การตั้งจิต ของนักปฏิบัติธรรม

การตั้งจิต  ของนักปฏิบัติ
              นอกเรื่องนิดหนึ่ง ผมเคยอ่านกระทู้มีคนยกตัวอย่างพระใบลานเปล่า มาเปรียบ เหมือนเป็นอุปมาว่า คนที่มาสอนก็คงได้แต่สอน  ส่วนตัวผมนะ ผมมาในรูปแบบ สนทนาธรรม คุยกันไม่ได้สอนนะครับ ท่านมีความคิดดีๆ ก็มาอธิบาย ให้กระทู้ดูน่าอ่านมากขึ้น ส่วนตัวผมก็จะเก็บข้อมูลดีๆที่ท่านให้มา สักวันหนึ่งเราคงได้บรรลุธรรมกับเขาบ้าง ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมพยายาม ตั้งหัวข้อให้น่าสนใจ ส่วนใครมีความเห็นอย่างไรก็เช่นร่วมนะครับ ส่วนผมจะเผาหัวไปก่อนเป็นคนแรกครับ  

     เข้าเรื่อง
      ก่อนอื่นขออัญเชิญพระสูตร ยกขึ้นมาอ่านก่อนครับ เพื่อเป็นศิริมงคล ครับ

“[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อ
เลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูก
ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ”
 
(https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=20&A=161&w=%A2%E9%D2%C7%CA%D2%C5%D5)
 
        การตั้งจิต หมายถึงอะไร
        คำว่าจิต มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น ใจ ,มโน,  วิญญาณ(มโนวิญญาณ ในขันธ์ห้า) ก็เป็นคำเรียกจิต นั้นเอง
        คำว่า จิต เป็นภาษาที่นักปฏิบัติธรรม เช่น นักวิปัสสนาชอบใช้ เช่นการดูจิต  เกิดร่วมกับจิต เป็นต้น ส่วนใจ จะเป็นภาษา คนทั่วไปใช้ เช่น คนใจดี  สิ่งนี้ในใจท่านจะให้ราคาเท่าไหร่ อย่างนี้เป็นต้น

          คำว่า การตั้งจิต กับการตั้งใจ ก็ไม่น่าจะต่างกัน 

          การตั้งจิต ก็หมายถึงการตั้งความเห็นไว้ในใจ ปักธง ว่า มีความเห็นว่าอย่างไร
 
      มีนักเทศน์ท่านหนึ่ง ท่านได้เล่าว่า ท่านเคยจิตเสีย และท่านก็เสียใจมาก ก็พยายาม รักษาจิตให้ดีขึ้น จนกระทั้ง จิตของท่านดีขึ้นมา จากนั้น ท่านก็ไม่ยอมให้จิตท่านเสียอีกเลย
 
       การที่ท่านบอกว่าจิตท่านเสีย ผมก็ไม่เข้าใจ เสียอย่างไร ตอนนั้น มีกิเลสครอบงำ หรือว่า นิวรณ์ห้าครอบงำ  ส่วนคำว่าจิตดี นั้นหมายถึงอย่างไร ปราศจากกิเลส อย่างนั้นหรือเปล่า  ท่านมีความพอใจมากที่จิตท่านดีขึ้นมา  ก็แสดงว่า ท่าน ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัดในจิตของตนใช่หรือไม่
 
         ในพระสูตร มีคำกล่าวที่ว่า  บุคคลผู้ไม่เคยสดับ จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ในจิตหามีไม่ เพราะเหตุได เพราะ เชื่อว่าจิตนั้นเป็นตน

      การที่ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัดในจิต ก็คงหมายถึง ชื่นชอบ ยินดีในจิต อย่างนั้น ใช่หรือไม่ อันที่จริง ควรตั้งความรู้สึกกับจิตอย่างไรจึงจะถูก เช่นรังเกียจ เห็นจิต เป็นของน่ารังเกียจ เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ อย่างนั้นหรือเปล่า
 
     ผมจะยกตัวอย่างพระสูตร  

       ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑
เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑
เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑
เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑
เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น
ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็น
โทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็น
มูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑ เป็นของ
มีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความ
เกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้
เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็น
ธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความคับแค้นใจเป็น
ธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ
แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ...........
(https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=10812&w=%E0%BB%E7%B9%B4%D1%A7%C5%D9%A1%C8%C3)
 
ในพระสูตรยกมาเป็นบางส่วน ท่านสามารถอ่านได้ตามลิงค์นั้น

        การพิจารณาเบญจขันธ์ หรือขันธ์ห้า  เราก็เรียกได้ว่า จิต ก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า เพราะจิต ก็คือ มโนวิญญาณ ซึ่งอยู่ในวิญญาณขันธ์ นั้นเอง
 
        การพิจารณาจิต ก็คือพิจารณา เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของน่ารังเกียจ เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร .........

