คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
อธิบายสำหรับย่อหน้าก่อนคำถามก่อนนะครับ
การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา หรือแม้แต่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและสันทนาการนั้น เครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้น (Intensity) ในการเล่นกีฬา มีความสำคัญในการช่วยกำหนดขอบเขต ควรหนักเท่าไร มากเท่าไรจึงจะเพียงพอ เพราะสำหรับการฝึกซ้อม น้อยไปก็ไม่พัฒนา มากเกินก็เสี่ยงการบาดเจ็บ และช่วยให้เราสามารถออกแบบตารางซ้อมเพื่อเพิ่มสมรรถนะของร่างกาย สามารถติดตามผลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
นอกจากการแข่งขัน การออกกำลังกายเพื่อสันทนาการก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ เริ่มต้นคิดค้นมักมีราคาแพง และใช้ในการแข่งขันระดับสูงก่อน เมื่อใช้ได้ผล ได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้แพร่หลาย ราคาก็จะถูกลงตามลำดับ
สำหรับจักรยานมีเครื่องมือวัดหลายแบบ ในยุคสมัยเริ่มต้นอาจจะมีเพียงนาฬิกา แผนที่ และหมุดหลักบอกระยะทางบนทางหลวง(หลักกิโล) แต่แค่เพียงเท่านี้เราก็สามารถฝึกซ้อมได้ เราอยากเข้าร่วมทีมปั่นสักทีมหนึ่ง จะสมัครเล่นหรืออาชีพก็ตาม เรารู้ข้อมูลเพียงทีมนี้ปั่นเส้นทางใด ระยะทางเท่าไร ใช้เวลาเท่าไร เราก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้มาฝึกซ้อมเอง เราปั่นเองได้ก็เข้าร่วมทีมเขาได้ สมัยก่อนก็มีเพียงเท่านี้
แต่ก็จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งพูดง่ายแต่ทำยาก และต้องผ่านอุปสรรคต่างๆมากมาย ความเหนื่อยล้า อาการบาดเจ็บมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เครื่องมือวัดต่างๆจึงเกิดขึ้น เช่น ความเร็ว (Velocity) หรือ รอบขา (Cadence) และก่อนมีพาวเวอร์มิเตอร์ ก็คือเครื่องติดตามชีพจร (Heart Rate Monitor: HRM) ซึ่งก็ตามที่กล่าวไปในข้างต้น ว่าอุปกรณ์เหล่านี้คิดค้นเพื่อสร้างความได้เปรียบในการฝึกซ้อมและการแข่งขันทั้งสิ้น
จะเล่าทั้งหมดก็ยาวเกิน ก็จะขอเปรียบเทียบเฉพาะ HRM กับ พาวเวอร์มิเตอร์ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังสุด ค่อนข้างมีความซับซ้อนและราคาค่อนข้างสูง
1. HRM ในการฝึกซ้อมมักใช้ร่วมกับตัววัดรอบขา เกิดขึ้นในสมัยของแลนซ์ อาร์มสตรอง ที่มีแนวคิดของการใช้รอบขา และอัตราทดของเกียร์ที่ละเอียดขึ้น ก็คือควงขาให้เร็วขึ้น เกียร์เบาลง แต่ปัญหาก็คือเริ่มแรกนักกีฬาจะเหนื่อยง่าย เพราะหัวใจเพิ่มขึ้นสูงจากการควงขา HRM ก็จะมีประโยชน์จากการติดตามชีพจร เพื่อไม่ให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป รวมทั้งในการข่งขันด้วยเช่นกัน
