ทำไมการถอดอักษรไทยเป็นโรมันตามแบบราชบัณฑิตสถาน ไม่สามารถสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในการถอดอักษรได้ครับ?

เกริ่นก่อนเลยว่าอาจจะดูเหมือนเป็นการลองเชิงครูบาอาจารย์แต่ไม่ใช่นะครับ

ผมอ่านในส่วนนี้ของวิกิพีเดีย และ พบเจอกับชีวิตจริง
ผมก็เริ่มคิดแล้วว่า การถอดอักษรระบบนี้มันเป็นระบบที่สามารถพัฒนาเพิ่มเพื่อให้ดีกว่านี้ได้หรือเปล่า (ส่วนตัวก็คิดว่ายังไม่ดีพอครับ)

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน มีจุดประสงค์เขียนไว้ในประกาศว่า เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์ว่ายังไม่ดีเพียงพอสำหรับชาวต่างชาติในการอ่านภาษาไทย เนื่องจาก
1.ไม่มีสัญลักษณ์หรือระบบแทนเสียงวรรณยุกต์
2. สระสั้น และสระยาว ใช้ตัวอักษรเดียวกัน เช่น อะ และ อา ใช้ ตัวอักษร a
3. เสียง /pʰ/ (ผ, พ, ภ) ถูกแทนด้วย ตัวอักษร ph ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /f/ เหมือนคำในภาษาอังกฤษ เช่น Phuket (ภูเก็ต) อาจอ่านผิดเป็น "ฟักอิต" (พ้องกับ  it ในภาษาอังกฤษ)
4. เสียงสระ "โอะ โอ" กับ "เอาะ ออ" ใช้ตัวอักษร o ตัวเดียวกัน เช่น คำว่า "พล" และ "พร" เขียนเหมือนกันเป็น phon ถูกอ่านผิดเป็น "ฝน"
เสียง /tʰ/ (ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ) ถูกแทนด้วย ตัวอักษร th ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /θ/ หรือ /ð/ เหมือนคำในภาษาอังกฤษ เช่น Thewet (เทเวศร์) อาจอ่านผิดเป็น "เดอะเว็ท"
5. นอกจากนี้ ถึงแม้ระบบของราชบัณฑิตยสถานจะที่ใช้ในเอกสารราชการเกือบทั้งหมด แต่ก็มีการเขียนคำทับศัพท์ในรูปแบบอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เพี้ยนไปจากเสียงภาษาไทย และเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น เช่นคำว่า "ธง" หรือ "ทอง" เมื่อทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตทั้งสองคำจะสะกดได้คำว่า "thong" ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง ธอง (กางเกงชั้นในประเภทหนึ่ง) จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า "tong" แทน

อยากให้ลองเสนอความคิดเห็นใหม่ๆดูครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่