สัทธา......เจตสิกตัวที่ 9ที่ประกอบในกามาวจรจิต มีคำจำกัดความ และลักขณาทิจตุกะ ดังนี้...

กระทู้สนทนา
365

7.23 ต่อไป เจตสิกลำดับที่ 9 ก็คือ สทฺธา สัทธา นั่นเอง
ท่านก็บอกคำจำกัดความก่อน นะ คำจำกัดความท่านก็ขยายว่า สัททะหันติ เอตายะ
สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกทำให้เชื่อด้วยสภาวะนี้
ด้วย สัทธา นี้
ฉะนั้น สัทธานี้ก็จึงกล่าวถึงสภาวะที่ทำให้เชื่อขึ้นมา ให้มั่นใจ นะ
คือถ้าไม่มีสัทธา มันก็ไม่มั่นใจ
สัตว์ทั้งหลายถูกทำให้มั่นใจ
อันติ แปลว่า เชื่อหรือมั่นใจ หรือเต็มใจ ปลงใจ มั่นใจ อะไรพวกนี้ ประมาณนี้
วันนี้ควรจะแปลว่า มั่นใจ หรือเชื่อนั่นแหละ แต่ว่า
มันเชื่อแบบมั่นใจ แบบจิตใจดิ่งลง แน่ใจว่าต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน ไม่เป็นอื่น อะไรทำนองนี้ นะ8.18
สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกทำให้เชื่อด้วยสภาวะนี้
สภาวะนี้ก็เลยเป็น สัทธา
แปลว่า สภาวะที่ทำให้เชื่อ หรือ
สะยัง วา สัททะหะติ
หรือ สภาวะที่เชื่อเอง นะหมายถึงสัทธานี้เป็นสภาวะความมั่นใจ สภาวะที่เชื่อ สัทธาพวกเราก็นิยมแปลว่าเชื่อ ก็แปลมาจากคำนี้แหละ สัททะ
สัททะหะติ แปลว่า ย่อมเชื่อ หรือ ย่อมห้ามใจ
สัททะหะนะมัตตะเมวะ วา เอสาติ สัทธา
หรือ ตัวความเชื่อนั่นเอง ความมั่นใจนั่นเอง เป็น สัทธา นะครับ9.01
สัทธา ท่านก็ให้คำจำกัดความอันนี้ ท่านไหนเรียนทางบาลีมาก็คือ เป็นรูปวิเคราห์ว่ามันเกิดศัพท์อะไรนั่นแหละ
ผู้วิเคราะห์ในแบบสำเร็จจากประโยคกรรม ก็คือ ถูกทำให้เชื่อด้วยสภาวะนี้
ก็คือถ้าเราไม่มีสภาวะนี้เราก็ไม่เชื่อนะ
ถูกทำให้เชื่อ ให้มั่นใจ ด้วยสภาวะนี้
ถือเป็นตัวความเชื่อทำเองเลย หรือตัวสภาวะที่เชื่อ ฉะนั้น นะครับ
ต่อไป ลักขะณาทิจะตุกะ 9.34
9.34
สาปะเนสา สัททะหะนะลักขะณา
ศรัทธานั้นมีลักษณะเชื่อมั่น
สัททะหะนะ แปลว่า เชื่อมั่น มั่นใจ
ปะสาทะนะระสา
มีกิจ กิจของศรัทธาก็คือ ทำให้เกิดความผ่องใส
ปะสาทะนะ ผ่องใส หรือ สะอาด
เหมือนกับน้ำที่ใสสะอาดแจ๋วเลย
อุปมาเหมือนกับอะไร
อุทะกัปปะสาทะกะมะณิวิยะ
อุปมาเหมือนกับแก้วมณีที่ที่ทำให้น้ำใส มีใหมน้ำขุ่นๆเอาแก้วมณีมาสักอย่างหนึ่งนะหย่อนลงไปแล้วกวนๆๆๆแล้วน้ำใสเลยนะอันเนี้ย
สารส้มเอยอะไรเอย ยุคเก่าเขาใช้แก้วมณี ยุคนี้ใช้สารส้ม พอกวนไปของขุ่นตกตะกอนเลยน้ำใสแจ๋วเลยประมาณนั้น
อันนี้คือลักษณะของศรัทธา จิตก็จะมีความผ่องใสแจ่มใสเบิกบานนะ พวกกิเลสก็เหมือนกับตกตะกอนอยู่แล้วนี่นะครับ ทำนองนี้นะครับ
อันนี้ลักษณะของศรัทธามีลักษณะ มั่นใจ เชื่อมั่น
มีกิจ ก็คือ ทำให้เกิดความผ่องใส
อะกาลุสิยะปัจจุปัฎฐานา
มีอาการปรากฎก็คือไม่ขุ่นมัว
