การปรับค่าแรงจากรายเดือนเป็นรายวัน ฟ้องได้ไหมครับ

สวัสดีครับ อยากสอบถามเกี่ยวกับการปรับค่าแรงของบริษัทครับ

        เนื่องด้วย เมื่อตอนมาสมัครงาน ได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือน (ประเภทบริษัท เป็นด้านบริการ เกี่ยวกับรักษาความปลอดภัย รปภ.)
เมื่อ ปี 2560 ได้รับเงินเดือนค่าจ้าง มีรายการดังนี้  

ทำงาน บริการ รปภ. กะละ 12 ชม/วัน  
มีช่วงเวลา 08:00-20:00   20:00-08:00 เป็นกะเช้าและดึก
1. เงินเดือน.   12,800 บาท
2. ค่าครองชีพ 1,300  บาท ( 700 , 9000 , 1,300 , 1,700) โดยประมาณ ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่
3. เบี้ยขยัน.    700     บาท

ค่าความสามารถ
1. ค่าตำแหน่งงาน
    (ขึ้นอยู่งานที่ประจำตำแหน่งอยู่ พนักงาน รปภ. ไม่มีค่าตำแหน่ง)
2. ค่าอายุงาน  
    (ค่าอายุงานตามเวลาการทำงานจะพิจารณามีผ่านโปรในช่วงทดลองงาน)

ค่าอื่นๆ เมื่อทำนอกเวลา (ในกรณีที่มาทำงาน)
1. ทำงาน 1 วัน 12 ชม. ได้ 465 บาท/วัน
2. ค่าทำงานวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่จะได้เงินพิเศษ ได้แก่
     ปีใหม่      1,2,3      (3 วัน 1,050 บาท)
     สงกรานต์ 13,14,15 (3 วัน 1,050 บาท)

.....................................................................................................................

แต่เนื่องด้วยล่าสุดมีหนังสือในที่ประชุมระดับ ผจก. แจ้งว่าจะปรับเงินเดือนพนักงาน จาก รายเดือน ไปเป็นรายวัน มีผลใช้ 16 เมษายน 2561
มีรายการดังนี้
1. ค่าจ้างวันละ     495 บาท/กะ
2. ค่าครองชีพ ขึ้นอยู่กับสถานที่
        กทม            2,825 บาท   กะละ 113 บาท X 25 วันทำงาน
        ระยอง         2,425 บาท   กะละ   97 บาท X 25 วันทำงาน
        ระยองมีรับส่ง 2,025 บาท  กะละ   81 บาท X 25 วันทำงาน
        อื่นๆ            1,825 บาท  กะละ   73 บาท X 25 วันทำงาน

ค่าความสามารถ
1. ค่าตำแหน่งงาน
   (ขึ้นอยู่งานที่ประจำตำแหน่งอยู่ พนักงาน รปภ. ไม่มีค่าตำแหน่ง)
2. ค่าอายุงาน  ค่าอายุงานตามเวลาการทำงานจะพิจารณามีผ่านโปรในช่วงทดลองงาน

ค่าอื่นๆ เมื่อทำนอกเวลา (ในกรณีที่มาทำงาน)
1. ทำ OT  ได้ 495 บาท/วัน/กะ

..........................................................................................................
ข้อสงสัย
1. ในกรณีนี้บริษัทมีความผิดไหมครับเนื่องจากผมและเพื่อนๆในที่ทำงานและพนักงานแผนกอื่นๆไม่เห็นด้วยแล้วไม่ยินยอมที่จะปรับเปลี่ยน
2. ในการคิดค่าแรง รายเดือนในการทำงาน นั้น ทำงาน 25 วัน / เดือน  แต่มาปรับเป็นรายวัน ต้องทำ 30 วันถึงจะได้เงินเท่าเดิม
3. ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น แต่ทำไหม เบี้ยขยันถึงหายไป
4. การคิดค่าล่วงเวลา บริษัท รปภ. คิดเท่าไรครับจากที่คำนวน น่าจะไปเกิน 1 เท่า ครับ
5. ถ้าหยุดหรือลาไป ในวันนั้นๆเราก็ขาดรายได้ไปเลยใช่ไหมครับ เพราะถ้ารายเดือนนั้นถึงจะลาขาดสายก็ได้เงินเดือนแต่เฉลี่ยหักค่าแรงแต่ละส่วน
6. ประกันสังคมที่หักจ่าย นั้นต้องลดลงแล้วความคุ้มครองในอนาคต และเงินสมทบก็ลดลงตามด้วยใช่ไหมครับ
7. ในการทำงานเป็นรายวันนั้น ได้สอบถามไปยัง พนักงานออฟฟิศเบื้องบนหลายท่านและ ผจก.หลาย คน ว่าเงิน 495 บาทนั้น ทำ 8 ชม. หรือ 12 ชม กัน เพราะไม่มีระบุบ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ
8. ผจก. ทุกท่าน (เกือบทุกท่าน เห็นด้วยที่จะปรับค่าแรง โดยไม่ถามความเห็นพนักงาน จาก รายเดือนเป็นรายวัน มีความผิดไหมครับ)
9. พนักงานคัดค้าน แต่ก็ไม่เป็นเปลี่ยนแปลงยังเดินหน้าที่จะปรับค่าแรงเหมือนเดิม
10. สอบถามทางเบื้องบน ก็ไม่ได้คำตอบบ่ายเบี้ยงตลอดครับ
11. มี ผจก.บางท่านบางบุคคลเป็นคนเสนอให้ปรับเปลี่ยนจากรายเดือนเป็นรายวัน โดยให้เห็นผลว่าจะได้เงินเพิ่มขึ้น  จากการคิดคำนวณแล้ว เงินทำมากกว่าเดิมได้เท่าเดิม ถ้าทำเท่าเดิมได้น้อยกว่าเดิม บุคคลที่เป็นผู้เสนอ มีความผิดไหมครับ


อยากได้รายละเอียดการปรับค่าจ้าง ค่าแรงต่างๆ
ค่าทำงานล่วงเวลา OT(รปภ.) กี่เท่า ตามกฏหมายกำหนด
ทำงานวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามกฏหมายกำหนด
อยากทราบความผิดของบริษัท ที่ไม่ฟังเหตุผลของพนักงานและปรับเปลี่ยนลดลง ไม่เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่