ใครๆก็รู้ว่าคนเรา อ้วนไป ผอมไป ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ และมีความเสี่ยงต่อโรคกันทั้งนั้น แต่อยากทราบค่ะว่า ควรใช้อะไรวัดว่าอ้วนเกินหรือผอมเกินหรือพอดีแล้ว เพราะแต่ละวิธีที่ส่วนใหญ่ใช้กันก็มีช้อบกพร่องในการชี้วัด หรือไม่ก็คลุมเครือไม่ชัดเจน
1. ชั่งน้ำหนัก วิธียอดฮิต ที่คนส่วนมากเข้าใจผิดและเอามาวัดว่าอ้วนหรือผอม น้ำหนักมาก = อ้วน น้ำหนักน้อย = ผอม ซึ่งจริงๆไม่ใช่ เพราะสัดส่วนปริมาณน้ำในร่างกาย กล้ามเนื้อ ไขมัน มวลกระดูก ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าสัดส่วนกล้ามเนื้อเยอะกว่า น้ำหนักมากก็ไม่ถือว่าอ้วน ถ้าสัดส่วนไขมันมากกว่า น้ำหนักน้อยก็ไม่ถือว่าผอม การชั่งน้ำหนักจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบ่งบอกว่าอ้วนหรือผอม
2. วัดด้วย BMI ดัชณีมวลกาย ตามตาราง BMI ค่าปกติอยู่ที่ 18.5 - 22.9 สำหรับคนเอเซีย แต่ข้อบกพร่องก็คือ ยังใช้น้ำหนักเป็นส่วนนึงของการวัด จึงเป็นปัญหาแบบเดียวกับข้อหนึ่ง ที่สำคัญ หลายๆคนที่อยู่นอกเกณฑ์ 18.5 - 22.9 มักยืนยันว่าตัวเองสุขภาพปกติดี หลายคนที่ BMI เกิน 22.9 บอกว่าตัวเองแข็งแรงดี ไม่อ้วนเกินไป หลายคนที่ BMI ต่ำกว่า 18.5 ก็บอกว่าตัวเองแข็งแรงดี ไม่ผอมเกินไป แล้วลิมิตอยู่ตรงไหน ในเมื่อใครๆที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ก็พูดได้ว่าตัวเองสุขภาพดี
3. สูตร ส่วนสูง -100/-110/-120 ก็มีปัญหาเดียวกับข้อหนึ่ง เพราะใช้น้ำหนักเป็นการชี้วัด และที่สำคัญ สูตรนี้ยังขัดกับระบบ BMI อีก
เช่น ผู้หญิงสูง 150 ถ้าคำนวนด้วยสูตร -110 น้ำหนักที่พอดีก็จะเป็น 40
แต่ถ้าเอาความสูง 150 กับน้ำหนัก 40 มาคำนวน BMI จะได้แค่ 17.8 ซึ่งตกเกณฑ์ปกติและเข้าข่ายเสี่ยงโรคขาดสารอาหารแล้ว
แล้วอันไหนเชื่อได้ล่ะ ในเมื่อมันขัดกันเอง
4. วัดปริมาณไขมันในร่างกาย อันนี้น่าจะดูเหมาะสมและตรงประเด็นที่สุดแล้ว แต่ก็ยังคลุมเครือว่ากี่ % คือมากเกิน กี่ % คือน้อยเกิน เช่นเคยเห็นว่า % ไขมันปกติสำหรับผู้หญิงทั่วไปคือ 25-31% แต่บางคนไขมันเกิน 31% ไปไกล แต่ผลตรวจเลือดออกมาสุขภาพทุกอย่างอยู่ในขั้นดีมาก หรือบางคนลดไปจนต่ำกว่า 25% จนประจำเดือนขาดก็บอกว่าตัวเองสุขภาพดี
5. วัดสัดส่วน อันนี้ก็ไม่น่าใช้ได้ว่ามาตรฐานคืออะไร เพราะกรรมพันธุ์และทรงหุ่นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น คนแรกหุ่นทรงแอ๊ปเปิ้ล อีกคนหุ่นทรงลูกแพร์ ถ้ามาวัดเอวกัน คนหุ่นทรงแอ๊ปเปิ้ลก็เอวใหญ่กว่าอยู่แล้ว แต่ไม่ได้แปลว่าคนนั้นอ้วนกว่า
6. ใช้สายตาวัด อันนี้ยิ่งไม่ได้มาตรฐาน เพราะแต่ละคนก็จะตัดสินไปตามความชอบของตัวเอง ไม่ได้อิงสุขภาพอะไรทั้งสิ้น เช่นบางคนที่ชอบมีเนื้อมีหนัง เห็นคนอ้วนก็บอกว่าแค่อวบ ทั้งๆที่ถ้าไปวัด BMI ก็อ้วนทะลุไปไหนๆแล้ว หรือบางคนชอบผอมๆตัวบางๆ เห็นคนผอมก็บอกหุ่นดี ทั้งๆที่ถ้าไปวัด BMI ก็อยู่ในข่ายโรคผอมแล้ว