2. สำหรับเครื่องมือวัดกำลัง หรือพาวเวอร์มิเตอร์ในจักรยานนั้น เกิดขึ้นทีหลังสุด เพื่อสร้างข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า HRM เช่น
-ติดตามความหนักของการออกกำลังกายได้ทันที ต่างจาก HRM ที่ต้องใช้เวลา บางครั้งออกแรงไปหลายนาทีกว่าชีพจรจะขึ้นตาม หรืออกกำลังกายแล้วพัก ตั้งนานแล้ว HRM ก็ไม่ยอมลงตาม เพราะพาวเวอร์มิเตอร์ วัดกำลังจากล้ามเนื้อโดยตรง ส่วน HRM วัดจากชีพจร ซึ่งทำได้เพียงติดตามการออกกำลังกายโดยรวมในแต่ละครั้ง หรือแต่ละช่วงเท่านั้น (ไม่รีลไทม์)
-สามารถออกแบบการฝึกซ้อม หรือแม้แต่การแข่งขัน ทำได้อย่างแม่นยำ ละเอียดเที่ยงตรง เห็นผลเร็ว ประหยัดเวลามากกว่า
-สามารถใช้ประกอบกับ HRM เพื่อคำนวณค่าความเหนื่อยล้า (Training Stress Score: TSS) เวลาพัก ค่าแคลอรี่ ได้ตรงกว่า
-ปัญหาสำหรับหลายๆท่าน ก็คือการหาค่า HR Max หรือค่าชีพจรสูงสุด ทำเองได้ยาก อันตรายมาก (และก็ไม่ตรงอยู่ดี) ใช้เครื่องมือก็มีราคาแพง การขจัดปัญหานี้ก็คือยอมใช้สูตร 220-อายุ และใช้ประกอบกับพาวเวอร์มิเตอร์ครับ
-เมื่อมีอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น หมกกลุ่มกับปั่นเดี่ยว เปลี่ยนอุปกรณ์ (เฟรม ล้อ หมวก ฯลฯ) ตามลมสวนลม สิ่งเดียวที่จะทำให้เราทราบความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้คือ พาวเวอร์มิเตอร์
-สังเกตอาการเจ็บป่วย ความฟิต หรือแม้แต่ความบกพร่องของรถได้ทันที เช่น กำลังเท่าเดิม ชีพจรสูงขึ้น แสดงว่าความฟิตตก ใช้กำลังเท่าเดิม เส้นทางเดิม แต่ความเร็วช้าลง แสดงว่ารถมีปัญหา ฯลฯ
-สามารถประยุกต์ใช้เพื่ออรรถประโยชน์อื่นๆ เช่น
บางครั้งเรามีกิจธุระอย่างอื่น ห่างจากการฝึกซ้อม โดยมากเราจะออกออกแรงได้เท่าเดิม แต่ชีพจรจะสูงขึ้น เพื่อจะเรียกความฟิตกลับคืน เราก็ควรจะพยายามปั่นให้หนักเท่าเดิม แต่ใช้เวลาเท่าเดิมหรือสั้นลง และพักให้นานขึ้น ฯลฯ
สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน หรือแม้แต่การเอาตัวรอดในเส้นทางต่างๆที่ไม่คุ้นเคย เช่น การปั่นทางไกล ทางเขา ทางชัน ปั่นกลุ่มความเร็วสูง ฯลฯ
อย่างไรก็ดี การนำพาวเวอร์มิเตอร์มาใช้ประโยชน์กับการปั่นจักรยานก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อน ที่เรามักได้ยินเป็นประจำก็คือ ค่าช่วงกำลังใช้งาน (Functional Threshold Power: FTP) จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ ตัวเราเป็นดังรถคันหนึ่ง รถคันหนึ่งจะถูกจะแพง ใช้งานได้เท่าใด สิ่งสำคัญคือค่ากำลังเครื่องยนต์ หรือแรงม้า (Horsepower)
