ขาใหญ่แนะทางรอดISPไทยปรับธุรกิจ-แชร์ใช้โครงข่าย
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559
แนะทางรอด "ไอเอสพี" ไทย "ซีเอส ล็อกซ" กระทุ้ง "กสทช." ปรับแนวทางกำกับดูแล ชูโมเดล "ซิตี้โอเปอเรเตอร์" ให้รายย่อยเช่าใช้โครงข่าย "ไอเน็ต" แนะผู้ประกอบการปรับตัวไปสู่การให้บริการเฉพาะทางเดินหน้าลงทุนคลาวด์เต็มรูปแบบ ปั๊มรายได้สิ้นปีทะลุ 900 ล้านบาท
นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความอยู่รอด ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยเฉพาะรายย่อยที่มีกว่า 50 ราย เป็นไปได้ค่อนข้างยาก หาก กสทช.ไม่ลงมากำกับกิจการจริงจัง เพราะตลาดผูกขาดด้วยผู้เล่น 3 รายใหญ่ แม้จะมีนโยบายในการดูแลอย่างเสรีและเป็นธรรม จึงต้องกลับมาที่คอนเซ็ปต์ใหญ่ก่อนว่าองค์กรกำกับดูแลมองว่าผู้เล่นในตลาดควรเป็นอย่างไร เช่น การเปิดให้มีการแชร์ใช้โครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกัน องค์กรขนาดใหญ่ย่อมชนะรายเล็ก อยู่ดี ดังนั้นจึงต้องไปถาม กสทช.อีกรอบว่าจะเดินอย่างไรไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
"การกำกับกิจการควรเข้าไปถึงซิตี้ โอเปอเรเตอร์ หรือเทศบาล และองค์กรบริหาร ท้องถิ่น เพราะเขามีสายไฟเบอร์ในมืออยู่แล้ว เพื่อให้บริการต่าง ๆ เช่น กล้องวงจรปิด และเชื่อมต่อระหว่างแต่ละองค์กรท้องถิ่น แต่ละหน่วยงานไม่ได้ใช้ไฟเบอร์ ออปติกเต็มประสิทธิภาพ การแบ่งแบนด์วิดท์ ส่วนหนึ่งมาให้ไอเอสพีรายย่อยเช่าใช้ จะสร้างรายได้ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเหล่านั้น และลดการแข่งขันได้ เนื่องจากปัจจุบัน ไอเอสพีรายย่อยที่มีใบอนุญาตมีกว่า 100 ราย ต้องเช่าโครงข่ายจากรายใหญ่"
สำหรับการลงทุน 5,000 ล้านบาท ในการวางเกตเวย์เชื่อมต่อระหว่างประเทศเพิ่มเติมของรัฐบาล ในฐานะที่ตนมีตำแหน่งเป็นนายกสมาคมไอเอสพี ที่ผ่านมามีการ ผลักดันให้มีการสร้างเกตเวย์ระหว่างประเทศ เพิ่มเติมเป็นเวลานาน เพราะผู้บริโภคใช้คอนเทนต์ที่อยู่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก การเพิ่มแบนด์วิดท์จึงจำเป็น และอยากให้รัฐบาลมองว่าเป็นการลงทุนเหมือนการตัดถนนที่ไม่มีเรื่องกำไรขาดทุน เพียงให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นคนเก็บค่าผ่านทาง
นายอนันต์กล่าวถึง พ.ร.บ.ว่าด้วยการ กระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไขด้วยว่า เนื้อหาดีกว่าฉบับก่อน เนื่องจากแยกการกระทำผิดส่วนรวมออกจากส่วนบุคคล และมีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยช่วยให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จบเร็วขึ้น ไม่ต้อง ไปศาล และการเปิดให้นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านออนไลน์พิจารณาร่างฯด้วยเป็นเรื่องที่ดี ทำให้บริษัทเตรียมทำตลาดบริการคลาวด์เต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่จะเพิ่มขึ้น
ด้านนางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (ไอเน็ต) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ในประเทศไทยมีกว่า 100 ราย หากเป็นรายย่อยต้องปรับตัวไปสู่บริการเฉพาะทางมากขึ้น เนื่องจากผู้เล่นรายใหญ่ครองตลาดเกือบทั้งหมด ซึ่งการปรับตัวทำได้ตั้งแต่การสร้างบริการให้ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม เช่น เอสเอ็มอี รวมถึงการสร้างแอปพลิเคชั่นมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งบริษัท เองแม้มีรายได้ระดับร้อยล้านบาท ก็ยังปรับตัว ไปสู่การเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบ
