รีวิว สงครามชีวิต ศรีบูรพา และข้อคิดที่ได้จากการอ่าน

นวนิยายอีกเรื่องที่ควรอ่านสำหรับใครที่ชื่นชอบงานเขียนของนักเขียนนามปากาศรีบูรพา ซึ่งฝากผลงานไว้มากมาย อาทิ  ปราบพยศ ข้างหลังภาพ  ซึ่งเจ้าของกระทู้ได้มีโอกาสได้อ่านสองเรื่องนี้แล้วรู้สึกชื่นชอบนักเขียนท่านนี้มากๆ ออ…ต้องขอบอกก่อนว่าเจ้าของกระทู้พึ่งมาอ่านหนังสือจริงๆจังๆได้เพียงแค่หนึ่งปีเศษ จึงไม่รู้ว่าจริงๆแล้วนิยายพวกนี้ถูกเขียนขึ้นมานานมากแล้ว ก่อนที่เจ้าของกระทู้จะเกิดเสียอีก และยังพบว่าหลายเรื่องก็ได้ถูกนำไปดัดแปลงไปภาพยนตร์ซ้ำหลายครั้ง  จากการอ่านทั้งสองเรื่องข้างต้นทำให้ต้องตัดสินใจไปหาเรื่องที่สามมาอ่านอีกเพราะยังติดใจกับภาษาและสำนวนความสวยงามในการใช้คำบรรยายของท่านนักเขียน จึงได้นวนิยายสงครามชีวิต เป็นเรื่องที่สามมากอ่านจนได้

          เนื้อเรื่องข้างต้นต้องบอกก่อนว่าจะแปลกจากสองเรื่องที่เคยอ่านมา คือ เรื่องสงครามชีวิตเนื้อเรื่องจะเป็นการบรรยายแบบการเขียนจดหมายส่งหากันระหว่าง ระพินทร์ หนุ่มวัย 25 ปี ผู้มีฐานะยากจนเป็นราชการชั้นผู้น้อยอยู่ในกรมกรมหนึ่ง และมีความฝันที่อยากจะเป็นนักประพันธ์อันโด่งดังของเมืองไทย กับ เพลิน สาวน้อยวัย 20 ปี ลูกผู้รากมากดีแต่ตกอับเพราะพ่อถูกกล่าวหาว่าโกงเงินหลวง จนต้องหนีออกนอกประเทศ*ถ้าจำไม่ผิดหนีไปจีน แต่ก็ไม่เคยส่งข่าวอะไรกลับมาให้ทางบ้านทราบเลย จนคิดว่าพ่ออาจจะตายไปแล้ว และแม่ที่ต้องตอมใจตายด้วยในที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เพลิน ผู้ที่เคยมีชีวิตอันผาสุกต้องเปลี่ยนสถานะมาเป็นคนยากคนจนต้องอาศัยอยู่กับน้าสาวและหลานเล็กๆในกระท่อม สถานนะทั้งสองคนเรียกได้กว่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออกกันเลยที่เดียว แต่ทั้งสองก็รักกันมาก โดยความรักนั้นเป็นความรักที่มาในรูปแบบของการเห็นอกเห็นใจกัน ค่อยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเห็นได้จากการที่ระพินทร์ให้เงินแก่เพลินเพื่อนำเงินเอาไปรักษาน้าสาวของตนที่กำลังป่วย การซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้กับเพลินเพื่อไม่ให้เพลินน้อยหน้าใคร พาเพลินไปดูละครพูด โดยเงินที่ระพินทร์ได้มานั้นก็เป็นเงินที่ได้มาอย่างยากลำบากจนต้องพาเสื้อผ้าบางส่วนของตนเองไปจำนำ ในส่วนของเพลินเองก็มีความเห็นอกเห็นใจในตัวระพินทร์อยู่มากนับถือระพินทร์ประดุจพ่อพระที่ค่อยช่วยเหลือตนเองอยู่เสมอค่อยแบ่งเบาความทุกข์ของระพินทร์อยู่เนื่องๆ ค่อยเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ความรักของทั้งสองคนดำเนินไปอย่างหวานชื่นและสวยงาม
