โยมถาม จะทำอย่างไรเราจึงจะเข้าใจว่า ความทุกข์เป็นอริยสัจ

โยมถามจะทำอย่างไรเราจึงจะเข้าใจว่า
ความทุกข์เป็นอริยสัจ

หลวงพ่อปัญญาปัญญาวัฑโฒตอบ“ทุกข์”
หมายความว่าอย่างไร
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะแสดงให้เห็น
ลักษณะความเป็นจริงของทุกข์
ก็คือการกล่าวถึงความทุกข์ใน
แง่ที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งอธิบายได้ว่า
#ไม่มีสิ่งใด
ที่เราปรารถนาจะทำให้เราเกิดความสุขหรือความยิ
นดีพอใจอย่างแท้จริงเพราะ#ทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่เราอยากได้นั้นจะต้อง#เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ดังนั้นถึงแม้ว่าเราจะได้รับสิ่งที่เรา
ปรารถนาแล้วก็ตาม
แต่สิ่งที่เราได้มานั้นจะคงอยู่ในสภาพเดิม
ให้เรามีความสุขได้ไม่นาน
เมื่อตอนที่เราได้มันมาเพื่อจะยึดถือว่า
เป็นของเรานั้นมันก็เปลี่ยนแปลงแล้ว
และเราไม่สามารถที่จะห้ามไม่ให้มันเปลี่ยนแปลงไ
ด้

อีกวิธีหนึ่งที่จะพิจารณาความทุกข์ก็คือ
#ตัวจิตนั่นเองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงของวัตถุต่างๆ
ที่เรายึดมั่นถือมั่นนั้นเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าธรรมชาติ
ที่กลับกลอกว่องไวของจิต
จิตเข้าไปยึดความคิดและภาพของวัตถุต่างๆที่เรา
คิดว่าจะทำให้เรามีความสุข
ภาพในจิตแสดงให้เห็นรูปแบบที่
สมบูรณ์ของสิ่งที่เราปรารถนา

ซึ่งจริงๆแล้ววัตถุที่เราได้มาไม่ได้
สมบูรณ์แบบเช่นนั้น
รูปแบบดังกล่าวมีความสมบูรณ์ระดับหนึ่ง
ในตัวมันเอง
แต่วัตถุที่เป็นของจริงจะมีข้อบกพร่องเสมอ
เมื่อเราเห็นภาพลวงตานั้นและรู้ว่าสิ่งของสองสิ่งนี้ไ
ม่เหมือนกันเราเริ่มที่จะเสื่อมศรัทธาและผิดหวัง
และอาจจะถึงกับรู้สึกว่าถูกหลอก
ราวกับว่าสิ่งที่เราปรารถนานั้นได้ทำให้เราผิดหวังแ
ละเสียใจแต่อย่างไรก็ตาม
ตั้งแต่แรกแล้วมันก็ไม่ได้เป็นไปตามที่เราได้
ตั้งความคาดหวังไว้สูงแต่อย่างใด

ในระดับที่ลึกลงไปกว่านั้น
ซึ่งเป็นระดับของการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์
ได้มีการแสดงให้เห็นความหมายที่แท้จริงของทุกข์ใ
นฐานะที่เป็นข้อหนึ่งในอริยสัจธรรม
ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ก็คือทุกความคิดคำพูด
และการกระทำย่อมก่อให้เกิดความผิดหวัง
ความไม่ยินดีพอใจและความไม่สมหวัง
กล่าวคือทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทุกข์
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
เราไม่มีวันที่จะได้รับสิ่งที่เราปรารถนา
เราจะได้รับแต่สิ่งที่เราไม่ต้องการเสมอ
ทั้งนี้เป็นเพราะในแก่นแท้ของชีวิตนั้น
เรามีความรู้สึกอยู่ลึกๆ
ว่ายังขาดบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญอยู่
เสมือนว่ามีหลุมมีโพรงที่เราพยายามที่จะถมให้เต็ม
ด้วยสิ่งต่างๆที่เราปรารถนามันเหมือนกับว่าเรารู้ว่า
มีสิ่งสำคัญบางอย่างที่ยังขาดอยู่ในหัวใจเราและเรา
ปรารถนาที่จะได้มันมา