"ปี 2558 ไอเน็ตมีรายได้ 624 ล้านบาท 40% เป็นรายได้จากคลาวด์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีก่อนถึง 84% เพราะองค์กรในไทยเริ่มให้ความเชื่อถือมากขึ้น และพิสูจน์แล้วว่าช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความเร็วในการทำงานได้จริง ทำให้คลาวด์กลายเป็นธุรกิจหลักของเรา จากที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และรับฝากเซิร์ฟเวอร์ ปีนี้จึงตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30% คิดเป็นมูลค่า 800-900 ล้านบาท รายได้มาจากคลาวด์ 60%"
ปัจจุบันบริษัทให้บริการ 4 รูปแบบ คือ บริการคลาวด์, โคโลเกชั่น, บริการอินเทอร์เน็ต และบริการระบบเชื่อมต่อเครื่องอ่านบัตรเครดิต (อีดีซี) โดยในไตรมาส 1 ปี 2559 นี้ มีรายได้รวม 200 ล้านบาท แบ่งเป็นจากบริการคลาวด์ 86 ล้านบาท, บริการอินเทอร์เน็ต 36 ล้านบาท, โคโลเกชั่น 36 ล้านบาท และอีดีซี 6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว 49% และในครึ่งปีหลังเตรียมสร้างบริการคลาวด์ราคาประหยัด ตอบโจทย์กลุ่มสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอี เพื่อขยายตลาด
ล่าสุดเตรียมเพิ่มทุน 750 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างศูนย์อินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ (ไอดีซี) แห่งที่ 3 ที่สระบุรี คาดว่า เฟสแรกจะให้บริการได้ในไตรมาสแรกปี 2560 ปัจจุบันมีผู้จองใช้แล้ว 60% ของพื้นที่ ทั้งหมด เมื่อเฟสแรกเสร็จจะสร้างเฟส 2 และ 3 ทันที โดยศูนย์ไอดีซีแห่งใหม่ มีพื้นที่รวม 2,000 ตร.ม. มูลค่าโครงการ 2,050 ล้านบาท และเชื่อมต่อระบบกับอีก 2 แห่งในกรุงเทพฯ
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ขาใหญ่แนะทางรอด ISP ไทยปรับธุรกิจ-แชร์ใช้โครงข่าย
ขาใหญ่แนะทางรอดISPไทยปรับธุรกิจ-แชร์ใช้โครงข่าย
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559
แนะทางรอด "ไอเอสพี" ไทย "ซีเอส ล็อกซ" กระทุ้ง "กสทช." ปรับแนวทางกำกับดูแล ชูโมเดล "ซิตี้โอเปอเรเตอร์" ให้รายย่อยเช่าใช้โครงข่าย "ไอเน็ต" แนะผู้ประกอบการปรับตัวไปสู่การให้บริการเฉพาะทางเดินหน้าลงทุนคลาวด์เต็มรูปแบบ ปั๊มรายได้สิ้นปีทะลุ 900 ล้านบาท
นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความอยู่รอด ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยเฉพาะรายย่อยที่มีกว่า 50 ราย เป็นไปได้ค่อนข้างยาก หาก กสทช.ไม่ลงมากำกับกิจการจริงจัง เพราะตลาดผูกขาดด้วยผู้เล่น 3 รายใหญ่ แม้จะมีนโยบายในการดูแลอย่างเสรีและเป็นธรรม จึงต้องกลับมาที่คอนเซ็ปต์ใหญ่ก่อนว่าองค์กรกำกับดูแลมองว่าผู้เล่นในตลาดควรเป็นอย่างไร เช่น การเปิดให้มีการแชร์ใช้โครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกัน องค์กรขนาดใหญ่ย่อมชนะรายเล็ก อยู่ดี ดังนั้นจึงต้องไปถาม กสทช.อีกรอบว่าจะเดินอย่างไรไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
"การกำกับกิจการควรเข้าไปถึงซิตี้ โอเปอเรเตอร์ หรือเทศบาล และองค์กรบริหาร ท้องถิ่น เพราะเขามีสายไฟเบอร์ในมืออยู่แล้ว เพื่อให้บริการต่าง ๆ เช่น กล้องวงจรปิด และเชื่อมต่อระหว่างแต่ละองค์กรท้องถิ่น แต่ละหน่วยงานไม่ได้ใช้ไฟเบอร์ ออปติกเต็มประสิทธิภาพ การแบ่งแบนด์วิดท์ ส่วนหนึ่งมาให้ไอเอสพีรายย่อยเช่าใช้ จะสร้างรายได้ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเหล่านั้น และลดการแข่งขันได้ เนื่องจากปัจจุบัน ไอเอสพีรายย่อยที่มีใบอนุญาตมีกว่า 100 ราย ต้องเช่าโครงข่ายจากรายใหญ่"
