คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
คุณลืมไอ้การกำหนดขั้ว +,- ของแรงดันไปซะ อยู่ดีๆ คุณไม่ต้องไปกำหนดมันหรอก
เริ่มต้น คุณต้องกำหนดทิศทางกระแสใน mesh แต่ละ mesh ก่อน อันนี้สมมติได้ตามชอบใจ แต่ละ mesh ไม่ต้องเหมือนกันก็ได้ จะวนซ้ายหรือวนขวาแล้วแต่สะดวก แต่ควรวนให้เหมือนกันเนื่องจากกันหลง ทำไปทำมาถ้าวนไปทางเดียวกันโอกาสผิดพลาดมันน้อยกว่า
การกำหนดทิศทางสมมติของกระแสในแต่ละ mesh นั่นแหละ คือการที่คุณกำหนดขั้วสมมติให้ตัวต้านทานโดยอัตโนมัติ ซึ่งบอกไว้แล้วว่าคุณไม่ต้องไปเขียนเครื่องหมาย +,- คร่อมตัวต้านทานแต่อย่างใด เนื่องจากคุณเอาทิศทางของกระแสเป็นหลัก ดังนั้นทิศทางของแรงดันตกคร่อมจะตามทิศของกระแสอยู่แล้ว โดยกระแสไหลเข้า R จะเป็นขั้ว + โดยอัตโนมัติ
แล้วถ้าบอกว่าโจทย์มันเขียนมาทำไม ก็ตอบว่า เขียนมาเพื่อจะถามว่าแรงดันตรงนั้นมีค่าเท่าไร คราวนี้ ได้ I มาแล้ว ค่อยเอามาคูณกับ R ตามที่โจทย์ถาม โดยทิศทางของ I ต้องตรงตามขั้วที่โจทย์เขียน +,- ด้วย ถ้าไม่ตรงก็ติดลบเพื่อกลับทิศของ I
ดังนั้นคุณไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมโจทย์เขียนขั้ว +,- อย่างนั้น ตามที่อธิบายมา ดังนั้นสมการรูปที่คุณโพสมาจะเป็น
R1Ia+R2(Ia-Ib)+Vs=0
R2(Ib-Ia)+R3Ib-Vs=0
แล้วคุณก็หาค่าแรงดันที่โจทย์ถามได้เลย
V1=IaR1, V2=(Ia-Ib)R2, V3=IbR3
เริ่มต้น คุณต้องกำหนดทิศทางกระแสใน mesh แต่ละ mesh ก่อน อันนี้สมมติได้ตามชอบใจ แต่ละ mesh ไม่ต้องเหมือนกันก็ได้ จะวนซ้ายหรือวนขวาแล้วแต่สะดวก แต่ควรวนให้เหมือนกันเนื่องจากกันหลง ทำไปทำมาถ้าวนไปทางเดียวกันโอกาสผิดพลาดมันน้อยกว่า
การกำหนดทิศทางสมมติของกระแสในแต่ละ mesh นั่นแหละ คือการที่คุณกำหนดขั้วสมมติให้ตัวต้านทานโดยอัตโนมัติ ซึ่งบอกไว้แล้วว่าคุณไม่ต้องไปเขียนเครื่องหมาย +,- คร่อมตัวต้านทานแต่อย่างใด เนื่องจากคุณเอาทิศทางของกระแสเป็นหลัก ดังนั้นทิศทางของแรงดันตกคร่อมจะตามทิศของกระแสอยู่แล้ว โดยกระแสไหลเข้า R จะเป็นขั้ว + โดยอัตโนมัติ
แล้วถ้าบอกว่าโจทย์มันเขียนมาทำไม ก็ตอบว่า เขียนมาเพื่อจะถามว่าแรงดันตรงนั้นมีค่าเท่าไร คราวนี้ ได้ I มาแล้ว ค่อยเอามาคูณกับ R ตามที่โจทย์ถาม โดยทิศทางของ I ต้องตรงตามขั้วที่โจทย์เขียน +,- ด้วย ถ้าไม่ตรงก็ติดลบเพื่อกลับทิศของ I
ดังนั้นคุณไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมโจทย์เขียนขั้ว +,- อย่างนั้น ตามที่อธิบายมา ดังนั้นสมการรูปที่คุณโพสมาจะเป็น
R1Ia+R2(Ia-Ib)+Vs=0
R2(Ib-Ia)+R3Ib-Vs=0
แล้วคุณก็หาค่าแรงดันที่โจทย์ถามได้เลย
V1=IaR1, V2=(Ia-Ib)R2, V3=IbR3
แสดงความคิดเห็น
ถามเกี่ยวกับ กฎของเคอร์ชอฟสำหรับแรงดัน และวิเคราะห์กระแสเมช ครับ
หรือว่า แรงดันที่แหล่งจ่าย = แรงดันที่ตกคร่อม R ทั้งหมดนั่นเอง
ผมอยากรู้ว่า เวลาเห็นวงจร เราจำเป็นต้องเขียนขั้ว + - ให้ R(ตัวต้านทาน) ด้วยรึเปล่าครับ เพราะ R จริงๆมันไม่มีขั้ว
ถ้าเรากำหนดว่า แรงดันที่แหล่งจ่าย = แรงดันที่ตกคร่อม R ทั้งหมดนั่นเอง ผมว่าก็ไม่มีความจำเป็นในการเขียนขั้วเลย
อย่างในรูป เขียน KVL ได้ว่า VS + VS +VS +VS = Vout ตาม KVL ที่ว่า แรงดันที่แหล่งจ่าย = แรงดันที่ตกคร่อม R ทั้งหมดนั่นเอง
การเขียนแบบนี้ก็ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องเขียนขั่วนี่ครับ แต่อย่างน้อยการกำหนดขั้วตามรูป ก็ Make Sense สำหรับผมด้วย เพราะว่า ขั้ว+ ต่อกับบวก ถูกต้องไหมครับ
จริงๆแล้วการเขียนสมการ KVL จำเป็นหรือไม่ครับที่ต้องกำหนดขั้วบวกลบ(สมมุติ) ให้ตัวต้านทาน
สงสัยอีกข้อครับ เอามาจากหนังสือ ถามเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์กระแสเมช ครับ
ในหนังสือเขียนว่างี้ครับ
ทำไมหนังสือถึงเฉลยว่างี้ครับ
1.เมช a ต้องเขียนสมการว่างี้ไม่ใช่เหรอครับ V1 +V2 = VS (ตาม KVL ที่ว่าแรงดันที่แหล่งจ่าย = แรงดันที่ตกคร่อม R หรือโหลดทั้งหมด) แต่ในเฉลยบอกว่าผิด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2.ทำไมต้องเขียน ขั้วให้ R ทั้งที่ R มันไม่มีขั้ว +- และ การกำหนดขั้วแบบนี้ มันไม่ make sense สำหรับผมเลยอ่ะครับ คืองง
ขอบคุณครับ