ตกลงว่า การประเคนของพระที่ถูกต้อง ต้องสูงเท่าแมวลอดได้หรือ

พอจะประเคนของถวายพระ พระบอกว่า ต้องยกให้สูงเท่าแมวลอดได้ งง แป๊บ แล้วก็เป็นคำถามในใจว่า พระท่านไปจำมาแต่ไหนอีก ทำไมทำไม่เหมือนกัน ก็เลยกลับมาลองค้นหาข้อมูลดูในพระไตรปิฎก รวมอรรถกถาด้วย ทั้งคำแปลของ หลวงพ่อพระพรหมคุณาภรณ์ ก็ไม่ยักจะมีว่า ต้องให้สูงเท่าแมวลอดได้ แล้วถ้าไม่ทำแบบนั้นจะขาดองค์ประเคนนะหรือ ที่ถามเพราะเห็นว่า ทำไมพระบ้านกับพระป่า จึงทำไม่เหมือนกัน แล้วเอาอะไรเป็นปทัฏฐาน เพราะถ้าดูตามหลักฐานแรกๆ คือ ในพระวินัย ๕ ข้อนั้นก็ไม่มี ขอพิจารณาด้วยครับ

๑......   การรับประเคนที่ใช้ได้ ( พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๒๓ ข้อ ๑๑๗๓ )
     ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:
๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้ ๕ อย่าง นี้แล.

๒.... ลักษณะการรับประเคน ( อรรถกถา ) ( พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๖๗ ข้อ ๕๒๔ )
    ที่ชื่อว่า เขาให้ คือ เมื่อเขาให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ ๑
เขาอยู่ในหัตถบาส ๑ ภิกษุรับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย ๑ นี้ชื่อว่า เขาให้.

๓....  [ว่าด้วยการประเคนและการรับประเคน] ( อรรรถกถา มก. ) ( พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๖๐ ข้อ ๕๒๖ ) บางส่วน
           ก็ในนิเทศแห่งบทว่า ทินฺนํ นั้น  มีวินิจฉัยดังนี้:-  ข้อว่า  กาเยนวา  กายปฏิพทฺเธน  วา นิสฺสคฺคิเยน วา เทนฺเต ได้แก่ เมื่อคนอื่นเขาให้อยู่อย่างนี้    (คือให้อยู่ด้วยกาย    หรือด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยการโยนให้).
     ข้อว่า หตฺถปาเส  ฐิโต  กาเยน  วา กายปฏิพทฺเธน วา  ปฏิคฺคณหาติ  มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในหัตถบาสมีลักษณะดังกล่าวแล้วในก่อน รับประเคนของนั้นที่เขาให้อยู่อย่างนั้น   ชั้นที่สุดแม้ละอองรถด้วยกาย   หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย.   วัตถุนั่นที่รับประเคนแล้ว   อย่างนั้นท่านเรียกชื่อว่า  ของที่เขาให้.   ของที่เขาเสียสละด้วยคำว่า  ท่านจงถือเอาของนี้,   ของนี้จงเป็นของท่านเป็นต้น   ท่านไม่เรียกชื่อว่าของที่เขาให้.
           บรรดานิเทศเหล่านั้น   บทว่า  กาเยน  มีความว่า  ที่เขาให้ด้วยบรรดาสรีราวัยวะมีมือเป็นต้น   อย่างใดอย่างหนึ่ง   ชั้นที่สุด   แม้ด้วยนิ้วเท้า ก็เป็น
อันชื่อว่าเขาให้แล้วด้วยกาย.    แม้ในการรับประเคน   ก็นัยนี้นั่นแล.  แท้จริงของที่ภิกษุรับประเคนด้วยสรีราวัยวะ    (ส่วนแห่งร่างกาย) ส่วนใดส่วนหนึ่ง
จัดว่า  รับประเคนแล้วด้วยกายเหมือนกัน.  ถ้าแม้นเขาให้ของที่ต้องทำการนัตถุ์ภิกษุอาพาธไม่อาจนัตถุ์เข้าทางช่องจมูกได้เลย   รับเข้าทางปากได้  (รับประเคนทางปากได้).    ความจริง    เพียงความใส่ใจเท่านั้น     เป็นประมาณในการรับประเคนนี้.  นัยนี้ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี.
           บทว่า  กายปฏิพทฺเธน  มีความว่า ของที่เขาให้ด้วยอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง  บรรดาอุปกรณ์  มีทัพพีเป็นต้น    เป็นอันชื่อว่าเขาให้ด้วยของเนื่อง
ด้วยกาย.    แม้ในการรับประเคนก็นัยนี้เหมือนกัน.    ของที่ภิกษุรับด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เนื่องด้วยร่างกาย  มีบาตรและถาดเป็นต้น   จัดว่ารับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกายเหมือนกัน.
           บทว่า  นิสฺสคฺคิเยน  มีความว่า ก็ของที่เขาโยนถวายให้พ้นจากกายและจากของเนื่องด้วยกาย  แก่ภิกษุผู้อยู่ในหัตถบาส  ด้วยกายหรือของเนื่องด้วยกาย  เป็นอันชื่อว่าเขาถวายด้วยประโยคที่โยนให้.  นี้เป็นการพรรณนาตามพระบาลีก่อน.

๔.... จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์  ( หน้า ๒๐๑ )
    ประเคน ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส ,ส่งให้ถึงมือ; องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ
๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไปพอคนปานกลางคนเดียวยกได้
๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือห่างประมาณศอกหนึ่ง
๓. เขาน้อมของนั้นเข้ามาให้
๔. น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้
๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ (ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)

แบบนี้ก็ยังถือว่า ประเคน

...... ของที่เขาให้ในบาตรเหล่านั้น   อันภิกษุผู้อยู่ในที่นั้น    แม้เอานิ้วแตะเตียงเป็นต้น    ด้วยความหมายว่ารับประเคนจะยืนอยู่ก็ตาม     นั่งอยู่ก็ตาม
นอนอยู่ก็ตาม  เป็นอันรับประเคนแล้วทั้งหมด.  ถ้าแม้นภิกษุขึ้นนั่งเตียงเป็นต้นด้วยหมายใจว่า   เราจักรับประเคน.  ก็ควรเหมือนกัน.......
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่