สำหรับการลงทุน 5,000 ล้านบาท ในการวางเกตเวย์เชื่อมต่อระหว่างประเทศเพิ่มเติมของรัฐบาล ในฐานะที่ตนมีตำแหน่งเป็นนายกสมาคมไอเอสพี ที่ผ่านมามีการ ผลักดันให้มีการสร้างเกตเวย์ระหว่างประเทศ เพิ่มเติมเป็นเวลานาน เพราะผู้บริโภคใช้คอนเทนต์ที่อยู่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก การเพิ่มแบนด์วิดท์จึงจำเป็น และอยากให้รัฐบาลมองว่าเป็นการลงทุนเหมือนการตัดถนนที่ไม่มีเรื่องกำไรขาดทุน เพียงให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นคนเก็บค่าผ่านทาง
นายอนันต์กล่าวถึง พ.ร.บ.ว่าด้วยการ กระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไขด้วยว่า เนื้อหาดีกว่าฉบับก่อน เนื่องจากแยกการกระทำผิดส่วนรวมออกจากส่วนบุคคล และมีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยช่วยให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จบเร็วขึ้น ไม่ต้อง ไปศาล และการเปิดให้นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านออนไลน์พิจารณาร่างฯด้วยเป็นเรื่องที่ดี ทำให้บริษัทเตรียมทำตลาดบริการคลาวด์เต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่จะเพิ่มขึ้น
ด้านนางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (ไอเน็ต) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ในประเทศไทยมีกว่า 100 ราย หากเป็นรายย่อยต้องปรับตัวไปสู่บริการเฉพาะทางมากขึ้น เนื่องจากผู้เล่นรายใหญ่ครองตลาดเกือบทั้งหมด ซึ่งการปรับตัวทำได้ตั้งแต่การสร้างบริการให้ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม เช่น เอสเอ็มอี รวมถึงการสร้างแอปพลิเคชั่นมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งบริษัท เองแม้มีรายได้ระดับร้อยล้านบาท ก็ยังปรับตัว ไปสู่การเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบ
"ปี 2558 ไอเน็ตมีรายได้ 624 ล้านบาท 40% เป็นรายได้จากคลาวด์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีก่อนถึง 84% เพราะองค์กรในไทยเริ่มให้ความเชื่อถือมากขึ้น และพิสูจน์แล้วว่าช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความเร็วในการทำงานได้จริง ทำให้คลาวด์กลายเป็นธุรกิจหลักของเรา จากที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และรับฝากเซิร์ฟเวอร์ ปีนี้จึงตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30% คิดเป็นมูลค่า 800-900 ล้านบาท รายได้มาจากคลาวด์ 60%"
ปัจจุบันบริษัทให้บริการ 4 รูปแบบ คือ บริการคลาวด์, โคโลเกชั่น, บริการอินเทอร์เน็ต และบริการระบบเชื่อมต่อเครื่องอ่านบัตรเครดิต (อีดีซี) โดยในไตรมาส 1 ปี 2559 นี้ มีรายได้รวม 200 ล้านบาท แบ่งเป็นจากบริการคลาวด์ 86 ล้านบาท, บริการอินเทอร์เน็ต 36 ล้านบาท, โคโลเกชั่น 36 ล้านบาท และอีดีซี 6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว 49% และในครึ่งปีหลังเตรียมสร้างบริการคลาวด์ราคาประหยัด ตอบโจทย์กลุ่มสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอี เพื่อขยายตลาด
ล่าสุดเตรียมเพิ่มทุน 750 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างศูนย์อินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ (ไอดีซี) แห่งที่ 3 ที่สระบุรี คาดว่า เฟสแรกจะให้บริการได้ในไตรมาสแรกปี 2560 ปัจจุบันมีผู้จองใช้แล้ว 60% ของพื้นที่ ทั้งหมด เมื่อเฟสแรกเสร็จจะสร้างเฟส 2 และ 3 ทันที โดยศูนย์ไอดีซีแห่งใหม่ มีพื้นที่รวม 2,000 ตร.ม. มูลค่าโครงการ 2,050 ล้านบาท และเชื่อมต่อระบบกับอีก 2 แห่งในกรุงเทพฯ
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559