" กฏ สูง สุด ของ ธรรม ชาติ : ปฏิจจ สมุป บาท "

ปฏิจจสมุปบาท ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย.
พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น,จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้ ...

ภิกษุ ท. ! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ ;

และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

“ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).


ภิกษุ ท. ! เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่นี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ ;

และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

“ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).


ภิกษุ ท. !เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่นี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ ;

และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

“ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).


ภิกษุ ท. !เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่นี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ ;

และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

“ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).


ภิกษุ ท. !เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่นี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ ;

และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

“ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).


ภิกษุ ท. !เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ;
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่นี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ ;

และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

“ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).



นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่