       การที่ต้องปักธงว่า ต้องมีจิตที่ดีอย่างนั้น อย่างนี้ ชื่นชมจิตตัวเอง ก็ไม่น่าจะถูกต้อง

          มีอีกคำหนึ่งที่ว่า ผมคัดมาจากคนแปลในกูเกิล ว่า
          อาตาปี สัมปชาโน สติมา = มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ.

            ผมไม่ได้เรียนบาลีมา ผมว่า น่าจะแปลว่า มี สติ มีสัมปชัญญะ เพียรละกิเลส  ที่เข้าใจอย่างนี้ เพราะ มันต้องมีสติก่อน ถึงจะสร้างสัมปชัญญะได้ เมื่อมีสัมปชัญญะ จึงจะเบรก กิเลสที่เกิดให้หยุดได้

      การละกิเลสในใจ ก็ไม่ได้หมายถึงว่า มีความยินดีรักใคร่จิต ก็เหมือนพระอรหันต์นาคเกษมกล่าวว่า  การที่พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีในกายนี้ แต่ก็ต้องทำความสะอาดร่างกาย เพื่อให้ร่างกายไม่เจ็บใข้ไม่ป่วย เพื่อรับใช้ ในการปฏิบัติธรรมต่อไป

    ใจเราก็เช่นกัน ถึงเราจะไม่ได้รักใคร่ ชื่นชม ก็ต้องรักษามิให้จิต หนาไปด้วยกิเลส เพื่อให้พร้อมที่จะมารับใช้เจ้าของมันต่อไป

    การตั้งจิต ที่ถูกต้อง ในขณะทำวิปัสสนา ก็คือการ ตั้งจิตว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เป็นของเสีย เป็นของไม่ใช่ตน ไม่ควรนับว่าเป็นตน จิตเป็นอนัตตา ประมาณนั้น 

            การตั้งจิตที่ถูกต้อง ที่จะเป็นโอกาสได้บรรลุธรรมนั้น การพิจารณาดังกล่าว จะเป็นขั้นตอนที่สอง โดยที่ขั้นตอนแรก เราต้อง สร้าง สติ และสัมปชัญญะให้ มีอย่างต่อเนื่อง ผมเคยอธิบายในกระทู้เรื่อง การน้อมจิต นั้นแหละ การสร้างสติให้มีถึงระดับสมาธิจิต สร้าง สัมปชัญญะให้ต่อเนื่องมีถึงระดับญาณ  เมื่อจิตเป็นสมาธิ และมีญาณเกิด ระดับนี้ จะเข้าสู่ขั้นที่สองคือการน้อมจิต การน้อมจิต ก็ต้องตั้งจิตให้ถูก ถึงจะมีโอกาสได้
 
การภาวนา ที่มีเป้าหมายคือการบรรลุธรรมนั้น ก็ต้องมาในแนวนี้ ยกเว้น เจตนาเป็นอย่างอื่น เช่นมีฤทธิ์ มีเดช อันนั้นก็ต้องไปศึกษาตำราอื่น
 
การพิจารณา จะต้องพิจารณา ด้วย สติ และ ญาณ ถ้าไม่มีสองอย่างนี้ ก็ไม่ถูกตำรา

ยกตัวอย่างพระสูตร เช่น
“[๗๓๐] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
            ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็น
สุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ
นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
ละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละ
สมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐาน-
*ภาวนา ฯ”  (https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=10710&w=%B4%D1%A7%CB%D1%C7%BD%D5)
 
“ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐาน-
*ภาวนา ฯ”
 
ถ้ามีแต่สติ ไม่มีญาณ ก็ไม่ใช่สติปัฏฐานภาวนา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่