แต่ FTP ของมนุษย์ ใช้หน่วยวัตต์ แต่รถใช้หน่วยเป็นแรงม้า 1 แรงม้าเท่ากับ 700 กว่าวัตต์โดยประมาณ(แล้วแต่สำนัก) จะเห็นว่ากำลังเครื่องยนต์ในรถมีกำลังสูงกว่ามนุษย์มาก FTP 200 w เท่ากับประมาณ 1/4 แรงม้าหรือม้าขาเดียว นักกีฬาทีมชาติ หรือระดับโลกมี FTP 3-400 w ก็ประมาณครี่งแรงม้าเท่านั้น ที่เล่ามาเพื่อให้เห็นภาพว่า การออกแบบเครื่องมือวัดกำลังของรถทำได้ยากกว่ามาก ดังนั้นการแข่งขันหรือการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เราจึงใช้เพียงรอบเครื่องให้สัมพันธ์กับเกียร์เท่านั้น
ส่วนการนำค่า FTP หรือค่าแรงคน (อันนี้ผมบัญญัติของผมเอง) มาใช้ประโยชน์ มีหลักการเดียวกับ HRM ก็คือการแบ่งโซน สำหรับพาวเวอร์มิเตอร์จะมี 7 โซนด้วยกัน ถ้า จขกท จะค้นหาข้อมูลเอง ก็ค้นตามนี้ Cycling Power Zones
แต่ถ้าจะให้อธิบายสั้นๆพร้อมกับการใช้งานก็ตามนี้
1. Active Recovery ต่ำกว่า 55% ของ FTP ใช้ได้ทั้งวัน ให้สวยก็ประมาณ 8-12 ชม. ปั่น AUDAX ใช้ตามนี้รับรองจบ ต่อให้มีปัจจัยอื่น ถ้าไม่มากนักก็ยังสามารถจบได้
2. Endurance 55%-75% FTP ใช้ได้ราว 4 ชม. เหมาะกับใช้ทั่วไป แข่งขัน ปั่นกลุ่ม ปั่นเดี่ยว
3. Tempo 76%-87% ใช้ได้ราว 2 ชม. เหมาะกับไต่เขาสูงทางยาว เขาที่มีความชันมากและทางยาว เราใช้กำลังมากเกินนี้ แนะนำให้เข็น หรือฝึกซ้อม ลด นน. (ทั้งตัวเองและจักรยาน) หรือปรับอัตราทดให้เหมาะสม (ใช้วัตต์ลดลง ไต่ได้ช้าลง เวลายาวนานขึ้น)
4. Sweet Spot 88%-94% ใช้ได้ราว 1 ชม. ใช้ฝึกซ้อม ไล่เข้ากลุ่มและขึ้นเนิน
5. Threshold 95%-105% ใช้ได้ราว 30 นาที ใช้ฝึกซ้อม ไล่เข้ากลุ่มและขึ้นเนิน
6. VO2 Max 106%-120% ใช้ได้ราว 15 นาที ใช้ฝึกซ้อม ไล่เข้ากลุ่มและขึ้นเนิน
7. Anaerobic มากกว่า 120% ใช้ได้ไม่เกิน 5 นาที (ได้มากกว่านี้แสดงว่ามีอะไรผิดปกติสักอย่าง) สำหรับ สปริ๊นหน้าเส้น หรือใกล้ถึงบ้านแล้วแรงเหลือ
ส่วนการนำไปใช้ ไมล์ที่รองรับพาวเวอร์มิเตอร์ได้ ก็มักจะสามารถบอกพาวเวอร์โซนได้ หรือใช้ไปสักพักเราก็จะจำได้เองครับ
ตอบคำถามครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตอบย่อหน้ารองสุดท้าย
ช่วงของกำลังเราใช้มากน้อยตามระยะเวลาที่ใช้ได้ ใช้มากเกินก็คือเครื่องพัง เป็นปกติครับ