อ้วนไป ผอมไป ใช้อะไรวัด
1. ชั่งน้ำหนัก วิธียอดฮิต ที่คนส่วนมากเข้าใจผิดและเอามาวัดว่าอ้วนหรือผอม น้ำหนักมาก = อ้วน น้ำหนักน้อย = ผอม ซึ่งจริงๆไม่ใช่ เพราะสัดส่วนปริมาณน้ำในร่างกาย กล้ามเนื้อ ไขมัน มวลกระดูก ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าสัดส่วนกล้ามเนื้อเยอะกว่า น้ำหนักมากก็ไม่ถือว่าอ้วน ถ้าสัดส่วนไขมันมากกว่า น้ำหนักน้อยก็ไม่ถือว่าผอม การชั่งน้ำหนักจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบ่งบอกว่าอ้วนหรือผอม
2. วัดด้วย BMI ดัชณีมวลกาย ตามตาราง BMI ค่าปกติอยู่ที่ 18.5 - 22.9 สำหรับคนเอเซีย แต่ข้อบกพร่องก็คือ ยังใช้น้ำหนักเป็นส่วนนึงของการวัด จึงเป็นปัญหาแบบเดียวกับข้อหนึ่ง ที่สำคัญ หลายๆคนที่อยู่นอกเกณฑ์ 18.5 - 22.9 มักยืนยันว่าตัวเองสุขภาพปกติดี หลายคนที่ BMI เกิน 22.9 บอกว่าตัวเองแข็งแรงดี ไม่อ้วนเกินไป หลายคนที่ BMI ต่ำกว่า 18.5 ก็บอกว่าตัวเองแข็งแรงดี ไม่ผอมเกินไป แล้วลิมิตอยู่ตรงไหน ในเมื่อใครๆที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ก็พูดได้ว่าตัวเองสุขภาพดี
3. สูตร ส่วนสูง -100/-110/-120 ก็มีปัญหาเดียวกับข้อหนึ่ง เพราะใช้น้ำหนักเป็นการชี้วัด และที่สำคัญ สูตรนี้ยังขัดกับระบบ BMI อีก
เช่น ผู้หญิงสูง 150 ถ้าคำนวนด้วยสูตร -110 น้ำหนักที่พอดีก็จะเป็น 40
แต่ถ้าเอาความสูง 150 กับน้ำหนัก 40 มาคำนวน BMI จะได้แค่ 17.8 ซึ่งตกเกณฑ์ปกติและเข้าข่ายเสี่ยงโรคขาดสารอาหารแล้ว
แล้วอันไหนเชื่อได้ล่ะ ในเมื่อมันขัดกันเอง
4. วัดปริมาณไขมันในร่างกาย อันนี้น่าจะดูเหมาะสมและตรงประเด็นที่สุดแล้ว แต่ก็ยังคลุมเครือว่ากี่ % คือมากเกิน กี่ % คือน้อยเกิน เช่นเคยเห็นว่า % ไขมันปกติสำหรับผู้หญิงทั่วไปคือ 25-31% แต่บางคนไขมันเกิน 31% ไปไกล แต่ผลตรวจเลือดออกมาสุขภาพทุกอย่างอยู่ในขั้นดีมาก หรือบางคนลดไปจนต่ำกว่า 25% จนประจำเดือนขาดก็บอกว่าตัวเองสุขภาพดี
5. วัดสัดส่วน อันนี้ก็ไม่น่าใช้ได้ว่ามาตรฐานคืออะไร เพราะกรรมพันธุ์และทรงหุ่นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น คนแรกหุ่นทรงแอ๊ปเปิ้ล อีกคนหุ่นทรงลูกแพร์ ถ้ามาวัดเอวกัน คนหุ่นทรงแอ๊ปเปิ้ลก็เอวใหญ่กว่าอยู่แล้ว แต่ไม่ได้แปลว่าคนนั้นอ้วนกว่า
6. ใช้สายตาวัด อันนี้ยิ่งไม่ได้มาตรฐาน เพราะแต่ละคนก็จะตัดสินไปตามความชอบของตัวเอง ไม่ได้อิงสุขภาพอะไรทั้งสิ้น เช่นบางคนที่ชอบมีเนื้อมีหนัง เห็นคนอ้วนก็บอกว่าแค่อวบ ทั้งๆที่ถ้าไปวัด BMI ก็อ้วนทะลุไปไหนๆแล้ว หรือบางคนชอบผอมๆตัวบางๆ เห็นคนผอมก็บอกหุ่นดี ทั้งๆที่ถ้าไปวัด BMI ก็อยู่ในข่ายโรคผอมแล้ว