โรควุ้นตาเสื่อม : ภัยเงียบที่ต้องรู้เท่าทัน

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามวัย หนึ่งภาวะที่มักเกิดขึ้นเงียบๆ ก็คือ “โรควุ้นตาเสื่อม” ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่อาจนำไปสู่ปัญหาทางตาที่รุนแรงอย่าง “จอตาฉีกขาด” หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที



มีงานวิจัยพบว่าในกลุ่มผู้ที่มีอาการวุ้นตาเสื่อม มีเพียง 6-14.5% เท่านั้นที่พัฒนาไปถึงขั้นจอตาถูกดึงจนเกิดรอยฉีก ภาวะวุ้นตาเสื่อมจะพบมากขึ้นในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น สายตาสั้นมากกว่า -6 ไดออปเตอร์ เคยผ่าตัดจอตาหรือต้อกระจก เคยได้รับอุบัติเหตุที่ดวงตา หรือผู้ที่มีโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี

✅ อาการ โรควุ้นตาเสื่อม

สำหรับอาการที่พบบ่อย ได้แก่ การเห็นจุดดำลอยไปมา หรือเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นชั่วขณะ แต่ถ้าเกิดบ่อยขึ้นหรือมีจำนวนมากขึ้น ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด บางรายอาจสังเกตอาการได้ชัดเจนเมื่อต้องมองพื้นเรียบ เช่น ผนังหรือท้องฟ้า โดยเฉลี่ยแล้วอาการเหล่านี้อาจคงอยู่นานราว 3 เดือน แต่หากมีอาการเห็นเงาดำคล้ายม่านน้ำบัง มองเห็นเงาดำครึ้มในมุมสายตา หรือภาพพร่ามัวอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังเกิดจอตาฉีกขาดหรือหลุดลอก ซึ่งต้องรีบพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจขยายม่านตา

✅ การรักษา

ปัจจุบันวิธีการรักษามีทั้งเลเซอร์ และการผ่าตัดเอาวุ้นตาออก ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
เนื่องจากมีทั้งข้อดีและความเสี่ยงร่วมกัน นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยคือ “โรคตาแห้ง” โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นเวลานาน อยู่ในห้องปรับอากาศเป็นประจำ เผชิญกับมลภาวะ ฝุ่น ควัน หรือใส่คอนแทกเลนส์ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาฝ่ออย่างถาวร ในบางรายอาจส่งผลให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

✅ การดูแลสุขภาพตา

สำหรับการดูแลสุขภาพตานั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้กฎ 20-20-20 คือ ทุก 20 นาที ให้พักสายตา 20 วินาที ด้วยการมองไกลออกไปประมาณ 20 ฟุต หรือหลับตาชั่วครู่ รวมถึงการประคบอุ่นดวงตาเช้า-เย็น และหลีกเลี่ยงแสงยูวีโดยสวมแว่นกันแดดเมื่อต้องออกแดด หากรู้สึกแห้งหรือระคายเคืองควรใช้น้ำตาเทียมแทน และหมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ หรือหากใครมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคดังกล่าว ควรตรวจปีละครั้ง และหากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาจตรวจถี่ขึ้น เช่น ทุก 3-6 เดือน

โรควุ้นตาเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย และอาจนำไปสู่ปัญหาทางสายตาร้ายแรงหากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที แม้ว่าจะมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี เช่น เลเซอร์หรือการผ่าตัด การป้องกันและการดูแลสุขภาพตาก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน

https://www.putuchon.com/blog
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่