จากที่อธิบายไป การนำไปใช้จริงเราก็จะไม่ได้ใช้โซนเดียวตลอด ใช้สลับกันไปมา ให้ดูค่าเฉลี่ย(เปรียบเทียบไม่ให้เกินเวลาที่ใช้ได้)ครับ หรือเส้นทางหลากหลาย อยากทำเวลาให้ดีขึ้น ต้องการค่าที่ตรงมากขึ้น ก็จะมีอย่างอื่น เช่น ค่า Weighted Average Power ค่า TSS แต่อันนี้ต้องใช้สักพักแล้วค่อยศึกษาเพิ่มจะดีกว่า
ส่วนประเด็นความคุ้มค่า เป็นความคิดเห็นของแต่ละบุคคลดีกว่าครับ พาวเวอร์มิเตอร์สำหรับจักรยาน เพิ่งมีใช้กันเมื่อสักสิบกว่าปีก่อนเองครับ เป็นอุปกรณ์ที่ใหม่ และเฉพาะเจาะจงมาก ในแง่ของยานพาหนะ จักรยานน่าจะเป็นยานพานะชนิดเดียวที่มีอุปกรณืวัดกำลัง ลองนึกถึงรถซูเปอร์คาร์ รถแข่ง F-1 ยังไม่มีใช้เลยครับ และมันก็ทำให้เกิดการก้าวกระโดดของกระบวนทรรศน์ (Paradigm Shift) ในกีฬาจักรยานไปมากมาย ทั้งรูปแบบการแข่งขัน การฝึกซ้อม หรือแม้แต่อุปกรณ์แอโร่ต่างๆ ขายได้เพราะมีพาวเวอร์มิเตอร์ครับ
เพิ่มเติมข้อเสีย หรือข้อสังเกตก็ได้ ถ้าเริ่มใช้สักพัก เข้าใจหลักการใช้งานแล้ว ในประเด็นของความสามารถ เราจะเริ่มคุยกับคนอื่นยากขึ้น เราจะไม่เข้าใจคำศัพท์หลายตัว เช่น ความเก่ง ความอึด (FTP) ไส้แตก (วัตต์เกินก็ปล่อยหลุดครับ) ฯลฯ
ส่วนข้อมูล ด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างใหม่ แม้จะไม่ได้ใช้ยากอะไร แต่ข้อมูลต่างๆก็จะหายาก และต้องใช้เวลาทำความเข้าใจระดับหนึ่ง บวกกับค่าอุปกรณ์ ก็แล้วแต่จะตัดสินใจครับ แต่ คหสต มันจะมีประโยชน์คุ้มค่า กับนักปั่นที่ค่อนข้างจริงจัง (ระยะทางรวมเกิน 5000-8000 กม. ต่อปี) และเส้นทางค่อนข้างหลากหลาย และนักปั่นทุกระดับ ที่ต้องการเพิ่มความสามารถ แต่มีเวลาจำกัด
การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา หรือแม้แต่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและสันทนาการนั้น เครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้น (Intensity) ในการเล่นกีฬา มีความสำคัญในการช่วยกำหนดขอบเขต ควรหนักเท่าไร มากเท่าไรจึงจะเพียงพอ เพราะสำหรับการฝึกซ้อม น้อยไปก็ไม่พัฒนา มากเกินก็เสี่ยงการบาดเจ็บ และช่วยให้เราสามารถออกแบบตารางซ้อมเพื่อเพิ่มสมรรถนะของร่างกาย สามารถติดตามผลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
นอกจากการแข่งขัน การออกกำลังกายเพื่อสันทนาการก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ เริ่มต้นคิดค้นมักมีราคาแพง และใช้ในการแข่งขันระดับสูงก่อน เมื่อใช้ได้ผล ได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้แพร่หลาย ราคาก็จะถูกลงตามลำดับ
