คนไทยแบกรายจ่าย 82% ของรายได้ เปิดค่าครองชีพคนไทย แต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรมากสุด
“ค่าครองชีพ” เป็นประเด็นที่คนไทยให้การจับตามองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด-19 ที่ไม่เพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ รูปแบบการทำงาน แต่ยังเปลี่ยนวิถีชีวิตคนทั่วโลกให้ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น กดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้หามาได้เท่าไร ก็ต้องหมดไปกับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
แม้ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศไทยจะไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น และอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายที่ 1-3% มาหลายเดือน โดยล่าสุดเดือน เม.ย. พลิกกลับเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ 0.19% YoY แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ถูกขับเคลื่อนโดยผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม จึงไม่แปลกที่คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงแรงกดดัน จากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น
คนไทยแบกรายจ่าย 82% ของรายได้ เปิดค่าครองชีพคนไทย แต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรมากสุด
“ค่าครองชีพ” เป็นประเด็นที่คนไทยให้การจับตามองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด-19 ที่ไม่เพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ รูปแบบการทำงาน แต่ยังเปลี่ยนวิถีชีวิตคนทั่วโลกให้ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น กดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้หามาได้เท่าไร ก็ต้องหมดไปกับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
แม้ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศไทยจะไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น และอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายที่ 1-3% มาหลายเดือน โดยล่าสุดเดือน เม.ย. พลิกกลับเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ 0.19% YoY แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ถูกขับเคลื่อนโดยผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม จึงไม่แปลกที่คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงแรงกดดัน จากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น