัวที่ 3.5% ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง จากการปล่อยสินเชื่อบ้าน และรถยนต์ ส่วนการลงทุนในช่วงต้นปีก็น่าจะชะลอตัวลง เพื่อรอดูสถานการณ์ภายในประเทศ โดยเฉพาะความชัดเจนนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะมีความชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง
"มุมมองการส่งออกปีนี้ไม่ดีนัก ส่วนภาคการท่องเที่ยวแม้จะช่วยกระตุ้นให้เศษฐกิจเติบโตได้ แต่ก็ ไม่โดดเด่นเหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว เพื่อรอดูความชัดเจนสถานการณ์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาล"นายนริศกล่าว
เช่นเดียวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ปีก่อนมีเม็ดเงิน ลงทุนส่วนนี้ประมาณ 5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% แต่ช่วงต้นปี 2562 ชะลอลง เพราะนักลงทุนต่างประเทศยังคงรอดูสถานการณ์และความชัดเจนจากนโยบายการลงทุนของรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อชัดแล้วก็น่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น
"นักลงทุนกำลังรอดูสถานการณ์ และความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง เดือน มิ.ย. โดยเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล มีการเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การลงทุนจึงจะเกิดขึ้นอีกครั้ง"นายนริศกล่าว
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจช่วงครึ่ง ปีหลัง นายนริศ เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นจาก ความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังการจัดตั้ง รัฐบาลใหม่ โดยรัฐบาลใหม่จะต้องเร่งฟื้นฟูและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ ทั้งการลงทุน ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) รวมถึง ต้องมีมาตรการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วย
"การกระตุ้นการลงทุนรัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่ โดยเฉพาะในส่วนของ SMEs เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน" นายนริศกล่าว
เศรษฐกิจที่ดูไม่สดใสนี้ ต้องวัดใจรัฐบาลชุดเก่าจะกล้าออกมาตรการกระตุ้นหรือไม่ รวมถึงหลังจากนั้นรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะเข้ามารับไม้ต่อ หลังผ่านครึ่งปีไปแล้ว จะงัดมาตรการอะไรมาเป็นไม้เด็ดบ้าง คงต้องรอดูกันต่อไป
Source: ประชาชาติธุรกิจ
เศรษฐกิจวูบ หั่นจีดีพีลง
(Apr 14) พาเหรดหั่นจีดีพีปีนี้ต่ำ 4% ส่งออก'วูบ'เกินคาด : ปี2562 ผ่านมา 1 ไตรมาสดูเหมือนเศรษฐกิจไทยปีนี้จะยากลำบากกว่าที่คาด ๆ กันไว้ เห็นได้จากการปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (GDP) ของหลายสำนักในช่วงนี้
เริ่มจากคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ที่ประชุมรอบล่าสุดไปเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เหลือโต 3.8% จากเดิมคาดไว้ 4% สาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้ โดย ธปท. ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกเหลือโต 3% จากเดิมที่คาด 3.8%
ต่อมาศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็ได้ปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลง โดยคาดโตที่ 3.7% จากเดิม 4% มีกรอบคาดการณ์ ใหม่ที่ 3.2-3.9% ทั้งนี้ ได้มีการปรับลดคาดการณ์การส่งออกจากเดิมคาดโต 4.5% เหลือ 3.2%
เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทยที่ปรับลดเป้า GDP ปีนี้เหลือโต 3.8% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 4.1% เป็นผลมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ชะลอลง คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 4%
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ก็ประกาศกับลด GDP ปีนี้เหลือ 3.6% จากเดิมคาด 3.8% โดย นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด SCB EIC กล่าวว่า การปรับลดประมาณการมาจากมูลค่าการส่งออกที่ชะลอลง โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวอยู่ที่ 2.7% ลดลงจากเดิมที่คาด 3.4% ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และภาวะการเงินโลกที่ตึงตัว
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวจากช่วงปลาย ปี 2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากภาคธุรกิจรอความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ด้านการบริโภคภายในประเทศยังขยายตัวได้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนเลือกตั้ง
"หลังจากนี้หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้โดยเร็ว จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่ง ปีหลัง ทั้งความเชื่อมั่นภาคเอกชนและการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเราเชื่อว่าจะเป็นรัฐบาลผสม และ น่าจะยังคงเดินหน้าระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนรวมถึงองค์กรในต่างประเทศจับตากระบวนการ ส่งผ่านอำนาจการบริหารจากรัฐบาลเก่าไปสู่รัฐบาลชุดใหม่อย่างราบรื่น"นายยรรยงกล่าว
ขณะที่นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย (TMB Analytics) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คาดว่า GDP ปีนี้จะขยายตัวได้ 3.5% ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 3.8% โดยครึ่งปีแรกเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวเพียง 3.3-3.5% ซึ่งการชะลอตัวมีสาเหตุหลักมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยจะส่งผลให้การส่งออกของไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้แค่ราว 1% และตลอดทั้งปีน่าจะขยายตัวได้แค่ 1.5% เท่านั้น ลดลงจากเดิมที่เคยคาดว่าจะโต 4%
ขณะที่การบริโภคจะขยายตัวที่ 3.5% ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง จากการปล่อยสินเชื่อบ้าน และรถยนต์ ส่วนการลงทุนในช่วงต้นปีก็น่าจะชะลอตัวลง เพื่อรอดูสถานการณ์ภายในประเทศ โดยเฉพาะความชัดเจนนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะมีความชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง
"มุมมองการส่งออกปีนี้ไม่ดีนัก ส่วนภาคการท่องเที่ยวแม้จะช่วยกระตุ้นให้เศษฐกิจเติบโตได้ แต่ก็ ไม่โดดเด่นเหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว เพื่อรอดูความชัดเจนสถานการณ์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาล"นายนริศกล่าว
เช่นเดียวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ปีก่อนมีเม็ดเงิน ลงทุนส่วนนี้ประมาณ 5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% แต่ช่วงต้นปี 2562 ชะลอลง เพราะนักลงทุนต่างประเทศยังคงรอดูสถานการณ์และความชัดเจนจากนโยบายการลงทุนของรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อชัดแล้วก็น่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น
"นักลงทุนกำลังรอดูสถานการณ์ และความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง เดือน มิ.ย. โดยเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล มีการเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การลงทุนจึงจะเกิดขึ้นอีกครั้ง"นายนริศกล่าว
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจช่วงครึ่ง ปีหลัง นายนริศ เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นจาก ความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังการจัดตั้ง รัฐบาลใหม่ โดยรัฐบาลใหม่จะต้องเร่งฟื้นฟูและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ ทั้งการลงทุน ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) รวมถึง ต้องมีมาตรการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วย
"การกระตุ้นการลงทุนรัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่ โดยเฉพาะในส่วนของ SMEs เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน" นายนริศกล่าว
เศรษฐกิจที่ดูไม่สดใสนี้ ต้องวัดใจรัฐบาลชุดเก่าจะกล้าออกมาตรการกระตุ้นหรือไม่ รวมถึงหลังจากนั้นรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะเข้ามารับไม้ต่อ หลังผ่านครึ่งปีไปแล้ว จะงัดมาตรการอะไรมาเป็นไม้เด็ดบ้าง คงต้องรอดูกันต่อไป
Source: ประชาชาติธุรกิจ