สำหรับจักรยานมีเครื่องมือวัดหลายแบบ ในยุคสมัยเริ่มต้นอาจจะมีเพียงนาฬิกา แผนที่ และหมุดหลักบอกระยะทางบนทางหลวง(หลักกิโล) แต่แค่เพียงเท่านี้เราก็สามารถฝึกซ้อมได้ เราอยากเข้าร่วมทีมปั่นสักทีมหนึ่ง จะสมัครเล่นหรืออาชีพก็ตาม เรารู้ข้อมูลเพียงทีมนี้ปั่นเส้นทางใด ระยะทางเท่าไร ใช้เวลาเท่าไร เราก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้มาฝึกซ้อมเอง เราปั่นเองได้ก็เข้าร่วมทีมเขาได้ สมัยก่อนก็มีเพียงเท่านี้
แต่ก็จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งพูดง่ายแต่ทำยาก และต้องผ่านอุปสรรคต่างๆมากมาย ความเหนื่อยล้า อาการบาดเจ็บมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เครื่องมือวัดต่างๆจึงเกิดขึ้น เช่น ความเร็ว (Velocity) หรือ รอบขา (Cadence) และก่อนมีพาวเวอร์มิเตอร์ ก็คือเครื่องติดตามชีพจร (Heart Rate Monitor: HRM) ซึ่งก็ตามที่กล่าวไปในข้างต้น ว่าอุปกรณ์เหล่านี้คิดค้นเพื่อสร้างความได้เปรียบในการฝึกซ้อมและการแข่งขันทั้งสิ้น
จะเล่าทั้งหมดก็ยาวเกิน ก็จะขอเปรียบเทียบเฉพาะ HRM กับ พาวเวอร์มิเตอร์ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังสุด ค่อนข้างมีความซับซ้อนและราคาค่อนข้างสูง
1. HRM ในการฝึกซ้อมมักใช้ร่วมกับตัววัดรอบขา เกิดขึ้นในสมัยของแลนซ์ อาร์มสตรอง ที่มีแนวคิดของการใช้รอบขา และอัตราทดของเกียร์ที่ละเอียดขึ้น ก็คือควงขาให้เร็วขึ้น เกียร์เบาลง แต่ปัญหาก็คือเริ่มแรกนักกีฬาจะเหนื่อยง่าย เพราะหัวใจเพิ่มขึ้นสูงจากการควงขา HRM ก็จะมีประโยชน์จากการติดตามชีพจร เพื่อไม่ให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป รวมทั้งในการข่งขันด้วยเช่นกัน
2. สำหรับเครื่องมือวัดกำลัง หรือพาวเวอร์มิเตอร์ในจักรยานนั้น เกิดขึ้นทีหลังสุด เพื่อสร้างข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า HRM เช่น
-ติดตามความหนักของการออกกำลังกายได้ทันที ต่างจาก HRM ที่ต้องใช้เวลา บางครั้งออกแรงไปหลายนาทีกว่าชีพจรจะขึ้นตาม หรืออกกำลังกายแล้วพัก ตั้งนานแล้ว HRM ก็ไม่ยอมลงตาม เพราะพาวเวอร์มิเตอร์ วัดกำลังจากล้ามเนื้อโดยตรง ส่วน HRM วัดจากชีพจร ซึ่งทำได้เพียงติดตามการออกกำลังกายโดยรวมในแต่ละครั้ง หรือแต่ละช่วงเท่านั้น (ไม่รีลไทม์)
-สามารถออกแบบการฝึกซ้อม หรือแม้แต่การแข่งขัน ทำได้อย่างแม่นยำ ละเอียดเที่ยงตรง เห็นผลเร็ว ประหยัดเวลามากกว่า
-สามารถใช้ประกอบกับ HRM เพื่อคำนวณค่าความเหนื่อยล้า (Training Stress Score: TSS) เวลาพัก ค่าแคลอรี่ ได้ตรงกว่า
