ตอนที่ 24 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - ตัดถนนจากหาดใหญ่เข้าสู่แหลมโพธิ์โดยตรง

บทความทุกตอนคลิกที่นี้..................



ตอนที่ 24 หาดใหญ่สงขลากับหมุดการท่องเที่ยวระดับโลก - ตัดถนนจากหาดใหญ่เข้าสู่แหลมโพธิ์โดยตรง

(ต่อไปจะเป็นบทความ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างถนนที่จะช่วยสนับสนุนการเดินทางบริเวณทะเลสาบ  ซึ่งจะกำหนดบทความไว้ในตอนที่  24-27)



หากต้องการให้หาดใหญ่สงขลาเป็นหมุดหมายของการท่องเที่ยวระดับโลกได้นั้น  ไม่มีทางเลือกอื่นเลยนอกจากจะต้องตัดถนนเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาบริเวณแหลมโพธิ์โดยตรง  ซึ่งบริเวณแหลมโพธิ์ก็จะเป็น สถานีเลสาบที่ 1  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ "ชาเลนจ์"  ที่สำคัญ   อีกทั้งยังเป็นแนวเส้นทางที่จะต้องสร้างโมโนเรลสายสีม่วงอีกด้วย   ดังนั้นการตัดถนนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ  แต่จะตัดถนนได้อย่างไรนั้น  เราต้องมาดูประวัติการสร้างถนนลพบุรีราเมศวร์(ขาเข้าเมือง)กันก่อน






ถนนลพบุรีราเมศวร์นั้นเป็นทางหลวงระดับทางหลวงแผนดิน  มีช่องทางการจราจรกว้าง  6  เลนขึ้นไป  ใช้สำหรับเชื่อมจังหวัดต่อจังหวัด  นั่นคือเชื่อมระหว่าง เมืองหาดใหญ่ และเมืองสงขลา  ซึ่งเป็นมหานครขนาดใหญ่   ... ในตอนที่เริ่มสำรวจก่อสร้างนั้น   จึงมีความคิดกันว่า  แล้วในส่วนที่จะเชื่อมตัวถนน เข้ากับเมืองหาดใหญ่นั้น  จะทำอย่างไร  เพราะถนนเส้นเก่าคับแคบ และขยายไม่ได้เพราะมีบ้านเรือนประชาชนอยู่ตลอดแนว  นั่นคือ ถนน นิพัทธ์สงเคราะห์ 1 และถนนทุ่งใหญ่  ดังนั้นแล้ว กรมทางหลวงจึงทำการสำรวจ  และออกแบบ  โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า  "ตัดแนวหลัง"  จึงทำให้เกิดเป็นถนนลพบุรีราเมศวร์(ขาเข้าเมือง)  ขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณหน้าบิ๊กซีคลองแหในปัจจุบัน  ดังนั้นแล้วจะเห็นว่าในปัจจุบัน  มีถนน 2 เส้นที่เหมือนจะคู่ขนานกันนั่นคือ ถนนลพบุรีราเมศวร์(ขาเข้าเมือง) กับถนนทุ่งใหญ่ตามรูปข้างบน











จุดที่น่ากังวลใจที่สุดในการตัดถนนเข้าสู่แหลมโพธิ์คือ บริเวณแยกบิกชีคลองแห  เนื่องจากถนนอัมพวันไม่สามารถขยายได้  เนื่องจากมีการสร้างบ้านเรือนเต็ม 2 ฝั่งถนน  และที่ดิน "ติดถนน" มีราคาแพง  เราจึงควรต้องใช้เทคนิคเดียวกับที่ผ่านมาคือ "ตัดแนวหลัง" ตามรูปข้างบน โดยตัวถนนตัดผ่านหลังวัดอัมพวัน (วัดม่วงสาวตีอก)  คู่ขนานไปกับถนนอัมพวัน












จากรูปข้างบน  แสดงถึงความสำคัญของถนนเส้นนี้  นั่นคือเป็นทางออกเมือง (ที่ถูกลืม) เพื่อเชื่อมกับถนนเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ฝั่งตะวันออก    และเมื่อตรงไปอีก ก็จะเจอถนนวงแหวนรอบทะเลสาบ   และหากเลี้ยวซ้ายก็จะเป็นถนนที่จะเชื่อมเมืองต่างๆที่เติบโตจากเส้นทางรถไฟสายใต้นั่นคือ  อ.ปากพยูน อ.ควนเนียง  อ.บางเหรียง อ.บางกล่ำ อ.บางแก้ว  อ.เขาชัยสน  อ.เมืองพัทลุง ซึ่งรวมกันแล้วมีประชากรมากถึง  308,117  คน   ซึ่งเมืองทั้งหมดนี้  ไม่ได้อยู่บนถนนสายหลักอย่างถนนเพชรเกษม  ซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เลยด้วยซ้ำ     หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเมืองขนาดใหญ่  ที่ไม่มีระบบถนนขนาดใหญ่รองรับการเดินทาง  หรือเป็นเมืองที่ถูกลืม  น่าเศร้าจริงๆ


และถนนเส้นนี้จะต้องมีขนาดใหญ่ในระดับถนนหลวงเช่นเดียวกับถนนลพบุรีราเมศวร์   อาจจะสร้าง 2 เลนก่อน แต่ให้เผื่อเขตทาง ไว้ที่ 80 เมตร โดยการปักเสาไฟฟ้าแรงต่ำเป็นแนวถนนเอาไว้  เพื่อป้องกันการบุกรุก     อีกทั้งถนนเส้นนี้จะเป็นทางออกเมืองที่สำคัญ  ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่า "เส้นที่ 9 ที่ถูกลืม"  เพื่อเชื่อมกับถนนวงแหวนหาดใหญ่ฝั่งตะวันออกในอนาคต  และยังเป็นเส้นทางเส้นหลักเข้าออกเมืองหาดใหญ่  เส้นทางที่ 9    "ที่ถูกลืม"   และเส้นที่ 9 ที่ว่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนรอบทะเลสาบด้วย ซึ่งจะอธิบายในบทความต่อไป





ตอนต่อไปคลิกที่นี้....................
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่