1.
พิจารณาความสุข
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว
...ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข
เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
รูป ที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย,
(แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวน ใจให้รัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ ;
ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่ากามสุข อันเป็นสุขของบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬ๎หสุข) ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกามอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเข้าถึงปฐมฌาน,
อันประกอบด้วยวิตกวิจาร,มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลงจึงเข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้เธอย่อม เข้าถึงตติยฌาน
แล้วแลอยู่; เพราะละสุขเสียได้, เพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
เธอย่อมเข้าถึงจตุตฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะเป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม.
เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำ ให้มาก, ไม่ควรกลัว.
คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความ สุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, นั้น ; คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้.
2.
พิจารณาโดยความเป็นธาตุ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ พิจารณาเห็นว่าเป็นธาตุ
ดูกรภิกษุ ท. ! ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
_____________________________________________________________________________________________
ดูกรภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่า ไม่งามในกายอยู่
จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่เถิด
ดูกรภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคานุสัยในเพราะความเป็นธาตุงามได้
เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตกทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก
อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี
เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ
3.
พิจารณาโดยความเป็นอายตนะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อายตนะภายใน
ดูกรภิกษุ ท. ! จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน เป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา...
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
“ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
ดูกรภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในกายะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
อายตนะภายนอก
ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ...ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า" ... ฯ
ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกลิ่น
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในธรรมารมณ์
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
4.
พิจารณาโดยความเป็นปฏิจสมุปบาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ พิจารณาว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นเพียง ปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุ ท. ! เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ
ดูก่อนภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือ
ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า เธอทั้งหลายจงมาดู เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ ดังนี้
เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
เพราะมี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมี นามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน:
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้" กฏ สูง สุด ของ ธรรม ชาติ : ปฏิจจ สมุป บาท "
https://pantip.com/topic/38161652
ดูกรภิกษุ ท. !ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นรูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
5.
พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
6.
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
7.
พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
8.
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
9. ธรรมทั้งหมดล้วนเอามาพิจารณาได้ เช่น พิจารณาอริยสัจ4 เป็นต้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกระทำในใจโดยแยบคาย เป็นลักษณะของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายโดยธรรมใดอยู่
โดยลักษณะถือมั่นในธรรมใดนั้นไว้อยู่ เพื่อถึงการก่อเกิดขึ้นโดยปัญญาอันเกิดแต่ธรรมที่ตนถือไว้แล้วนั้น
ปัญญานี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสทั้งหลายอยู่ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
ธรรมใดที่ตนถือไว้แล้วนั้น มีการกระทำไว้ในใจแล้วด้วยความถือมั่น แต่ไม่ได้เป็นส่วนก่อเกิดขึ้นแห่งปัญญา อันเป็นปัญญาเพื่อการเจาะแทงกิเลส มีแต่จะทำให้ปัญญาทุรพล ปัญญาถอยไป นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ
อีกพระสูตรหนึ่ง
"ดูกรภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่, เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รัอยู่
ดูกรภิกษุ ท. !
ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร
ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้ ผู้เห็น โยนิโสมนสิการ และ อโยนิโสมนสิการ
เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น
เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุ ท. ! อาสวะที่จะพึงละได้เพราะ การเห็น มีอยู่
ที่จะพึงละได้เพราะ การสังวร ก็มี
ที่จะพึงละได้ด้วย การเสพเฉพาะ ก็มี
ที่จะพึงละได้ด้วย ความอดกลั้น ก็มี
ที่จะพึงละได้ด้วย การเว้นรอบ ก็มี
ที่จะพึงละได้ด้วย การบรรเทา ก็มี
ที่จะพึงละได้ด้วย การอบรม ก็มี
แหล่งที่มา : ตอบคำถามในเว็บบอร์ดห้องธรรมะวัดนาป่าพง www.watnapp.com เครดิต K.คมสันต์"
คือถ้าสั่งสมสุตะด้วยการอ่าน จะเห็นด้วยตนเองเลยว่าพระพุทธองค์ให้เราพิจารณาอะไรตรงไหนบ้าง (เยอะมาก)
เพราะการพิจารณาโดย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเห็นธรรมนั้นเอง ;)
" พระ ตถา คต ตรัส ว่า ให้ พิ จาร ณา อะ ไร - สิ่ง ที่ ควร โย นิ โส มน สิ การ ( โดย แยบ คาย ) "
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. พิจารณาโดยความเป็นธาตุ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. พิจารณาโดยความเป็นอายตนะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. พิจารณาโดยความเป็นปฏิจสมุปบาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
6. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
7. พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
8. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
9. ธรรมทั้งหมดล้วนเอามาพิจารณาได้ เช่น พิจารณาอริยสัจ4 เป็นต้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คือถ้าสั่งสมสุตะด้วยการอ่าน จะเห็นด้วยตนเองเลยว่าพระพุทธองค์ให้เราพิจารณาอะไรตรงไหนบ้าง (เยอะมาก)
เพราะการพิจารณาโดย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเห็นธรรมนั้นเอง ;)