-ปัญหาสำหรับหลายๆท่าน ก็คือการหาค่า HR Max หรือค่าชีพจรสูงสุด ทำเองได้ยาก อันตรายมาก (และก็ไม่ตรงอยู่ดี) ใช้เครื่องมือก็มีราคาแพง การขจัดปัญหานี้ก็คือยอมใช้สูตร 220-อายุ และใช้ประกอบกับพาวเวอร์มิเตอร์ครับ
-เมื่อมีอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น หมกกลุ่มกับปั่นเดี่ยว เปลี่ยนอุปกรณ์ (เฟรม ล้อ หมวก ฯลฯ) ตามลมสวนลม สิ่งเดียวที่จะทำให้เราทราบความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้คือ พาวเวอร์มิเตอร์
-สังเกตอาการเจ็บป่วย ความฟิต หรือแม้แต่ความบกพร่องของรถได้ทันที เช่น กำลังเท่าเดิม ชีพจรสูงขึ้น แสดงว่าความฟิตตก ใช้กำลังเท่าเดิม เส้นทางเดิม แต่ความเร็วช้าลง แสดงว่ารถมีปัญหา ฯลฯ
-สามารถประยุกต์ใช้เพื่ออรรถประโยชน์อื่นๆ เช่น
บางครั้งเรามีกิจธุระอย่างอื่น ห่างจากการฝึกซ้อม โดยมากเราจะออกออกแรงได้เท่าเดิม แต่ชีพจรจะสูงขึ้น เพื่อจะเรียกความฟิตกลับคืน เราก็ควรจะพยายามปั่นให้หนักเท่าเดิม แต่ใช้เวลาเท่าเดิมหรือสั้นลง และพักให้นานขึ้น ฯลฯ
สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน หรือแม้แต่การเอาตัวรอดในเส้นทางต่างๆที่ไม่คุ้นเคย เช่น การปั่นทางไกล ทางเขา ทางชัน ปั่นกลุ่มความเร็วสูง ฯลฯ
อย่างไรก็ดี การนำพาวเวอร์มิเตอร์มาใช้ประโยชน์กับการปั่นจักรยานก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อน ที่เรามักได้ยินเป็นประจำก็คือ ค่าช่วงกำลังใช้งาน (Functional Threshold Power: FTP) จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ ตัวเราเป็นดังรถคันหนึ่ง รถคันหนึ่งจะถูกจะแพง ใช้งานได้เท่าใด สิ่งสำคัญคือค่ากำลังเครื่องยนต์ หรือแรงม้า (Horsepower)
แต่ FTP ของมนุษย์ ใช้หน่วยวัตต์ แต่รถใช้หน่วยเป็นแรงม้า 1 แรงม้าเท่ากับ 700 กว่าวัตต์โดยประมาณ(แล้วแต่สำนัก) จะเห็นว่ากำลังเครื่องยนต์ในรถมีกำลังสูงกว่ามนุษย์มาก FTP 200 w เท่ากับประมาณ 1/4 แรงม้าหรือม้าขาเดียว นักกีฬาทีมชาติ หรือระดับโลกมี FTP 3-400 w ก็ประมาณครี่งแรงม้าเท่านั้น ที่เล่ามาเพื่อให้เห็นภาพว่า การออกแบบเครื่องมือวัดกำลังของรถทำได้ยากกว่ามาก ดังนั้นการแข่งขันหรือการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เราจึงใช้เพียงรอบเครื่องให้สัมพันธ์กับเกียร์เท่านั้น
ส่วนการนำค่า FTP หรือค่าแรงคน (อันนี้ผมบัญญัติของผมเอง) มาใช้ประโยชน์ มีหลักการเดียวกับ HRM ก็คือการแบ่งโซน สำหรับพาวเวอร์มิเตอร์จะมี 7 โซนด้วยกัน ถ้า จขกท จะค้นหาข้อมูลเอง ก็ค้นตามนี้ Cycling Power Zones
