ข้อมูลจากพรรคลุงป้อมเรื่องเขมร ดีมากๆ อธิบายชัดเจนที่สุดเรื่องเขตแดนไทย เขมร

รัฐบาลไม่เคยชี้แจงเรื่องกัมพูชาไม่ใช่คู่เจรจาตามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ปี 1904 และ ปี 1907 จึงนำสนธิสัญญามาอ้างแบบผิดๆ โดยละเลยที่จะยึดถือแนวพรมแดนตาม “สันปันน้ำ” ระหว่างช่องบกถึงช่องสะงำตามสนธิสัญญา ทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนจากช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี ถึงช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเรื่องนี้ พันโทแบร์นาด (1904) และพันเอกมองกิเอร์ (1907) ผู้เดินสำรวจเขตแดนได้บันทึก เรื่องสันปันน้ำไว้ตรงกันว่าสันเขามีความชัดเจน จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักเขตในบริเวณดังกล่าว

นอกจากนี้ การที่รัฐบาลยอมให้กัมพูชาใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ว่าเป็นเอกสารที่อยู่ในสนธิสัญญา ซึ่งคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เพราะแผนที่นี้ถูกทำขึ้นในปี 1908 ภายหลังจากการเซ็นสนธิสัญญา 1907 ไปแล้ว รัฐบาลไทยขณะลงนามในสนธิสัญญาจึงไม่มีโอกาสตรวจสอบถึงความถูกต้องแต่อย่างใด ฝรั่งเศสได้นำแผนที่ดังกล่าวไปมอบให้ที่สถานทูตไทย ณ กรุงปารีสในภายหลัง ย่อมชัดแจ้งว่าผู้ลงนามในสนธิสัญญาไม่มีโอกาสได้เห็นเอกสารดังกล่าวเลย ที่สำคัญคือแผนที่ดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปจากภูมิประเทศจริงอย่างมาก


อีกประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง คือ บันทึกความเข้าใจ MOU 2543 ฝ่ายไทยไม่ได้บรรจุแผนที่ 1 ต่อ 50,000 เป็นเอกสารที่ใช้เจรจาทั้งที่ ราชการไทยใช้อยู่ และตรงกับภูมิประเทศจริง แต่กลับให้กัมพูชานำแผนที่ 1 ต่อ 200,000 มาใช้เป็นกรอบในการเจรจาได้ อันเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะใช้แผนที่คนละฉบับ

ส่วนพื้นที่ “ปราสาทตาเมือนธม” “ปราสาทตาเมือนโต๊ด“ และ “ปราสาทตาควาย” รัฐบาลก็ไม่ได้ชี้แจงว่า ปราสาททั้งสามอยู่หลังอยู่ทางทิศตะวันตกของช่องสะงำซึ่งเป็น ที่ตั้งหลักเขตที่หนึ่ง จึงยึดถือหลักเขตที่สยามปักปันแล้วกับฝรั่งเศสเป็นสำคัญ เมื่อปราสาททั้งสามอยู่หลังหลักเขตที่ปักปันจึงเป็นของประเทศไทย แต่รัฐบาลไทยกลับปล่อยให้กัมพูชาแถลงอยู่ฝ่ายเดียวเป็นเวลานานว่าเป็นของตน จนภาคประชาชนต้องออกมาชี้แจงว่าประสาทตาเมือนธมนั้นได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาณโดยกรมศิลปากรก่อนที่จะเกิดประเทศกัมพูชาในปี 2496 การนิ่งเฉยของรัฐบาลโดยไม่ยกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ขึ้นต่อสู้ เรื่องดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างดี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่