#ความอยากได้นี้ฝังลึกในจิต
และในจิตใต้สำนึกที่เราไม่สามารถรู้ได้โดยตรง
ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าเราจะสมหวังมากเพียงไร
ด้วยการได้รับสิ่งที่เราต้องการ
แต่หลุมโพรงในจิตใจนั้นยังคงมีอยู่เหมือนเดิม
ถมเท่ามันก็ไม่เคยเต็มและเนื่องจากเราต้องการ
ที่จะถมให้เต็มไม่ว่าเราจะได้รับสิ่งต่างๆ
มากมายเพียงไร
แต่เราไม่เคยได้รับสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
สิ่งที่เราได้รับไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนาอย่างแท้จริง
ซึ่งเป็นความรู้สึกอิ่มพอตลอดไปสิ่งที่น่าขบขันก็คือ
หากเราสามารถกำจัดความอยากหรือตัณหาของ
เราได้
เราก็จะได้รับความรู้สึกอิ่มพอซึ่งเราปรารถนาที่จะไ
ด้ยิ่งนัก
นี่คือสิ่งที่เราตัดสินใจยากเกี่ยวกับความทุกข์ซึ่งเป็น
ความจริงตามธรรมชาติ

นี่คือเหตุผลว่าทำไมพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า
“แม้แต่ความสุขก็เป็นความทุกข์”
ซึ่งหมายความว่าความสุขและความทุกข์ของ
เราเป็นสิ่งเดียวกันและเหมือนกัน
เพียงแต่ความหลอกลวงของ
เวลาแยกมันออกจากกัน
การกล่าวเช่นนี้ไม่ได้เป็นการมองโลกในแง่ร้าย
แต่เป็นเพียงความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของ
สิ่งต่างๆ
ดังนั้นเราจะไม่ทำตามความหลงอีกต่อไปตลอดชีวิต
และไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรชื่นชมกับสิ่งที่น่า
ยินดีพอใจหรือสวยงาม
แต่การแสวงหาความมั่นคงยั่งยืนและความอิ่ม
พอจากสิ่งเหล่านี้ซึ่งมันไม่สามารถให้เราได้นั้น
จะนำมาซึ่งความผิดหวังและความทุกข์

ถึงแม้ว่าความอยากในทางที่ดีจะช่วยทำให้เราสามา
รถก้าวพ้นความอยากได้
แต่ความอยากโดยตัวมันเองก็จะไม่มีความอิ่มพอ
อย่างไรก็ตามความอิ่มพออย่างสมบูรณ์ที่ได้ตามคว
ามต้องการไม่ใช่ผลสุดท้ายที่จะได้รับ
เนื่องจากยังมีความยึดมั่นถือมั่นอย่าง
ละเอียดอยู่กับความรู้สึกอิ่มพอทั้งหมดนั้น

ดังนั้นเราจึงต้อง
ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นดังกล่าวด้วยการพิจาร
ณาให้เห็น
ว่ามันต้องเป็นไปตามรูปแบบที่ละเอียดของไตรลักษ
ณ์ซึ่งได้แก่“อนิจจังทุกขังและอนัตตา”
การสร้างความรู้สึกอิ่มพออย่าง
สมบูรณ์นั้นคือความหลงที่สุดของอวิชชา
เมื่อทำลายความหลง
ดังกล่าวให้ขาดสะบั้นลงเสียได้
ความทุกข์ก็จะหมดสิ้นไป

หลวงพ่อปัญญาปัญญาวัฑโฒวัดป่าบ้านตาด

#วัดป่าบ้านตาดวัดเกษรศีลคุณ
#watpabaantaad
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่