"ตะโกน้อย ชวยฝอย อร่อยกับ แกงสับนก"


"แกงสับนก" เป็นแกงที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่าแกงชนิดอื่น พอๆกับแกงมัสหมั่นที่ต้องเตรียมเครื่องเคราหลายอย่าง อีกทั้งเวลาในการปรุง
จึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เสียเวลา ผู้คนเลยไม่ค่อยนิยม แกงชนิดนี้
ในสมัยก่อน บ้านเรายังไม่เจริญนัก ชาวบ้านเกือบทุกภาค นิยมบริโภคนก
มากที่สุดเห็นจะเป็นภาคกลาง เพราะมีพื้นที่ ปลูกข้าว มากกว่าภาคอื่นๆ
แกงสับนกในสมัยก่อน แกงกันแบบง่ายๆ คล้ายๆแกงป่า
มีพริก มีมะเขือ ก็แกงได้แล้ว
นกจะมีเนื้อไม่มาก จึงต้องสับกระดูกที่ติดเนื้อ เช่นกระดูกชายโครงกระดูกอ่อนทรวงอก และปลายปีก
ส่วนกระดูกที่แข็ง เช่นปีกบนและขา จะแข็งกว่าส่วนอื่นๆ  ไม่นิยมนำมาสับปนกับเนื้อ
วันเวลาล่วงเลยมา นกบางชนิดถือเป็นสัตว์คุ้มครอง  ใครยิงใครฆ่าหรือมีไว้ในครอบครอง ถือว่าผิดกม
แกงสับนก จึงค่อยๆเลือนหายไป และมีการใช้เนื้อปลามาแกงทดแทน แต่ก็ยังเรียก แกงสับนก
เนื้อปลาที่นิยมนำมาแกง ก็จะเป็นพวกปลาที่มีเนื้อให้ความเหนียว
แล่เนื้อปลาเอาก้างกลางออก พร้อมหนังปลา เหลือเพียงก้างราวท้อง จึงนำมาสับละเอียด
มีทั้งแกงเผ็ดที่ใส่กะทิ ส่วนใหญ่จะนิยมแกงกันตั้งแต่ เพชรบุรี ประจวบ ไล่ลงภาคใต้ ใช้ปลาทะเล
ส่วนที่แกงป่า ก็แถบภาคกลาง อยุธยา นครนายก กาญจนบุรี โดยใช้ปลาน้ำจืดจากคลอง หนอง บึง
เราก็ยังคงใช้คำเรียกของแกง ว่าแกงสับนก เช่นนั้นมาตลอด ทั้งๆที่ไม่มีนกสักตัว

ตะโกน้อย แลบลิ้น เลียริมฝีปาก แผล่บๆ สงสัยคงอยากกินปลา




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่