อะกาลุสิยะ คือไม่ขุ่นมัว ไม่มัว ไม่หมอง มันใส มันสะอาด มันแจ๋ว
สัทเธยยะวัตถุปะทัฎฐานา
มีเหตุใกล้ให้เกิดก็คือ สัทเธยยะวัตถุ
วัตถุถือสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งสัทธาได้หรือสิ่งที่ควรจะเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาก็คือ คุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
อันนี้คือ สัทเธยยะวัตถุ นะครับ
ก็คือ มั่นใจได้
ถ้ามั่นใจ ตั้งลงไปในสิ่งที่มั่นใจแน่นอน ใจมีสิ่งที่มั่นใจแน่นอนในสิ่งที่แน่นอนได้ อันนี้เรียกว่า ศรัทธา
แต่ถ้าเราไปแน่ใจในคนที่ไม่ควรจะแน่ใจ นี้ไม่ใช่สัทธาเพราะว่า
คนมีกิเลสเนี่ยบางวันมันดี บางวันมันร้ายใช่ไหม คุ้มดีคุ้มร้าย บางวันก็คลุ้มคลั่งไป เราไปมั่นใจในเขา ตอนนี้ไม่ใช่ศรัทธาแล้วว่า มันไม่ใช่ที่เกิดของสัทธา  ที่เกิดของสัทธามันต้องตั้งอยู่ที่ สัทเธยยะวัตถุ นะ
เช่น เชื่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ ก็ท่านประเสริฐแน่นอนอยู่แล้ว
ธัมมะ เป็นของดี เป็นอกาลิโก ธัมมะก็เป็นอกาลิโกอยู่แล้ว มัคเกิดผลก็เกิดอยู่แล้ว น้า
ถ้าเป็นพระอริยสงฆ์ท่านก็ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่แล้ว ทานที่ให้แก่ท่านก็ให้ผลมากอยู่แล้ว
อันนี้เป็น สัทเธยยะวัตถุ
ถ้ามั่นใจอย่างนี้ก็เป็น สัทธาจริง เพราะว่าเป็นที่ตั้ง หรือเป็นเหตุให้เกิดสัทธาได้ อย่างเนี้ย
ฉนั้นบางทีแค่คำพูดบางทีมันก็ไม่ถูกนะเราก็ต้องดู บางคนก็อาการคล้ายๆสัทธาแต่ว่าวัตถุมันไม่ได้ พอวัตถุไม่ได้ มันก็ไม่ใช่สัทธา มันก็จะเป็นตัวอื่นไปอะไรก็ว่าไป
งั้นเราก็ต้องเรียนแบบว่าครอบคลุม 12.39
นะครับ นี้คือ สัทธา นะครับ ลำดับที่ 9 12.44
ต่อไปลำดับที่ 10
-----------
อ้างอิงจากคลิปนี้ครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ตำราอภิธัมมาวตาร ของวัดท่ามะโอ ในตอน สัทธาเจตสิกที่ประกอบกับกามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 ครับ
น227

น228

------
เหตุที่ยกกระทู้เรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อ ใช้อ้างอิงเรื่อง ลักขณาทิจตุกะของเจตสิก ที่หาผู้สอนได้ยากอย่างละเอียดเช่นนี้ครับ
เหมาะกับผู้ที่อยากจะมีปัญญาระดับ ปัจจะยะปะริคะหะญาน ครับ
ส่วนผมก็เอาไว้ค้นหาทบทวนอีกครั้งเมื่อนึกถึงเรื่องนี้แล้วนึกไม่ออกครับ
การเรียนของกระผมก็เรียนเพื่อรู้นะครับแล้วก็เอาไว้ใช้ปฏิบัติในแต่ละวัน เช่นเอาไว้พิจารณาธรรมในตอนที่นึกถึงเรื่องหนึ่งแล้วโยงไปโยงมานะครับ
-----
อนุโมทนา ท่านที่ให้ความสนใจอ่านแล้วเกิดมหากุศลประกอบด้วยปัญญา ( กามาวจรกุศล ดวงที่ 1 ) ตามที่กำลังเรียนอยู่นี้แหละครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่