ขอสอบถามเรื่องการประเคนของแก่ภิกษุ


  จากภาพ จึงเกิดคำถามในหัวขึ้นมา ได้แก่
1.เรื่องที่ผู้หญิงสามารถรับสิ่งของโดยตรงจากภิกษุได้เลย จริงมั้ย ถ้าจริงแสดงว่าสามารถรับได้เลย แต่ให้ระวังห้ามสัมผัสผิวหนังภิกษุ(ใช่ไหม)
     (แต่ตามธรรมเนียม ภิกษุคงปล่อยของหล่นใส่มือแหละ)
2.การประเคนนั้นต้องให้ผู้ประเคน อยู่ในหัตถบาส แล้วในกรณีที่ภิกษุต้องล้อมวงฉันละครับ เช่น
   อย่างในภาพ ถ้าประเคนตรงจุดA พระรูปที่ลูกศรเขียวชี้ก็ไม่น่าจะอยู่ในเขตหัตถบาสนะครับ หรือประเคนจุดB พระรูปที่ลูกศรสีแดงชี้ก็ไม่น่าอยู่ในเขตหัตถบาสเช่นกัน (เผื่อใครงง เขตหัตถบาสคือบริเวณที่ช่วงแขนภิกษุสามารถเอื้อมมือแตะโยมได้หรือถ้าจำในสไตล์ผม คือ บริเวณที่เหวี่ยงแขนแล้วสามารถเขกหัวโยมได้555 ซึ่งถ้าประเคนจุดA ภิกษุที่ลูกศรสีแดงชี้ ก็น่าจะไม่อยู่ในช่วงแขนของท่านนะ)
3.ตอนผมบรรพชาเป็นเณร(3-4เดือนก่อน)ขณะนั้นมีงานศพเข้า แล้ววันสุดท้ายใกล้เผา จะมีการเลี้ยงเพล แล้วเลี้ยงทั้งวัด ผมเป็นเณรก็นั่งสวดไปซักพักแล้วพอสวดเสร็จ ก็นั่งรอที่โต๊ะอาหารร่วมกับเณรที่บวชหน้าไฟ รอให้เจ้าภาพประเคนก่อน กรณีนี้คือเณรต้องรอโยมประเคนด้วยรึป่าวครับ หรือการประเคนให้เณรเป็นเพียงแค่เสมือนวัฒนธรรมทางไทยเรา
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เอาตามที่จำได้

1.เรื่องที่ผู้หญิงสามารถรับสิ่งของโดยตรงจากภิกษุได้เลย จริงมั้ย .....จริง

ถ้าจริงแสดงว่าสามารถรับได้เลย แต่ให้ระวังห้ามสัมผัสผิวหนังภิกษุ(ใช่ไหม)......ใช่

นี้เป็นเหตุทำให้เวลาพระให้ของผู้หญิง จะใช้การหย่อนลงมือสีกา

2.การประเคนนั้นต้องให้ผู้ประเคน
ในกรณีพระนั่งล้อมวง จะมีพระรูปหนึ่งเป็นตัวแทนรับประเคนได้


3.ตอนผมบรรพชาเป็นเณร....กรณีนี้คือเณรต้องรอโยมประเคนด้วยรึป่าวครับ
https://www.dhammahome.com/webboard/topic/27106
สามเณร นับว่าเป็นเพศบรรพชิต เป็นเชื้อสายของสมณะ แต่ยังไม่ถึงการได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชีวิตดำรงอยู่ด้วยศรัทธาของชาวบ้าน อาศัยก้อนข้าวของชาวบ้านในการเลี้ยงชีพ, สามเณร รักษาศีล ๑๐ ข้อ ได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติที่ไม่ประเสริฐ งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (คือหลังเที่ยง) งดเว้นจากการฟัอนรำขับประโคมดนตรี งดเว้นจากการประดับตกแต่งร่างกาย งดเว้นจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ และ งดเว้นจากการรับเงินทอง พร้อมทั้งศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา และประพฤติข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ อันเหมาะควรแก่เพศบรรพชิต
การประเคนอาหาร ก็คือ การมอบถวายอาหาร จริงอยู่การประเคนใช้สำหรับพระภิกษุ และ ภิกษุณีโดยตรง และ ถ้าหากภิกษุ และภิกษุณีรูปใดฉันอาหารโดยไม่ได้รับประเคน เป็นอาบัติปาจิตตีย์สำหรับพระภิกษุ และ ภิกษุณี รูปนั้น ไม่มีข้อบัญญัติไว้สำหรับสามเณร แต่สามเณรก็จะต้องน้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องด้วย โดยไม่ไปหยิบอาหารที่ผู้อื่นเขาไม่ได้ให้มาฉัน ดังนั้น การประเคนอาหารสำหรับสามเณร ก็เป็นการแสดงถึงการมอบถวายอาหารแก่สามเณร นั่นเอง เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์สามารถกระทำได้เช่นเดียวกับที่ประเคนแก่พระภิกษุ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่