แต่ถ้าจะให้อธิบายสั้นๆพร้อมกับการใช้งานก็ตามนี้
1. Active Recovery ต่ำกว่า 55% ของ FTP ใช้ได้ทั้งวัน ให้สวยก็ประมาณ 8-12 ชม. ปั่น AUDAX ใช้ตามนี้รับรองจบ ต่อให้มีปัจจัยอื่น ถ้าไม่มากนักก็ยังสามารถจบได้
2. Endurance 55%-75% FTP ใช้ได้ราว 4 ชม. เหมาะกับใช้ทั่วไป แข่งขัน ปั่นกลุ่ม ปั่นเดี่ยว
3. Tempo 76%-87% ใช้ได้ราว 2 ชม. เหมาะกับไต่เขาสูงทางยาว เขาที่มีความชันมากและทางยาว เราใช้กำลังมากเกินนี้ แนะนำให้เข็น หรือฝึกซ้อม ลด นน. (ทั้งตัวเองและจักรยาน) หรือปรับอัตราทดให้เหมาะสม (ใช้วัตต์ลดลง ไต่ได้ช้าลง เวลายาวนานขึ้น)
4. Sweet Spot 88%-94% ใช้ได้ราว 1 ชม. ใช้ฝึกซ้อม ไล่เข้ากลุ่มและขึ้นเนิน
5. Threshold 95%-105% ใช้ได้ราว 30 นาที ใช้ฝึกซ้อม ไล่เข้ากลุ่มและขึ้นเนิน
6. VO2 Max 106%-120% ใช้ได้ราว 15 นาที ใช้ฝึกซ้อม ไล่เข้ากลุ่มและขึ้นเนิน
7. Anaerobic มากกว่า 120% ใช้ได้ไม่เกิน 5 นาที (ได้มากกว่านี้แสดงว่ามีอะไรผิดปกติสักอย่าง) สำหรับ สปริ๊นหน้าเส้น หรือใกล้ถึงบ้านแล้วแรงเหลือ
ส่วนการนำไปใช้ ไมล์ที่รองรับพาวเวอร์มิเตอร์ได้ ก็มักจะสามารถบอกพาวเวอร์โซนได้ หรือใช้ไปสักพักเราก็จะจำได้เองครับ
ตอบคำถามครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตอบย่อหน้ารองสุดท้าย
ช่วงของกำลังเราใช้มากน้อยตามระยะเวลาที่ใช้ได้ ใช้มากเกินก็คือเครื่องพัง เป็นปกติครับ
จากที่อธิบายไป การนำไปใช้จริงเราก็จะไม่ได้ใช้โซนเดียวตลอด ใช้สลับกันไปมา ให้ดูค่าเฉลี่ย(เปรียบเทียบไม่ให้เกินเวลาที่ใช้ได้)ครับ หรือเส้นทางหลากหลาย อยากทำเวลาให้ดีขึ้น ต้องการค่าที่ตรงมากขึ้น ก็จะมีอย่างอื่น เช่น ค่า Weighted Average Power ค่า TSS แต่อันนี้ต้องใช้สักพักแล้วค่อยศึกษาเพิ่มจะดีกว่า
ส่วนประเด็นความคุ้มค่า เป็นความคิดเห็นของแต่ละบุคคลดีกว่าครับ พาวเวอร์มิเตอร์สำหรับจักรยาน เพิ่งมีใช้กันเมื่อสักสิบกว่าปีก่อนเองครับ เป็นอุปกรณ์ที่ใหม่ และเฉพาะเจาะจงมาก ในแง่ของยานพาหนะ จักรยานน่าจะเป็นยานพานะชนิดเดียวที่มีอุปกรณืวัดกำลัง ลองนึกถึงรถซูเปอร์คาร์ รถแข่ง F-1 ยังไม่มีใช้เลยครับ และมันก็ทำให้เกิดการก้าวกระโดดของกระบวนทรรศน์ (Paradigm Shift) ในกีฬาจักรยานไปมากมาย ทั้งรูปแบบการแข่งขัน การฝึกซ้อม หรือแม้แต่อุปกรณ์แอโร่ต่างๆ ขายได้เพราะมีพาวเวอร์มิเตอร์ครับ
เพิ่มเติมข้อเสีย หรือข้อสังเกตก็ได้ ถ้าเริ่มใช้สักพัก เข้าใจหลักการใช้งานแล้ว ในประเด็นของความสามารถ เราจะเริ่มคุยกับคนอื่นยากขึ้น เราจะไม่เข้าใจคำศัพท์หลายตัว เช่น ความเก่ง ความอึด (FTP) ไส้แตก (วัตต์เกินก็ปล่อยหลุดครับ) ฯลฯ