           จนกระทั่งวันหนึ่งวันที่เพลินทนไม่ไหวกับสถานะความเป็นอยู่อันข้นแค้นของตนเองและสงสารเห็นใจคนรักอย่างระพินทร์ที่ต้องลำบากหาเงินมาให้ตน จึงคิดที่จะหางานทำเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้านและเพื่อนำมาสนับสนุนความฝันของระพินทร์ เพลินจึงตัดสินใจไปคัดตัวเป็นนางเอกภาพยนตร์ ตอนแรกระพินทร์แสดงออกว่าไม่พอใจและไม่อยากให้เพลินไปเป็นนักแสดง แต่ด้วยเหตุผลต่างๆที่เพลินยกให้ระพินทร์ฟัง ระพินทร์จึงต้องยอมจำนนเพราะไม่อยากขัดใจคนรัก ในที่สุดเพลินก็ได้เข้าไปเป็นนางเอกภาพยนตร์ดังที่ตั้งใจ แต่ใครจะคิดว่าการตัดสิ้นใจไปเป็นนางเอกภาพยนตร์ในครั้งนั้นจะทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเพลินได้พบกับกับวินัย ผู้กำกับภาพยนตร์หนุ่มวัย 30 ปี ที่ทั้งหล่อและรวย โดยวินัยค่อยช่วยเหลือเพลิน ให้เงิน พาเพลินไปตัดชุดสวยราคาแพงๆ ซึ่งชีวิตนี้ระพินทร์อาจจะไม่มีวันให้ได้ ทำให้เพลินมีความสุขมากๆและคงแอบหวนไปคิดถึงในสมัยที่ตนเองมีชีวิตอันรุ่งโรจน์มีพ่อมีแม่และมีบ้านใหญ่ๆอยู่  ครั้นแล้วเมื่อถึงเวลาที่เพลินจะต้องไปถ่ายทำภาพยนตร์นอกสถานไกลถึงสงขลา โดยมีวินัยผู้กับกำภาพยนตร์ไปด้วย โดยใช้เวลาถึงสามสัปดาห์ด้วยกัน ทำระพินทร์เกิดความกระวนกระวายใจแต่ก็ไม่อยากจะคิดมากเพราะตัวระพินทร์เองไว้ใจและเชื่อใจในความรักของเพลินที่มีต่อตนมาก ขณะเดียวกันจดหมายทางฝั่งเพลินเองก็น้อยลงทุกที จนแถบจะไม่มีมาถึงระพินทร์เลยพูดง่ายๆว่าตอนที่เพลินไปถ่ายภาพยนตร์อยู่ที่สงขลาเพลินไม่ได้เขียนจดหมายถึงระพินทร์เลยมีแต่ระพินทร์ที่เขียนส่งไป อ่านถึงตอนนี้สงสารระพินทร์มากเหมือนเขียนเพ้ออยู่คนเดียว ทำให้รู้สึกว่าระพินทร์รักและเป็นห่วงเพลินมากๆ คือตอนอ่านในเล่มหนังสือจะได้อรรถรสกว่านี้
           หลังจากเพลินถ่ายงานเสร็จเดินทางกลับมายังบ้านก็ได้ตอบจดหมายของระพินทร์และได้สารภาพว่าตนได้ตกลงที่จะแต่งงานกับวินัย ผู้ซึ่งที่จะพาให้ชีวิตของเพลินได้กลับไปยังสมัยอันรุ่งโรจน์อีกครั้ง หลังจากระพินทร์ได้รับจดหมายจากเพลินว่าจะแต่งงานกับวินัย ตอนแรกระพินทร์ก็ไม่เชื่อด้วยความเชื่อใจในตัวคนรักอย่างเพลินมาก จึงนึกกว่าเพลินอาจะล้อตนเล่น แต่เมื่อเพลิงได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายเพื่อยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และให้ระพินทร์ตัดใจสะ โห้….นี้แถบร้อง อ่านมาถึงตอนนี้อยากจะกระโดดเข้าไปกอดระพินทร์ผู้ซึ่งโชคชะตาไม่เคยให้โอกาสกับเขาเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็แล้วแต่ ทั้งการงาน ความเป็นอยู่ที่ยากจน และเรื่องของความรัก
          จดหมายฉบับสุดท้ายที่ระพินทร์เขียนถึงเพลิน ชอบสองท่อนนี้มาก
         “ถ้าฉันเป็นนก ฉันคงจะบินติดตามเธอไปทุกหนทุกแห่ง แม้ว่าเมื่อบินไปในระหว่างทาง ตัวฉันจะต้องถูกธนูฉันก็จะอุตส่าห์พยุงกายบินไปตกตรงหน้าเธอ และเมื่อยอดรักได้เช็ดเลือดและน้ำตาให้ฉันสักครั้งหนึ่ง ฉันก็จะหลับตาตายด้วยความเป็นสุข”
         “เธอก็จงปรุงยาพิษส่งมาให้ฉันสักถ้วยหนึ่ง อย่า ฆ่าฉันอย่างผู้ร้ายเลือดเย็น จงฆ่าฉันอย่างยอดรัก และให้ฉันตายอย่างยอดรักของเธอเถิดนะแม่นะ…”
