“โรคอ้วน” ในผู้สูงอายุ ป้องกันได้ เริ่มวันนี้!... ด้วย 4 วิธีง่ายๆ
โรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ และระบบเผาผลาญทำงานลดลง ปัญหานี้มักเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารที่เคยชิน การไม่ดูแลโภชนาการ และการขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วนและเสี่ยงต่อ โรคเรื้อรังอื่นๆ ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
สัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้สูงอายุอาจมีภาวะโรคอ้วน
- รอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
- ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150 มิลลิกรัม%
- ระดับ HDL ต่ำกว่าเกณฑ์ (ไขมันตัวดีน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม% ในผู้ชาย และ 50 มิลลิกรัม% ในผู้หญิง)
- น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัม% ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของเบาหวานหรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน
- โรคอ้วนในผู้สูงอายุสามารถเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, ข้อเข่าเสื่อม, ไขมันพอกตับ, โรคเกาต์ และกระดูกพรุน เป็นต้น
4 วิธีป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ
1. ปรับการทานอาหาร เลือกอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณเหมาะสม เช่น เนื้อปลา ไข่ต้ม เต้าหู้ นมพร่องมันเนย ผักต้ม ผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น มะละกอ ส้ม กล้วยสุก
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เช่น เดิน โยนเปตอง หรือแกว่งแขน
3. ควบคุมน้ำหนักตัว พยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามส่วนสูงของผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน
4. ลดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยง หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือไขมันสูง เช่น อาหารจังก์ฟู้ด อาหารทอด
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคอ้วน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากตัวผู้สูงอายุเองและผู้ดูแล เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้
“โรคอ้วน” ในผู้สูงอายุ ป้องกันได้ เริ่มวันนี้!... ด้วย 4 วิธีง่ายๆ
“โรคอ้วน” ในผู้สูงอายุ ป้องกันได้ เริ่มวันนี้!... ด้วย 4 วิธีง่ายๆ
โรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ และระบบเผาผลาญทำงานลดลง ปัญหานี้มักเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารที่เคยชิน การไม่ดูแลโภชนาการ และการขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วนและเสี่ยงต่อ โรคเรื้อรังอื่นๆ ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
สัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้สูงอายุอาจมีภาวะโรคอ้วน
- รอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
- ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150 มิลลิกรัม%
- ระดับ HDL ต่ำกว่าเกณฑ์ (ไขมันตัวดีน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม% ในผู้ชาย และ 50 มิลลิกรัม% ในผู้หญิง)
- น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัม% ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของเบาหวานหรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน
- โรคอ้วนในผู้สูงอายุสามารถเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, ข้อเข่าเสื่อม, ไขมันพอกตับ, โรคเกาต์ และกระดูกพรุน เป็นต้น
4 วิธีป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ
1. ปรับการทานอาหาร เลือกอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณเหมาะสม เช่น เนื้อปลา ไข่ต้ม เต้าหู้ นมพร่องมันเนย ผักต้ม ผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น มะละกอ ส้ม กล้วยสุก
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เช่น เดิน โยนเปตอง หรือแกว่งแขน
3. ควบคุมน้ำหนักตัว พยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามส่วนสูงของผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน
4. ลดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยง หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือไขมันสูง เช่น อาหารจังก์ฟู้ด อาหารทอด
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคอ้วน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากตัวผู้สูงอายุเองและผู้ดูแล เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้