แสงสว่างและการเห็นรูป ตอน หลังไมค์มาเพื่อ.....

กระทู้สนทนา
มีหลังไมค์มาจาก.......สมาชิกหมายเลข 2283423, วันศุกร์ เวลา 15:26 น

ความเดิมที่ผมมี คห.ไป ดังนี้

วิธีปฏิบัติ ให้มองที่แสงสว่าง ในเนื้อแท้ของแสงสว่างล้วนๆ  ไม่มีปลอมปนภาพอื่น  ถ้ามีสิ่งใดปนมา
สิ่งนั้นเป็นมลทินของกสิณ
นิมิต  มีไว้ละ ไม่ใช่มีไว้หลง  

ลพ.สด  พลาดตรงนี้นะครับ  อย่าคิดว่า ท่านดัง  ท่านเด่น  ท่านเก่ง  หรือท่านเป็นพระ  เป็นเจ้าคุณ  เรื่องถูกผิด ไม่เลือกสถานะครับ  สิ่งที่ท่านเทศน์ไว้ ผิดพลาดมากมาย ไม่ตรงหลักตรงฐานก็มาก ลองศึกษาพระพุทธศาสนา ถอดเอาอคติออก เอาธงในใจออก  พิจารณา  แล้วลองปฏิบัติ
วันหนึ่งคุณจะรู้เองว่าใครมั่ว
ตอบกลับ
0 0  
กิมังคังปะนะ

ศิษย์วัดธรรมกาย(มั้ง)  ตอบกลับมา ดังนี้

>>>>> ความมั่วของ กิมังคังปะนะ  ก็คือไม่เคยรู้จักวิชชาธรรมกาย
หยุดเป็นตัวสำเร็จ รวมเห็น จำ คิด รู้
นี่แหละที่เรียกว่า ดับวิสังขาร เพื่อจิตรวมเป็นสัมมาสมาธิ

ส่วนแทงตลอดในนิมิต มันจะพลิกเป็นญาณทัศนะ
มีแต่สายวิชชาธรรมกายเท่านั้นครับ ที่ทำแบบนี้ได้


คือคุณเคยชินกับนิมิตแบบพุทโธ ยุบพอง
พอเจอให้แทงตลอดในนิมิต เลยจับแพะชนแกะ

แนะนำให้ไปอ่านตอนที่พระพุทธเจ้าสอนพระอนิรุธสอนให้แทงตลอดในนิมิตทำยังไง
ถ้านิมิตหายไป ทำยังไงให้ดึงกลับมา

เรียกว่าแสงสว่างและการเห็นรูป
ในพระไตรปิฏก ตรงข้ามกับความเห็นของคุณ แบบหน้ามือหลังมือ จริงๆ

-------------------------------------------------------------------------------


ไม่อยากมาทุ่มเถียงกับคนที่ปฏิเสธเพียงเพราะความเชื่อตัวเองโดยไม่คำนึงถึงเหตุและผล ไม่มอง
ในมุมอื่นๆบ้าง  แต่ ซักหน่อยก็ดี  ทีละประเด็น

>>>>> ความมั่วของ กิมังคังปะนะ  ก็คือไม่เคยรู้จักวิชชาธรรมกาย
หยุดเป็นตัวสำเร็จ รวมเห็น จำ คิด รู้
นี่แหละที่เรียกว่า ดับวิสังขาร เพื่อจิตรวมเป็นสัมมาสมาธิ


วิสังขาร เป็นชื่อหนึ่งของนิพพาน เพียงแค่หยุดตามวิธีของธรรมกาย เกิดสภาวะวิสังขารไม่ได้
วิสังขารจริงๆคือดับสนิด ไม่มีส่วนเหลือ อารมณ์ของวิชาธรรมกาย ยังไม่ดับได้ขนาดนั้น

ถ้อยคำที่คุณใช้คือ " ดับวิสังขาร เพื่อจิตรวมเป็นสัมมาสมาธิ "

จะไปดับทำไมครับ วิสังขาร สภาวะนั้นดับสนิดอยู่แล้ว และบอกอีกว่า " เพื่อจิตรวมเป็นสมาธิ "

วิสังขาร คือ นิพพาน  สภาวะนี้เลยสมาธิไปแล้วครับ

ตกลงคุณหรือผมที่ไม่เข้าใจ  ประเด็นต่อมา

ส่วนแทงตลอดในนิมิต มันจะพลิกเป็นญาณทัศนะ
มีแต่สายวิชชาธรรมกายเท่านั้นครับ ที่ทำแบบนี้ได้


คำว่าแทงตลอดในนิมิต  เขาให้รู้นิมิตเฉยๆ เห็นความเกิดดับของนิมิต ไม่ใช่เห็นองค์พระแล้วก็ให้เห็นแบบนั้น
ให้ความสำคัญกับการเห็นนิมิตที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์มากกว่า  อันนี้เรียกแทงตลอดนิมิต ไม่ใช่หมายถึง
ยึดเอานิมิตรองค์พระตลอด

ไม่ใช่สายที่อ้างว่าธรรมกายทำได้ที่เดียวหรอกครับ  เขาทำกันมาหลายสำนัก เป็นพันปีแล้ว  ก็กรรมฐาน ๔๐ นั่นเอง
เมื่อถึงขณะหนึ่งไตรลักษณ์เกิดกับนิมิต  เขาแทงตลอดนิมิตตรงนี้ ภาษาบาลีแปลไทย เขาเรียกว่า
ยกขึ้นสู่วิปัสสนา