          เรียกได้ว่าเป็นท่อนจบที่เราไม่สามารถเดาได้เลยว่าชีวิตของระพินทร์จะเป็นอย่างไรต่อไป ชีวิตระพินทร์จะตายไปพร้อมกับความรักนั้นไหมบอกไม่ถูกเลย

          นอกจากมุมมองในเรื่องความรักของหนุ่มสาวยากจนคู่นี้แล้วภายในเรื่องยังสอดแทรกไปด้วยข้อคิดต่างๆโดยเฉพาะตอนที่ระพินทร์ได้ไปพบกับสองตาหลานยากจนที่เดินมาขอข้าวและเสื้อผ้าจากหญิงวัยชราที่กำลังตักบาตร แต่หญิงชรากลับปฏิเสธและบอกว่า
          ”ทำไมฉันตักบาตรแล้วจำเป็นต้องให้ทานคนอย่างแกด้วยหรือ? แกคิดว่าแกมีค่าเท่ากับพระสงฆ์องค์เจ้าเช่นนั้นหรือ? รู้มั้ยว่าฉันตักบาตรน่ะเพราะฉันต้องการบุญ ตายไปชาติหน้าจะได้ขึ้นสวรรค์ ฉันไม่ได้เป็นเศรษฐีจะได้เอาทรัพย์มาเที่ยวแจกจ่ายโดยไม่หวังจะได้ผลประโยชน์ตอบแทน“
           อ่านมาถึงตรงนี้แล้วโดนมากแบบเห้อ!!มันมีให้เห็นจริงนะในปัจจุบัน จากนี้ยังมีประโยคที่ระพินทร์ได้เขียนสอนไว้ในจดหมายส่งถึงเพลินว่า
          “ในหัวใจของมนุษย์การให้เปล่าให้อย่างบริสุทธิ์ไม่มี เขาให้อย่างหนึ่ง เพราะเขาต้องการจะได้อีกอย่างหนึ่ง เธอช่วยจำไว้ด้วยนะเพลิน ว่าหัวใจมนุษย์เป็นหัวใจที่มุ่งต่อการตอบแทน”
          ซึ่งเป็นคำที่จริงแท้แน่นอนมนุษย์ต้องการสิ่งตอบแทนเมื่อได้จงใจและคิดที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดหากไม่หวังผลสิ่งนั้นก็จะเปล่าประโยชน์ไม่สมควรจะทำมันให้เสียแรงและเสียเวลา
          นอกจากพระเอกอย่างระพินทร์แล้วอีกตัวละครที่เราชอบมาก คือ ดุสิต สมิโตปกรณ์ ทั้งหล่อและรวยเผลอๆชอบมากกว่าตัวพระเอกอีกนะ😙 แต่เสียดายบทน้อยไปหน่อย ต้องกล่าวถึงภูมิหลังของตัวละครนี้ก่อน คือจริงๆแล้วเป็นตัวละครถ้าเปรียบก็คือเป็นนักแสดงรับเชิญที่เข้ามาทำให้รู้สึกว่ามีคนที่ดีเหนือกว่าพระเอกอีก ก็คือ ดุสิต สมิโตปกรณ์ นี้แหละจ้า ดุสิตได้ย้ายมาสร้างบ้านอยู่ข้างบ้านของระพินทร์ จึงทำให้ในที่สุดทั้งสองได้เป็นเพื่อนบ้านที่ดีซึ่งกันและกัน โดยต่อมาระพินทร์ได้รู้ที่หลังว่าดุสิตเป็นนักเขียนชื่อดังและเป็นเจ้าของผลงานของหนังสือที่ตนเองชื้นชอบ จึงทำให้ระพินทร์เห็นช่องทางอานาคตและอยากที่จะก้าวไปถึงจุดๆเดียวอย่างดุสิต ดุสิตก็มีความเมตตาและ พยายามที่จะสอนสิ่งต่างๆให้แก่ระพินทร์เช่นกัน ดุสิตเป็นคนที่เก่งและฉลาดในเรื่องของชีวิตและผู้คนมากเห็นได้จากตอนที่ 18 ในหนังสือได้บรรยายถึงประโยคที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมของคนไทยว่าเป็นแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก กล่าวคือ
          “สัตว์ใหญ่ทำลายสัตว์เล็ก และสัตว์เล็กทำลายสัตว์ที่เล็กที่สุด ในข้อนี้มนุษย์ก็ไม่ต่างกว่าสัตว์อีกเหมือนกัน พวกมีอำนาจมากจะเอาเปรียบพวกมีอำนาจน้อยกว่า และพวกมีอำนาจน้อยกว่าจะเอาเปรียบพวกมีอำนาจน้อยที่สุด”