ส่วนข้อมูล ด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างใหม่ แม้จะไม่ได้ใช้ยากอะไร แต่ข้อมูลต่างๆก็จะหายาก และต้องใช้เวลาทำความเข้าใจระดับหนึ่ง บวกกับค่าอุปกรณ์ ก็แล้วแต่จะตัดสินใจครับ แต่ คหสต มันจะมีประโยชน์คุ้มค่า กับนักปั่นที่ค่อนข้างจริงจัง (ระยะทางรวมเกิน 5000-8000 กม. ต่อปี) และเส้นทางค่อนข้างหลากหลาย และนักปั่นทุกระดับ ที่ต้องการเพิ่มความสามารถ แต่มีเวลาจำกัด
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่อง Power Meter (watt) , FTP จะเอามาช่วยคำนวณการปั่นยังไง
ทีนี้ผมก็สนใจพวก Power Meter เผื่อจะเอามาช่วยในการปั่นให้ดีขึ้น แต่ก็ยังมีคำถามกับตัวเองอีกมาก กลัวซื้อมาแล้วใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่
พอดีผมซื้อ Trainer แบบมี Watt มาลองดู ตัว Watt มันก็แค่บอกว่าตอนนี้เราใช้แรงกี่ Watt แล้วแบบนี้มันจะบอกได้เชียวหรือว่าถ้าผมปั่น Watt เท่านี้มันจะทำให้ผมจบเส้นทาง หรือผ่านภูเขานั้น ๆ ได้
ผมมีความสงสัยดังนี้ครับ
1. ผมทดสอบ FTP ผ่าน Trainer มันบอกว่าผมมีค่า FTP 200 มันหมายถึงว่า 200 คือ Max Watt ที่ผมควรจะปั่น ถูกไหมครับ
2. ถ้าสมมุติว่า FTP 200 แล้วผมจะปั่นระยะทาง 200 km มันจะมีอะไรบอกได้หรือครับว่าผมต้องใช้ Watt เท่าไรในการปั่น เพื่อจบ 200 km
3. แล้ว Watt ตอนขึ้นเขา ไมล์มันจะแสดงให้เราดูหรือครับว่า เราต้องใช้ Watt เท่าไรในการไต่เขา แล้วแบบนี้ถ้ามันมีเส้นทางต่อจากไต่เขาแรงเราจะไม่หมดหรือครับ (ตรงนี้ผมไม่เข้าใจว่ามันจะบอกเรายังไง)
4. พวกการคำนวณต่าง ๆ ตัวไมล์มันจะมีผลทำให้การคำนวณไม่เหมือนกันหรือไม่ เพราะผมไม่ได้ใช้ Garmin ซะด้วยเลยไม่แน่ใจว่าพวกที่คำนวณ ๆ ล่วงหน้านี่มันเป็น function เฉพาะของยี่ห้อนั้น ๆ หรือเปล่า
หรือผมเข้าใจอะไรผิดรบกวนชี้ทางให้กระจ่างหน่อยนะครับ เพราะทุกวันนี้ปั่น Audax 300km บางทริปก็จบ ทางทริปก็หมดก่อน ทั้ง ๆ ที่เราก็คิดว่าเราก็ปั่นเหมือนเดิม ไม่ได้เร่งรีบอะไร พวกเพื่อน ๆ ก็บอกว่าต้องดู Watt แล้ว Watt มันก็บอกแค่แรงกด แล้วเราจะรู้หรือว่า เราต้องใช้ Watt เท่าไรในการปั่นตลอดเส้นทาง ???
อ้อ ผมยังไม่มี Power Meter ติดจักรยานนะครับ ถ้ามันให้เราคำนวณแรงได้ดี ก็ว่าจะลองซื้อมาใช้งานดูครับ แต่ไปฟัง ๆ คลิป เขาก็บอกว่า Watt มันใช้สำหรับโปรใช้สำหรับฝึกซ้อม เพื่อดูการพัฒนา ไม่จำเป็นสำหรับนักปั่นทั่วไป ก็เลยสงสัยว่า สรุปแล้ว มันช่วยเราขนาดไหน