คือคุณเคยชินกับนิมิตแบบพุทโธ ยุบพอง
พอเจอให้แทงตลอดในนิมิต เลยจับแพะชนแกะ


คุณรู้จักนิมิตของพุทโธ และของพองยุบเหรอครับ ถึงได้บอกว่าผมเคยชินแบบนั้น
จะอธิบายให้รู้ว่า เขาทำอย่างไรกับนิมิต

เขาไม่ยึด ไม่ติด สักว่าเห็น เพราะเกิดตามเหตุปัจจัย เกิดดับไปตามเรื่องตามราวของเขาเอง
ไม่ต้องมานั่งยึดไว้  

อันนี้นะครับ วิธีปฏิบัติกับนิมิต ตรงตามหลักมหาสติปัฎฐานสูตรด้วย  ของธรรมกายแบบนี้ไหมครับ
เคยได้ยินไหม เห็นสักว่าเห็น ( ทิฏฐัง ทิฎฐะมัตเตนะ ) นี่คำพระพุทธเจ้าเลย แล้วธรรมกาย สักว่าเห็นไหม

แนะนำให้ผมดูพระสูตรเรื่องพระอนุรุทธะ  คุณครับ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสหมายให้ยึดนิมิตรไว้ตลอดเลย
ที่ท่านตรัสแบบนั้นตอนนั้น เนื่องจากภิกษุนิมิตหาย สมาธิจึงหาย คาดว่าเวลานั้นคงหมายถึงจิตไม่ตั้งมั่น
กับนิมิต สมาธิจึงหายไป เมื่อสมาธิหายไป ก็ต่อยอดอะไรไม่ได้

แถมท้ายพระสูตร ท่านยังให้ละนิมิตอีกด้วย ย่อมาให้อ่านดีกว่า

รู้ว่าลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็น
เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิต
ให้เศร้าหมองได้
เรานั้นจึงได้มีความรู้ดังนี้ว่า เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้นๆ ของ
เรา เราละได้แล้วแล ดังนั้น เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้ ฯ

คำว่า "  เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ " คำนี้ไงครับ ที่แสดงว่าพระองค์ตรัสถึงรูปที่
เป็นเครื่องเกาะจิต มีผลให้เศร้าหมอง  แล้วทรงละได้  ผลตามมาคือ เจริญสมาธิโดยส่วนสามได้

ส่วนสามของสมาธิ ไปหาอ่านเอาเองครับ  ท่านตรัสหมายถึงที่สุดของนิมิตคือสมาธิที่ไม่มีนิมิตนะครับ
สูตรนี้ชื่อ อุปักกิเลส หมายถึงเหตุเศร้าหมองที่เข้ามากวนสมาธิ เพราะฉะนั้น นิมิตทุกประเภทเป็นครื่อง
เศร้าหมองของสมาธิทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็นกสิณชนิดใดก็ตาม ล้วนต้องละทั้งหมด เพื่อให้สมาธิโดยส่วนสามบริบูรณ์
สังเกตุสัมมาสมาธิซิครับ เขาจะไล่ตั้งแต่สมาธิที่หยาบไปจนถึงละเอียด ละเอียดจนเหลือ
เอกัคคตา ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกว่าไม่มีอะไรเจือปนในจิต ไม่เหลือกระทั่งองค์พระหรือลูกแก้ว หรือแสงสว่างเลย

ส่วนการตั้งใจให้ได้นิมิต ไม่ว่าในองค์พระ หรือ ลูกแก้ว หรืออะไรก็ตาม เรียกว่าตัณหา  เมื่อได้นิมิตมาแล้ว พยายาม
ให้คงอยู่เพราะความพอใจในนิมิตเรียกว่านันทิ เป็นสาเหตุของนิวรณ์ข้อแรก เช่น พยายามให้องค์พระคงอยู่
หรือให้นิมิตลูกแก้วคงอยู่ เพราะพอใจในนิมิตนั้น นี่แหระเรียกว่า นันทิ

โดยที่สุด ผู้ปฏิบัติก็อาศัยนิมิตเป็นบาท ไม่ใช่เอามาเป็นสรณะ เพียงอาศัยเป็นบาทของการปฏิบัติแบบสมถะนำ
แล้วปล่อยให้เป็นไปตามกฎ เพื่อให้จิตรู้สภาวะไตรลักษณ์ที่เป็นไปตามธรรมดาของสภาวะทั้งปวงเรียกว่า
ยกสู่วิปัสสนา

เฮ่ออ  ออกมานอกวัดบ้างนะครับ

ปล.แนะนำให้ศึกษาสติปัฎฐานสูตร ครับ ผมว่าจะเวิร์คกว่าครับ ลองมองดูวัดธรรมกายซิครับ
มีตรงไหนที่บอกว่ากิเลสเบาบางลง ถ้าการปฏิบัติได้ผลจริงคงไม่ฉาวซะขนาดนี้
ก็แค่อีเว้นดี ประชาสัมพันธ์ดี จับกิเลสคนตรงจุดเท่านั้นแหระครับ

แล้วก็ไม่ต้องมาหลังไมค์ผมอีกนะครับ ปฏิบัติธรรมกายแบบไหน เรื่อง คห.ผมแค่นี้ ทำดิ้นหลังไมค์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่