           พูดง่ายๆว่าคนมีเงินที่มีเงินมีอำนาจเป็นห่วงโซ่สูงสุดในสังคมไทย คนจนย่อมถูกเอารับเอาจากคนรวยอยู่เสมอ ดังนั้นเงินเท่านั้นที่จะบันดานความสุขให้แก่มนุษย์ได้ดังประโยคที่ดุสิตกล่าวแก่ระพินทร์ว่า
          “ คุณความดีไม่ได้ให้ความสุขแก่มนุษย์เสมอไป เงินอย่างเดียวที่แน่นอนนัก ยิ่งสมัยนี้ด้วยแล้ว ถ้าคนไหนไม่มีความคารวะต่อเงิน คนนั้นจะอยู่ด้วยความเจริญรุ่งเรืองตามความนิยมของโลกไม่ได้”
           เงินเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าในโลกสมัยใหม่ หาใช้ความดีไม่ เงินซื้อได้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความรัก เงินคือพระเจ้าของโลก ดังประโยคที่ดุสิตกล่าวแก่ระพินทร์ว่า
           “ เจ้าคนถอยทรลักษณ์ที่เคยโกง เคยทุจริต แต่ว่ามันมีเงินเต็มกระเป๋า เดี๋ยวนี้กลายเป็นคนมีชื่อเสียงดังในสมาคมเดินก๋าอยู่ท่ามกลางพวกผู้ดี แล้วหลายๆคนยังจะต้องโค้งคำนับให้มันด้วยซ้ำ เขายอมฟังเสียงและโค้งคำนับให้มันเพราะไม่ทราบความชั่วช้าลามกของมันหรือ? ทำไมเขาจะไม่ทราบ เขาทำไปทั้งๆที่ทราบดีอยู่แล้ว เขาปฏิบัติตามทำนองของอารยธรรมแผนใหม่ ซึ่งเงินเป็นผู้ปกครองโลก“
             ประโยคนี้ก็เห็นจะจริงทีเดียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยเราเอง ผู้กระทำความผิดแต่มีเงินเท่ารอด เห็นจากกรณีนักโทษบางคนผู้คุ้มยังต้องยกมือไหว้นักโทษอยู่เลย5555+
            นอกจากตัวละครฝ่ายชายแล้วเรามาดูตัวละครฝ่ายหญิงกันบางแน่นอนคนคนนั้นก็คือนางเอกของเราอย่างเพลิน ให้เรามองว่าถ้าเราเป็นเพลินแล้วตกอยู่ในสถานการณ์นั้นเราจะเลือกแบบไหน แน่นอนเจ้าของกระทู้ก็จะเลือกแต่งงานกับวินัย เพราะอะไรนั้นหรือ? เพราะว่าเขารวย คำเดียวจบ คิดดูเถอะว่าจากคนที่มีชีวิตอย่างจ้าหญิงแบบเพลิน มีพ่อเป็นถึงเจ้าคุณพระ มีเงินมีบ้านหลังใหญ่มีเสื้อผ้าสวยๆ เคยมีสังคมที่คนดีมาก่อน เมื่อเพลินมีโอกาส มีทางเลือก เหตุใดเพลิงจึงจะไม่เลือกทั้งๆที่คนที่เขามอบโอกาสให้เขาก็ดูจะรักและเอ็นดูเราอย่างที่สุด และในมุมอีกฝั่งหนึ่งการที่เราจะกลับไปอยู่ตรงนั้นมันกลับทำให้เราสามารถที่จะซับพอตคนที่เรารักได้อย่างเต็มที่ เช่น ตอนที่เพลินให้เงินกับระพินทร์เพื่อให้ระพินทร์เอาเงินไปตั้งตัวและใช้เป็นทุนในการทำหนังสือ นี้เห็นได้ว่าเพลินรักระพินทร์รักแบบไม่ต้องการจะให้ระพินทร์ต้องมาเดือดร้อนมาลำบากเพราะตัวอีกแล้ว แต่ถึงกระนั้นใครได้อ่านร้อยทั้งร้อยก็อ่าจจะเกลียดเพลินไปเลยก็ได้ แต่เจ้าของกระทู้กลับมองว่าเขามีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กลับตัวเองค่ะ😊

          ภาพรวมเรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ดีมากๆของศรีบูรพา ต้องยอมรับว่าทั้งสามเล่มที่เคยอ่านมา “สงครามชีวิต” ภาษาสวยสุด อ่านแล้วต้องใช้สมองคิดตีความอยู่พอสมควร แต่รับรองว่าสนุกอินไปกับทุกตัวละครและได้แง่คิดดีๆมากมาย🫶🏻

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่